วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การล่มสลายของอาณาจักรกวย

การล่มสลายของอาณาจักรกวย


                มองชิเอร์ เลวี M. Levy นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงนิทานหรือนิยายปรำปราที่ชาวกวยได้เล่าสืบต่อกันมาว่า “บรรพบุรุษของพวกเขานั้นมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเมืองชำบงขมอ ต่อมาได้เกิดแผ่นดินไหวจึงได้พากันอพยพขึ้นเหนือไปอยู่แถบเมืองจำปาศักดิ์ แต่ต้องประสบภาวะน้ำท่วมแทบทุกปี ชาวกวยจึงต้องอพยพข้ามลำน้ำโขงไปหาที่อยู่ใหม่” จึงเป็นที่เข้าใจว่าชนชาติส่วยได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก่อนที่ขอมจะเข้ามามีอำนาจนานนับศตวรรษ
                ตำนานดังกล่าว จึงน่าจะมีมูลความจริง แม้นว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-20 นั้นชนชาติกวยมีอาณาจักรหรือมีแหล่งที่อยู่เป็นของตนเอง เมื่อการเมืองในเอเซียภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนไปในปี พ.ศ. 1093 เจ้าชายจิตเสนได้ยกกองทัพเข้าโจมตีอาณาจักรฟูนันและสามารถยึดอาณาจักฟูนันได้โดยสิ้นเชิง อาณาจักรฟูนันที่เคยรุ่งโรจน์ก็สลายไปในที่สุดเจ้าชายจิตเสน สถาปนาอาณาจักรเจนละขึ้นโดยอุปภิเษกพระเจ้าวรมันที่ 1 ให้เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรเจนละ  เจ้าชายจิตเสนทรงเป็นแม่ทัพที่มีความสามารถได้ขยายและแผ่อำนาจเข้ามาในเขตอีสานใต้ (ของไทย) ได้ทำสงครามขับไล่ชนพื้นเมืองซึ่งเข้าใจว่าเป็นพวกข่า หรือชาวกวยการทำสงครามขยายอาณาเขตครั้งนี้ยืดเยื้อ  แต่ชาวกูยที่เมืองแสนปางยังคงมีอำนาจและเป็นอิสระอยู่ เพราะในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ยังมีชนชาติกวยเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ต่อจากนั้นเรื่องราวของชนชาติกวยก็เลือนหายไปเข้าใจว่าคงจะถูกยึดครองโดยลาวนครจำปาศักดิ์  หรือไม่ก็ตกอยู่ใต้อำนาจอาณาจักรเจนละ (ขอม) แต่อย่างไรก็ตามชนชาติกวยหรือกูยนั้น ได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายข้ามลำน้ำโขงมีฝั่งตะวันตกเข้าสู่ดินแดนแถบอีสานใต้ของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2200 เป็นต้นมา จนถึงปลายอยุธยาตอนปลายปรากฏว่ามีชุมชนส่วยหรือกวยเกิดขึ้นอยู่ทั่วไป ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานีจนถึงจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือชนชาวกูยที่บ้านเมืองที บ้านโคกยาง (สังขะ) บ้านกุดหวาย (รัตนะบุรี) และบ้านโคกดงลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้รับการสถาปนายกฐานะให้เป็นเมืองชื่อ “เมืองศรีนครศรีลำดวน” ซึ่งถือว่าเป็นบรรพชนของคนศรีสะเกษ ในยุคปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจาก-http://www.watpracharangsan.com/articles/535645/

ไม่มีความคิดเห็น: