วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทบาทของบรรพบุรุษกูยและการปกครอง ในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - พ.ศ. ๒๔๕๓)

บทบาทของบรรพบุรุษกูยและการปกครอง ในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - พ.ศ. ๒๔๕๓)

ขอบคุณภาพ:http://scoop.mthai.com/specialdays/5451.html

พ.ศ. ๒๔๑๒ พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านกุดไผทหรือจารพัตเป็นเมือง ขอหลวงไชยสุริยง (คำมี) บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์ (หมื่น) กองนอกเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งปลัดและยกกระบัตรเมืองสังฆะว่าง ขอพระสุนทรพิทักษ์ บุตรพระปลัดคนเก่าเป็นปลัด ขอหลวงศรีสุราช ผู้หลานเป็น ยกกระบัตรเมืองสังฆะ ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๗ ในปีมะเส็งนั้น (พ.ศ. ๒๔๑๒) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีตราพระราชสีห์ตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัต เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ตั้งให้หลวงไชยสุริยงกองนอกเป็นพระศีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมืองขึ้นเมืองสังฆะ
ฝ่ายทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรฯ เห็นว่าพระยาสังฆะฯ ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศีขรภูมิแล้ว ก็เกรงว่าพระยาสังฆะฯ จะเอาบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย จึงได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลำดวนเป็นเมือง ขอให้พระไชยณรงค์ภักดี (นาก) ปลัดเมืองสุรินทร์ เป็นเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองสุรพินทนิคม ให้พระปลัด (นาก) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมขึ้นเมืองสุรินทร์มาแต่นั้น พ.ศ. ๒๔๑๕ ฝ่ายพระยาสังฆะฯ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลำพุกเป็นเมือง ขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะเป็นเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลำพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์ เจ้าเมืองกันทรารมย์ ขึ้นกับเมืองสังฆะ พ.ศ. ๒๔๑๖ ทางเมืองสุรพินทนิคม พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองก็ถึงแก่กรรมในปีนี้ พระยาสุรินทรฯ (ม่วง) เห็นว่า หลวงพิทักษ์สุนทร บุตรพระปลัดกรมการเมืองสังฆะ ซึ่งสมัครมาอยู่เมืองสุรพินทนิคมเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงดี จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคม หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมได้สามปีก็ถึงแก่กรรม
แต่นั้นมาเจ้าเมืองสุรพินทนิคมว่างตลอดมา พ.ศ. ๒๔๒๔ ฝ่ายทางเมืองจงกัล ตั้งแต่โปรดเกล้าฯ ให้หลวงสัสดี (สิน) เป็นพระวิไชยเจ้าเมืองจงกัลแล้ว พระวิไชยรับราชการได้ ๗ ปีก็ถึงแก่กรรม ครั้นมาปีนี้ เจ้าเมืองสังฆะจึงได้ให้พระสุนทรนุรักษ์ผู้หลานนำใบบอกไปกรุงเทพฯ ขอให้พระสุนทรนุรักษ์เป็นพระทิพชลสินธุ์อินทรนฤมิตร
ทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรฯ ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ว่าง ขอพระมหาดไทยเป็นพระพิไชยนครบวรวุฒิ ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๒๕ ระหว่างปีนี้ คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวเป็นอันมากข้ามไปตั้งอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรฯ จึงได้มีใบบอกขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง ขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง วันอังคารขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองชุมพลบุรี ให้พระวิเศษราชา (นัยหนึ่งว่า หลวงราชวรินทร์) (ทองอิน) เป็นพระฤทธิรณยุทธ เจ้าเมือง และโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวเพชรเป็นที่ปลัดให้ท้าวกลิ่นเป็นที่ยกกระบัตร ทั้งสองคนนี้เป็นพี่ชายพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) และท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี พร้อมกันนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทรฯ (ม่วง) คนหนึ่งเป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์เป็นเจ้าเมืองสุรพินทนิคมแทนคนเก่าที่ถึงแก่กรรมและตำแหน่งเจ้าเมืองยังว่าง พ.ศ. ๒๔๒๙ พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ได้เชิญประชุมเจ้าเมืองภาคอีสานขึ้น ณ เมืองอุบล เพื่อสำรวจชายฉกรรจ์และแก้ไขระเบียบการจัดเก็บภาษีอากรในระหว่างการประชุมข้าราชการอยู่นั้น ได้รับรายงานว่าทัพฮ่อเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์แตก การประชุมต้องยุติลง พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ต้องรีบระดมกำลังขึ้นไปยังเมืองหนองคายโดยด่วนเพื่อสมทบกับกองทัพเมืองนครราชสีมา ส่วนกองทัพจากกรุงเทพฯ นั้นโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปสมทบที่เมืองหนองคายซึ่งเป็นจุดชุมพล สำหรับพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์(ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์ ได้มีคำสั่งให้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบล เพราะเจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพในครั้งนั้นด้วย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบลอยู่ ๒ ปี จึงได้กลับเมืองสุรินทร์ เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ย่างเข้าวัยชราภาพแล้ว ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เต็มที่ จึงได้มอบให้นายเยียบ (บุตรชาย) ช่วยราชการเป็นการภายใน พ.ศ. ๒๔๓๒ พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีอำนาจเต็มในภาคอีสานทั้งหมด ได้แต่งตั้งใบประทวนให้ นายเยียบ เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง ๒ ปี ถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ก็ถึงแก่กรรม พระยา สุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงต้องกลับมาเป็นเจ้าเมืองอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้นเอง พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีสะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ ๒๑ เมือง เมืองขึ้น ๔๓ เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว พ.ศ. ๒๔๓๕ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ ซึ่งย้ายมาแทนพระมหาอำมาตย์ (หรุ่น)ได้ทรงแต่งตั้งให้พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) น้องชายพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ (เปลี่ยนจากเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง) ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลางมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาดทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งเป็นราชอาณาจักรของไทย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ ศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ ๘๐๐ เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ ๕๐๐ ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม ๒๔๓๖ ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองสุรินทร์จึงได้กลับคืนบ้านเมือง
อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวสุรินทร์จะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสสงบลงไม่นานนัก ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ (บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ได้ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ยังมิได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ตามตำแหน่งในช่วงระยะนี้ เสด็จในกรมฯ ผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้สั่งย้ายหลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) และแต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน และในปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สับเปลี่ยนข้าหลวงต่างพระองค์มณฑลอีสาน โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ มาดำรงตำแหน่งแทนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ในวาระที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เดินทางกลับกรุงเทพฯ ผ่านเมืองสุรินทร์ ได้ทรงแต่งตั้งพระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ)บุตรนายสอน ซึ่งเป็นบุตรพระยาสุรินทรฯ (ตี) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ และเมื่อเสด็จถึงกรุงเทพฯ แล้ว จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) เป็นพระยา สุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา ระหว่างนี้ ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตัวข้าหลวงกำกับราชการโดยลำดับ กล่าวคือ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาประจำอยู่ประมาณ ๑ ปี ก็ย้ายไปอยู่จังหวัดศรีสะเกษ สับเปลี่ยนกับจมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) จมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี ดำรงตำแหน่งประมาณ ๑ ปี ก็ย้ายไปโดยมีหลวงวิชิตชลหาญมาดำรงตำแหน่งแทน ชั่วระยะเวลาอันสั้น กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ก็ได้ย้ายหลวงสาทรสรรพกิจมาดำรงตำแหน่งแทนในประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๘ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) ถึงแก่กรรมในปีจุลศักราช ๑๒๕๗ หรือ ร.ศ. ๑๑๔ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๓๘ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ โปรดให้พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) สันนิษฐานว่าเป็นบุตรของนายพรหม (นายพรหมเป็นบุตรของพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี)เจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ ๓) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรมเมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๐ และเมื่อถึงแก่กรรมแล้วจึงไดรับสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสาน จึงโปรดให้หลวงประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) ซึ่งเป็นบุตรของพระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์คนที่ ๘ เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์แทน แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง ๑ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ.๒๔๕๑ และในต้นปี พ.ศ. ๒๔๕๑ นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง เป็นช่วงเวลาที่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (เข้าสู่แบบเทศาภิบาล) ส่วนกลางได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดบ้าง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง บุคคลแรกที่ได้รับการแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ คือ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์)
นับแต่ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองสุรินทร์ มีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมือง ปกครองสืบเชื้อสายต่อมา ได้มีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองปกครองโดยลำดับ ดังนี้
๑. พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) พ.ศ. ๒๓๐๓ - ๒๓๓๗
๒. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) พ.ศ. ๒๓๓๗– ๒๓๕๑
๓. พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) พ.ศ. ๒๓๕๑ - ๒๓๕๔
๔. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) พ.ศ. ๒๓๕๔ - ๒๓๙๔
๕. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๓๒
๖. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (เยียบ) พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๓๓
๗. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๓๔
๘. พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๓๖
๙. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๓๘
๑๐. พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (บุญจันทร์) พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๕๐
๑๑. พระประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๕๑
รายนามข้าหลวงกำกับราชการ
๑. หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๓๖
๒. หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๓๗
๓. จมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๓๘
๔. หลวงวิชิตชลหาญ พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๓๘ ๕. หลวงสาทรสรรพกิจ (อู๊ต) พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๕๐
รายนามข้าหลวงและผู้ว่าราชการจังหวัด
๑. พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์) พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๓
๒. หลวงวิชิตสรไกร (ขำ ณ ป้อมเพชร) พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๕๔
๓. พระอนันตรานุกูล (สว่าง พุกณานนท์) พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๕๗
๔. หลวงประสงค์สุขการี (เทียบ สุวรรณิน) พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๑
๕. พระยาสำเริงนฤปการ (อนงค์ พยัคฆันตร์) พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๖๕
๖. พระนิกรจำนงค์ (จิตร ไกรฤกษ์) พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๔๖๙
๗. พระยาเสนานุชิต (จร ศกุนตะลักษณ์) พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๐
๘. พระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา) พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๑
๙. พระยาสุริยาราชวราภัย (ศิริ วิเศษโกสิน) พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๗๖
๑๐. พ.ต.อ.พระยาขจรธรณี (ปลั่ง โสภารักษ์) พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๗๗
๑๑. พระศรีพิชัยบริบาล (สวัสดิ์ ปัทมดิลก) พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๑
๑๒. หลวงนครคุนูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๘๔
๑๓. นายโฉม จงศิริ พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๙
๑๔. ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ไมตรีประชารักษ์) พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๐ ๑๕. ขุนพำนักนิคมคาม (สนธิ พำนักนิคมคาม) พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๒
๑๖. นายทำนุก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๖
๑๗. นายเลื่อน ไขแสง พ.ศ. ๒๔๙๖ - ๒๔๙๘
๑๘. พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๐๐
๑๙. นายมานิต ปุรณพรรค์ พ.ศ. ๒๕๐๐- ๒๕๐๑
๒๐. หลวงปริวรรตวรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย ปริวรรตวร) พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๕ ๒๑. นายคำรน สังขกร พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๑๐
๒๒. พล.ต.ต.วิเชียร สีมันตร พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๓
๒๓. นายสงัด รักษ์เจริญ พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๑๔
๒๔. นายฉลอง วัชรากร พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๕
๒๕. นายสงวน สาริตานนท์ พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๗
๒๖. นายสุธี โอบอ้อม พ.ศ. ๒๕๑๗- ๒๕๑๙
๒๗. นายฉลอง กัลยาณมิตร พ.ศ. ๒๕๑๙- ๒๕๒๓
๒๘. นายเสนอ มูลศาสตร์ พ.ศ.๒๕๒๓ – ๒๕๓0..... 
  ปัจจุบัน  นายนิรันดร์   กัลยาณมิตร พ.ศ. ๒๕๕๔- ปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูล:http://9surin.blogspot.com/p/blog-page_2943.html

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สาเหตุของการเกิดกบฎสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๓

ขอบคุณภาพ:https://khampoua.wordpress.com/tag/chao-anouvong/
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ให้กลุ่มชาวกูยเป็นข้าไพร่แผ่นดินสยาม ได้ถูกเกณฑ์แรงงานและจัดส่งส่วย ให้แก่ทางราชการอยู่โดยตลอด ในสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเกณฑ์แรงงานกูยในเขตอีสานใต้ ( เขมรป่าดง ) เริ่มประสบความยุ่งยากเพราะหนุ่มฉกรรจ์ชาวกูย มักหลบหนีการเกณฑ์ บางครั้งถึงกับซุ่มโจมตีทำร้ายเจ้าพนักงานแล้วหนีเข้าป่า และมีชาวกูยได้ก่อการกบฏขึ้น ดังเช่นกบฏเชียงแก้ว พ.ศ. ๒๓๓๔ ได้เกิดเหตุในแขวงเขตจำปาศักดิ์ และในเขตหัวเมืองต่างๆในอุบลราชธานี กบฏสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๓ เป็นกบฏของข่า ( กูย ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลาวใต้ และบริเวณอีสานใต้ ทางกรุงเทพฯ ได้ให้เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองเวียงจันทร์ ยกทัพไปปราบ และได้จับสาเกียดโง้งและชาวข่า ( กูย ) พร้อมทั้งครอบครัวจำนวนมากส่งมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้จำสาเกียดโง้งไว้ตลอดชีวิต ส่วนครอบครัวกูยโปรดให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ตั้งบ้านเรือนที่บางบอนธนบุรี กูยเคยมีจำนวนถึง ๓๐๐,๐๐๐ คน ถูกลดจำนวนลงเหลือเพียงไม่กี่พันคน เมื่อรัฐไทยได้เข้าไปทำการจัดเก็บภาษีในบริเวณอีสานใต้ โดยมีการพัฒนาจัดเก็บภาษีเป็นควาย ซึ่งนอกเหนือจากภาษีของคนป่า เพื่อนำส่งไปยังกรุงเทพฯ เช่นปี พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่เมืองสุรินทร์ ได้จัดส่งควาย ๖๑ ตัว เมืองรัตนบุรี ๑๖๓ ตัว และกองพระยาภักดีชุมพลเมืองสุรินทร์ ๓๒ ตัว การจัดเก็บได้ทวีเพิ่มความรุนแรงขึ้น เมื่อชาวกูยไม่มีสิ่งของเป็นส่วยให้กับทางราชการ และพอถึงปลายรัชกาลที่ ๔ ก็เข้ารอบวิกฤตอีกคือ กูยไม่มีส่วยสิ่งของส่ง จึงเอาตัวคนกูยส่งส่วยแทน ล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เกิดกบฏผีบุญขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ยกบฏกับฝ่ายรัฐบาลสะพือ ( ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตระกาลพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ) หัวหน้าฝ่ายกบฏคือ องค์ลูกน้องขององค์แก้ว หัวหน้าพวกข่า ( กูย ) ในลาว องค์มั่น มีชาวบ้านเข้าด้วยหลายพันคน เมื่อปะทะกับกองกำลังประมาณ ๑๐๐ คน ของกรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงสำเร็จราชการอีสานในวันที่ ๔ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๒ ( พ.ศ. ๒๔๔๕ ) ที่บ้านสะพือ องค์มั่นก็สั่งให้พรรคพวกนั่งลง ภาวนาเอาบารมีบุญกุศลเป็นที่พึ่ง จะแคล้วคลาดจากกระสุนปืนใหญ่ ปรากฏว่าฝ่ายผู้มีบุญถูกกระสุนปืนใหญ่ตายนับร้อย ที่เหลือถูกจับหรือแตกหนีไป เมื่อพิจารณาสาเหตุการเกิดกบฏ ถ้ามองการปกครองรัฐบาลไทย ซึ่งนำเอาอย่างประเทศอาณานิคม คือ อังกฤษ ด้านวัฒนธรรมไม่เอาใจใส่ หรือไม่สนใจกับรากฐานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ตนเข้าไปปกครองขณะเดียวกันก็มี ความพยายามที่จะกดดันวัฒนธรรมเดิมให้อ่อนด้อยลงพร้อมกับการนำเอาวัฒนธรรม ใหม่เข้าไปแทน ปัจจัยดังกล่าวน่าจะมีผลกระทบต่อชาวกูยเพราะสอดคล้องกับผลการสำรวจของ เอเจียน แอมอนิเย ที่กล่าวว่า ชนเผ่ากูยเป็นเผ่าที่ยากจนที่สุด ไม่มีไร่นาจะเพาะปลูก เขามีเพียงไร่ผืนเล็กๆกลางป่าเพื่อปลูกข้าว ต่อมาฝรั่งได้ขยายอำนาจสู่บริเวณอินโดจีน รัฐไทยมีนโยบายเพื่อความมั่นคง โดนเฉพาะชายแดนในอีสานตอนใต้ที่มีชนชาติกูยได้ถูกผนวกเข้ากับรัฐไทย ได้เปลี่ยนสัญชาติกูยเป็นไทย การสำรวจสำมะโนครัว หรือ หากมีราษฎรติดต่อราชการที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ทางราชการให้ปฏิบัติโดดยกรอกใน ช่องสัญชาติว่าไทย บังคับห้ามมิให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ชาติส่วย(กูย) ผู้ไทย ดังที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อนเด็ดขาด อาจกล่าวได้ว่าประวัติชนชาติกูย มีบทบาทสำคัญยิ่งในบริเวณอีสานตอนใต้ ลาวใต้และกัมพูชาตอนบน (ตะวันออกเฉียงเหนือทะเลสาบเขมร) มีความเป็นมาและได้มีการพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ผสมกลมกลืนกับชาว กัมพูชา ลาวและไทยตลอดมาโดยเฉพาะกับชนชาติไทยปัจจุบัน ชาวกูยมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บางอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ บ้านสะเดาหวาน อำเภอพยัคฆ์ภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และบางอำเภอในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
ถิ่นฐานของชาวกูยในประเทศไทย
เนื่องจากชาวกูยตั้งถิ่นฐานปะปนกันอยู่กับชาวเขมรสูงและชาวลาว จึงมีการติต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกันตามวิสัย และทำให้ชาวกูยกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเขมรสูงและวัฒนธรรมลาว ดังจะเห็นได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองสุรินทร์ใหม่ๆนั้นมีคนกูยทั้งเมือง ชาวเขมรสูงมีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่นานเข้าวัฒนธรรมของเขมรสูงก็ค่อยๆเข้ามามีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมของชาวกู ย ชาวกูยจึงถูกกลืนเข้าไปเป็นคนเขมรเกทอบหมด ( ประเสริฐ ศรีวิเศษ ๒๕๒๑ ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ จังหวัดศรีสะเกษยังเป็นเมืองที่มีชาวกูยอยู่กันทั้งเมืองมีพวกลาวเวียง ( สาขาเวียงจันทร์ ) ปะปนอยู่บ้างบางหมู่บ้าน แต่วัฒนธรรมของลาวได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือชาวกูย จึงทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม ชาวกูยที่นี่พูดภาษาลาวด้วยสำเนียงส่วยโดยสามารถใช้สะระเอือได้ ในขณะที่ภาษาลาวเวียงเดิมมีแต่สระเอีย ร่องรอยที่แสดงว่าศรีสะเกษเดิมเป็นเมืองที่ชาวกูยอาศัยอยู่กันทั้งเมืองก็ คือตัวเลขสำมะโนครัวสมัยนั้นและการเรียกขานชาวศรีสะเกษว่า “ส่วยศรีสะเกษ” อยู่จนทุกวันนี้ ( จิตร ภูมิศักดิ์ ๒๕๒๔ ) ปัจจุบันชาวกูยอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างแม่น้ำมูลกับเทือกเขาพนมดง รัก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ จนถึงอุบลราชธานี เชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็นเส้นทางอพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศลาวสู่ประเทศ ไทยและยังเชื่อกันว่า ชาวกูยที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นชาวกูยที่ตกค้างอยู่ตั้งแต่ครั้งอพยพ มาจากลาว ( ประเสริฐ ศรีวิเศษ ๒๕๒๑ ) ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชาวกูยส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษและมีการอพยพโยกย้ายข้ามอำเภอ หมู่บ้านชาวกูยแต่ละหมู่บ้านมาจากที่เดียวกันทั้งหมู่บ้านหรือมาจากหลายที่มา อาศัยด้วยกัน นอกจากนี้ยังพบผู้พูดภาษากูยในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และที่บ้านหนองบัว ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พูดภาษาเขมรอาศัยอยู่เช่นกัน ชาวกูยที่นี่เรียกตัวเองว่า “กวย”
ขอบคุณ;https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://human.msu.ac.th/husoc/doc/doc_research/001.pdf&ved=0ahUKEwjOx8GugavPAhWItI8KHR1FB_M4FBAWCBowAQ&usg=AFQjCNHsdVhXuGCvLTtGjNG-w1Zxbtx29A&sig2=e-sOMFNLmmbfPSlMoh3nUQ

