วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผักลืมผัว


ภาพจาก https://www.gotoknow.org/posts/233242

ผักลืมผัว 
ชื่อวงศ์ Campanulaceae.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lobelia begonifolia Wall
เป็นไม้น้ำ อายุสั้น ผักชนิดนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของดิน หากมีการใช้สารเคมีในปริมาณสูงผักชนิดนี่จะไม่สามารถเกิดได้ พบอยู่ตามท้องนาในภาคอีสานและภาคกลาง ทุกส่วนของต้นอวบน้ำ ลำต้นทอดเลื้อยเล็กน้อย ยอดชูตั้งขึ้น ใบรูปไข่ป้อม ออกตรงข้ามกัน ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่างๆ ปลายใบแหลม ผลิดอกในช่วงฤดูฝน ดอกเล็ก ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีม่วงเข้ม ส่วนผลขนาดเล็ก เมื่อแก่จะแตกออกภายในมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นท้องนา
วิธีบริโภค
ผักชนิดนี้เป็นที่นิยมในภาคอีสาน  ชาวบ้านจะเก็บยอดมาล้างให้สะอาด กินกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว ส้มตำ หรืออาหารรสจัดต่าง ๆ มีรสมันฝาดเล็กน้อย เข้ากับอาหารอีสานได้เป็นอย่างดี ที่ชื่อผักลืมผัวก็เพราะว่าภรรยากินอร่อยเพลินจนลืมเหลือถึงสามี


วิธีปลูก
ผักลืมผัว ชอบดินเหนียว มีอินทรีย์วัตถุสูงและชุ่มชื้น มีน้ำขังตื้นๆ 20-30 ซม. แสงแดดครึ่งวัน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ซึ่งในธรรมชาติ เมื่อต้นผลิดอกออกผลจนแก่และติดเม็ดร่วงตามดิน เมื่อถึงหน้าน้ำจะงอกเติบโตต่อไป แต่ถ้าขุดต้นมาลองปลูกมักตายก่อนติดผล ฤดูกาลที่ผักชนิดนี้ออกเยอะคือ ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวจากท้องนา

การสนตะพายควายหรือวัว

สนตะพายควาย
ภาพจาก http://www.bloggang.com/


การสนตะพายควายหรือวัว

  เมื่อวัวหรือควายอายุประมาณ 1-2 ปี ชาวนาจับควายผูกติดกับต้นไม้ใช้ไม้ไผ่ขนาดเท่านิ้วก้อยเสี้ยมปลายให้แหลม ที่ทำความสะอาดแล้ว แทงเข้าไปที่เนื้อเยื่อด้านในปลายจมูกของควายให้ทะลุถึงกันของช่องจมูกทั้งสอง จากนั้นประมาณ 30 วัน แผงจากรอยเจาะทะลุหาย ชาวนาใช้เชือกขนาดเท่านิ้วก้อยร้อยรูจมูกควายอ้อมมาทางด้านหลังเขาของควายผูกเชือกพอหลวม ๆ เชือกนี้เรียกว่าเชือกตะพายควาย เชือกตะพายควายจะติดอยู่กับควายตลอดเวลา หากเชือกขาดชาวนาจะใส่เส้นใหม่แทน เมื่อเวลาใช้งานชาวนาจะนำเชือกอีกเส้นหนึ่งมาผูกกับเชือกตะพายควายเชือกที่ผูกจะอยู่ทางด้านขวาหรือซ้ายด้านใดด้านหนึ่งหากอยู่ทางด้านซ้าย เมื่อชาวนาดึงเชือกควายจะเลี้ยงไปทางซ้าย หากชาวนาตะหวัดเชือกไปทางขวา ควายก็จะหันไปทางขวา ชาวนาจะใช้คำว่า “ถาด”หมายถึง เลี้ยวไปทางขวาและใช้คำว่า “ทูน” หมายความว่าให้เลี้ยวไปทางซ้าย


สนตะพายวัว
ภาพจาก http://board.kobalnews.com/
ขอบคุณข้อมูลจาก:ศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรม

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ฝึกคนและควายไถนา

ฝึกคนและควายไถนา

ภาพจาก http://topicstock.pantip.com/
ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของประเทศไทย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ากว่าจะมาเป็นข้าวสารและข้าวสวยที่หุงกินกันทุกวันนั้นเป็นมาอย่างไร กระบวนการทำนาต้องใช้อะไรบ้าง

ภาพจาก http://www.matichon.co.th/news

“เมื่อก่อนชาวนาใช้ควายไถนา” เป็นคำพูดที่แสดงถึงวีถีเกษตรกรในอดีต ที่จะเห็นได้ว่าควายคือคู่แท้ของชาวนา ถ้าไม่มีควายก็คงไม่สามารถจะทำมาหากินได้ เมื่อความเจริญทางเทคโนโลยีและความเจริญทางวัตถุนำพาความสะดวกสบายเข้ามาสู่เกษตรกร ควายเนื้อแท้ๆ ก็จะหายไป กลายเป็นควายเหล็กเข้ามาแทนที่
ควายคราดนา


