วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พิธีกรรมแกลมอ (การรักษาโรคด้วยเพลงดนตรี)

พิธีกรรมแกลมอ (การรักษาโรคด้วยเพลงดนตรี)
ดินแดนภาคอีสาน เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ที่มีหลากกลุ่มชาติพันธุ์
“แกลมอ” เป็นภาษากูย “แกล” แปลว่า เล่น คำว่า”มอ” เป็นคำเฉพาะ ซึ่งแกลมอ หมายถึง “การเล่นมอ”พิธีกรรมแกลมอ มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าพิธีกรรมนี้มีมานานแล้ว ชาวกูยรับการถ่ายทอดต่อเนื่องกันมา จากรุ่นสู่รุ่น และปฎิบัติมาโดยตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยจัดพิธีนี้ขึ้นเนื่องในโอกาส 3 ประการ คือ
1. เพื่อเป็นการเคารพครูบาอาจารย์ ปู่ย่า ตายายที่เคยเคารพ เมื่อถึงวันสำคัญในรอบปีก็จะดำเนินพิธีกรรมขึ้นปีละ 1 ครั้ง ในวันอังคาร ขึ้น 8 หรือ 15 ค่ำ ของเดือนยี่ ตรงกับเดือนมกราคมของทุกปี
2. เพื่อแก้บน ตามที่ได้บนบานไว้
3. เพื่อรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมาให้ความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำผ่านล่าม หรือคนทรงเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย และหาทางรักษาตามความเชื่อ





    ชาวไทยกูย บ้านตรึม  ตำบลตรึม  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  มีความเชื่อในเรื่องผี
ปู่ตา  และเชื่อว่าตะกวด เป็นตัวแทนของผีปู่ตา   เชื่อว่าตะกวดเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ  และฝน  
อันเป็นที่มาของความอุดมสมบูรณ์  โดยเซ่นไหว้ผีปู่ตาประจำหมู่บ้าน   นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการเล่นแกลมอ ภูมิปัญญารักษาโรคด้วยเพลงดนตรี ที่สืบสานกันมานาน  ตั้งแต่บรรพบุรุษ  ซึ่งมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยกูย  เป็นพิธีกรรมที่ช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคน กับคน  คนกับธรรมชาติ  
องค์ประกอบของพิธีกรรมการเล่นแกลมอ  ประกอบด้วย
1.หิ้งมอ    ประกอบด้วย  เรือ  ไยแมงมุม  คันเชือกผูกไข่ไก่  มีด  ดาบ ธนู  ช้าง ม้า หญ้าคา 1 มัด ไม้แกะสลักเป็นรูปปราสาทราชวัง     
2.เหล้า และเครื่องเซ่น
-เหล้านับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีกรรม  จะเป็นเหล้าสาโท  เหล้ากลั่น  หรือ เหล้าโรง ปัจจุบัน ใช้เหล้าขาว เหล้าสี และเบียร์  
-เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วยอาหารคาวหวาน  เต่าต้ม ไก่ต้ม ข้าวเหนียวสุก กล้วย ข้าวต้มมัด หมากพลู ยาสูบ ด้ายสายสิญจน์  น้ำฝน  ขันห้า/ขันแปด ใบเล็บครุฑ ธูป และ เทียน 
-เครื่องเซ่นบนร้านปะรำพิธี  ชั้นบน พื้นใช้ไม้ไผ่สานเป็นตาห่าง ๆ  สำหรับวางขันใส่ข้าวตอก ดอกไม้  แขวนไยแมงมุม และไข่ไก่  ชั้นที่ 2  ใช้ไม้ไผ่ผูกเชือกทั้ง 3 ด้าน ข้าง ๆ จะมีผ้าถุงไหม(ผ้าซิ่น)  ผ้าขาวม้าสีต่าง ๆ ตรงกลางวางทับด้วยดาบพันด้วยด้าย 3 สีของแม่มอ   ด้านล่างมีถาดเครื่องไหว้ครู 1 ชุด  ประกอบด้วย กระจก หวี แป้ง  น้ำมันมะกอก   ข้าวสาร  กรวยใส่ดอกไม้  ผ้าขาวม้า ผ้าถุงไหม กลอง  แคน   หิ้งมอ ขันใส่ข้าวสาร 
3.เครื่องดนตรี  ประกอบด้วย  กลองโทน และ แคน  
4.ปะรำพิธี   ใช้ลานกว้างบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าภาพ/ผู้ป่วย   ตั้งปะรำพิธีชั่วคราวเป็นโรงไม้ 4 เสา  ปักเป็นมุมกว้าง 4 เมตร ยาว   4 เมตร  มุงหลังคาด้วยใบมะพร้าวหรือหญ้าคา   กลางปะรำพิธีจะสร้างร้านโดยปักเสา 3  ต้น  ใช้ไม้ 2  ต้น และต้นกล้วย 1 ต้น  ภายในปะรำจะปูตาข่ายตาถี่ วางทับด้วยเสื่อสำหรับให้ผู้เล่นได้เข้าไปนั่งทำพิธี  ก็ดีขึ้นเรื่อย  ๆ ตามลำดับ 


ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมการเล่นแกลมอ
1.การแต่งกาย   
แม่มอและมอจะนุ่งผ้าถุงไหม โทนสีดำ สีน้ำตาล เป็นส่วนใหญ่ และใส่เสื้อทรงกระบอกแขนยาว โดยปล่อยชายเสื้ออยู่นอกผ้าถุง  พาดทับเฉียงด้วยผ้าสไบสีดำ สวมเครื่องประดับที่เป็นสายสร้อย ต่างหู และกำไลข้อมือที่ทำจากเงิน 
2.การไหว้ครู และเชิญวิญญาณบรรพบุรุษเข้าร่าง
แม่มอไหว้ครู  และทำพิธีเชิญวิญญาณบรรพบุรุษเข้าประทับร่างทรงก่อนคนอื่น  มอคนอื่น ๆ  เริ่มเชิญวิญญาณบรรพบุรุษเข้ามาประทับร่างทรงของตนเรียงตามลำดับอาวุโส  การเชิญวิญญาณบรรพบุรุษนั้นจะถือขันที่ใส่ข้าวสาร และจุดเทียนในขัน  มือทั้ง 2 จะจับขันไว้ในอาการสงบนิ่งคล้ายกับการนั่งสมาธิ  สักพักตัวเริ่มสั่นเบาๆ  จนกระทั่งแรงขึ้น เหมือนคนทรงเจ้าจะโยกตัวตามจังหวะเสียงกลอง แคน  สักพักก็จะหยุดและมออื่นๆ ก็จะเริ่มเข้าทรงจนครบทุกคน  
3.การร่ายรำ
เมื่อวิญญาณบรรพบุรุษเข้าร่างทรงแม่มอและมอแล้ว ก็จะจัดตบแต่งเครื่องแต่งกายพร้อมกับดื่มน้ำและเหล้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดนตรีจะเริ่มบรรเลงอีกครั้งในจังหวะช้าและเร็วขึ้นตามลำดับ แม่มอและมอทุกคนจะลุกขึ้นร่ายรำอย่างสนุกสนานตามจังหวะของเสียงดนตรีอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย การร่ายรำของแม่มอและมอทุกคน โดยส่วนใหญ่คนไหนร่ำท่าใดก็มักจะรำท่านั้นตลอดพิธีกรรม 
ผู้มาร่วมพิธีกรรมหากเกิดความสนุกสนาน ก็สามารถจะร่ายรำกับแม่มอและมอได้        
4.การเล่นช้าง เล่นม้า
โดยแม่มอ  นำช้าง  ม้า ที่ทำจากไม้ยอ มาให้มอถือ และรำรอบเสาพิธี  3  รอบ  จะมีผู้ที่จะมาลักช้าง มา  เป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ร่วมพิธีกรรม โดยกระเซ้าเย้าแหย่ และดึงไปจากมือแม่มอ แล้วนำไปซ่อนไว้บริเวณใกล้เคียง  จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการตามหาช้าง ม้า  คนที่ทำหน้าที่ตามหาช้าง ม้า คือนายพราน ถือดาบ ธนู  และสนา หรือหน้าไม้ ไว้สำหรับป้องกันตัวเอง ขณะไปตามช้าง ม้า กลับมา โดยการนำข้าวต้ม ไปเป็นเสบียง ระหว่างที่ตามหาช้าง ม้า   เมื่อตามเจอแล้วแม่มอ และมอคนอื่น ๆ ออกมาตั้งแถวรอคล้องช้าง และจับม้า นอกปะรำ  ในมือจะถือฝ้าย เตรียมคล้องช้าง และจับม้า  เมื่อคล้องช้าง และจับม้าได้แล้ว ก็จะเข้าในปะรำพิธี 
5.การแห่ดอกไม้
บริวารจะจัดเตรียมขันดอกไม้ ซึ่งดอกไม้ที่จัดเตรียมจะเป็นดอกไม้ในท้องถิ่น  การแห่ดอกไม้เป็นการแสดงความยินดีที่มีการเฉลิมฉลองในการที่มีความสุข จากการที่ได้ช้าง ม้า และอื่น ๆ มาอยู่ในกลุ่มหรือตระกูลของตนเอง
6.การตัดแพ และการอาบน้ำผู้เจ็บป่วย
ญาติจะช่วยกันจัดสถานที่ มีถังใส่น้ำ 2 ถัง มีแพ 9 ชั้น ทำด้วยก้านกล้วย  ก่อนจะเริ่มในแต่ละขั้นตอนบรรดามอจะร่ายรำ 3 รอบทุกครั้ง (เวียนซ้าย) การตั้งแพจะตั้งทางทิศใต้ของปะรำพิธี  มีไม้กระดานเตรียมสำหรับผู้ป่วยนั่ง  แม่มอ และมอรองรำนำหน้าทำพิธี  กลุ่มคนที่อยู่บริเวณรอบนอกต่างก็ส่งเสียง ให้ตัดแพโดยเร็ว  ขณะเดียวกันจะมีหนึ่งคน ถือต้นปอที่ลอกเอาใยปอออกแล้ว จุดไฟไปยืนอยู่ด้านหน้าของร่างทรง  แม่มอถือมีดรำรอบตัวร่างทรง   และไปตัดแพที่อยู่ด้านหน้า  หากแพล้มลงเร็ว


8.การบายศรีสู่ขวัญผู้เจ็บป่วย
ผู้ที่อยู่รอบนอก (ผู้หญิง) จะจัดบายศรีสำหรับมอทุกคน   มอนั่งลงตรงหน้าบายศรีแล้วจุดเทียนทำท่ากินเทียน (เปลวเทียน)  3 รอบ เป็นอันจบพิธีกินบายศรี  ผู้มาร่วมพิธีกรรมทั้งหมดที่อยู่บริเวณที่ประกอบพิธีกรรม จะนำด้ายผูกข้อมือผูกให้กับผู้เจ็บป่วย ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว และจะทำ ให้อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ได้หายไป
9.การออกจากร่างทรง
แม่มอ และมอทั้งหมดจะลุกขึ้นรำอีก 3 รอบ แล้วจะทำพิธีกินบายศรี (อาหารที่จัดสำรับเหมือนตอนแรก) เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็จะทำพิธีออกจากร่างจะปฏิบัติเหมือนตอนแรกที่เริ่มเข้าทรงเป็นการปล่อยวิญญาณบรรพบุรุษให้ไปอยู่ที่เดิม  ตอนออกหมอแคนจะเป่าแคนให้ทำนองคนเดียวจะไม่ใช้กลองตีให้จังหวะเพราะเชื่อว่าหากได้ยินเสียงกลองมอจะไม่ยอมออกจากร่าง  มอจะออกจากร่างก่อนหลังตามอาวุโสของมอคือจากน้อยไปหามาก   แม่มอจะออกร่างเป็นคนสุดท้าย  เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีกรรม การเล่นแกลมอ  
จากสภาพความก้าวหน้าของโลกในปัจจุบัน  แม้วิวัฒนาการทางการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าเพียงใด   การรักษาโรคบางอย่างจำเป็นต้องใช้ค่ารักษาที่สูง  ทำให้ส่วนมากหันไปรักษาด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม  เช่นการรักษาด้วยพิธีธรรม    หมอสมุนไพร   ซึ่งค่าใช้จ่ายในการักษาไม่สูงมากนัก
  พิธีแกลมอประกอบขึ้นยามเหตุการณ์วิกฤตในครอบครัว  จึงเป็นวิธีการบำบัดอีกวิธีหนึ่งที่ยังคงยึดมั่นค่อนข้างเหนียวแน่นเกือบทุกผู้ทุกคน  สังเกตได้จากการเข้าร่วมพิธีกรรมของกลุ่มชนจะพบเห็นทุกเพศทุกวัยในวงพิธีกรรม  แม้ว่าทัศนคติของคนบางคนจะไม่เชื่อในเรื่องนี้  แต่หากมีการประกอบพิธีกรรมก็ยังฝากปัจจัยอื่นๆเข้าสมทบ  และผู้คนเหล่านั้นไม่ได้ดูหมิ่นหรือกล่าวร้ายต่อแกลมอแต่อย่างใด    พิธีกรรมที่เรียกว่าแกลมอก็ยังอยู่ในระบบความเชื่อตลอดไป

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

อยากทราบ ผู้ที่เขียน เรื่องพิธีกรรมแกลมอและ ปี พศ. อ่าครับ ตอบคำถามหน่อยได้ไหมครับ