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

นายสุ่น หลานเชียงปุม และนางดาม ต้นสายสกุล เมืองสุรินทร์

นายสุ่น นางดาม ต้นตระกูล เมืองสุรินทร์


นายสุ่น  หลานเชียงปุม ต้นสายสกุล เมืองสุรินทร์

ปี พ.ศ. 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเขมรมีใจฝักใฝ่ ให้กับญวน พระเจ้าตากสิน สั่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่1 (ท่าน เคยนำคนมาตามหาช้างเผือก บริเวณ เขมรข่า ป่าดง )ยกทัพไปปราบปรามเขมร โดยเกณฑ์กองทัพช้างเมืองประทายสมันต์ สังขะ ขุขันธ์ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ กำปงสวายและเสียมราฐ....การปราบปรามเขมรครั้งนี้ ยังไม่เสร็จ ก็เกิดความวุนวายไม่สงบขึ้น ในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงเลิกทัพกลับคืน ธนบุรี..ทิ้งความขัดแย้งไว้ที่เมืองเขมร(กองทัพช้างของเมืองปะทายสมันต์ แต่งทัพช้าง ที่ทุ่งมน วัดหลวงปู่หงษ์เป็นกลุ่มคนเลี้ยงช้าง ชาวข่า ปัจจุบันนี้มีร่องรอยให้เห็น เล็กน้อยที่ทุ่งมน )
ในสงครามครั้งนี้ได้ เขมรหลบหนีสงครามจากเมือง เสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร ฯ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ เป็นจำนวนมาก เช่น.. นางดาม เป็นลูกสาวเจ้าเมืองประทายเพชร ได้นำข้าทาส บริวารชาวเขมรมาอยู่เมืองประทายสมันต์ ได้แต่งงานกับนายสุ่น หลานเชียงปุ่ม สังคมของเมืองปะทายสมันต์ ในอดีตมีวัฒนธรรมความเป็นกูย จำนวนมาก เมื่อชาวเขมร ได้นำวัฒนธรรมของเขมรที่แข็งแรงกว่าของชาวกูย เข้ามาแทนที่ วัฒนธรรมของชาวกูย ความเป็นอยู่ จึงเป็นไปทางเขมรมากขึ้นทำให้วัฒนธรรมของเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองปะทายสมันต์..ศึกสงครามเมืองเขมรครั้งนี้ ทำให้เชียงปุ่มได้หลานสะใภ้ ได้เป็น " พระยา "
เมื่อประมาณปี พศ 2330 คนสุรินทร์กลุ่มแรกๆที่มาอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง คือกลุ่มข้าทาสของภรรยา หลานเจ้าเมืองสุรินทร์ ชื่อ นางดาม ต่อมาได้เป็นภรรยาของเจ้าเมือง ท่านที่4นางดาม-นายสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตระกูลของคนสุรินทร์ หลายสิบสายสกุล ชีวิตของนางดาม ได้ทำประโยชน์ เกื้อหนุน คนสุรินทร์ไว้มาก เช่น ได้อุปถัมค้ำจุน ออกทุนสนับสนุน วัดศาลาลอย สั่งให้ลูกหลานคอยดูแลหลายๆครอบครัวในละแวก วัดศาลาลอย สืบเชื้อสาย จาก นางดาม-นายสุ่นนางดาม ได้ใช้พื้นที่นอกกำแพงเมืองชั้นนอก( ตลาดน้อย) ตะเปียงเวียงหนองยาว โรงเรียน สวค สธ เทคนิค อาชีวะ อนุบาล โรงเรียนเมือง สนามกีฬา " เพื่อทำการเกษตร " และ ใช้พื้นที่ บริเวณ เวียลสวาย (ดองกะเม็ด - หมอกวน -ไตรรงค์ )ใช้เป็น พื้นทีี่ " ปลูกพืชสวน ผลไม้ "
รวมถึง ทุ่งนา นอกกำแพงเมือง ทิศตะวันตก-เหนือ เวียลโพธิ์ ทุ่งโพธิ์ โคกบัวราย (โคกบาราย ) ติดชายขอบกำแพงเมืองข้ามรางรถไฟปัจจุบัน ชุมชนทุ่งโพธิ์ วัดทุ่งโพธิ์ เกาะลอย ชอยกำแพง นางดามได้ใช้พื้นที่ เป็นที่ ทำนา เพราะเป็นนาโล่งกว้าง และพื้นที่นาทุ่งโพธิ์นี้แห่งนี้เอง ใช้เป็นบริเวณที่ จัดงาน " เผาศพ นางดาม "กระดูกของนางดาม ฝังไว้ ที่ป่าช้า โคกตังกอ( บางท่านว่า อยู่บริเวณ วัดเทพสุรินทร์ หรือ บริเวณชุมชนทุ่งโพธิ์ )นางดาม พักที่คุ้มเจ้าเมือง เนินโคกสูง(ชุมชนตาดอก) มีลูก หญิง1 ชาย 7 คนโตเป็นหญิงเป็นสะใภ้เจ้าเมืองสังขะลูกชายคนที่2 ต้นสกุล แย้มศรี ลูกคนที่ 3 ต้นสกุล สุภิมารส คนที่4 ต้นสกุล นิลพัฒน์ ลูกคนที่ 5 ไม่ทราบ คนที่6 เป็นต้นสกุล กนกนาก ท่านที่7 ต้นสกุล รัตนสูรย์ ลูกคนที่8 ต้นสกุล สุนทรารักษ์ สกุลทั้งหมดนี้ได้แตก-แยก-ร่วมเป็นหลายสายสกุลในเมืองสุรินทร์ครับ นับว่าคนสุรินทร์มีบรรพบุรุษเป็นพี่น้องกัน" เป็นไปได้ไหมครับ ที่ลูกหลานนายสุ่น ไม่ค่อยพูดกูย เพราะมีคนเลี้ยง-พี่เลี้ยงเป็นคนเขมร เลยพูดเขมร ตามสายเลือดของ มารดา
นายสุ่น ต้นตระกูล เมืองสุรินทร์
ปฐมบท นายสุ่น...
หรือ พระยาสุรินทร์ภักดี ศรีผไทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่ 4
นายสุ่น เป็นหลานคนโตของ เชียงปุ่ม เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่1
นายสุ่นเป็นลูกชายคนแรกของ นายตี เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่2
และ นายสุ่นก็เป็นหลานอา ของ นายมี เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่3
และนายสุ่นยังเป็นต้นตระกูลระดับtop tenของเมืองสุรินทร์ด้วย
ในปีพศ. 2354 ตรงกับสมันรัชกาลที่ 3 เทียบได้ รศ. 30
เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่3 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์เสียชีวิต
นายสุ่นหลานชายได้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์คนที่4 มีชื่อว่า
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์(สุ่น) เป็นเจ้าเมืองนานถึง 40ปี
นายสุ่น เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่4 ได้แต่งงานกับนางดาม มาดไว
ลูกสาวเจ้าเมืองประทายเพชร ที่หนีสงครามในเขมรมาอาศัยอยู่เมืองสุรินทร์ (ประทายสมันต์ )พร้อมบริวารมากมาย
นายสุ่น กับ นายดาม มีลูกด้วยกัน 8 คน ชาย 7 หญิง 1
บทที่1
๐๐ลูกสาวคนโต ชื่อ นางจันทร์ แต่งงานกับ นายทองอินทร์ เป็นลูกชายเจ้าเมืองสังขะ( ทองด้วงย้ายไปปกครองขุขันธ์ ) ทองอินทร์จึงเป็นพระยาสังขะบุรีศรีนครอัจจะ เป็นเจ้าเมืองสังขะแทนบิดา
( นายสุ่น เจ้าเมืองสุรินทร์ ท่านที่4 มีลูกเขยเป็นเจ้าเมืองสังขะ )
นายทองอินทร์ กับ นางจันทร์ มีลูกคนเดียวเป็นผู้ชายชื่อ นุต
หรือพระอนันต์ภักดี(นุต) เป็นผู้ช่วยเจ้าเมืองสังขะ
เมือนายทองอินทร์บิดาเสียชีวิต นาย นุต ก็เป็นเจ้าเมืองสังขะ
นายนุต แต่งงานกับใคร ไม่ทราบ แต่มีลูกชาย2คน(เท่าที่รู้)
คนแรก ชื่อนายเทศ ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระทิพย์ธานินธ์อินทรนฤมิตร เจ้าเมืองจงกัลป์ (ปัจจุบันนี้อยู่ในเขมร)
ลูกชายคนที่สอง นายทองดี เป็นเจ้าเมืองสังขะ ท่านสุดท้าย
จะเห็นได้ว่า นายสุ่นเจ้าเมืองสุรินทร์ มี ลูกเขย หลาน เหลน
เชื้อสายสุรินทร์ต่อสายสัมพันธ์ ได้เป็นถึงเจ้าเมืองสังขะ
บทที่2
๐๐ลูกชายคนที่สอง ชื่อ นายมาส หรือ พระไชยณรงค์ภักดี
นายมาส แต่งงานกับหญิงใด ก็ไม่ทราบเช่นกัน แต่..
มีลูก 4 คน ทราบประวัติ แค่ 2 ท่าน
ลูกชายคนแรก ชื่อ นายทูล หรือ พระพิชัยนครบวรวุฒิ
ลูกชายคนที่สาม ชื่อ แย้ม มีลูกชาย 1คน ชื่อนายเยี่ยม หรือ
หลวงบุรินทร์ภักดี(เยี่ยม ) ท่านนี้คือ " ต้นตระกูล แย้มศรี "
นายเยี่ยม แต่งงานกับ นางเซียม(สกุลเดิม ทัดศรี ญาติๆกัน)
กลายเป็นต้นตระกูล " แย้มศรี " สืบเชื้อสายพระยาสุรินทรืภักดีฯ
ซึ่งแตกออกไปอีกหลายนามสกุลในเมืองสุรินทร์
บทที่3
๐๐ลูกชายคนที่สาม ชื่อ นายเม็งหรือพระสุนทรภักดี แต่งงานกับ นางเติง
มีลูก 7 คน ชาย 5 คน หญิง 2 คน
ลูกชายคนแรกชื่อ นายเภา ไม่มีลูกสืบสกุล
ลูกสาวคนรอง ชื่อ งา แต่งงานกับ พระพล เกิด สายสกุล " สุภิมารส "
ลูกชายคนที่สาม ชื่อ ยังท่าน มีเมียหลายคน ต้นตระกูล " สุบินยัง "
นายยัง เป็น บิดาของนายทัดเป็นปู่นายพลอย ต้นตระกูล " ทัดศรี "
และนายยัง ก็เป็นปู่ทวดของหลวงปู่เวียน วัดหนองบัว
ลูกคนที่4 5 6 7 ไม่ทราบข้อมูล
บทที่ 4
๐๐ ลูกชายคนที่4 ชื่อ นายมาลย์ หรือ พระกุมาลย์มนตรี
นายมลาย์ แต่งงานกับ นางสุมณฑา ลูกสาวเจ้าเมืองร้อยเอ็ด
มีลูก 5 คน หญิง 3 คน ชาย 2 คน
คนแรกชื่อ หลวงรักษ์เมธา ต้นตระกูล " นิลพัฒน์ "
ลูกสาวคนที่2 ชื่อ นางศรี แต่งงานกับลูกชายเจ้าเมืองสังขะ
ลูกชายที่3 ตาย ลูกสาวคนที่4 ชื่อนางเทวี แต่งงานกับ นาย นิล
ลูกข้าหลวง บ้านสดอ-เขวาฯ เป็นต้นตระกูล " สุกิมานิล "
ลูกสาวคนที่5 แต่งงานกับ พระสามิภักดิภูพาน มีลูกเลี้ยง2คน
บทที่ 5
๐๐ลูกชายคนที่5 ชื่อ ม่วง หรือพระพิชัยราชวงศา ต่อมา
นายม่วง เป็น เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่5 ต่อจากนายสุ่น บิดา
ได้บรรดาศักดิ์ เป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์( ม่วง )
ในปีพศ 2411 นายม่วงเจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่5มีเมียเกิน2คน
๐เมียคนแรกชื่อนางสม ไม่ทราบที่มา มีลูกด้วยกัน 2คน
ลูกชายคนแรกชื่อ ปรางค์ หรือ หลวงบุรินทร์บุรีรักษ์ ต่อมาเป็น
พระสุรพินมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินนคร-ลำดวน
ลูกชายคนที่สองชื่อ นายนิ่ม หรือ พระอนุรักษ์ภักดี มีลูกชายชื่อ นาย เยียบ ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่ 6
๐เมียคนที่2 ชื่อนางสม มีลูกชาย3คน เป็นต้นตระกูล " สุนทรชัย "
๐เมียอีกคนชื่อ นางคำ เป็นคนบ้านไพรขลา ท่าตูม ไม่มีลูก
บทที่ 6
๐๐ลูกชายคนที่6 ชื่อ นายบุญนาก หรือหลวงนริรทร์ราชวงศา
ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระไชยณรงค์ภักดี เป็นปลัดเมือง
และก็เลื่อนเป็น เจ้าเมืองสุรินทร์ ท่านที่7 ในปีพศ,2434
เป็นเจ้าเมืองเพียงแค่2 ปี ท่านนี้ เป็นต้นตระกูล " กนกนาก "
นายบุญนาก มีลูกชายคนเดียว คือ นายตุ้มทอง กนกนาก ต่อมา
เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ หลวงประเสริฐสุรินทร์บาล เจ้าเมืองสุรินทร์
ท่านสุดท้ายในลำดับที่ 10 ต้นตระกูล " กนกนาก "
บทที่ 7
๐๐ลูกชายคนที่7 ชื่อนายแก้ว ได้แต่งงานกับ นางศรี คนสุวรรณภูมิ
มีลูกชาย 3คน ลูกชายคนแรกชื่อ นายพรหม หรือ พระสุรินทร์บริรักษ์
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าเมือง นายพรหม จึงเป็นต้นตระกูล " รัตนสูรย์ "
(รัตน แปลว่า แก้ว พ่อ และ สูรย์ คือ สุ่น ปู่ )
ลูกชายคนที่2 ชื่อ นาย สุวรรณ ไม่มีลูกสืบสกุล
ลูกชายคนที่3 ชื่อ นาย ผึ้ง รัตนสูรย์ เป็นชาวสุรินทร์บุคคลหนึ่งที่ร่วมบริจาคที่ดินสร้างทางรถไฟ สถานีรถไฟเมืองสุรินทร์
บทที่ 8
๐๐ลูกชายคนที่8 ชื่อ นายตง หรือ พระพิทักษ์สุนทร นายตง แต่งงาน
กับนางจันทร์ มีลูก 3คน เป็นหญิง1 คน ชาย 2 คน
ลูกสาวคนแรกชื่อ นางเทศ แต่งงานกับนายแก้ว คนบ้านเขวาสินรินทร์
นางเทศ มีลูก 8 คน ชาย4 คน หญิง4 คน
๐ลูกสาวคนที่3ของนางเทศ ชื่อนางมากแต่งงานกับนายแผน บ้านสดอ
นายแผน เป็นพ่อของ ขุนมูลศาสตร์สาธร (บิดา ท่านปลัดพิศาล )
นายแผน เป็นพ่อของ นายแผ้ว มูลศาสตร์( บิดา ท่านผู้ว่า เสนอ )
๐ลูกชายคนที่ 8 คนสุดท้าย ของนางเทศ คือ ขุนรักษ์รัษฎากร " ไมยรัตน์ "
(ผมเข้าใจว่าท่านเป็น ผู้แทนราษฎร ส.ส. คนแรกของสุรินทร์ 2475 )
๐ส่วนลูกชายคนที่2ของ นายตง กับนางจันทร์ ชื่อ นายเปรียม ต่อมาเป็น
พระประสิทธิ์สุรินทร์การ อยู่ภายใต้ สายสกุล " สุนทรารักษ์ "
ลูกชายคนที่ 3 ชื่อ เปรม หรือ หลวงตรีวงศา ก็ใช้สกุล " สุนทรารักษ์ "
นายตง พระพิทักษ์สุนทร ต้นสกุล " สุนทรารักษ์
บทส่งท้าย..
นายสุ่น และ นางดาม มีลูก 8 คน ลูกๆแต่ละคนก็เป็นต้นสาย ต้นทาง
ของนามสกุลที่ใช้กันในเมืองสุรินทร์ นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ
นายสุ่น ยังเมียอีกคนชื่อ นางจันทร มีลูก 4 คน มีหลานชายคนหนึ่ง
ชื่อ นายกาญจน์ บิดา คุณตาเหลื่อม พันฤกษ์ ต้นตระกูล " พันธ์ฤกษ์"
และก็มี สายสกุลอีกมาก เช่นสายสกุล ของนายมี เจ้าเมืองคนที่3
หรือนายสอน น้องชายคนที่6 ของนายสุ่น ก็มีลูกชายเป็นเจ้าเมืองคนที่ 8
พระยาจรัณ " ต้นตระกูล จรัณยานนท์ "
หรือ เจ้าเมืองคนที่9 นาย บุญจันทร์ เป็นเหลน นายมี เจ้าเมืองคนที่3
มีลูกชายชื่อ พรหม มีหลาน ชื่อบุตร มี เหลนเป็นเจ้าเมืองคนที่ 9
เป็นต้นตระกูล " พรหมบุตร "
บทที่..แถมให้ครับ
๐๐นาง สมุทร ลูกสาวคนที่2 ของนายสุ่นเจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 4
กับนางจันทร์ ได้แต่งงานกับ พระพิชัยธานี (รักษ์คิด) มีลูก3คน
๐ลูกสาวคนโตชื่อ นางเมียน ได้แต่งงานกับ นายภู ต้นสกุล " ภูทอง "
นายภู มีลูกชายชื่อดุล ภูทอง แต่งงานกับ ทวดแม้น (เดิม พรหมบุตร)
น้องสาวทวดแม้น คือทวดนูร แต่งงานกับทวดกาญจน์ ตระกูล"พันธ์ฤกษ์"
ลูกสาวคนที่2ของนางแม้น ชื่อยายเผือ ออกเรื่อนกับ ตาสูน ตระกูล
" ยินดีงาม " หลานขุนบรรเทา ยินดีงาม มีบ้านอยู่คุ้มโคกสูงหน้าตลาด
ยายเผือ มีลูกสาวคนเดียว คือคุณแม่ของผม ครู สดใส ศิวะสมบูรณ์
๐ลูกชายคนที่ 2 3 นายคิด นายนึก ต้นตระกูล " รักษ์คิด "
กลุ่มสายตระกูล พรหมบุตร พันธ์ฤกษ์ รักษ์คิด รัตนสูรย์ ภูทอง
สร้างบ้านเรือน บนเนิน วัดบูรพาราม เป็นญาติกันเกือบทั้งนั้นครับ
ขอบคุณข้อมูล จากครอบครัว คุณยายภัทรา (ยายเชียน) ทัดศรี
ขอบคุณข้อมูลจาก: ที่นี้ อ.ปราสาท,เรื่องเล่า ในวงเหล้า,http://surin108.com/web/?p=9561

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

หลวงสุรินทร์ภักดี(เชียงปุม)ผู้ก่อตั้งเมืองสุรินทร์

หลวงสุรินทร์ภักดี(เชียงปุม)ผู้ก่อตั้งเมืองสุรินทร์


อนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง 
https://th.wikipedia.org/wiki/

เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม
 ดังที่จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2469 ดังนี้
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่สร้างอย่างมั่นคงในปางก่อน มีคูถึง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพงเมือง น่าจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นเมืองหน้าด่านทั้งทางตะวันออก และทางใต้ซึ่งมีช่องข้ามเขาบรรทัดต่อจังหวัดสุรินทร์อยู่หลายช่อง คือ ช่องปราสาทตาเมิน, ช่องเสม็ก, ช่องดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งมีทางเดินไปสู่ศรีโสภณ และเมืองจงกัน ยังมีคนและเกวียนเดินอยู่ทุกช่อง แต่เป็นทางลำบาก คงสะดวกแต่ช่องตะโก ต่อมาทางตะวันตก ซึ่งกรมทางได้ไปทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว บริเวณเมืองสุรินทร์เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมตลอดปี แต่ก็ทำไร่นาได้ เป็นทุ่งใหญ่ บ้านเมืองกำลังจะเจริญขึ้น เพราะเป็นปลายทางรถไฟ มีห้องแถวคึกคักไม่หย่อนกว่าอุบล และกำลังสร้างทำอยู่อีกก็มีมาก
พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์เป็นเขมรเป็นชาวพื้นเหมือนเช่น บุรีรัมย์ นางรอง มีลาวเจือปนบ้างเป็นส่วนน้อย กับมีชาติส่วยอีกพวกหนึ่ง ซึ่งว่าพูดภาษาของตนต่างหาก ตามที่ผู้รู้กล่าวว่า พื้นเป็นภาษาเขมรเจือด้วยคำลาว พวกเขมรพลเมืองสุรินทร์ยังคงพูดภาษาเขมร อยู่ทั่วไปและที่กล่าวว่าไม่รู้ภาษาไทยก็มีต้องใช้ล่ามเนืองๆ ผู้ปกครองท้องถิ่น เห็นว่าเป็นการดิ้นรน แสร้งทำเป็นพูดไทยไม่ได้ก็มีอยู่มาก แต่ในการปกครองไม่ปรากฏว่ามีความยากลำบากอะไรกว่าพลเมืองธรรมดา ในเรื่องของภาษาเขมรสอบสวนได้ความว่า วิชชาหนังสือขอมสูญแล้ว ไม่มีใครเรียน และไม่มีที่เรียน เพราะโรงเรียนสอนภาษาไทยอย่างเดียว เวลานี้มีแต่คนแก่ๆ เท่านั้นที่รู้หนังสือขอม ได้เพียงนี้ก็เห็นว่าในทางปกครองที่จะให้เกิดเป็นสำนึกของคนไทย นับว่าได้ทำไปได้มากแล้ว ถ้าจัดการโรงเรียนให้เจริญขึ้นอีก และในต่อไปการคมนาคมกับกรุงเทพสะดวกขึ้น พลเมืองพวกนี้จะรู้สึกตัวเป็นไทยยิ่งขึ้นทุกวัน ทั้งการลูกเสือก็ย่อมเป็นปัจจัยช่วยในทางนี้อยู่มาก ส่วนการไปมาถึงกันกับพวกเขมรต่ำในการปกครองฝรั่งเศสนั้น สอบสวนได้ความว่ายังมีอยู่เสมอแต่มีข้างฝ่ายคนเรื่องเขมรต่ำอพยพเข้ามาอยู่ทางเราเสียมากกว่า ปีหนึ่ง เข้าประมาณ 50 คน โดยมากเป็นเรื่องหนีส่วยอากรที่ทางฝ่ายโน้นเก็บแรงกว่าทางนี้
จังหวัดสุรินทร์ มีลำดับการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งทางด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งบ้านเรือนที่มีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายในอดีต มาเป็นวิถีชีวิตที่สลับซับซ้อนอย่างในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสะท้อนความเคลื่อนไหวของผู้คนที่มีมิติความสัมพันธ์ต่อกันอยู่ตลอดเวลา อันเป็นลักษณะโดดเด่นของผู้คนชาวจังหวัดสุรินทร์
 ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระยาประชากรกิจกรจักรเชื่อว่า ชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานล่างคือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีบางส่วน กลุ่มแรกคือ กวย กูย หรือ ข่า ขมุ ลัวะ ละว้า เยอ ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน แต่เรียกตามสำเนียงของภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกชนกลุ่มนี้ว่าส่วย
อีริค ไซเดนฟาเดน (Erick Seidenfaden) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวเดนมาร์ก สันนิษฐานว่าพวกกูยเคลื่อนย้ายจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศพม่า และมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 3,000 ปีเศษมาแล้ว ชาวกูยเหล่านี้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภาคใต้ของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พวกที่อพยพเข้ามาเป็นระลอกที่ 2 และที่ 3 คือ เขมรและลาว
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนป่า อันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า ข่า, ส่วย, กวย ซึ่งยังมีอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก
เขมรเป็นชนพื้นเมืองที่เพิ่งอพยพเข้ามาอยู่ในสมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ภายหลังได้ผสมกลมกลืนกับชาวส่วยซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิมและได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า พวกเขมรป่าดง (ข่า-เขมร) ส่วนพวกลาวนั้นอพยพเข้ามาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ราวพุทธศักราช 2257-2261
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางการเมืองทำให้กัมพูชาตกอยู่ในฐานะประเทศราชและในระหว่างปีพุทธศักราช 2103 อาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พุทธศักราช 2091-2111) กษัตริย์ของลาวได้สร้างนครเวียงจันทร์เป็นเมืองหลวงของล้านช้าง
ในปีพุทธศักราช 2257 ลาวแตกออกเป็น 3 รัฐอิสระ คือหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ชาวลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดพร้อมด้วยนักศึกษาวัด ทั้งที่กำลังศึกษา เป็นพระภิกษุสามเณรอยู่และที่จบการศึกษาแล้วเป็นอ้ายเชียง อ้ายทิด (บันฑิต) อ้ายจารย์ (อาจารย์) กับพวกข้าทางใต้ไปบูรณะพระธาตุพนม และไปจนถึงเขมร แล้วกลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์
เมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองอัตตปือแสนแปง (แสนแปง) ซึ่งต่างเป็นเมืองของพวกลัวะ ข่า (หรือชนเผ่าพันธุ์ที่เราเรียกว่าส่วยในปัจจุบัน) ขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ปกครองโดยนางแพง เจ้าหญิงข่า-ลัวะ ธิดาของนางเพากับเจ้าคำช้าง หรือบ้างคำ ด้วยคุณงามความดีของเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ด นางแพงจึงมอบอำนาจการปกครองเมืองจำปาศักดิ์ให้ เจ้าราชครูหลวงจึงได้อัณเชิญเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจากนครเวียงจันทร์ไปปกครองนครจำปาศักดิ์นับตั้งแต่พุทธศักราช 2261 - 2281 เป็นต้นมา เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้ปกครองจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าราชครูแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดจึงขยายอำนาจ โดยตั้งชาวลาวที่มีความรู้ ความสามารถ ออกไปปกครองเมืองของลัวะ ข่าต่างๆ ภายในเขตเมืองจำปาศักดิ์ เช่น ส่งจารย์หวดเป็นเจ้าเมืองโขงสี่พันดอน ให้ท้าวมั่นไปตั้งบ้านโพนขึ้นเป็นเมืองสาระวันแต่ชาวบ้านชอบเรียกเมืองมั่นตามชื่อท้าวมั่นและเรียกควบกับเมืองคำทองใหญ่ว่าเมืองมั่นคำทอง ให้จารย์แก้ไปตั้งบ้านถ่ง (ท่ง) เป็นเมืองสุวรรณภูมิ ( ในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ให้จารย์เซียงมาตั้งบ้านโนนสามขาเป็นเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษในปัจจุบัน) ตั้งได้ไม่นานเมืองศรีนครเขตก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
การแยกเป็นรัฐอิสระของอาณาจักรลาว ทำให้ทั้ง 3 รัฐ เกิดการแข็งต่อเมืองกันและต่างสะสมแสนยานุภาพไว้ต่อสู้ ป้องกันการรุกราน เมืองจำปาศักดิ์จึงบังคับให้อัตตปือ แสนปางส่งช้างป้อนกองทัพให้แก่จำปาศักดิ์ตามที่ต้องการ ทำให้ส่วยอัตตปือ แสนปางทนต่อสภาพถูกบีบบังคับไม่ได้ จึงหนีข้ามลำน้ำโขงเข้ามาอาศัยกับพวกส่วยดั้งเดิมบริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่างคือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบางส่วนของนครราชสีมา มหาสารคาม
ชาวส่วยหลายกลุ่มพากันอพยพหนีสงครามข้ามมาตั้งหลักแหล่งทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เมื่อพุทธศักราช 2260 แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนและมีหัวหน้าปกครองตามที่ต่างๆ ซึ่งเป็นจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันคือ
กลุ่มที่ 1 มาอยูที่บ้านเมืองที (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม
กลุ่มที่ 2 มาอยูที่บ้านกุดหวายหรือเมืองเตา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี) มีหัวหน้าชื่อ เชียงลี
กลุ่มที่ 3 มาอยูที่บ้านเมืองลีง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง
กลุ่มที่ 4 มาอยูที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (ปัจจุบันคือบ้านดอนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะและเชียงขัน
กลุ่มที่ 5 มาอยูที่บ้านอัจจะปะนึง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสังขะ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ
กลุ่มที่ 6 มาอยูที่บ้านกุดปะไท (ปัจจุบันคือบ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงไชย
ชาวส่วยเหล่านี้มีความชำนาญในการคล้องช้าง ทำการเกษตร หาของป่า ป่าดงแถบนี้มีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น โขลงช้างพัง ช้างพลาย ฝูงเก้ง กวาง ละมั่ง และโคแดง เหมาะกับการทำมาหากินของชาวส่วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ละชุมชนมีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ
สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกเขตกรุงหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตพิมาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ขุนนางสองพี่น้อง (เข้าใจว่า คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) กับไพร่พล 30 คน ออกติดตามช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ได้มาสืบถามร่องรอยช้างจากชาวเมืองพิมายซึ่งเป็นผู้ชำนาญภูมิประเทศในแถบนั้น ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปสืบถามพวกส่วย มอญ แซก โพนช้างอยู่ริมเขาดงใหญ่เชิงเขาพนมดงรัก เมื่อได้รับคำแนะนำจากชาวเมืองพิมายว่าช้างเผือกหนีไปทางไหนแล้ว ขุนนางสองพี่น้องพร้อมด้วยไพร่พลออกติดตามต่อมาตามลำน้ำมูลมาพบเชียงสีหรือตากะอาม หัวหน้าบ้านกุดหวาย เชียงสีได้พาขุนนางสองพี่น้องไปพบหัวหน้าหมู่บ้านอื่นๆ เพื่อจะได้ช่วยกันตามหาช้างเผือกต่อไป โดยไปหาเชียงปุมที่บ้านเมืองที เชียงปุมได้ร่วมสมทบกับขุนนางสองพี่น้องพากันไปหาเชียงไชยที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัต) ไปหาเชียงขันที่บ้านโคกลำดวน ไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง จึงทราบข่าวจากเชียงฆะว่า ได้พบช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งาพาบริวารซึ่งเป็นช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก หรือหนองบัวในเวลาบ่ายทุกวัน
เชียงฆะก็พาขุนนางสองพี่น้องและพวกไปยังหนองโชก พากันขึ้นต้นไม้ที่ริมหนองโชกเพื่อดูช้างโขลงนั้น ครั้นเวลาบ่ายช้างโขลงนั้นก็ออกจากชายป่ามาเล่นน้ำตามเคย ปรากฏว่าช้างเผือกที่หายมานั้นอยู่กลางฝูงพากันลงเล่นน้ำที่หนองโชก ขุนนางทั้งสองจึงเอาก้อนอิฐแปดก้อนที่นำมาจากบ้านเมืองทีขึ้นเสกเวทมนตร์ตามพิธีกรรมคชศาสตร์ อธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างทั้งแปดทิศ ฝ่ายช้างป่าก็แตกตื่นหนีเข้าป่าหมด คงเหลืออยู่แต่ช้างเผือกเชือกเดียวขุนนางสองพี่น้องก็ลงจากต้นไม้พากันขึ้นขี่หลังช้างโดยง่าย เมื่อจับช้างได้แล้ว ขุนนางสองพี่น้องและบริวารพากันเดินทางกลับ หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายที่มาช่วยเหลือในการติดตามช้าง ก็ได้อำนวยความสะดวกในการควบคุมช้างเผือกมาส่งที่กรุงศรีอยุธยาด้วย เมื่อมาถึงพระนครแล้ว ขุนนางสองพี่น้องจึงได้นำหัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายเข้าเฝ้าสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ และกราบบังคมทูลเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทรงทราบ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งบรรดาหัวหน้าชาวส่วยให้มีฐานันดรศักดิ์ คือ
ตากะจะ เป็น หลวงแก้วสุวรรณ
เชียงขัน เป็น หลวงปราบ
เชียงฆะ เป็น หลวงเพชร
เชียงปุม เป็น หลวงสุรินทรภักดี
เชียงลี เป็น หลวงศรีนครเตา
เชียงไชย เป็น ขุนไชยสุริยงค์

หลวงศรีนครเตา

กลับไปปกครองคนในหมู่บ้านของตน โดยอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย ( ยุพดี จรัณยานนท์ 2522 : 34 - 35 )
พุทธศักราช 2306 หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาตย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีซึ่งคับแคบและไม่สะดวกในการทำมาหากินไปตั้งที่บ้านคูประทายหรือบ้านคูประทายสมันต์ คือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะป้องกันและต่อต้านศัตรูที่มารุกรานได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหลวงสุรินทร์ภักดีจึงได้อพยพราษฎรบางส่วนไปอยู่ที่บ้านคูประทาย ส่วนญาติพี่น้อง ชื่อเชียงบิด เชียงเกตุ เชียงพัน นางสะตา นางแล และราษฎรส่วนหนึ่งคงอยู่ ณ หมู่บ้านเมืองทีตามเดิม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) กับญาติร่วมกันสร้างเจดีย์ 3 ยอด สูง 18 ศอก และสร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง 4 ศอก ซึ่งปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อย้ายถิ่นฐานจากบ้านเมืองทีไปอยู่ที่บ้านคูประทายแล้ว หัวหน้าหมู่บ้านทั้ง 5 จึงได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา นำสิ่งของไปทูลเกล้าถวาย คือ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี เพราะว่าขณะนั้นบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์จะได้อพยพมาตั้งฐิ่นฐานอยู่ในดินแดนอันเป็นป่าดงทึบส่วนนี้ โดยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่อย่างมั่นคงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของกรุงศรีอยุธยา ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในป่าดงในราชอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งกรุงศรีอยุธยาเริ่มรู้จักก็โดยหัวหน้าหมู่บ้านได้ช่วยเหลือจับช้างเผือกคืนกรุงศรีอยุธยา และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำของไปทูลเกล้าถวายแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้น ดังนี้
หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็น พระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ยกบ้านคูประทาย เป็น เมืองประทายสมันต์ ให้พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็น พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านดงยาง เป็น เมืองสังฆะ ให้พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงศรีนครเตา (เชียงสี หรือตากะอาม) เป็น พระศรีนครเตา ยกบ้านกุดหวาย เป็น เมืองรัตนบุรี ให้พระศรีนครเตา เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาท-สี่เหลี่ยมดงลำดวน เป็น เมืองขุขันธ์ ให้พระภักดีศรีนครลำดวน เป็นเจ้าเมืองปกครอง การปกครองบังคับบัญชาแบ่งเป็นหมวดหมู่ เป็นกอง มีนายกอง นายหมวด นายหมู่ บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหมดก็เดินทางกลับและปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุขตลอดมา
อนุเสาวรีย์พระยาไกรภักดี(ตากะจะ)
th.wikipedia.org
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี
เมื่อพุทธศักราช 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทร์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร ในปีพุทธศักราช 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี
ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชรรวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่างๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทร์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา ทั้ง 3 เมือง

อนุเสาวรีย์พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ
pr.prd.go.th

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2325 และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
พุทธศักราช 2329 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในการเปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์ เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้า ให้เจ้าเมืองพิมาย แบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้
ทิศเหนือ จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ำมูล ถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก ถึงลำห้วยตะโคง หรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองขั้น และห้วยราช
ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนอยู่ในความปกครองของไทย เช่นบ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับเมืองสังขะ
พุทธศักราช 2337 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน ชื่อนายตี (แต็ย) และนายมี (แม็ย) เป็นหญิง 2 คน ชื่อนางน้อยและนางเงิน เมื่อพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้า ตั้งให้นายตี (แต็ย) บุตรชายคนโต เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองสุรินทร์คนต่อมา
พุทธศักราช 2342 มีตราโปรดเกล้า ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ 100 รวม 300 เข้ากองทัพยกไปตีกองทัพพม่า ซึ่งยกมาตั้งอยู่ในเขตแขวง เมืองนครเชียงใหม่ แต่กองทัพไทยมิทันไปถึงได้ข่าวว่ากองทัพพม่าถอยไปแล้ว ก็โปรดเกล้าให้ยกกองทัพกลับ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนนามพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ตี) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์
พุทธศักราช 2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้า ให้ทั้ง 3 เมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เลยทีเดียว มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน (พงศาวดารเมืองประทายสมันต์เลขที่ 001: 3/10)
พุทธศักราช 2351 พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งหลวงวิเศษราชา (มี หรือแม็ย) ผู้เป็นน้องชาย เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พุทธศักราช 2354 พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งให้นายสุ่น บุตรพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
ต่อมาเมืองขุขันธ์ ขออนุญาตยกบ้านลังเสนเป็นเมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายมาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็นเมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เขตแขวงเมืองจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทร์อยู่ในอำนาจเจ้าอนุเมืองเวียงจันทร์กับเจ้าโย่บุตรที่ครองเมืองจำปาศักดิ์ พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกำลังผู้คนมากขึ้นก็มีใจกำเริบคิดกบฏต่อกรุงเทพ เมื่อปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุแต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทร์ คุมกองทัพยกเข้าตีหัวเมืองรายทางเข้ามาจนถึงจังหวัดนครราชสีมา
ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ก็เกณฑ์กำลังยกเป็นกองทัพมาตีเมืองขุขันธ์แตกจับพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์กับพระภักดีภูธรสงครามปลัด (มานะ) พระแก้วมนตรียกกระบัตร (เทศ) กับกรมการได้และฆ่าเสีย ส่วนเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ ได้มีการป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน และได้เกณฑ์กำลังไพร่พลไปสมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงคราม สาเหตุการกบฏครั้งนี้มีหลักฐานทั้งฝ่ายไทยและเอกสารพื้นเวียง เสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ไว้ 3 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1. การสักเลก (การสักข้อมือคนในบังคับ) ในหัวเมืองอีสาน สำหรับการสักเลกนี้ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มเมื่อใดแต่อย่างน้อยที่สุดประมาณปีพุทธศักราช 2317 ช่วงสมัยธนบุรี จนเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในปีพุทธศักราช 2369 (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จุลศักราช 1205 เลขที่ 86) การส่งข้าหลวงมาสักเลกสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนในหัวเมืองเขมรป่าดงอย่างมาก ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเจ็บตัวจากการสักเลกแล้วยังต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสักเลกอีก คนละ 1 บาท 1 เฟื้อง
ประเด็นที่ 2. ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเมืองขุขันธ์ เอกสารพื้นเวียงกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมา จากการศึกษาของพรรษา สินสวัสดิ์ (2521:83-84) กล่าวไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีความเชื่อมั่นและวางพระทัยในความสามารถของพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมาดำเนินการบางประการที่ทำให้เดือดร้อนแก่หัวเมืองลาว และหัวเมืองเขมรป่าดง (เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขันธ์) จนเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกับหัวเมืองในกลุ่มดังกล่าว เช่น ในครั้งพระยาพรหมภักดีมีคำสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลจากเมืองอุบลราชธานี เมืองจำปาศักดิ์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์จะยกไปตีข่าในเขตแดนจำปาศักดิ์เพื่อกวาดต้อนส่งเข้ามากรุงเทพในครั้งนั้น พระยาไกรภักดีเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เกิดขัดแย้งกับพระยาพรหมภักดีอย่างรุนแรงถึงกับพระยาไกรภักดีมีใบบอกฟ้องเข้ามายังกรุงเทพ ว่าพระยาพรหมภักดีทำการกดขี่ข่มเหง ทางกรุงเทพ จึงได้ส่งขุนนางผู้ใหญ่ขึ้นไปสอบสวนผลการสอบสวนปรากฏว่า พระยาพรหมภักดีไม่ผิด ความขัดแย้งระหว่างพระยาพรหมภักดีกับพระยาขุขันธ์ได้เกิดบานปลายออกไปเมื่อ พระยาพรหมภักดีสนับสนุนให้เจ้าทิงหล้า ซึ่งเป็นน้องชายของพระยาขุขันธ์ ก่อการกบฏต่อพระยาขุขันธ์ และพระยาพรหมภักดีนำ(กองทัพ)จังหวัดนครราชสีมาขึ้นมาสนับสนุนเจ้าทิงหล้า และได้จุดไฟเผาเมืองขุขันธ์จนพระยาขุขันธ์ต้องหนีไปอยู่เมืองนางรอง
ประเด็นที่ 3. ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้านครจำปาศักดิ์ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดารไทย แต่ในเอกสารพื้นเวียงกล่าวว่าเป็นชนวนสำคัญที่สุดที่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏ (ธวัช ปุณโณทก 2526 : 82) กล่าวคือ พระยาพรหมภักดีครองเมืองโคราชได้ 2 ปี มีความขัดข้องใจที่ไม่ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ จึงจัดสร้างด่านใกล้เมืองพระยาไกรภักดี เจ้าเมืองขุขันธ์จนเกิดเรื่องกับพระยาไกรภักดี ดังกล่าวมาแล้ว ภายหลังพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมามีหนังสือสารตรา ไปยังเมืองจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตรโย่) เจ้าเมืองจำปาศักดิ์โกรธจึงไปทูลเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์โกรธแค้นมาก
จาก 3 ประเด็นที่กล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์กับเจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอิน) และนำไปสู่กบฏเจ้าอนุวงศ์ในปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทรน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธจับพระไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) ์เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม (มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี (ทศ) ยกกระบัตรกับกรมการได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไปเมืองจำปาศักดิ์
เมื่อข่าวเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏได้ททราบถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นทัพหน้าพร้อมด้วย พระยาราชนิกุล พระยากำแหง พระยารองเมือง พระยาจันทบุรี คุมไพร่พลไปทางเมืองพระตะบองขึ้นไปเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เกณฑ์เขมรป่าดงไปเป็นทัพขนาบกองทัพกรุงเทพ ได้ตามตีกองทัพลาวเรื่อยไปจนถึงเวียงจันทน์และตีเมืองเวียงจันทน์แตกเมื่อพุทธศักราช 2370
เมื่อพุทธศักราช 2371 ทรงพระโปรดเกล้า ให้เลื่อนพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทาย-สมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์เป็นเจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์
ส่วนทางเมืองสังขะ โปรดให้พระยาสังขะเป็นพระยาภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้บุตรพระยาสังขะ เป็นพระยาสังขะบุรีศรีนครอัจจะปะนึง
ในปีพุทธศักราช 2372 หัวเมืองฝ่ายตะวันออกไม่เรียบร้อยดี เนื่องมาจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์เพราะราษฏรพากันหนีหลบภัยสงครามไปต่างเมือง เช่น หัวเมืองเขมรป่าดง ราษฎรพากันหลบหนีไปยังแถบเขมร ราษฎรเมืองนครราชสีมาก็พากันหลบหนีไปทางเมือง ลพบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี เป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาขณะดำรงตำแหน่งพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่กองออกไปจัดการหัวเมืองอีสาน-ลาว ทั้งหมด (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1856 เลขที่ 86) และได้ไปจัดตั้งราชการสำมะโนครัว แต่งตั้งกองสักเลกอยู่ ณ กุดผไท (อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์)
ในปีพุทธศักราช 2385 (จุลศักราช 1205) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้เกณฑ์คน หัวเมืองเขมรป่าดงหัวเมืองขุขันธ์ 2,000 คน เมืองสุรินทร์ 1,000 คน เมืองสังขะ 300 คน เมืองศีรษะเกษ 2,000 คน เมืองเดชอุดม 400 คน รวม 6,200 คน (หอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 4/1 จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1205) และในปีพุทธศักราช 2381 เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้กำลังจากเมืองลาว หัวเมืองเขมรป่าดง เมืองนครราชสีมา 12,000 คน เกณฑ์กำลังขึ้นไปสมทบทัพกรุงเทพ ที่เมืองอุดมมีชัยไปรบในกัมพูชา (หอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 3 จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1201)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อพุทธศักราช 2394 (จุลศักราช 1213) กรมการเมืองสุรินทร์ได้เข้าไปเฝ้าถึงกรุงเทพจึงโปรดเกล้า ให้พระยาบดินทรเดชา สมุหนายกปรึกษากับกรมการเมืองสุรินทร์ ที่ประชุมเห็นว่า พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) ผู้ช่วยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นผู้มีปัญญารู้หลักราชการและมีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ไพร่บ้านพลเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตรให้พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ตั้งแต่เดือนอ้าย ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 2214 (พุทธศักราช 2395) (ไพฑูรย์ มีกุศล 2515 : 8-9) และในปีเดียวกันได้โปรดเกล้า ให้หลวงนรินทร์ราชวงศา (นาก) บุตรเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระไชยณรงค์ภักดี ปลัด
ให้พระมหาดไทย (จันทร์) บุตรเจ้าวงศา หลานเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระยาพิชัยบวรวุฒิ ยกกระบัตร รักษาราชการเมืองสุรินทร์ต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พุทธศักราช 2411-2453)
พุทธศักราช 2412 พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านกุดไผท หรือจารพัตเป็นเมือง ขอหลวงไชยสุริยง (คำมี) บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์ (หมื่น) กองนอกไปเป็นเจ้าเมือง ส่วนตำแหน่งปลัดและยกกระบัตรเมืองสังฆะว่าง ขอพระสุนทรพิทักษ์บุตรพระปลัดคนเก่าขึ้นเป็นปลัด และขอหลวงศรีสุราชผู้หลานเป็นยกกระบัตรเมืองสังฆะ ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ในปีมะเส็งนั้น (พุทธศักราช 2412) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้มีตราพระราชสีห์ ตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัต เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ตั้งให้หลวงไชยสุริยงกองนอกเป็นพระศีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมือง ขึ้นเมืองสังฆะ
ฝ่ายทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ เห็นว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศีขรภูมิแล้ว ก็เกรงว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ จะเอาบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย จึงได้มีใบบอกขอตั้ง้านลำดวนเป็นเมือง ขอให้พระไชยณรงค์ภักดี (นาก) ปลัดเมืองสุรินทร์ เป็นเจ้าเมืองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองสุรพินทนิคม ให้พระไชยณรงค์ภักดี ปลัด (บุนนาก) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมขึ้นเมืองสุรินทร์มาแต่นั้น
พุทธศักราช 2415 ฝ่ายพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลุมพุกเป็นเมือง ขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะเป็นเจ้าเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลุมพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์ เจ้าเมืองกันทรารมย์ ขึ้นกับเมืองสังฆะ
พุทธศักราช 2416 พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองก็ถึงแก่กรรม พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เห็นว่าหลวงงพิทักษ์สุนทรบุตรพระปลัดกรมการเมืองสังฆะ ซึ่งสมัครมาอยู่เมืองสุรพินทนิคมเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงดี จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมหลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมได้สามปีก็ถึงแก่กรรมแต่นั้นมาเจ้าเมืองสุรพินทนิคมจึงว่างตลอดมา
พุทธศักราช 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระศักดิ์เสนีย์ เป็นข้าหลวงออกไปตั้งสืบสวนจับโจรผู้ร้ายหัวเมืองตะวันออก เนื่องจากพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) และพระยาสังขะได้บอกมายังกรงเทพ ว่าเกิดโจรผู้ร้ายปล้นลักทรัพย์สิ่งของราษฎรในเขตของเมืองทั้งสองแล้วหนีเข้าไปแขวงเมืองบุรีรัมย์ เมืองนางรอง เมืองประโคนชัย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนมาก ข้าหลวงที่ส่งไปเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อปราบโจรผู้ร้ายเสร็จแล้วก็กลับกรุงเทพ ข้าหลวงที่ได้รับการแต่งตั้งลักษณะนี้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดได้ทุกเมือง
พุทธศักราช 2424 ฝ่ายทางเมืองจงกัล ตั้งแต่โปรดเกล้า ให้หลวงสัสดี (ลิน) เป็นพระวิไชย เจ้าเมืองจงกัล พระวิไชยรับราชการได้ 7 ปี ก็ถึงแก่กรรม เจ้าเมืองสังฆะจึงได้ให้พระสุนทรนุรักษ์ผู้หลานนำใบบอกไปกรุงเทพ ขอให้พระสุนทรนุรักษ์เป็น พระทิพชลสินธุ์อินทรนฤมิตร
ทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ว่าง ขอพระมหาดไทยเป็นพระยกกระบัตร เมื่อวันศุกร์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระไชยนครบวรวุฒิ ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์
พุทธศักราช 2425 คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวเป็นอันมาก ข้ามไปตั้งอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงได้มีใบบอก ขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง ขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองชุมพลบุรี ให้พระวิเศษราชา (นัยหนึ่งว่า หลวงราชวรินทร์ ทองอิน) เป็นพระฤทธิรณยุทธ เจ้าเมืองและโปรดเกล้า ให้ตั้งท้าวเพชรเป็นที่ปลัด ให้ท้าวกลิ่นเป็นที่ยกกระบัตร ทั้งสองคนนี้เป็นพี่ชายพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) และท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี พร้อมกันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งนายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคม แทนคนเก่าที่ถึงแก่กรรมและตำแหน่งเจ้าเมืองยังว่าง
พุทธศักราช 2492 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองจำปาศักดิ์ ได้เชิญประชุมเจ้าเมืองภาคอีสานขึ้น ณ เมืองอุบล เพื่อสำรวจชายฉกรรจ์และแก้ไขระเบียบการจัดเก็บภาษีอากร ในระหว่างการประชุมข้าราชการอยู่นั้น ได้รับรายงานว่า ทัพฮ่อเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทร์แตกการประชุมต้องยุติลง พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ต้องรีบระดมกำลังขึ้นไปยังเมืองหนองคายโดยด่วนเพื่อสมทบกับกองทัพเมืองนครราชสีมา ส่วนกองทัพจากกรุงเทพนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปสมทบที่เมืองหนองคาย ซึ่งเป็นจุดชุมนุมพล สำหรับพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์นั้นได้มีคำสั่งให้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบล เพราะเจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพในครั้งนั้นด้วย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบลอยู่ 2 ปี จึงได้กลับเมืองสุรินทร์ เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ย่างเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เต็มที่ จึงได้มอบให้นายเยียบ (บุตรชาย) ช่วยราชการเป็นการภายใน
พุทธศักราช 2432 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีอำนาจเต็มในภาคอีสานทั้งหมด ได้แต่งตั้งใบประทวนให้ ยานเยียบ เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง 2 ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่อ พุทธศักราช 2433 พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงต้องกลับมาเป็นเจ้าเมือง อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้นเอง
พุทธศักราช 2434 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีสะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว
พุทธศักราช 2435 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ซึ่งย้ายมาแทนพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ได้ทรงแต่งตั้งให้พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) น้องชาย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ (เปลี่ยนจากเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง)
ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้ เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลาง มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาด ทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ใช่เชื้อสายบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ด้วยความไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวเมืองได้ดีพอจึงทำให้ดำเนินการบางอย่างผิดพลาด มิชอบโดยหลักการ แต่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) เจ้าเมืองไม่อาจขัดขวางได้เพราะเห็นว่า ถ้าเข้าขัดขวางแล้วก็จะมีแต่ความร้าวฉาน ขาดความสามัคคีในชนชั้นปกครอง
พุทธศักราช 2436 ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองสุรินทร์จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวสุรินทร์จะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ
กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสสงบลงไม่นานนัก ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ ได้ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ยังไม่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นที่ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ตามตำแหน่ง ในช่วงระยะนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้สั่งย้ายหลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) และแต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ระหว่างที่เสด็จกลับกรุงเทพผ่านเมืองสุรินทร์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรได้ทรงแต่งตั้งพระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ยกกระบัตรเมือง เป็นผู้รักษาเมืองสุรินทร์และเมื่อเสด็จถึงกรุงเทพ แล้วได้กราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งให้พระพิชัยนครบวรวุฒิเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์สืบต่อมาและถึงแก่กรรมในปีพุทธศักราช 2438 (รัตนโกสินทรศก 114)
ระหว่างนี้ ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตัวข้าหลวงกำกับราชการโดยลำดับกล่าวคือ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) ดำรงตำแหน่งอยู่ประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปอยู่จังหวัดศรีสะเกษสับเปลี่ยนกับจมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) จมื่นวิชัยยุทธเดชาคณี ดำรงตำแหน่งประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปโดยมีหลวงวิชิตชลชาญมาดำรงตำแหน่งแทน ชั่วระยะเวลาอันสั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ก็ได้ย้ายหลวงสาทรสรรพกิจมาดำรงตำแหน่งในประมาณปีพุทธศักราช 2438
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) ถึงแก่กรรมในปีจุลศักราช 1257 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 114 ตรงกับปี พุทธศักราช 2438 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้ พระพิชัยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา สันนิษฐานว่าพระพิชัยณรงค์ภักดีเป็นบุตรของนายพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 3 พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรมเมื่อรัตนโกสินทรศก 126 หรือ พุทธศักราช 2450 และเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว จึงได้รับสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้หลวงประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) ซึ่งเป็นบุตรพระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์คนที่ 8 เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์แทน แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมในปีพุทธศักราช 2451 และในต้นปีพุทธศักราช 2451 นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังเป็นช่วงเวลาที่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (เข้าสู่แบบเทศาภิบาล) ส่วนกลางได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดบ้าง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง บุคคลแรกที่ได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์ ในปีพุทธศักราช 2451 คือ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์)
จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบบเทศาภิบาลจนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล
ขอบคุณข้อมูล:http://53010911019.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

การสร้างคน สร้างความรู้ : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ.

การสร้างคน สร้างความรู้ : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ

“พืชผัก ต้นไม้ เป็นทรัพย์สิน ผืนนาผืนดินเป็นกระดาษ
จอบเสียมเป็นปากกา บ่อน้ำเป็นน้ำหมึก ( บัญชีชีวิต  ตำบลจันดุม)”

ประวัติความเป็นมาชุมชนบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ 
          บ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ ตั้งอยู่หมูที่ 8 และหมูที่ 15 ต.จันดุม อ,พลับพลาชัย จ.บุรีรมย์ เป็นชุมชนชาวกูย (ส่วย) ดั้งเดิม ที่อพยพมาจากบ้านเฉนียงและบ้านละโงนกรอย ต.บึง อ.เมือง    จ.สุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยชาวบ้าน 10 ครอบครัวประมาณ 70 คน ส่วนมากเป็นคนในตระกูลสายบุตร,สังเกตกิจและแจ่มใส ออกเดินทางมาด้วยกันเพื่อก่อตั้งหมู่บ้านใหม่ เพราะพื้นที่เดิมประสบปัญหาแห้งแล้วโจรผู้ร้ายปล้นสะดม จนมาตั้งในพื้นที่บ้านม่วงหวาน และ บ้านโคกเจริญ แต่ด้วยความผูกพันร่วมกันทั้ง2 หมู่บ้านยังคงร่วมกันในการทำกิจกรรมมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มออมทรัพย์การพัฒนาชุมชนเชื่อมโยงสู่การสร้างกิจกรรมอื่นๆ
            ปลายปี พ.ศ. 2529 สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่สนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ แต่ด้วยประสบการณ์ที่ล้มเหลวการดำเนินงานของกลุ่มชาวนาทำให้คนในชุมชนเกิดการถกเถียงพูดคุยถึงความเหมาะสม และความพร้อมของชุมชนในการจัดตั้งกลุ่มอีก

       
  ผู้นำในชุมชนนำโดย นายแทน นายทองคำ นายเอกสิทธิ์ นายบุญชูและนายสง่า ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เนื่องจากพัฒนาการที่ลงไปเสริมในขณะนั้น คือนายทาด อาวุธพันธ์  ได้นำไปศึกษาดูงานและนำไปแลกเปลี่ยนกับองค์กรชุมชนที่ดำเนินการประสบความสำเร็จในหลายพื้นที่  จึงมีความเชื่อว่าการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เป็นเรื่องที่ดีมีความเป็นไปได้  สามารถสร้างแหล่งทุนให้กับคนในชุมชน ส่งเสริมนิสัยการออมส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนอีกครั้งหนึ่ง โดยเบื้องต้นมีวิธีการหาสมาชิกเพิ่มโดยวิธีการเชิญชวนญาติๆให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก และใช้ในโอกาสต่างๆประชาสัมพันธ์คนในชุมชนให้เข้ามามีส่วร่วมไปด้วย โดยเริ่มต้นมีสมาชิก 77 คน มีเงินออมทรัพย์ เดือนละ 850 บาท และมีการเจริญเติบโตเรื่อยมาถึงปัจจุบัน สัมพันธ์กับการจัดระบบทุนทางสังคม
ทุนทางสังคมสายสัมพันธ์ บ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ
          ความสำเร็จกองทุนออมทรพย์เพื่อการผลิตฯ ปัจจัยหนึ่งคือ ทุนทางสังคม ที่ชุมชนเกิดจากฐานวัฒนธรรมเดียวกัน ระบบเกื้อหนุนของคนในชุมชน โดยสามารถประมวลได้คือ

วัฒนธรรมความเป็นชุมชนกูย เป็นรูปแบบที่ทำให้เกิดความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมคนในชุมชนเกิดความสัมพันธ์ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การมองเห็นประโยชน์ร่วมกันถือเป็นฐานวัฒนธรรมกูยที่มีความใกล้เคียงกัน
การมีต้นแบบในการปฏิบัติ ( Role Model) นำมาสู่การพัฒนาแกนนำต้นแบบขยายผลสู่ครอบครัวต้นแบบ ในชุมชนที่เกิดความสัมพันธ์เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ชุมชน และยังขยายผลมาสู่แนวการปฎิบัติที่เกิดการถ่ายทอดในครอบครัวดังกล่าว
ระบบเครือญาติในชุมชน เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นคุณค่าในชุมชนเกิดการจัดระบบความสัมพันธ์เป็นทุนหนึ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน ที่นำมาพัฒนากระบวนการการทำงานได้มากขึ้น (การเชื่อมให้เกิดระบบเครือญาติต่อเครือญาติเป็นเครือข่ายทางสังคม)
 ในการเชื่อมโยงดังกล่าว  ถือเป็นฐานทุนทางสังคมที่ปรากฏเด่นชัดที่สะท้อนจาก บ้านม่วงหวาน-โคกเจริญและเกิดความสัมพันธ์ระบบการพัฒนาคน

วิธีการพัฒนาคนพัฒนางานเส้นทางสู่ความสำเร็จบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ
 1.   ใช้กิจกรรมทางสังคมเครื่องมือในการพัฒนาคน วิธีการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งโดยการนำกิจกรรมมาเป็นการดึงคนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการ อาทิ กิจกรรมกลุ่มออมทรรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน โดยนำเงินเข้ามามีส่วนร่วมมาร้อยรัดให้ได้มีการดำเนินการมากขึ้น  ดังนั้นกิจกรรมทางสังคมจึงเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาคน  ดังกำนันสง่า ทองคำ ได้ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพกระบวนการ
“ เมื่อก่อนเราไปซื้อขนมจีนมาทำในงาน บางทีครั้งละหลายร้อยกิโลเลยในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง แต่ตอนนี้เรามีกลุ่มทำขนมจีนขึ้นคนมาลงทุนร่วมกัน คนมาช่วยกันมากขึ้น ทำให้เราได้ลงมือทำ และช่วยกันคิด”
 2.   ปรับแนวคิดใหม่ สร้างสำนึกร่วมเพื่อพัฒนาคน  การปลูกฝังประวัติศาสตร์สร้างวัฒนธรรมความเป็นกูยเพื่อสร้างจิตสำนักคนในชุมชน ในเรื่องการให้และเกิดรูปแบบจิตอาสา เมื่อให้คุณค่าในวัฒนธรรมตนเองจะส่งผลสู่เรื่องสำนึกร่วมการเสียสละและการให้ของสมาชิกในชุมชน ส่งผลสู่การพัฒนาเป็นแกนนำหรือการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น

 3.   พัฒนาคนพัฒนาศักยภาพทีมงานให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างคนให้รู้เท่าทันทั้งการเปลี่ยนแปลงกระแสโลกหรือกระแสต่างๆที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมของชุมชน โดยกระบวนการหนุนเสริมจากทีมภายนอกในการเข้ามาให้ความรู้  หรือ “การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่เพื่อนอื่น” จัดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน เกิดการเรียนรู้ และสามารถปรับประยุกต์ใช้ของแกนนำได้ ทั้งในการบริหารจัดการ หรือการถ่ายทอดความรู้ต่อ

 4.   จากผู้ร่วมให้เป็นผู้ทำ จากผู้นำเป็นผู้หนุน รูปแบบหนึ่งที่กลุ่มได้ดำเนินการแล้วคือ การให้แกนนำเข้ามาตัดสินใจร่วม และพัฒนาให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น  รูปแบบดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาคนคือ ให้สามารถคิดวิเคราะห์ได้ ทำเป็น รวมถึงคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน เป็นขึ้นหนึ่งในการพัฒนาคนที่ได้ผลเป็นอย่างมา อาทิ คุณอ้อย แจ่มใส เป็นเหรัญญิกของกลุ่ม ได้กล่าวว่า “ที่นี่เรามีวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่างที่สำคัญคือ เราให้ทุกคนมีส่วนร่วม ผู้ใหญ่จะให้เราเข้ามาและพัฒนาเราเรื่อยให้เราเข้ามา เราก็ภูมิใจนะที่เราได้ทำได้ช่วย ไม่ต้องมีใครบอกเรารู้ว่าเรามีคุณค่าเราก็ทำ”

 5.      สร้างระบบความคิดสร้างความเชื่อร่วมกัน เพื่อเป็นนักออกแบบและวิเคราะห์  ภายใต้กลไกรูปแบบหากทำอะไรต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ มีการประชุมหารือเพื่อโปรดโอกาสให้ทุกคนเสนอความคิดเห็น ระบบการคิดและวิเคราะห์ กระบวนการดังกล่าวจะพบนักออกแบบและวิเคราะห์ เพราะใช้กระบวนการมีส่วนร่วม  แต่ภายใต้ความคิดความเชื่อร่วมกัน  คือการทำงานเพื่อชุมชนของตนเอง จึงเป็นเครื่องนำพาไปสู่เป้าหมายเป็นต้น

6. จากแกนนำ สู่ครอบครัว “ธรรมนูญครอบครัว”  จากแกนนำขยายผลสู่สมาชิกสร้างความดีร่วมกัน การสร้างคนประการหนึ่งคือการนำหลักการมาสู่การประพฤติปฏิบัติโดยอาศัยแบบต้นแบบคือ ตัวแกนนำ กรรมการ หรือสมาชิก และเกิดการขยายผลไปสู่การทำจริงในระดับครอบครัว ครัวเรือน  รวมถึงสมาชิกอื่นๆในสังคม เป็นการสร้างคนแบบมีส่วนร่วม เมื่อเริ่มจากแกนนำ ครอบครัว และจะขยายผลไปยังสมาชิดต่อไป  จะสามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้

 ผลการสร้างคนเพื่อพัฒนางาน
 จากรูปแบบการสร้างคนของบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ จึงทำให้เกิดผลที่เป็นระบบความสัมพันธ์อย่างชัดเจนและเป็นระบบ ดัง สง่า  ทองคำ กล่าวว่า “การพัฒนาคนนั้นนอกจากที่เราได้คนขึ้นมาเพื่อการพัฒนาแล้ว ยังได้ความรู้ทั้งของเราและที่เราไปฝึกเขา ว่าไปว่ามายังได้แผนไปทำข้างหน้าด้วย  อีกอย่างหนึ่งหากแกนนำได้ความคิดความเชื่อความเข้าใจ  ยังเป็นต้นแบบกลับไปทำที่ครอบครัวด้วย ดังนั้นไม่เฉพาะแกนนำและยังมีครอบยครัวแกนนำเครือญาติแกนนำ เป็นโครงข่ายทางสังคมไม่มีที่สิ้นสุด”   ดังนั้นกระบวนการพัฒนาคนจึงไม่ได้เฉพาะคนเท่านั้น ยังรวมถึงระบบการโยงใยของชุมชน สังคม และทุนทางสังคมที่เข้ามาร่วมหนุนเสริม...
“การพัฒนาคน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการได้ใจมาก่อน เมื่อใจมาทุกอย่างก็ทำได้ไม่ยาก”

ขอบคุณ: https://www.gotoknow.org/posts/354747
              : กองส่งเสริมและพัฒนาการปสุสัตว์

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สารานุกรมชนชาติกูย

สารานุกรมชนชาติกูย 

(encyclopedia of kui)


                                                            เรียบเรียงโดย สมทรง บุรุษพัฒน์

  ชาวกูย หรือที่คนไทยทั่วไปเรียกว่า “ส่วย”เป็นกลุ่มชนที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุบลราชธานี ตามลำดับ และยังปรากฏอยู่ประปรายในจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี ชายกูยในประเทศไทยมีจำนวนประชากรประมาณเกือบ ๓ แสนคน ส่วนใหญ่อาศัยปะปนอยู่ในชุมชนชาวเขมรและลาว จึงทำให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมเข้ากับชนกลุ่มอื่น จนยากที่จะจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ได้ ชาวกูยเหล่านนี้มีวิถีชีวิตเหมือนชาวไทยอีสานทั่วไป คนหนุ่มสาวมักจะอพยพเข้ามาหางานทำในเมือง ๆ นายจ้างจะไม่พบความแตกต่างของชนกลุ่มนี้จากชาวไทยอีสานกลุ่มอื่น ๆ ที่ทำงานอยู่ด้วยกัน นอกจากภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเป็นสิ่งที่แยกชนชาวกูยออกจากกลุ่มชนชาติพันธุ์อื่น ๆ

ปัจจุบันชาวกูยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย นับได้ว่าเป็นประชากรกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ที่ยังต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตดังเช่นชาวไทยในชนบททั่วไป บุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรที่จะได้มีความรู้เกี่ยวกับชนชาติกูยอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อาจจะกล่าวได้ว่าชนชาติกูยกำลังสูญเสียลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ประจำกลุ่ม ดังนั้นวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของการจัดทำสารานุกรมฉบับนี้ก็เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่เป็นลักษณะเฉพาะประจำกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ภาษา การแต่งกาย ความเชื่อ พิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น มาบันทึกไว้เพื่อรักษาเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ของชนกลุ่มนี้ไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกระแสของธรรมชาติและกาลเวลา


ชาติพันธุ์ และ ความหมาย 
                กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ เรียกตนเองว่า กูย กุย โกย หรือ กวย ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะการออกเสียงของแต่ละถิ่นและพบว่าตำราที่เขียนเป็นภาษาต่างประเทศที่เขียนแตกต่างกันตามวิธีคิดของผู้แต่งตำราแต่ละคนเช่นเดียวกัน เช่น เขียนว่า kuy,kui,koui,kouei,และ kouai

                ถึงแม้ชนพื้นเมืองจะออกเสียงสระแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น ชนพื้นเมืองต่างก็ให้ความหมายของคำว่า กูย กุย กวย หรือ โกย ไว้อย่างมีเอกภาพ คือมีความหมายว่า “คน” ทั้งสิ้น การให้ความหมายไว้ลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นความเป็นสากล หรือฐานคติของทัศนะการมองโลกของมนุษย์ในปริบทของวัฒนธรรมต่างว่า กลุ่มของตนเองนั้น มีสถานภาพที่แตกต่างจากสัตว์ และมีความเท่าเทียมกันกับมนุษย์ในปริบทของวัฒนธรรมอื่น ๆ เสมอ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ นักภาษาศาสตร์และนักชาติพันธุ์วิทยาในประเทศไทยจึงเสนอให้ใช้คำว่า “กูย”เพียงคำเดียว

                ส่วนคำว่า ส่วย นั้น เป็นคำที่บัญญัติขึ้นมานอกเหนือปริบทของวัฒนธรรมกูย ซึ่งชาวกูยเองไม่ค่อยจะยอมรับชื่อนี้เท่าใดนัก สารานุกรมเล่มนี้จึงขอสนับสนุนให้ผู้อ่านใช้คำว่า กูย เพื่อเป็นมนสิการต่อเกียรติภูมิของกลุ่มชาติพันธุ์ มีประวัติศาสตร์ของตนเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก/http://www.watpracharangsan.com/articles/535645/

การล่มสลายของอาณาจักรกวย

การล่มสลายของอาณาจักรกวย


                มองชิเอร์ เลวี M. Levy นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงนิทานหรือนิยายปรำปราที่ชาวกวยได้เล่าสืบต่อกันมาว่า “บรรพบุรุษของพวกเขานั้นมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเมืองชำบงขมอ ต่อมาได้เกิดแผ่นดินไหวจึงได้พากันอพยพขึ้นเหนือไปอยู่แถบเมืองจำปาศักดิ์ แต่ต้องประสบภาวะน้ำท่วมแทบทุกปี ชาวกวยจึงต้องอพยพข้ามลำน้ำโขงไปหาที่อยู่ใหม่” จึงเป็นที่เข้าใจว่าชนชาติส่วยได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก่อนที่ขอมจะเข้ามามีอำนาจนานนับศตวรรษ
                ตำนานดังกล่าว จึงน่าจะมีมูลความจริง แม้นว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-20 นั้นชนชาติกวยมีอาณาจักรหรือมีแหล่งที่อยู่เป็นของตนเอง เมื่อการเมืองในเอเซียภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนไปในปี พ.ศ. 1093 เจ้าชายจิตเสนได้ยกกองทัพเข้าโจมตีอาณาจักรฟูนันและสามารถยึดอาณาจักฟูนันได้โดยสิ้นเชิง อาณาจักรฟูนันที่เคยรุ่งโรจน์ก็สลายไปในที่สุดเจ้าชายจิตเสน สถาปนาอาณาจักรเจนละขึ้นโดยอุปภิเษกพระเจ้าวรมันที่ 1 ให้เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรเจนละ  เจ้าชายจิตเสนทรงเป็นแม่ทัพที่มีความสามารถได้ขยายและแผ่อำนาจเข้ามาในเขตอีสานใต้ (ของไทย) ได้ทำสงครามขับไล่ชนพื้นเมืองซึ่งเข้าใจว่าเป็นพวกข่า หรือชาวกวยการทำสงครามขยายอาณาเขตครั้งนี้ยืดเยื้อ  แต่ชาวกูยที่เมืองแสนปางยังคงมีอำนาจและเป็นอิสระอยู่ เพราะในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ยังมีชนชาติกวยเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ต่อจากนั้นเรื่องราวของชนชาติกวยก็เลือนหายไปเข้าใจว่าคงจะถูกยึดครองโดยลาวนครจำปาศักดิ์  หรือไม่ก็ตกอยู่ใต้อำนาจอาณาจักรเจนละ (ขอม) แต่อย่างไรก็ตามชนชาติกวยหรือกูยนั้น ได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายข้ามลำน้ำโขงมีฝั่งตะวันตกเข้าสู่ดินแดนแถบอีสานใต้ของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2200 เป็นต้นมา จนถึงปลายอยุธยาตอนปลายปรากฏว่ามีชุมชนส่วยหรือกวยเกิดขึ้นอยู่ทั่วไป ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานีจนถึงจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือชนชาวกูยที่บ้านเมืองที บ้านโคกยาง (สังขะ) บ้านกุดหวาย (รัตนะบุรี) และบ้านโคกดงลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้รับการสถาปนายกฐานะให้เป็นเมืองชื่อ “เมืองศรีนครศรีลำดวน” ซึ่งถือว่าเป็นบรรพชนของคนศรีสะเกษ ในยุคปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจาก-http://www.watpracharangsan.com/articles/535645/

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จำนวนหมู่บ้าน กวย กูย กุย โกยเยอ ซูย บรู

จำนวนหมู่บ้าน กวย กูย กุย โกยเยอ ซูย บรู หลังจากได้รับข้อมูลจากพี่น้อง ครั้งแรก เมื่อ วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 จนปัจจุบัน ได้รวบรวมบันทึกได้คร่าว ๆ ประมาณ 978 หมู่บ้าน
แบ่งตามจังหวัดได้ดังนี้



 จังหวัดสุรินทร์ - 431


เอื้อเฟื้อภาพโดย รุ่ง กอนกูย

ประกอบด้วย 17 อำเภอ
เมืองสุรินทร์ ,ชุมพลบุรี ,ท่าตูม ,จอมพระ ,ปราสาท ,กาบเชิง ,รัตนบุรี ,สนม ,ศีขรภูมิ ,สังขะ ,ลำดวน ,สำโรงทาบ ,บัวเชด , พนมดงรัก , ศรีณรงค์ ,  เขวาสินรินทร์ , โนนนารายณ์ 


อำเภอเขวาสินรินทร์ 14 หมู่บ้าน
ตำบลบึง-หมู่2 บ้านเฉนียง ,หมู่4 บ้านละเอาะ ,หมู่5 บ้านนางแก้ว ,หมู่6 บ้านสนวน ,หมู่7 บ้านแดง ,หมู่8 บ้านกันตรง , หมู่9 บ้านระโงนกรอย
ตำบลตากูก-หมู่4 บ้านโชค , หมู่5 บ้านสนวน , หมู่6 บ้านตากแดด ,หมู่7 บ้านอาไร บ้านกระพี้ บ้านโพธิ์คู่ บ้านทุ่งโก

อำเภอเมืองสุรินทร์ 8 หมู่บ้าน

ตำบลตั้งใจ-หมู่2 บ้านสังแก ,หมู่3 บ้านระกา  หมู่1 บ้านตั้งใจ ,บ้านเขวาน้อย
ตำบลนาดี-หมู่6 บ้านโคกพระ บ้านโคกวัด บ้านโดนออง
ตำบลตาอ๋อง-บ้านโนนจิก

อำเภอบัวเชด. 23 หมู่บ้าน
ตำบลบัวเชด-บ้านโชค,บ้านโนนสังข์,บ้านสันติสุข
ตำบลอาโพน.- บ้านชำปะโต บ้านผักไหม บ้านอาโพน บ้านประเม บ้านไกรสรพัฒนา
ตำบลตาวัง-หมู่1 บ้านตาวัง ,หมู่2 บ้านนา ,หมู่3 บ้านกะเพอโร ,หมู่4 บ้านตะแบง ,หมู่6 บ้านหนองโจงโลง ,หมู่7 บ้านจบก ,หมู่9 บ้านหนองเหล็ก,หมู่10บ้านไทรโยง
ตำบลสำเภาลูน-หมู่3 บ้านไทยเดิม,หมู่4 บ้านสวาท ,หมู่6 บ้านแกรง,บ้านไทยเดิมน้อย,บ้านไทยเจริญ

อำเภอพนมดงรัก6หมู่บ้าน
ตำบลจีกแดก -  บ้านจีกแดก
บ้านศรีสวาย   บ้านหนองจูบ
 หนองคันนาบางส่วน  บ้านสายกุหลาบ ม 3
ตำบลโคกกลาง -บ้านสระแก้ว


 อำเภอปราสาท  8หมู่บ้าน
ตำบลโชคนาสาม -บ้านพยุงสุขหมู่6  บ้านเจริญสุข หมู่14บางส่วน
ตำบลบ้านไทร  -บ้านโคกวัด
ตำบลโคกสะอาด -บ้านโคกเพชร, บ้านโคกแดง,  บ้านโคกเบง , บ้านกาบกระบือ,บ้านโคกใหญ่

อำเภอท่าตูม  19 หมู่บ้าน
ตำบลกระโพ -หมู่1 บ้านกระโพ ,หมู่4 บ้านบอน ,หมู่5 บ้านอาคุณ ,หมู่6 บ้านตระมูง ,หมู่7 บ้านจินดา ,หมู่8 บ้านตาทิตย์ ,หมู่10 บ้านโนนโพธิ์ ,หมู่11 บ้านศาลา ,หมู่12บ้านหนองปัง, หมู่13 บ้านตากลาง ,หมู่14 บ้านหนองบัว,หมู่15 บ้านภูดิน ,หมู่16 บ้านบุรี ,หมู่17 บ้านโคกกุง ,หมู่19 บ้านด่าน,20บ้านชะมวง บ้านหนองอีคุณ
ตำบลหนองบัว-บ้านหนองบัว

อำเภอสนม 28 หมู่บ้าน
ตำบลสนม-บ้านหนองเหล็ก
ตำบลหนองระฆัง -บ้านโนนธาตุ, บ้านนาดี,บ้านปะ ,บ้านหนองทิดลา,บ้าน สะทืด,บ้านคูยวน
ตำบลนานวน-หมู่1 บ้านนานวน , หมู่2 บ้านโคกกลาง , หมู่3 บ้านโนนตาล , หมู่4 บ้านอ้อมแก้ว , หมู่5 บ้านแท่น , หมู่6 บ้านโนนแดง , หมู่7 บ้านหัวนา , หมู่8 บ้านตาเพชร , หมู่9 บ้านหนองตาด , หมู่10 บ้านหนองคูณ , หมู่11 บ้านหนองพยอม
ตำบลหนองอียอ-บ้านหนองอียอ,บ้านศิริถาวร, หมู่6 บ้านอาเลา
ตำบลแคน-หมู่12 บ้านหนองเหล็ก
ตำบลหัวงัว-หมู่3 บ้านหนองคู,บ้านหนองหลัก,บ้านสองห้อง,บ้านหนองครก

อำเภอศรีณรงค์ 47 หมู่บ้าน
ตำบลแจนแวน-บ้านแจนแวน บ้านเกาะ. บ้านแดง บ้านตะโนน. บ้านสะนวน บ้านสำโรง บ้านสิม บ้านพะเนาว์ บ้านศรีนวล บ้านหม่อนไหมพัฒนา.บ้านศรีโนนตราด บ้านธาตุทอง บ้านตาเปรียง
ตำบลหนองแวง-หมู่3 บ้านจารย์ ,หมู่4 บ้านหนองคู ,หมู่5 บ้านคูขาด ,หมู่6 บ้านโนนตลาด ,หมู่7 บ้านหนองกราด ,หมู่8 บ้านธาตุทอง ,หมู่9 บ้านกุง ,หมู่10 บ้านโนนคำ บ้านหนองแวง
ตำบลณรงค์-หมู่7 บ้านมหาชัย บ้านณรงค ์ บ้านโสน. บ้านพระโกฏิ บ้านละมงค์. บ้านอาสอน
ตำบลศรีสุข-บ้านโคกอำนวย บ้านลูกควาย บ้านกล้วย บ้านหอก บ้านหนองเรือ บ้านโนง บ้านอัอมแก้ว
ตำบลตรวจ-บ้านตรวจ บ้านมะแซว บ้านฉลีก บ้านใหม่ไทยเจริญ บ้านดู่ บ้านน้อย บ้านพรมคาต บ้านเกาะตรวจ บ้านเที่ยงสูง บ้านเตาแดก บ้านตะแตรว  หมู่13 บ้านโชคชัย

อำเภอศีขรภูมิ 68 หมู่บ้าน
ตำบลตรึม- หมู่6 บ้านบ่อน้ำใส หมู่11 บ้านหนองหิน  บ้านหัวแรด  บ้านตรึม  บ้าน.ดู่  บ้าน.อาราง  บ้าน.ทรัพย์โกฏ,หมู่12 บ้านหนองม่วง,บ้านจังเอิด,บ้านสวาย,บ้านบุไพร,บ้านโคกศิลา,บ้านอาวุธ,บ้านบก,บ้านนา, บ้านหนองทม,บ้านหนองใหญ่
ตำบลแตล- หมู่1 บ้านแตล , หมู่2 บ้านซาด , หมู่3 บ้านหนองท่ม ,หมู่12 บ้านอายอง,หมู่5 บ้านหนองคู , หมู่6 บ้านสังแก ,หมู่7 บ้านสวาย ,หมู่10 บ้านโนนถ่อน ,หมู่11 บ้านบุละลาย, หมู่17 บ้านกะโพธิ์ , หมู่18 บ้านหนองขวาง , หมู่16 บ้านอายอง,หมู่ 20บ้านหนองดุม,หมู่ 22
ตำบลหนองบัว- หมู่8 บ้านโพธิ์ ,ม.17บ้านโคกศิลา ,หมู่12 บ้านเมือดแอ,บ้านหนองโดน บ.หนองขนาด บ.สัจจัง บ้าน บัวโล๊ะ,บ้านสลิ บ้านหนองแต้
ตำบลคาละแมะ- หมู่1 บ้านคาละแมะ ,หมู่2 บ้านโนนกลาง ,หมู่3 บ้านหัวเข่า ,หมู่4 บ้านหนองคู ,หมู่6 บ้านหนองขาม ,หมู่7 บ้านหนองอีเหลือง , หมู่8 บ้านตลาด , หมู่10 บ้านโสน , หมู่12 บ้านบึงขวาง ,หมู่13 บ้านแจนแวน,บ้านศิริมงคล หมู่ที่15
ตำบลหนองเหล็ก-หมู่13 บ้านโคกลำดวน
ตำบลนารุ่ง-หมู่5 บ้านดู่
ตำบลผักไหม-หมู่12 บ้านก้านเหลือง บ้านดงยาง  บ้านทุ่งรู่ง บ้านทุ่งราม ม.4 บ้านหนองสองห้อง
ตำบลตรมไพร- หมู่1 บ้านตรมไพร  บ้านบึง บ้านตะเคียน
ตำบลระแงง-บ้านยางเตี้ยหมู่14,บ้านยางเตี้ยใต้หมู่12
ตำบลหนองขวาว-บ้านเขนก  บ้านทุ่งแสงทอง  บ้านมะเขือ  บ้านหนองเหล็ก  บ้านหนองคู

อำเภอสังขะ 70 หมู่บ้าน
ตำบลสังขะ -หมู่6 บ้านแบกจาน , หมู่7 บ้านโดง หมู่1 บ้านเขวา ,หมู่2 บ้านขามน้อย ,หมู่3 บ้านสังขะ , หมู่5บ้านโคกสมบูรณ์,หมู่9 บ้านศรีนวล , หมู่10 บ้านหนองใหญ่ ,หมู่11 บ้านโนนตาแบก
ตำบลขอนแตก-หมู่6 บ้านโคกปรือ, หมู่7 บ้านอาวอก หมู่6 บ้านโคกปรือ, หมู่7 บ้านอาวอก บ้านขอนแตก บ้านตอกตรา บ้านโตงน้อย  บ้านสวาท  บ้านแจงแมง  บ้านหัวกระบือ บ้านหนองมหาดไทย ,บ.ขอนทองพัฒนา บ้านหนองคูพัฒนา
ตำบลพระแก้ว-หมู่1 บ้านแสนกาง ,หมู่4 บ้านพระแก้ว,หมู่11บ้านน้อยพัฒนา,บ้านตะโก,บ้านโคกไม้แดง,บ้านโพธิ์พัฒนา,บ้านนา,บ้านอำปึล
ตำบลกระเทียม-หมู่ 1 บ้านกระเทียม,หมู่ 2 บ้านกระเทียม,หมู่ 10 บ้านหนองกุง,หมู่ 15 บ้านกระเทียมน้อย,หมู่ 17 บ้านขุนเทียม
ตำบลสะกาด-
1.บ้านสะกาด
2.บ้านทรายขาว(แยกจากบ้านสะกาด)
3.บ้านตาโมม (มาจากภาษาส่วยแปลว่าเต่า)
4.บ้านตาโมมพัฒนา (แยกจากบ้านตาโมม)
5.บ้านหนองกรวด (ทโระ-กรวย ในภาษาส่วย)
6.บ้านโคกบิง (ทโระ-โคะบิง ในภาษาส่วย)
7.บ้านกลองตุง (ทโระ-กลองกะทุง ในภาษาส่วย)
8.บ้านหนองเรา (ทโระ-พังเรา ในภาษาส่วย)
9.บ้านธรรมราช  (ทโระ-ตำราช ในภาษาส่วย)
10.บ้านหลัก (มาจากภาษาส่วย)
11.บ้านหลักชัย (อยกจากบ้านหลัก)
12.ทโระ-เปรอ (มาจากภาษาส่วย)
13.บ้านนาโต๊ะ (ส่วยเรียก ทโระ-โข่ย มาจากภาษาส่วย เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายเกาลัด)
14.บ้านอำปึล (มาจากภาษาส่วย เรียกทโระ-อึมพิล และว่ามะขาม)
15.บ้านอำปึลพัฒนา (แยกจากบ้านอำปึล)
16.บ้านสหมิตร (ส่วยเรียก ทโระ-โคะระกา)
17.บ้านจังเอิญ (ส่วยเรียก ทโระ-จังเอิร (คำว่าจังเอิร เป็นภาษาส่วย คือ อยู่ไฟหรือผิงไฟ เช่น คำว่า จังเอิรอูย คือผิงไฟ, จังเอิรปัว คือผิงแดด(ช่วงหน้าหนาว) เป็นต้น)
18.ทโระ-กะแจว
ตำบลบ้านชบ-หมู่3 บ้านศาลา
ตำบลบ้านจารย์-หมู่1 บ้านจารย์ ,หมู่2 บ้านกันเต็ล ,หมู่3 บ้านมะโน ,หมู่4 บ้านอังกอล ,หมู่5 บ้านโพธิ์ ,หมู่6 บ้านระนุก ,หมู่7 บ้านตาแอก ,หมู่8 บ้านโคกไทร ,หมู่9 บ้านโคกปืด ,หมู่10 บ้านโคกเมือง ,หมู่11 บ้านแสงทอง,บ้านโคกไทรงาม,บ้านหนองระหาร
ตำบลทับทัน-หมู่11 บ้านเดือยไกแก้ว
ตำบลตาตุม-บ้านห้วยสิงห์ บ้านสะพานใหม่

 อำเภอจอมพระ 40 หมู่บ้าน
 ตำบลจอมพระ -หมู่ที่1บ้านจอมพระ,หมู่ที่ 2 บ้านหนองขอน,หมู่ที่3บ้านปลาเข็ง,หมู่ที่ 4 บ้านดงบัง,หมู่ที่ 5 บ้านศรีดงบัง,หมู่ที่ 6 บ้านกระทุ่มเกษตร,หมู่ที่ 7 บ้านขาม,หมู่ที่ 8 บ้านโนนสังข์ ,หมู่ที่ 9 บ้านโนนกลาง,หมู่ที่ 10 บ้านอาภู,หมู่ที่ 11 บ้านโคกเพร็ค,หมู่ที่ 12 บ้านปะ,หมู่ที่ 13 บ้านศรีจอมพระ,หมู่ที่ 14 บ้านหนองสิม,หมู่ที่ 15 บ้านโคกสะอาด
ตำบลบุแกรง -หมู่2 บ้านประวิทย์ ,หมู่3 บ้านตาบอด , หมู่4 บ้านว่าน ,หมู่5 บ้านอาคต ,หมู่6 บ้านหนองขอนใหญ่ ,หมู่7 บ้านตะเคียน , หมู่8 บ้านขาม , หมู่9 บ้านอาแวะ ,หมู่10 บ้านอาผอ ,หมู่11 บ้านขามใหญ่ ,หมู่14 บ้านสระตาปาน ,หมู่15 บ้านโนนสวายน้อย
 ตำบลลุ่มระวี -หมู่5 บ้านคำแสง,บ้านกอก(อาโผน),บ้านตากวน(ตากูน)
 ตำบลเป็นสุข-หมู่1 บ้านขมิ้น,หมู่6 บ้านขาม ,บ้านโพธิ์งาม,บ้านบรเพ็ด,บ้านสนวน โคกจิก
 ตำบลเมืองลีง
1.บ้านเมืองลีง2.บ้านดงเค็ง3.บ้านทุ่งนาค
4.บ้านเชียงสง
อำเภอสำโรงทาบ 72 หมู่บ้าน
ตำบลสำโรงทาบ 12 หมู่บ้าน ม.1 บ้านสำโรงทาบ ม.2 บ้านกุง ม.3 บ้านอาวุธ ม.4 บ้านอาลึ ม.5 บ้านโนนบุรี
ม.6 บ้านใหม่ศรีสำโรง ม.7 บ้านงิ้ว ม.8 บ้านลำพง ม.9 บ้าน.ตะเคียน ม.10 บ้านห้วยแสงมีบางส่วน
ม.11 บ้านโดด และ ม.12 บ้านตะเคียนพัฒนา
ตำบลหนองไผ่ล้อม 11 หมู่บ้าน ม.2 บ้านหนองแล้ง ม.3 บ้านหนองหว้า ม.4 บ้านโพธา ม.5 บ้านหนองคู ม.6 บ้านไทร
ม.7 บ้านกระโพธิ์ ม.8 บ้านหนองแคน ม.9 บ้านจังเอิด ม.10 บ้านจังเกา ม.11 บ้านโนนลี และ
ม.13 บ้านหนองคูพัฒนา
ตำบลศรีสุข 8 หมู่บ้าน ม.1 บ้านหนองสระ ,ม.2 บ้านหนองดุม , ม. 3 บ้านหนองเกาะ ,ม.4 บ้านโคกสมบูรณ์ ,
ม. 5 บ้านขาม , ม.6 บ้านสะแบะ ม.7 บ้านอียอ ม.8 บ้านหนองเสือ
ตำบลเกาะแก้ว 6 หมู่บ้าน ม.2 บ้านตางมาง ม.4 บ้านสองหนอง ม.8 บ้านป่าเวย ม.9 บ้านโพธิ์ศรีธาตุ บ้านหนองทับ บ้านโนนสูง
ตำบลหมื่นศรี 8 หมู่บ้าน ม.1 บ้านหมื่นศรีน้อย ม.2 บ้านหมื่นศรีกลาง ม.3 บ้านหมื่นศรีใหญ่ ม.4 บ้านเสม็จ ม.5 กุดงิ้ว
ม.6 บ้านศิริพัฒน์ ม.8 บ้านศรีพัฒนา ม.9 บ้านศรีมงคล
ตำบลเสม็จ 7 หมู่บ้าน ม.1 บ้านเสม็จ , ม.2 บ้านหนองม้า , ม.3 บ้านสังแก ม.4 บ้านสองห้อง ม.5 บ้านโนนชัย ม.6 บ้านตาก่ำ
,ม.7 บ้านหนองพรม , หมู่8 บ้านศรีสวัสดิ์
ตำบลสะโน 9 หมู่บ้าน ม.1 บ้านสะโน ,ม.2 บ้านน้ำท่วม , ม.3 บ้านอาเลา ม.4 บ้านจิก ม.5 บ้านแขม
ม.6 บ้านจารย์ ม.7บ้านนายาว ม.8 บ้านหนองบัวลำพุก ,ม.9 บ้านกอไผ่น้อย
ตำบลประดู่ 10 หมู่บ้าน ม.1 บ้านดู่หัวนา ม.2 บ้านโคก ม.3 บ้านขนวน , ม.4 บ้านนาเทิง ม.5 บ้านเปือย
ม.6 บ้านพอก ม.7 บ้านหนองพญา ม.8 บ้านศรีราชา ม.9 บ้านห้วยทุ่ง ม.10 บ้านโนนสำราญ

อำเภอลำดวน 14หมู่บ้าน
ตำบลตะเปียงเตีย-1บ้านตระเปียงเตีย,2บ้านยะสุข,3บ้านจบก,4บ้านสะกร๊อม,5บ้านโคกกระโดน บ้านหนองคู,บ้านหนองเกาะ,บ้านหนองเป็ด,บ้านหนองหาญ
ตำบลโชกเหนือ-1.บ้านโคกสะอาด,2.บ้านโชกเหนือ,3.บ้านภูมสตึง,4.บ้านโคกกล้วย,5.บ้านอำปึล6

อำเภอกาบเชิง 14 หมู่บ้าน
ตำบลกาบเชิง-บ้านน้อยร่มเย็น หมู่8
ตำบลตาตุม-บ้านปวงตึก
ตำบลบ้านชบ-บ้านโพนชาย,บ้านตะกอยอด
ตำบลด่าน-บ้านหนองสมบูรณ์ บ้านห้วยปาง บ้านโพนทอง
ตำบลคูตัน -หมู่1 บ้านคูตัน , หมู่2 บ้านโคกสะอาด
ตำบลโคกตะเคียน
หมู่บ้านโคกตะเคียน หมู่บ้านไทรงาม หมู่บ้านโนนสวรรค์
หมู่บ้านโนนทอง และหมู่บ้านสวาย
จังหวัดศรีสะเกษ-405

ภาพจาก-sisaket.homeland4rent.com


ประกอบด้วย 22 อำเภอ
 เมืองศรีเกษ ,ยางชุมน้อย ,กันทรารมย์ ,กันทรลักษ์ ,ขุขันธ์ ,ไพรบึง ,ปรางค์กู่ ,ขุนหาญ ,ราษีไศล ,อุทุมพรพิสัย ,บึงบูรพ์ ,ห้วยทับทัน ,โนนคูณ ,ศรีรัตนะ ,น้ำเกลี้ยง ,วังหิน ,ภูสิงห์ ,เมืองจันทร์ ,เบญจลักษ์ ,พยุห์ , โพธิ์ศรีสุวรรณ , ศิลาลาด

อำเภอเมือง 15 หมู่บ้าน
ตำบลตาดอบ-หมู่ที่ 1 บ้านตะดอบ,,หมู่ที่ 2 บ้านเปือยใหญ่,หมู่ที่3  บ้านนาสูง,หมู่ที่ 4 บ้านหนองแคน,หมู่ที่ 5 บ้านหนองเทา  ,หมู่ที่ 6บ้านเปือยน้อย,หมู่ที่ 7บ้านโพนงาม,หมู่ที่ 8บ้านไผ่ล้อม
ตำบลโพนค้อ-บ้านโพนค้อหมู่1,บ้านหนองหมู่2,บ้านยานางหมู่3,บ้านกลางหมู่4,บ้านโนนหมู่5,บ้านตะวันออกหมู่6
   ตำบลทุ่ม-บ้านขมิ้น
อำเภอปรางค์กู่ 51หมู่บ้าน
ตำบลกู่-บ้านกู่ บ้านหว้า บ้านไฮน้อย บ้านหนองบัวตาคง บ้านสามขา บ้านกะดึ บ้านกระโพธิ์ บ้านอาต็อง บ้านพอกน้อย บ้านโสน บ้านเกาะ บ้านพอกใหญ่ บ้านม่วงหนองยาว บ้านบ้านกู่ตะวันตก บ้านผือพัฒนา บ้านศรีผไทราษฎร์ บ้านเกะสามัคคี
ตำบล ตูม -หมู่1 บ้านกระโพธิ์ ,หมู่ 5บ้านขี้นาค, หมู่ 6 บ้านขี้นาคน้อย, หมู่ 7 บ้านรงระ, หมู่8 บ้านพล็อง
ตำบล พิมาย- บ้านโนนดั่ง หมู่ 13 บ้านหนองเหล็ก บ้านบิง บ้านสนาย
ตำบลดู่- หมู่2 บ้านหนองคู หมู่7 บ้านอาวอย หมู่1 บ้านหนองหิน  บ้านดู่กลาง  บ้านดู่เล็ก  บ้านดู่ใหญ่ บ้านอาวอย ตะวันตก
ตำบลพิมายเหนือ-หมู่6 บ้านไฮ บ้านโพธิ์สามัคคี
ตำบลหนองเชียงทูน หมู่4 บ้านมัดกา ,หมู่16 บ้านขุมปูน,หมู่2 บ้านศาลา  หมู่11บ้านหนองแต้,บ้านบ่อ
ตำบลสวาย -บ้านขาม,บ้านทับขอน,บ้านท่าคอยนาง,บ้านกระโพธิ์น้อย,บ้านสนิท,บ้านน้ำอ้อม,บ้านแสนแก้ว,บ้านขามเหนือ,บ้านบ้านกระต่ายดอน
ตำบลตูม -บ้านพล็อง บ้านบึง



อำเภอเมืองจันทร์ 37 หมู่บ้าน
ตำบลเมืองจันทร์-มี20หมู่บ้าน/หมู่1บ้านบก,หมู่2บ้านเมืองจันทร์,หมู่3บ้านโนนกลาง,หมู่4บ้านหนองแคนน้อย,หมู่5บ้านโคก,หมู่6บ้านอีงอย,หมู่7บ้านไผ่,หมู่8บ้านทุ่ม,หมู่10บ้านเก็บงา,หมู่13บ้านโนนสูง,หมู่14บ้านหนองโน,หมู่15บ้านกลาง,หมู่17บ้านกลางคำ,หมู่18บ้านทุ่งสว่าง,หมู่19บ้านม่วงน้อย,หมู่21บ้านสวัสดี,หมู่22บ้านขนวนสมบูรณ์,หมู่23บ้านหุ่งคำ,หมู่24บ้านไผ่น้อย,หมู่25บ้านหนองเรือ
ตำบลตาโกน14หมู่บ้าน-1บ้านตาโกน หมู่1,2บ้านตาโกน หมู่23บ้านวัด หมู่3,4บ้านแดง หมู่4,5บ้านเค็ง หมู่5,6บ้านตาด หมู่6,7บ้านแต้ หมู่7,8บ้านนาแปะ หมู่9,9.บ้านห่อง หมู่10,10.บ้านกระเต็น หมู่11,11.บ้านหนองปลาคูณ หมู่12,12.บ้านตาโกน หมู่13,13 บ้านขยอม หมู่14,14.บ้านหนองหว้า หมู่15
 ตำบลหนองใหญ่-มี3หมู่บ้าน/หมู่3 บ้านหนองดุม,หมู่6 บ้านป่าอ้น,หมู่7 บ้านเขวา

อำเภอห้วยทับทัน 33หมู่บ้าน
ตำบล ห้วยทับทัน -หมู่2 บ้านบก-พอก ,หมู่3 บ้านกระทุ้ม ,หมู่4 บ้านสร้างเรือ , บ้านหนองสิมใหญ่ ,บ้านหนองมันปลา
ตำบล กล้วยกว้าง -บ้านโนนแดง บ้านโนนสำโรง, บ้านพอกหนองแข้  ,บ้านไฮใหญ่,บ้านกล้วยกว้าง
ตำบล ปราสาท- หมู่1 บ้านกอเลา ,หมู่2 บ้านหนองฮะ ,หมู่3 บ้านขะยูง ,หมู่4 บ้านหนองอาคูณ ,หมู่5 บ้านหว้า,หมู่7 บ้านปะโด๊ะ ,หมู่8 บ้านพะเนา , หมู่9บ้านระหุ่ง ,หมู่10 บ้านโนนโก ,หมู่11 บ้านโนนดั่ง ,หมู่12 บ้านหนองนา ,หมู่13 บ้านศาลากัลพฤหษ์ , บ้านกะทิ,บ้านอีสร้อย,บ้านโนนลาน,บ้านปราสาท
ตำบล จานแสนไชย-บ้านฟ้าผ่า,บ้านหนองแสนไชย,บ้านไฮน้อย
ตำบลผักไหม-บ้านกระสังข์,บ้านกระเต็น, บ้านห้วยซันพัฒนา, บ้านหนองลุง

อำเภอพยุห์  22 หมู่บ้าน
ตำบลพรหมสวัสดิ์ -หมู่ 1,บ้านสำโรง ,หมู่3 บ้านโคเฒ่า ,หมู่4 ,หมู่5,หมู่7,บ้านกระหวัน ,หมู่ 10,หมู่14,หมู่13 บ้านร่องสะอาด ,บ้านหนองแข้ ,บ้าน เปือย,หมู่19,บ้านพรหมสวัสดิ์
ตำบลตำแย  บ้านกระถุน หมู่ 3 บ้านขนวน หมู่ 10 บ้านจาน
ตำบล หนองค้า -บ้านหนองค้า, บ้านเสมอใจ ,บ้านหนองสลาม หมู่6 ,บ้านบกหมู่4,บ้านโพธิ์น้อย,บ้านหนองแฮด หมู่5

อำเภอภูสิงห์ -9 หมู่บ้าน
ตำบลละลม -บ้านธาตุ บ้านธาตุทอง บ้านโพธิเงิน. บ้านโพธิ์ทอง บ้านโกแดง บ้านพรหมทอง
 บ้านคูสี่แจ
ตำบลโคกตาล-บ้านเรือทอง บ้านคลองคำ

อำเภอศรีรัตนะ 27 หมู่บ้าน
ตำบล ศรีแก้ว-บ้านสำโรงระวี บ้านถ่มหนองแคน บ้านตระกาจ
ตำบลสระเยาว์-หมู่5 บ้านสลับ
ตำบลบ้านตูม-หมู่1 บ้านตูม บ้านตูมพัฒนา บ้านพะเนา บ้านหนองกันจง บ้านโนนสวน บ้านไฮ บ้านโนนสะอาด บ้านบก บ้านตูมกะแซงราษฎร์ บ้านศรีพะเนาใต้ บ้านศรีพะเนาตะวันออก
ตำบลเสื่องข้าว-บ้านเสื่องข้าว หมู่1 บ้านกระหวัน ,หมู่2 บ้านจานบัว ,หมู่4 บ้านโนนแสนคำ ,บ้านหนองปิงโปง
ตำบลสะพุง- บ้านจอก บ้านปละ บ้านอะนวย บ้านหนองอะเลา บ้านจิเนียว บ้านจะกอง บ้านสะพุง

อำเภอไพรบึง 26 หมู่บ้าน

ตำบล สำโรงพลัน -บ้านตาจวน
ตำบลโนนปูน -บ้าน.ตาเจาเหนือ,บ้านตาเจาใต้,บ้านโคนม,บ้านแดง,บ้านหนองสำราญ
ตำบลสุขสวัสดิ์ -หมู่1 บ้านเขวา ,หมู่2 บ้านจังเอิญ ,หมู่3 บ้านหนองอิไทย ,หมู่4 บ้านห้วย,  ม.1 บ้านโพนปลัด  ม.8 บ้านพะแวะ ม.12 บ้านพะแวะเหนือ
ตำบลปราสาทเยอ-บ้านปราสาทเยอใต้ ,บ้านประอาง,บ้านประอางน้อย, บ้านคูสี่แจ, บ้านเตรี๊ยะ  บ้านพิทักษ์   บ้านหนองพัง
ตำบลดินแดง - หมู่ 2 บ้านโตรย หมู่ 7 บ้านอาหวด บ้านจานกุล หมู่ 8 บ้านสร้างใหญ่ บ้านกระโดน บ้านหนองอารี

อำเภอขุขันธ์ 56 หมู่บ้าน
ตำบลลมศักดิ์-บ้านหนองอาทิ บ้านเม็ก บ้านกะเจา บ้านทุ่งศักดิ์
ตำบลตะเคียน- บ้านไผ่ บ้านสวนกระสัง บ้านกะกำ บ้านหว้า บึงน้อย บ้านกะกำโคกสว่าง บ้านพยอม บ้านเวียน
ตำบลจะกง-บ้านจะกง บ้านเค็ง บ้านอาลัย บ้านตูม บ้านกองหลวง บ้านตาตู้ บ้านบึงน้อย บ้านปะอุง บ้านอาลัยพัฒนา บ้านหนองจะกง บ้านหนองรุ้ง
ตำบลปรือใหญ่-บ้านปรือคัน บ้านปรือใหญ่ บ้านมะขาม บ้านเนินแสง บ้านทุ่งชัย บ้านคลองลำจียก บ้านหนองซิม บ้านนาละเวีย บ้านบางกระวาน บ้านนิคม บ้านเกษนาค้อ บ้านตาเป๊าะ บ้านปรือคันตะวันออก บ้านปรือคันตะวันตก บ้านปรือคันใต้ บ้านแสนสุข
ตำบลดองกำเม็ด-บ้านกระโพธิ์,บ้านตราด,บ้านรูง,บ้านบึง บ้านโพธิ์สยาม บ้านกระโพธิ์ช่างหม้อ
ตำบลนิคมพัฒนา- บ้านนาละเวีย บ้านนิคมเขต 7 บ้านนิคมเขต 8
ตำบลศรีตระกูล-บ้านเคาะ บ้านหนองทับ
ตำบลตาอุด-บ้านโก บ้านเดื่อทำนบ บ้านเดื่อนอก
ตำบลหนองฉลอง-บ้านตรอย
ตำบลกันทรารมย์-บ้านหนองไฮ



อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ  10 หมู่บ้าน
ตำบลหนองม้า-บ้านหนองม้า บ้านกะปิ บ้านสองห้อง
ตำบลเสียว-หมู่8บ้านหนองผือ,หมู่12 บ้านหนองผือ ,บ้านหนองผือหมู่14
ตำบลผือ-บ้านผือ บ้านหนองผือ บ้านเดื่อ บ้านอาโพน

อำเภอกันทรลักษ์ 22หมู่บ้าน

ตำบลกระแชง 13หมู่บ้าน- บ้านกระแชงเหนือ,ม.2,บ้านกระแชงใต้ ,ม.12บ้านกระแชงพัฒนา,บ้านโนนสมประสงค์  ม.13,ม.16บ้านเขวาเหนือ, ม.17บ้านกระแชงเมืองใหม่,ม.18บ้านกระแชงใหญ่,เขวาหมู่.4 ,หมู่19เขวาใต้,หมู่.20,บ้านระโยงหมู่5 บ้านหนองทาหมู่10 บ้านโนนสูงหมู่9บ้านโนนจิกหมู่7
ตำบลตระกาศ 7หมู่บ้าน- บ้านตระกาศ, บ้านขอนแก่น, บ้านหนองก้อ, หมู่1 บ้านม่วง ,หมู่2 บ้านหนองเกาะ ,หมู่4 บ้านทุ่งกอก ,บ้านบาก
ตำบลหนองหญ้าลาด 2หมู่บ้าน-บ้านแก บ้านก้อ

อำเภอกันทรารมย์  4 หมู่บ้าน
ตำบล.ยาง บ้านกล้วย
ตำบล.จาน บ้านพะแนง บ้านอาลัย บ้านติ้ว

อำเภอน้ำเกลี้ยง-23หมู่บ้าน
ตำบลน้ำเกลี้ยง-หมู่1 บ้านน้ำเกลี้ยง
ตำบลละเอาะ-หมู่1 บ้านขี้เหล็ก ,หมู่2 บ้านแวด ,หมู่3 บ้านหนองโสน , หมู่4 บ้านพิทักษ์สันติ , หมู่5 บ้านละเอาะ ,หมู่6 บ้านทุ่งสว่าง ,หมู่7 บ้านเตาเหล็ก ,หมู่8 บ้านละเอาะ ,หมู่9 บ้านเชือก , ,หมู่10 บ้านเขวา
ตำบลตองปิด-หมู่1 บ้านยางน้อย ,หมู่6 บ้านบัวระรมย์ ,หมู่7 บ้านกะวัน ,บ้านโนนตำแย
ตำบลเขิน-หมู่1 บ้านเขิน ,หมู่8 บ้านโนนหนองสิม  ,หมู่4 บ้านโนนหนองสิม ,
ตำบลรุ่งระวี-หมู่4 บ้านหนองพะแนง ,หมู่5 บ้านรุ่ง
ตำบลคูบ-หมู่1 บ้านสร้างแก้ว ,หมู่2 บ้านคูบ ,บ้านสะพุง

อำเภอขุนหาญ 29 หมู่บ้าน
ตำบลโพธิ์กระสังข์-บ้านตาตา,บ้านซำ,บ้านโพธ์กระสัง บ้านโพธิ์กระสังข์เหนือ บ้านพอก บ้านหนองประดิษฐ์ บ้านสดำ บ้านบก บ้านใหม่พัฒนา บ้านหนองคู บ้านหนองขนาน บ้านกระโดน
ตำบลโนนสูง- หมู่1บ้านโนนสูง ,หมู่5บ้านกระเจ,า หมู่6บ้านหนองบัว, หมู่7บ้านจะกุด, หมู่9บ้านน้อยแสงตะวัน
ตำบลสวาย-บ้านสวาย,บ้านสนิท,บ้านทับขอน,บ้านท่าคอยนาง,บ้านกระต่ายดอน
ตำบลสิ-บ้านโนนสูง บ้านด่าน บ้านหนองบัว บ้านโนนสว่าง
ตำบลกระหวัน-บ้านจะเนียว บ้านโพธิ์น้อย บ้านตะหลุง

อำเภออุทุมพรพิสัย 19 หมู่บ้าน
ตำบลหนองห้าง -1บ้านพงพรต 2บ้านน้อย 3บ้านกระทุ่ม 4บ้านเจียงวงศ์  5บ้านฟ้าผ่า
ตำบลเเขม.-1.บ้านเหงี่ยง-อีทวด 2.บ้านเค็ง 3.บ้านโนนสูง 4.บ้านโนนเเตน
ตำบล.หนองไฮ-บ้านนาโนน บ้านหนองแก้ว
 บ้านหนองไฮ ฝั่งตะวันตก
บ้านหนองแก้ว..บ้านนาโนน
บ้านโนนเย็น บ้านยางแรด
บ้านหนองเตา บ้านโนนเค็ง
บางส่วน บ้านหนองหว้าหมู่8

อำเภอราษีไศล 23 หมู่บ้าน
ตำบลหนองอึ่ง-บ้านโต่งโต้นโกทา,บ้านกอกแก้ว,บ้านโพธิ์ฮัง,บ้านดอนม่วง,บ้านหัวใหม่
ตำบลเมืองคง-14 หมู่บ้าน
 หมู่1 บ้านท่าโพธิ์ , หมู่2 บ้านกลาง , หมู่3 บ้านใหญ่ , หมู่4 บ้านโนน , หมู่5 บ้านหลุบโมก , หมู่6 บ้านดอนเรือ , หมู่7 บ้านร่องอโศก , หมู่8 บ้านหนองหว้า , หมู่9 บ้านป่าม่วง ,หมู่11 บ้านหนองหัวลิง , หมู่12 บ้านหนองบาก ,หมู่13 บ้านท่าโพธิ์ , หมู่14 บ้านด่าน

อำเภอโนนคูณ 2 หมู่บ้าน
ตำบลเหล่ากวาง-บ้านเวาะเหนือ บ้านเวาะใต้

จังหวัดบุรีรัมย์-87





ประกอบด้วย อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ,  คูเมือง ,  กระสัง ,    นางรอง ,  หนองกี่ ,  ละหานทราย ,ประโคนชัย ,บ้านกรวด ,พุทไธสง ,ลำปลายมาศ ,สตึก , ปะคำ ,นาโพธิ์ ,  หนองหงส์ ,พลับพลาชัย ,ห้วยราช ,โนนสุวรรณ ,ชำนิ ,  บ้านใหม่ไชยพจน์ ,โนนดินแดง ,     บ้านด่าน , แคนดง , เฉลิมพระเกียรติ



อำเภอเมือง จ.บุรีรัมย์ 9  หมู่บ้าน
ตำบลสะแกโพรง- บ้าน สมสนุก ม.5 หนองใหญ่
ตำบลเมืองฝาง -บ้านโคกกลาง
ตำบลลุมปุ๊ก-บ้านหนองทะลอก บ้านหนองกุง บ้านทานตะวัน บ้านตะแบก บ้านเสม็ด
ตำบลกลันทา-หมู่5 บ้านท้องเรือ ,

อำเภอสตึก-5 หมู่บ้าน
ตำบลหนองใหญ่-บ้านกระทุ่ม
ตำบลชุมแสง -บ้านโคกสิงห์
ตำบลทุงวัง.-บ้านดอนแก้ว.
ตำบลกระสัง -บ้านสองชั้น
ตำบลเมืองแก บ้านหนองนกเกรียน

อำเภอบ้านด่าน- 3 หมู่บ้าน
ตำบลโนนขวาง-ม.7 บ้านโนนขวาง บ้านหนองสระ บ้านดงกระทิง

อำเภอพลับพลาชัย  3 หมู่บ้าน
ตำบลจันดุม-หมู่8 บ้านม่วงหวาน ,หมู่15บ้านโคกเจริญ,ม.11 บ้านละลมไผ่

อำเภอประโคนชัย  10 หมู่บ้าน
ตำบลโคกตูม-บ้านโคกรัง
ตำบลไพศาล-บ้านหนองมะเขือ ม.1บ้านหนองเก็ม ม.2
ตำบลหนองบอน-บ้านหนองบอน ตำบลหนองโจรง บ้านห้วยเสลา บ้านหนองเสม็ด...
ตำบลบ้านไทร-หมู่12 บ้านโคกสำโรง
ตำบลละเวี้ย -บ้านโคกปราสาท
ตำบลจรเข้มาก-บ้านลำดวน

อำเภอหนองกี่29หมู่บ้าน
ตำบลเมืองไผ่-หมู่1 บ้านสระขาม ,หมู่2 บ้านโนนสำราญ ,หมู่3 บ้านหนองไผ่ ,หมู่4 บ้านสระขามใหญ่ ,หมู่5 บ้านนาจาน ,หมู่6 บ้านหนองม่วง ,หมู่7 บ้านห้วยลึก ,หมู่8 บ้านหนองเต่า ,บ้านหนองบอน , หมู่9 บ้านโคกกระชาย ,หมู่10 บ้านเมืองไผ่ , หมู่11 บ้านน้อยพัฒนา ,หมู่12 บ้านโนนรัง ,หมู่13 บ้านหนองไผ่ล้อม , หมู่14 บ้านหนองพันธุ์ลี ,หมู่15 บ้านน้อยหนองแก ,หมู่16 บ้านโนนจันทา ,หมู่17 บ้านดอนอะราง
ตำบลท่าโพธิ์ชัย-หมู่3 บ้านคูขาดน้อย ,หมู่4 บ้านหนองกราด
ตำบลเย้ยปราสาท-หมู่1 บ้านใหญ่ ,หมู่2 บ้านหนองตาดำ ,หมู่3 บ้านหนองตาดำ ,หมู่4 บ้านเมืองแฝก ,หมู่5 บ้านใหญ่หนองตาดำ ,หมู่6 บ้านหนองปรือ , หมู่7 บ้านทุ่งดำรง , หมู่8 บ้านยาง ,หมู่9 บ้านหนองโสน ,หมู่10 บ้านหนองปรือ

อำเภอบ้านด่าน10 หมู่บ้าน
ตำบลบ้านด่าน-หมู่12 บ้านหนองทับ ,หมู่14 บ้านโพธิ์ทอง ,
ตำบลปราสาท -หมู่18 บ้านปลัดปุ๊ก
ตำบลวังเหนือ -หมู่4 บ้านสำโรง ,หมู่5 บ้านปลัดปุ๊ก ,หมู่12 บ้านดงกระทิง หมู่6 บ้านแคน
ตำบลโนนขวาง-หมู่1 บ้านปอหู ,หมู่4 บ้านสำโรง ,หมู่5 บ้านหนองสระ ,

อำเภอกระสัง  4 หมู่บ้าน
ตำบลหนองเต็ง - บ้านโนนแดง ม.2 บ้านละลูน ม.3 บ้านหนองลุมพุก ม.11
ตำบลกันทรารมย์-บ้านโคกใหญ่

อำเภอนางรอง 4 หมู่บ้าน
ตำบลก้านเหลือง- หมู่5 บ้านหนองกก  หมู่4 บ้านหนองปรือ
ตำบลหนองโสน-บ้านหนองม่วง
ตำบลหนองยายพิมพ์-บ้านหนองโจด

อำเภอละหานทราย 1 หมู่บ้าน
ตำบลสำโรงใหม่-หมู่7 บ้านน้อยหนองหว้า

อำเภอโนนดินแดง 1 หมู่บ้าน
ตำบลโนนดินแดง- บ้านน้อยสะแกกวน

อำเภอบ้านกรวด 2หมู่บ้าน
ตำบล เขาดินเหนือ -บ้านศรีสุข,บ้านศรีสุขน้อย

อำเภอลำปลายมาศ 2 หมู่บ้าน
ตำบลผไทรินทร์- บ้านโคกสูง,บ้านโคกตาเงิน
อำเภอหนองหงษ์-4 หมู่บ้าน
บ้านหนองเต่า,บ้านหนองกราด,บ้านศรีขอ,บ้านหนองกว้าง

จังหวัดอุบลราชธานี-12





อำเภอน้ำยืน 4 หมู่บ้าน
ตำบลโดมประดิษฐ์ -บ้านโนนสูง บ้านแปดอุ้ม บ้านค้อ บ้านจันลา

อำเภอนาจะหลวย  4 หมู่บ้าน
ตำบลนาจะหลวย-บ้านแก้งเรือง
ตำบลบ้านตูม-บ้านทุ่งเงิน บ้านโนนเจริญ

อำเภอสำโรง 1 หมู่บ้าน
ตำบลหนองไฮ- บ.สร้างโหง่น
อำเภอน้ำขุ่น-3หมู่บ้าน
บ้านน้ำขุ่น,บ้านโนนโฮม,บ้านภูวิไล

หมู่บ้านกูยบรู
อำเภอโขงเจียม-บ้านเวินบึก บ้านท่าล้ง และบ้านหนองครก



จังหวัดนครราชสีมา-9

ภาพจาก/http://www.xn--l3cjf8d8bveb.com/



 อำเภอห้วยแถลง 6 หมู่บ้าน
ตำบลห้วยแถลง-บ้านแสนสุข บ้านสันติสุข บ้านห้วยปอ บ้านพลวงทอง
ตำบลตะโก -หมู่9 บ้านสี่แยก
ตำบลกงรถ-หมู่7 บ้านโคกแค

อำเภอเสิงสาง 2 หมู่บ้าน
ตำบลกุดโบสต์-บ้านหนองม่วง
ตำบลสุขไพบูลย์-บ้านดงอีจานใหญ่


อำเภอขามสะแกแสง 1 หมู่บ้าน
ตำบลพะงาด-บ้านหนองไอ้เผือก


จังหวัดพิจิตร -1


 อำเภอวชิรบารมี   1หมู่บ้าน
ตำบลบึงบัว-บ้านยางตะพาย


จังหวัดมหาสารคาม-7


อำเภอยางสีสุราช-2 หมู่บ้าน
ตำบลนาภู-บ้านสะเดาหวานหมู่ 3,บ้านสะเดาหวานหมู่ 13

อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย-5หมู่บ้าน
ตำบลเวียงชัย -หมู่2บ้านหนองลุมพุก, หมู่3บ้านหนองระเวียง,บ้านหนองไผ่,บ้านหัวหนอง,บ้านขะหนวน


จังหวัดปราจีนบุรี-6



อำเภอกบินทร์บุรี-6หมู่บ้าน
ตำบลวังท่าช้าง -บ้านไทรย้อย บ้านคลองมะเดื่อ บ้านโป่งใหญ่,บ้านวังมล ,บ้านวังทอง ,บ้านหนองสโน


จังหวัดสระแก้ว-6



อำเภอตาพระยา-4 หมู่บ้าน
ตำบลตาพระยา-บ้านแก้วเพชรพลอย,บ้านหนองแวง,บ้านร่มทอง,บ้านกุดเตย
อำเภอ อรัญประเทศ-1 หมู่บ้าน
ตำบลบ้านด่าน- หมู่1 บ้านด่าน
อำเภอโคกสูง-1 หมู่บ้าน
ตำบลโคกสูง-บ้านร่มไทร

จังหวัดฉะเชิงเทรา- 2



อำเภอสนามชัยเขต   1หมู่บ้าน
ตำบลท่ากระดาน -บ้านเนินหมู่ 2

อำเภอท่าตะเกียบ 1หมู่บ้าน
ตำบลท่าตะเกียบ-บ้านอ่างเตย

จังหวัดชุมพร -1
อำเภอสวี 1 หมู่บ้าน
ตำบล.เขาค่าย-บ้านคลองดินแดงหมู่5


และที่เป็นกลุ่มชุมชนกูยปะปนอยู่ในหมู่บ้านไม่นับรวมเป็นหมู่บ้านแต่ก็ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมไว้อย่างเหนียวแน่นเช่นกันเช่นที่

จังหวัดจันทบุรี

อำเภอ.บ่อไร่ ต.ด่านชุมพล บ้านปะเดาประมาณ 20-30 หลังคาเรือน ตำบลหนองบอน ประมาณ 25 หลังคาเรือน

อำเภอแก่งหางแมว มีกระจายทุกตำบลขุนช่อง บ้านโปร่งเกตุ 50% ของชุมชน

จังหวัดจ.ระยอง


มีเกือบทุกอำเภอกระจัดกระจายอยู่ เช่น บ้านอิงดอย หมู่ 4 ต.หนองไร่ อ.ปลวกแดง 15หลังคาเรือน

ม.5 ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย45หลังคาเรือน

ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง

บ้านเขาภูดร ต.พวา อ.เขาชะเมา เกือบ 50 หลังคาเรือน