ในยุคสมัยนี้ คงมีไม่กี่แห่งที่จะได้เห็นชาวนาใช้ควายทำนา เด็กสมัยใหม่บางคนอาจนึกภาพไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่าควายกับวัวแตกต่างกันอย่างไร แล้วการใช้ควายทำนาเขาทำกันอย่างไร แต่ก่อนที่ภาพวิถีชีวิตแบบนี้เริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา ก็ยังมีผู้ที่คิดถึงการอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ เพื่อรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมให้คนรุ่นหลังได้เห็น จะได้สืบทอดต่อไปในอนาคต
คนและควายที่ถูกคัดเลือกมานั้น ก็จะได้มาเรียนรู้และฝึกฝนในวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย และวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการเรียนรู้ครั้งนี้คือ การใช้ควายไถนา หลังจากการได้รับควายจากทางกรมปศุสัตว์และได้รับคัดเลือกให้มาเรียนยังโรงเรียนแห่งนี้ ช่วงเวลา 10 วัน คือการเรียนรู้รูปแบบชีวิตที่เคยเป็นมาในอดีต

ฝึกควาย

ใช่ว่าควายที่เกิดมาทุกตัวนั้นจะไถนาเป็นตั้งแต่เกิด ควายทุกตัวจะต้องมีการฝึกฝนเพื่อที่จะไถนา หรือทำงานอื่นๆ เช่นเดียวกับคนที่จะต้องเรียนรู้การไถนา และวิธีการฝึกฝนควายให้ไถนาเป็นเช่นกัน โรงเรียนแห่งนี้จึงเสมือนสถานที่ฝึกสอนที่คนและควายไปพร้อมๆ กัน ตามวิถีของชาวนาไทย
ภายในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้น้อมนำวิธีเกษตรพอเพียงมาปรับใช้ภายในบริเวณโรงเรียนด้วย โดยมีการแบ่งพื้นที่ 30-30-30-10 เป็นพื้นที่เพาะปลูก สระน้ำเพื่อการใช้สอย และพื้นที่ทำนา อย่างละ 30 ส่วน รวม 90 ส่วน และพื้นที่พักอาศัย 10 ส่วน ภายในพื้นที่โรงเรียนยังมีโรงเรือนแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการใช้ทำนา ที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งทำขึ้นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน อุปกรณ์ทุกชิ้นจะนำมาใช้ทำการเกษตรในโรงเรียน และแปลงนาจะปลูกข้าวในระยะต่างๆกัน เพื่อให้ผู้ที่ได้มาเยี่ยมชมได้เห็นข้าวในระยะเติบโตที่ต่างกัน และภายหลังจากการเก็บเกี่ยว จะใช้การปลูกพืชบำรุงดินแทนการใช้ปุ๋ย นอกจากนี้ ภายในโรงเรียนยังมีที่พักที่ทำจากดินเป็นที่พักของผู้ฝึกอบรมและวิทยากร เพื่อการสัมผัสวิถีชาวนาอย่างแท้จริง
สำหรับวิธีการไถนานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ควายที่จะนำมาฝึกฝนนั้นจะต้องมีอายุ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งควายจะมีขนาดตัวพอเหมาะ เนื่องด้วยการใช้คราดผูกติดบนหลังควาย ปลายคราดนั้นจะอยู่ที่พื้นพอดี ส่วนชาวนานั้นต้องมีทักษะการใช้เชือก เพราะเชือกจะเป็นตัวบังคับทิศทางการเดินของควาย ความคุ้นเคยกันและความไว้ใจกันของคนและควายก็เป็นสิ่งสำคัญ การจะไถนาได้สำเร็จนั้น ต้องพึ่งพาทักษะและความอดทนของทั้งสองฝ่ายที่ร่วมด้วยช่วยกัน ในการเรียนก็มีควายบางตัวที่ดื้อ หรือบางตัวก็ขี้เกียจ สัตว์ก็คล้ายกับคนเราที่มีความเกียจคร้านบ้างเหมือนกัน
จะเห็นได้ว่าแม้เป็นเพียงมุมเล็กๆ แต่เมื่อมองถึงคุณค่าที่ควรแค่การอนุรักษ์ไว้ จะเป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่จะสืบต่อวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่เคยเป็นมา ไม่ให้หายไปตามวันเวลาที่มีการพัฒนาด้านวัตถุอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่สะท้อนให้ผู้คนที่อยากได้รับรู้ได้เห็นว่าการใช้ควายทำนานั้นเป็นมาอย่างไร ภาพของควายไถนาก็คงจะยังไม่เลือนหายจากไปในเร็ววัน

โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ 
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 999 ต.ศาลาลำดวน อ.เมือง จ.สระแก้ว ผู้สนใจเข้าเที่ยวชมสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากทางโรงเรียนได้ที่ โทร.0-3743-5058 หรือสอบถามที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครนายก (พื้นที่รับผิดชอบ: นครนายก,ปราจีนบุรี,สระแก้ว) โทร.0-3731-2282, 0-3731- 2284
ขอบคุณ:http://www.photoontour.com/Misc_HTML/news/page/109.htm

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ลงแขก ประเพณีแห่งความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลกัน

ลงแขก เป็นวัฒนธรรมประเพณีแห่งความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลกันของสังคมคนในอดีต ที่นับวันจะสูญหายไปเนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราเป็นตัวกำหนด คนไทยในสมัยนี้รู้จักคำว่า ลงแขก ในความหมายที่เป็นการกระทำผิดอาญา แต่สำหรับคนอีสานแล้ว ลงแขก มีความหมายถึงน้ำใจที่ผู้คนในชุมชนมอบให้กัน ในการช่วยเหลือกิจการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว ประเพณีเอามื้อเอาแรงนี้จึงเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สร้างความสมัครสมานสามัคคี ทำให้งานเสร็จอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัยการว่าจ้าง และยังถือเป็นโอกาสที่ทำให้หนุ่มสาวได้รู้จักอุปนิสัยใจคอและพบรักกันได้อีก ด้วย

ลงแขกดำนา

เนื่องจากชีวิตของเกษตรกรไทยเกี่ยวพันกับอาชีพด้านเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็น การทำนา การทำไร่ ทำสวน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของฟ้าและฝน จะต้องเร่งรีบในการเพาะปลูก ปักดำ เก็บเกี่ยว ในครอบครัวใดมีแรงงานมากก็จะทำได้เร็วและทันเวลา แต่ครอบครัวที่มีคนน้อยก็จะทำสำเร็จได้ยาก ณ จุดนี่เองที่ก่อให้เกิดประเพณี ลงแขก เพื่อช่วยเหลือกันด้านแรงงาน ไม่มีค่าจ้างตอบแทนมีเพียงน้ำใจเลี้ยงอาหารข้าวปลาตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่น หมุนเวียนกันไปจากครอบครัวหนึ่งสู่อีกครอบครัวหนึ่ง ทำให้กิจการงานสำเร็จลุล่วงมีอาหารเพียงพอไม่ขาดแคลน

ลงแขกเกี่ยวข้าว

เมื่อเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามาสู่ชุมชนพร้อมกับการส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อขาย ยุคเศรษฐกิจเงินตราเป็นใหญ่จึงทำให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในอดีต กลายมาเป็นการว่าจ้างแรงงานแทน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามอย่าง การลงแขก จึงพลอยสูญหายไปด้วย และยิ่งมาถึงยุคสมัยที่ลูกหลานวัยรุ่น หนุ่ม-สาวของเราหนีความแห้งแล้งไปขายแรงงานในเมืองใหญ่ การทำไร่ไถนาของบรรพบุรุษก็ยิ่งขาดแคลนแรงงานหนัก ก็ได้อาศัยเงินทองที่ลูกหลานส่งมาให้มาจ้างแรงงานในหมู่บ้านใกล้เคียงมาช่วยเหลือ ก็ยิ่งทำให้การลงแขกถูกลืมเลือนเด็ดขาดไปเลย เพราะการช่วยงานต้องมีค่าจ้างตอบแทน เลี้ยงข้าวปลาอาหารอีก นี่จึงต้องมีการฟื้นฟูและกล่าวถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม การลงแขก ให้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง


แหล่งที่มาของข้อมูล :http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=6566&s=tblrice

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กูย สมัยกรุงธนบุรี- รัตนโกสินทร์

กูย สมัยกรุงธนบุรี

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี

เมื่อพุทธศักราช 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง

ภาพจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทร์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร ในปีพุทธศักราช 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี

ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชรรวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่างๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทร์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา ทั้ง 3 เมือง

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี

เมื่อพุทธศักราช 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง

ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทร์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร ในปีพุทธศักราช 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี

ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชรรวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่างๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทร์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา ทั้ง 3 เมือง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ภาพจาก www.dekguide.com

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2325 และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี

พุทธศักราช 2329 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในการเปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์ เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้า ให้เจ้าเมืองพิมาย แบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้

ทิศเหนือ จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ำมูล ถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก ถึงลำห้วยตะโคง หรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองขั้น และห้วยราช
ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนอยู่ในความปกครองของไทย เช่นบ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับเมืองสังขะ

พุทธศักราช 2337 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม

พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน ชื่อนายตี (แต็ย) และนายมี (แม็ย) เป็นหญิง 2 คน ชื่อนางน้อยและนางเงิน เมื่อพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม
ขอบคุณข้อมูล:http://goo.gl/74Hj2w

บทบาทกูย สมัยกรุงศรีอยุธยา

บทบาทกูย สมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางการเมืองทำให้กัมพูชาตกอยู่ในฐานะประเทศราชและในระหว่างปีพุทธศักราช 2103 อาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พุทธศักราช 2091-2111) กษัตริย์ของลาวได้สร้างนครเวียงจันทร์เป็นเมืองหลวงของล้านช้าง


ภาพจาก www.isangate.com

ในปีพุทธศักราช 2257 ลาวแตกออกเป็น 3 รัฐอิสระ คือหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ชาวลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดพร้อมด้วยนักศึกษาวัด ทั้งที่กำลังศึกษา เป็นพระภิกษุสามเณรอยู่และที่จบการศึกษาแล้วเป็นอ้ายเชียง อ้ายทิด (บันฑิต) อ้ายจารย์ (อาจารย์) กับพวกข้าทางใต้ไปบูรณะพระธาตุพนม และไปจนถึงเขมร แล้วกลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์

เมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองอัตตปือแสนแปง (แสนแปง) ซึ่งต่างเป็นเมืองของพวกลัวะ ข่า (หรือชนเผ่าพันธุ์ที่เราเรียกว่าส่วยในปัจจุบัน) ขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ปกครองโดยนางแพง เจ้าหญิงข่า-ลัวะ ธิดาของนางเพากับเจ้าคำช้าง หรือบ้างคำ ด้วยคุณงามความดีของเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ด นางแพงจึงมอบอำนาจการปกครองเมืองจำปาศักดิ์ให้ เจ้าราชครูหลวงจึงได้อัณเชิญเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจากนครเวียงจันทร์ไปปกครองนครจำปาศักดิ์นับตั้งแต่พุทธศักราช 2261 - 2281 เป็นต้นมา เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้ปกครองจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าราชครูแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดจึงขยายอำนาจ โดยตั้งชาวลาวที่มีความรู้ ความสามารถ ออกไปปกครองเมืองของลัวะ ข่าต่างๆ ภายในเขตเมืองจำปาศักดิ์ เช่น ส่งจารย์หวดเป็นเจ้าเมืองโขงสี่พันดอน ให้ท้าวมั่นไปตั้งบ้านโพนขึ้นเป็นเมืองสาระวันแต่ชาวบ้านชอบเรียกเมืองมั่นตามชื่อท้าวมั่นและเรียกควบกับเมืองคำทองใหญ่ว่าเมืองมั่นคำทอง ให้จารย์แก้ไปตั้งบ้านถ่ง (ท่ง) เป็นเมืองสุวรรณภูมิ ( ในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ให้จารย์เซียงมาตั้งบ้านโนนสามขาเป็นเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษในปัจจุบัน) ตั้งได้ไม่นานเมืองศรีนครเขตก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง

ภาพจาก www. oknation.net

การแยกเป็นรัฐอิสระของอาณาจักรลาว ทำให้ทั้ง 3 รัฐ เกิดการแข็งต่อเมืองกันและต่างสะสมแสนยานุภาพไว้ต่อสู้ ป้องกันการรุกราน เมืองจำปาศักดิ์จึงบังคับให้อัตตปือ แสนปางส่งช้างป้อนกองทัพให้แก่จำปาศักดิ์ตามที่ต้องการ ทำให้ส่วยอัตตปือ แสนปางทนต่อสภาพถูกบีบบังคับไม่ได้ จึงหนีข้ามลำน้ำโขงเข้ามาอาศัยกับพวกส่วยดั้งเดิมบริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่างคือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบางส่วนของนครราชสีมา มหาสารคาม

ชาวส่วยหลายกลุ่มพากันอพยพหนีสงครามข้ามมาตั้งหลักแหล่งทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เมื่อพุทธศักราช 2260 แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนและมีหัวหน้าปกครองตามที่ต่างๆ ซึ่งเป็นจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันคือ

กลุ่มที่ 1 มาอยูที่บ้านเมืองที (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม
กลุ่มที่ 2 มาอยูที่บ้านกุดหวายหรือเมืองเตา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี) มีหัวหน้าชื่อ เชียงลี
กลุ่มที่ 3 มาอยูที่บ้านเมืองลีง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง
กลุ่มที่ 4 มาอยูที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (ปัจจุบันคือบ้านดอนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะและเชียงขัน
กลุ่มที่ 5 มาอยูที่บ้านอัจจะปะนึง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสังขะ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ
กลุ่มที่ 6 มาอยูที่บ้านกุดปะไท (ปัจจุบันคือบ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงไชย
ชาวส่วยเหล่านี้มีความชำนาญในการคล้องช้าง ทำการเกษตร หาของป่า ป่าดงแถบนี้มีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น โขลงช้างพัง ช้างพลาย ฝูงเก้ง กวาง ละมั่ง และโคแดง เหมาะกับการทำมาหากินของชาวส่วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ละชุมชนมีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ

สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกเขตกรุงหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตพิมาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ขุนนางสองพี่น้อง (เข้าใจว่า คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) กับไพร่พล 30 คน ออกติดตามช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ได้มาสืบถามร่องรอยช้างจากชาวเมืองพิมายซึ่งเป็นผู้ชำนาญภูมิประเทศในแถบนั้น ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปสืบถามพวกส่วย มอญ แซก โพนช้างอยู่ริมเขาดงใหญ่เชิงเขาพนมดงรัก เมื่อได้รับคำแนะนำจากชาวเมืองพิมายว่าช้างเผือกหนีไปทางไหนแล้ว ขุนนางสองพี่น้องพร้อมด้วยไพร่พลออกติดตามต่อมาตามลำน้ำมูลมาพบเชียงสีหรือตากะอาม หัวหน้าบ้านกุดหวาย เชียงสีได้พาขุนนางสองพี่น้องไปพบหัวหน้าหมู่บ้านอื่นๆ เพื่อจะได้ช่วยกันตามหาช้างเผือกต่อไป โดยไปหาเชียงปุมที่บ้านเมืองที เชียงปุมได้ร่วมสมทบกับขุนนางสองพี่น้องพากันไปหาเชียงไชยที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัต) ไปหาเชียงขันที่บ้านโคกลำดวน ไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง จึงทราบข่าวจากเชียงฆะว่า ได้พบช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งาพาบริวารซึ่งเป็นช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก หรือหนองบัวในเวลาบ่ายทุกวัน

เชียงฆะก็พาขุนนางสองพี่น้องและพวกไปยังหนองโชก พากันขึ้นต้นไม้ที่ริมหนองโชกเพื่อดูช้างโขลงนั้น ครั้นเวลาบ่ายช้างโขลงนั้นก็ออกจากชายป่ามาเล่นน้ำตามเคย ปรากฏว่าช้างเผือกที่หายมานั้นอยู่กลางฝูงพากันลงเล่นน้ำที่หนองโชก ขุนนางทั้งสองจึงเอาก้อนอิฐแปดก้อนที่นำมาจากบ้านเมืองทีขึ้นเสกเวทมนตร์ตามพิธีกรรมคชศาสตร์ อธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างทั้งแปดทิศ ฝ่ายช้างป่าก็แตกตื่นหนีเข้าป่าหมด คงเหลืออยู่แต่ช้างเผือกเชือกเดียวขุนนางสองพี่น้องก็ลงจากต้นไม้พากันขึ้นขี่หลังช้างโดยง่าย เมื่อจับช้างได้แล้ว ขุนนางสองพี่น้องและบริวารพากันเดินทางกลับ หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายที่มาช่วยเหลือในการติดตามช้าง ก็ได้อำนวยความสะดวกในการควบคุมช้างเผือกมาส่งที่กรุงศรีอยุธยาด้วย เมื่อมาถึงพระนครแล้ว ขุนนางสองพี่น้องจึงได้นำหัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายเข้าเฝ้าสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ และกราบบังคมทูลเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทรงทราบ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งบรรดาหัวหน้าชาวส่วยให้มีฐานันดรศักดิ์ คือ

ตากะจะ เป็น หลวงแก้วสุวรรณ
เชียงขัน เป็น หลวงปราบ
เชียงฆะ เป็น หลวงเพชร
เชียงปุม เป็น หลวงสุรินทรภักดี
เชียงลี เป็น หลวงศรีนครเตา
เชียงไชย เป็น ขุนไชยสุริยงค์
กลับไปปกครองคนในหมู่บ้านของตน โดยอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย ( ยุพดี จรัณยานนท์ 2522 : 34 - 35 )

พุทธศักราช 2306 หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาตย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีซึ่งคับแคบและไม่สะดวกในการทำมาหากินไปตั้งที่บ้านคูประทายหรือบ้านคูประทายสมันต์ คือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะป้องกันและต่อต้านศัตรูที่มารุกรานได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหลวงสุรินทร์ภักดีจึงได้อพยพราษฎรบางส่วนไปอยู่ที่บ้านคูประทาย ส่วนญาติพี่น้อง ชื่อเชียงบิด เชียงเกตุ เชียงพัน นางสะตา นางแล และราษฎรส่วนหนึ่งคงอยู่ ณ หมู่บ้านเมืองทีตามเดิม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) กับญาติร่วมกันสร้างเจดีย์ 3 ยอด สูง 18 ศอก และสร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง 4 ศอก ซึ่งปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาจนถึงปัจจุบันนี้


ภาพจาก www. oknation.net


เมื่อย้ายถิ่นฐานจากบ้านเมืองทีไปอยู่ที่บ้านคูประทายแล้ว หัวหน้าหมู่บ้านทั้ง 5 จึงได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา นำสิ่งของไปทูลเกล้าถวาย คือ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี เพราะว่าขณะนั้นบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์จะได้อพยพมาตั้งฐิ่นฐานอยู่ในดินแดนอันเป็นป่าดงทึบส่วนนี้ โดยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่อย่างมั่นคงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของกรุงศรีอยุธยา ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในป่าดงในราชอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งกรุงศรีอยุธยาเริ่มรู้จักก็โดยหัวหน้าหมู่บ้านได้ช่วยเหลือจับช้างเผือกคืนกรุงศรีอยุธยา และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำของไปทูลเกล้าถวายแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้น ดังนี้

 ขอบคุณข้อมูลจาก:http://goo.gl/74Hj2w

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

จังหวัดสุรินทร์ เตือนเห็ดพิษอันตราย

จังหวัดสุรินทร์ เตือนเห็ดพิษอันตราย

จังหวัดสุรินทร์ เตือนเห็ดพิษอันตราย แนะเลี่ยงกินเห็ดสด เห็ดที่เกิดใกล้มูลสัตว์ หรือกินเห็ดพร้อมดื่มสุรา อาจถึงตายได้





นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา (สคร.5 ) ว่า ในช่วงฤดูฝน เป็นฤดูที่พืชผลทางการเกษตรออกดอกออกผลดี รวมทั้งสภาพอากาศร้อนชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อรา โดยเฉพาะเห็ดป่า ซึ่งคนนิยมนำมาเป็นอาหาร โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน ที่นิยมรับประทานอาหารป่า จังหวัดสุรินทร์จึงขอเตือนประชาชนอย่ารับประทานเห็ดที่ไม่รู้จักชนิด เห็ดที่เกิดใกล้มูลสัตว์ อย่ากินเห็ดสดๆ โดยไม่นำไปปรุงให้สุกก่อนหรือเก็บเห็ดหลายชนิดมาปรุงรวมกัน และอย่ารับประทานเห็ดพร้อมกับดื่มสุรา เพราะอาจเป็นพิษต่อร่างกาย และเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ หน้าฝนมักมีเห็ดซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติ รวมทั้งอาจมีเห็ดพิษที่คนรับประทานเข้าไปแล้วทำให้มีอาการป่วย เช่น เห็ดพิษในกลุ่มที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง กลุ่มอาการพิษคล้ายเมาสุราค้างถ้ากินเห็ดแกล้มเหล้าผู้ได้รับพิษจะมีอาการหน้าแดง ใจสั่น หายใจหอบ เจ็บหน้าอก ชาตามตัว กลุ่มพิษต่อระบบประสาท ผู้ป่วยจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม และประสาทหลอน มึนเมา ทำให้มีอาการผิดปกติทางจิต กลุ่มพิษต่อตับ ไต ผู้ป่วยอาจไตวาย หัวใจวาย ชัก และอาจถึงแก่ชีวิตได้


 สำหรับข้อแนะนำในการรับประทานเห็ดให้ปลอดภัย ได้แก่ อย่าบริโภคเห็ดสด เพราะเห็ดบางชนิดพิษจะถูกทำลายเมื่อได้รับความร้อน เห็ดที่มีวงแหวน เห็ดมีปลอกหุ้มโคน เห็ดมีก้านป่องเป็นกระเปาะ เห็ดที่มีเกล็ดอยู่บนหมวกดอก เห็ดที่มีรูปร่างคล้ายสมองและอานม้า หรือเห็ดที่ไม่รู้จัก เพราะอาจถึงตายได้หากเป็นเห็ดพิษ รวมทั้งอย่าบริโภคเห็ดที่ขึ้นอยู่ใกล้มูลวัว มูลควาย ไม่ควรปรุงอาหารโดยใช้เห็ดป่าหลายชนิดรวมกัน เพราะอาจเกิดพิษต่อร่างกายโดยไม่ทราบว่าเห็ดชนิดใดเป็นพิษ และไม่ควรเก็บเห็ดในบริเวณที่มีสารพิษตกค้างมารับประทาน ในการช่วยเหลือหากผู้ป่วยรับประทานเห็ดมีพิษเข้าไป คือ ต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาให้หมด เพื่อลดการดูดซึมพิษเข้าร่างกาย แล้วจึงรักษาตามขั้นตอนต่อไป

จังหวัดศรีสะเกษเปิดศูนย์ประสานความร่วมมือผู้ประนีประนอมด้านภาษาต่างประเทศรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ศาลจังหวัดศรีสะเกษ เปิดศูนย์ประสานความร่วมมือผู้ประนีประนอมด้านภาษาต่างประเทศรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน




เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 เวลา 09.00 น. ที่ศาลจังหวัดศรีสะเกษ นายกวีพจน์ สุรนิจ ผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลจังหวัดข่อนแก่น ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดศรีสะเกษ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ประสานความร่วมมือผู้ประนีประนอมด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นประตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานยุติธรรมที่มุ่งเน้นด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการระงับข้อพิพาท ให้ประชาชนสามารถได้เข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม ประหยัดและทั่วถึง


ศาลจังหวัดศรีสะเกษจึงได้จัดตั้งศูนย์ประสานความร่วมผู้ประนีประนอมด้านภาษาต่างประเทศ  ที่มีความรู้ความสามารถและเชียวชาญภาษาต่างๆ ประจำศูนย์จำนวน 11 คน 6 ภาษา ประกอบด้วย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาลาว ภาษาอินเดีย ภาษาเขมร และภาษาเวียดนาม ที่อุทิศตนพร้อมให้ความช่วยเหลือดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทเป็นประด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


ทั้งนี้ ก็เพื่อส่งเสริมการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยวิธีการไกล่เกลี่ยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการยุติข้อพิพาท เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยให้สามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อพัฒนาการประสานความร่วมมือระหว่างศาลจังหวัดศรีสะเกษกับบุคลากรภายนอกผู้ที่มีความเชียวชาญด้านภาษาต่างๆ


ในการนี้ผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลจังหวัดข่อนแก่น ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดศรีสะเกษ ยังได้มอบเกียรติบัตรให้กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถและเชียวชาญภาษาต่างๆ ประจำศูนย์จำนวน 11 คน 6 ภาษา ที่อุทิศตนช่วยเหลือดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทด้วย

                                                                    --------------------

ขอบคุณ:สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ

จังหวัดสุรินทร์ มีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละกว่า 2,000 ล้านบาท

จังหวัดสุรินทร์ มีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละกว่า 2,000 ล้านบาท  
ผ้าไหมสุรินทร์

ข้าวหอมมะลิสุรินทร์

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีจุดเด่นในเรื่องของศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ และคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดท่องเที่ยวตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2527 ประกอบกับความมีชื่อเสียงเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม และช้าง เช่น การมีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทยเป็นเมืองช้าง การเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ การมีผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานและส่งออกขายไปทั่วโลก การได้รับคัดเลือกให้ออกแบบและทอผ้าไหมสำหรับตัดเสื้อให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC นอกจากนี้ การเป็นจุดเชื่อมต่อของอารยธรรมขอมโบราณ การเป็นเมืองชายแดนที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีจุดผ่านแดนถาวรช่องจอมเป็นประตูสู่แหล่งท่องเที่ยวระดับโลก อย่างปราสาทหินนครวัด นครธม ในกัมพูชา ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี เหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อของจังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักในระดับโลก
ช้างแห่งานบวชนาค

ปราสาทนครวัด

ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ กล่าวอีกว่า จังหวัดสุรินทร์ ได้รับแจ้งจาก ททท. สำนักงานสุรินทร์ ว่า ปี 2556 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมเยือนจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 896,262 คน สร้างรายได้ให้จังหวัดสุรินทร์กว่า 1,838 ล้านบาท ส่วนในปี 2557 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมเยือนจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1,044,669 คน สร้างรายได้ให้จังหวัดสุรินทร์กว่า 2,035 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2557 เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 16.56 ส่วนรายได้จากการเท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 10.75 ทั้งนี้รัฐบาลประกาศให้ปี 2558 เป็นปีวิถีไทย ซึ่งจะทำให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตมากขึ้น เนื่องจากเป็นที่รู้จักกันว่าวิถีและรอยยิ้มแบบไทยๆ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ถือว่ายังดำรงชีวิตแบบวิถีไทยอย่างมั่นคง และมีศิลปวัฒนธรรมดีๆ มีชุมชนที่เข้มแข็งยังดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม เป็นที่น่าสนใจของบรรดานักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จึงคาดว่า ปี 2558 จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์มากกว่าขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ข้อความหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต

ข้อความหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต




กระทรวงไอซีทีและสารสนเทศเปิดเผยพบการกระทำผิดเกี่ยวกับเว็ปไซด์ทางอินเตอร์เน็ต การแสดงความคิดเห็น การโพสต์คลิปเกี่ยวกับข่าวดารา นักแสดงซึ่งล้วนเป็นความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาทและมีความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อีกด้วย

เท่าไหร่ แค่ไหนเป็นการหมิ่นประมาท

การเขียนข้อความทางอินเตอร์เน็ตที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท นั้นคือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง โดยการใส่ความผู้อื่นเป็นการหมิ่นประมาทที่มีอยู่หลายทาง อาจจะเขียนข้อความถึงการแสดงพฤติกรรมอันเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วหรือกำลังเกิดอยู่(เช่น การบอกว่าคนตายเสียชีวิตเพราะโกงชาติแบบนี้ลูกหลานสามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้เลย) หรือเขียนข้อความถึงบุคคลที่สามว่ามีประพฤติชั่วในทางประเวณีหรือทุจริตในหน้าที่การงาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตามก็เข้าข่ายเป็นความผิดหมิ่นประมาททั้งนั้น เช่น “นางสาว ต.เป็นชู้” “นาง ส.โกงเงินบริษัท” “นาย ว.เป็นแมงดาเกาะผู้หญิงกิน” “ยาย น.เป็นข้าราชการที่คอรัปชั่น”

บทลงโทษการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต
การเขียนหรือโพสต์ข้อความหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ตมีโทษแรง เพราะเป็นการหมิ่นประมาททางสาธารณะตามความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท นอกจากนี้ยังมีความผิดฐานเขียนข้อความเผยแพร่ทางเว็บไซด์ ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาทอีกด้วย

โพสต์เรื่องส่วนตัวของผู้อื่นผิดเต็มๆ

ผู้ที่ถูกฟ้องในความผิดฐานหมิ่นประมาท(ผู้ปล่อยข่าว) ตามกฎหมายไทยนั้นไม่ต้องรับโทษหากสิ่งที่เค้าพูดหรือเผยแพร่ได้รับการพิสูจน์ในชั้นศาลว่าเป็นความจริง แต่กฎหมายไม่ให้สิทธิ ในการพิสูจน์เรื่องส่วนตัวและพิสูจน์ความจริงนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้นการเขียนข้อความประเภท ใครรีดลูก ใครเป็นชู้กับใคร ถึงแม้จะเป็นความจริง ผู้เขียนข้อความก็ต้องรับโทษตามคดีหมิ่นประมาท เพราะศาลไม่ให้สิทธิในการพิสูจน์ความจริงในเรื่องส่วนตัว

แต่ถ้าเป็นการยักยอกเงินบริษัท การโกงกินแผ่นดินหรือการหรือทำตัวเป็นเฒ่าหัวงู ลามกกับสาวๆไปทั่ว แบบนี้ศาลให้พิสูจน์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง ผู้เขียนข้อความไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะถือว่าช่วยเป็นหูเป็นตาให้สังคมได้ตรวจสอบผู้คนที่เป็นพิษภัยต่อสังคม

คำแนะนำทางกฎหมาย

ในทางกฎหมายไม่สนับสนุนให้ใช้วิธีตาต่อตา ฟันต่อฟัน ประเภทที่ว่าเค้าหมิ่นประมาทคุณผ่านเว็ปไซด์ หรือเว็ปบอร์ดทางอินเตอร์เน็ต คุณก็ตอบโต้เค้าด้วยวิธีเดียวกัน คือเขียนประจานเค้าทางอินเตอร์เน็ตกลับไปบ้าง ไม่ฉลาดเลย ถ้าจะใช้วิธีโจรตอบโต้โจร จะกลายเป็นว่าคุณก็หมิ่นประมาทเค้าเช่นกัน แบบนี้ต้องรับโทษในข้อหาหมิ่นประมาททั้งสองฝ่าย
ขอบคุณ:http://goo.gl/l88Ts7

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ชาวกูย ทำบุญรวมญาติไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ นมัสการหลวงพ่อพุทธเจ้าใหญ่

ชาวกูย ทำบุญรวมญาติไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ นมัสการหลวงพ่อพุทธเจ้าใหญ่

 “ชาวกูย” ทำบุญรวมญาติไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ นมัสการหลวงพ่อพุทธเจ้าใหญ่

        ศรีสะเกษ - ชนเผ่า “ชาวกูย” อำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ จัดงานทำบุญรวมญาติไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ นมัสการหลวงพ่อพุทธเจ้าใหญ่ ประจำปี 2558

       
       เมื่อเวลา 10.00 น. 14 เม.ย. ที่วัดบ้านเมืองจันทร์ อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เป็นประธานเปิดงานทำบุญรวมญาติไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ นมัสการหลวงพ่อพุทธเจ้าใหญ่ ประจำปี 2558 โดยมีนายกเทศมนตรีตำบลเมืองจันทร์นำข้าราชการ สมาชิกสภาเทศบาล และพนักงานเทศบาลตำบลเมืองจันทร์ พ่อค้า ประชาชนชาวอำเภอเมืองจันทร์ ร่วมงานเป็นจำนวนมาก
       
       ในการจัดงานครั้งนี้มีกิจกรรมประกอบด้วย พิธีบวงสรวงไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ ทำบุญอุทิศกุศลให้กับบรรพบุรุษ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ เล่นน้ำสงกรานต์ การจำหน่ายสินค้าโอทอป การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านชาวกูย ซึ่งเป็นชนเผ่าท้องถิ่นเมือง และการแสดงแสง สี เสียง เล่าขานตำนานสร้างพระธาตุเมืองจันทร์
       
       ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชนเผ่ากูย เปิดโอกาสให้ชนเผ่ากูยได้ทำบุญอุทิศกุศลให้กับบรรพบุรุษ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อเป็นการเสริมสร้างความสมานฉันท์คืนความสุขให้แก่ชนเผ่ากูย อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ 



“ชาวกูย” ทำบุญรวมญาติไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ นมัสการหลวงพ่อพุทธเจ้าใหญ่
นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ รองผู้ว่าฯศรีสะเกษ ประธานพิธี

        




ขอบคุณ:ASTVผู้จัดการออนไลน์

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติชาว กูย จังหวัดพิจิตร

ประวัติชาว กูย หรือส่วย บ้านยางตะพาย ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร 



   นางเมิ้ง สีมาจันทร์ อยู่บ้านเลขที่ ๓๑/๑ หมู่ที่ ๓ บ้านยางตะพาย ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เล่าว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๗ ณ จังหวัดสุรินทร์ เกิดฝนแล้ง ไม่มีน้ำประกอบอาชีพการเกษตรเลี้ยงครอบครัว นายวา นายมล บุราคอน พร้อมลูก ๕ คน จึงได้อพยพครอบครัวเดินทางมาทางทิศตะวันตกเพื่อ มาหาญาติที่หมู่บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลวังโมกข์ อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร และมาถึงบริเวณหมู่บ้านยางตะพาย ซึ่งขณะนั้นเป็นป่าดงดิบยังไม่มีใครจับจอง ที่ทำกิน จึงได้ช่วยกัน ถ่างป่า เพื่อใช้พื้นที่ทำนาเลี้ยงชีพ พอมีเงินจึงได้ไปเช่ากระบือ มาใช้ไถนา ต่อมามีผู้ย้ายมาอยู่บริเวณนี้ จำนวน ๓ ครัวเรือน เห็นว่าที่ทำกินอุดมสมบูรณ์จึงได้กลับไปชักชวนญาติที่อยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ มาจับจองที่ทำกิน จนกระทั้งมีบุตรหลาน ประมาณ ๑๓๐ หลังคาเรือนแล้วในปัจจุบัน ลักษณะทางสังคม ชาวกูยหมู่บ้านยางตะพาย ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร มีลักษณะทางสังคมแบบสังคมชนบท และเกษตร เช่นเดียวกับไทยพื้นเมือง ไทยทรงดำ และ ไทยอีสาน ประกอบอาชีพทางการเกษตร ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว นับถือผู้อาวุโสกว่าบิดามารดา เป็นผู้ปกครองบุตร และผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัว ซึ่งกูยจะมีความแตกต่างตรงที่ มีความมุ่งมั่น และเป็นตัวของตัวเองสูง ยึดมั่นในความเชื่อ และขยันประกอบอาชีพ ฉลาด วิถีชีวิตของชาวกูย มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกันกับไทยพื้นเมืองพิจิตร เนื่องจาก สภาพทางสังคม อาชีพ และภูมิศาสตร์ ส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร ในแต่ละวัน ก็ไปทำนา ทำไร่ ตกเย็นก็กลับบ้านพักผ่อน ยามว่างจากการทำนา ทำไร่ ก็จะรับจ้าง หรือทำงานในเมืองใหญ่ และให้ความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดี
ขอบคุณ:ศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม