วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ผีปู่ตา : ยะจั๊วะ

ผีปู่ตา : ยะจั๊วะ

ชาวไทยกูย  เป็นชนพื้นเมืองเดิมอันมีเลือดผสมระหว่างเวดดิก ( Veddic )  และเมลานีเซียน ( Melanesian )  นับเนื่องอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับพวกข่า  เดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบเขาพนมดงรัก  มีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ เรียกว่ายะจั๊วะ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 อย่างคือ
  1. 1. ยะจั๊วะเพรียม ( ผีปู่ตา )
  2. 2. ยะจี๊วะ ( ผีบรรพบุรุษในสายตระกูล 

แซนหยะจั๊วะ
ขอบคุณภาพ:http://news.sanook.com/1993418/

ยะจั๊วะเพรียมหรือยะจั๊วะปืด

ชาวไทยกูยหมายถึง  ผีอารักษ์ประจำหมู่บ้าน โดยชาวบ้านจะปลูกศาลไว้  เช่น ที่บ้านตรึม ปลูกศาลไม้ไว้ข้างๆ โพรงตะกวด  โดยให้เหตุผลว่าตะกวด ซึ่งแทนผีปู่ตาเหล่านี้ไม่ชอบศาลปูนซีเมนต์  ศาลดังกล่าวซึ่งอยู่มุมหนึ่งของหมู่บ้าน  กรณีที่บ้านสำโรงทาบซึ่งไม่มีตะกวด  แต่ก็มีศาลยะจั๊วะประจำหมู่บ้าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ซึ่งในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3  ของทุกปี  จะมีการเซ่นสรวง เรียกว่า   แซนยะจั๊วะ  เพื่อขอบคุณ  ที่ได้ให้ผลผลิตจากการทำนาทำไร่และให้ข้าวแก่ยุ้งฉาง
ณ บ้านตรึม  บ้านแตล  และอื่นๆ บางหมู่บ้านในเขตอำเภอศีขรภูมิ  จะมีต้นไม้ใหญ่เป็นโพรงสำหรับตะกวดอาศัยอยู่ อย่างเช่น บ้านตรึม มีต้นมะขามใหญ่  มีศาลยะจั๊วะอยู่ใต้ต้นนี้  ชาวบ้านถือว่าตะกวดมีอิทธิพลมาก บาวทีก็ทำให้ฝนไม่ตก หากชาวบ้านประพฤติตนไม่ดีงาม  หรือมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นในหมู่บ้าน  ตอนเช้าตะกวดจะออกจากโพรงเดินเพ่นพ่านหากินกบ เขียด คางคก ลูกไก่ หรือ ไข่ไก่ ตามหมู่บ้าน บางทีก็ขึ้นบนบ้าน  ช่วงเที่ยงก็กลับมานอน ครั้นบ่ายก็ออกไปอีก  ตกกลางคืนจะนอนนิ่งเงียบภายในโพรงไม้  ต้นไม้ที่มีตะกวดอาศัยอยู่จะมีนกกระสาฝูงใหญ่มาอยู่พึ่งพากัน  และต้นไม้อื่นๆ ก็ปรากฏมีกระรอกกระแตมาอาศัยอยู่ในต้นไม้ภายในหมู่บ้าน  ชาวบ้านรักสัตว์เหล่านี้  จะไม่แตะต้องสัตว์ที่เป็นเพื่อนของปู่ตา (ตะกวด) สรรพนามที่เรียกตะกวด คือ “เขา”  หรือพ่อ “พ่อเฒ่า”  แม้เวลาที่เห็นและจับได้ว่าตะกวดกินลูกไก่ ก็จะไม่ตี จะไล่ให้ไปที่อื่นและไม่กล่าวคำหยาบต่อตะกวดเหล่านั้น

การทำนายฝนฟ้า

ทั้งเดือน 3  เดือน  6  และเดือน  8  จะมีการเซ่นยะจั๊วะเพรียม  โดยที่จุดหมายอยู่ที่ความอุดมสมบูรณ์   เนื่องจากฝนฟ้าช่วยเสริมการเกษตร  สำหรับชาวไทยกูยที่มิได้เลี้ยงช้างแต่ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก
การประกอบพิธีจะกระทำในเวลาเช้ามืด  ณ  บริเวณยะจั๊วะตั้งอยู่  เครื่องเซ่นประกอบด้วยข้าว 1 จาน  ไก่ต้ม  1 ตัว น้ำ 1 แก้ว  เหล้า 1 ขวด  หมาก-พลู  2 คำ  บุหรี่  2 มวน  ข้าวเปลือก  1 ถ้วย  และเงิน  12  บาท  ในตอนเช้ามืดของวันที่จะประกอบพิธี  ชาวบ้านจะนำเครื่องเซ่นดังกล่าวออกไปที่ยะจั๊วะเพรียม  ซึ่งอยู่นอกหมู่บ้าน (มักใช้บริเวณสถานที่ตั้งหมู่บ้านนั้น ๆ ครั้งแรก)  ผู้ทำพิธีเรียกว่า  “เฒ่าจำ”  หลังจากบนบานบอกกล่าวแล้ว  ก็จะวางเครื่องเซ่นไว้ที่ศาล  แล้วทำพิธีเสี่ยงทายโดยถอดกระดูกคางไก่ตัวที่เป็นเครื่องเซ่นออกมาดู  เพื่อทำนายฝนฟ้าและน้ำท่าในปีนั้น  ถ้าคางไก่เหยียดตรง  ทำนายว่าปีนั้นฝนจะตกน้อย   น้ำน้อยคือฝนแล้ง  แห้งแล้งมาก  เนื่องจากไก่แหงนคอดูฟ้า  คอยดูว่าเมื่อใดฝนจะตก   จึงทำให้กระดูกคางไก่ตั้งตรง  ถ้าคางไก่โค้งลง  ทำนายว่าฝนจะตกอุดมสมบูรณ์  เพราะไก่ก้มลงกินน้ำและหากินตามปกติ  จึงทำให้กระดูกไก่โค้งงอลง  เมื่อการทำนายเสร็จสิ้นชาวบ้านจะยึดถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาปรับปรุงการทำนาเก็บสะสมพืชพันธุ์ธัญญาหาร  เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ต่อไป  ซึ่งพบว่าในอดีตหมู่บ้านเหล่านี้เคยใช้เต่าไปเซ่นแทนไก่  ในเดือน 3 เช่นเดียวกับแถบหมู่บ้านที่นับถือตะกวด  เพราะเต่าคือสัญลักษณ์ของน้ำและฝนนั่นเอง
ยะจั๊วดุง  เป็นผีบรรพบุรุษในสายตระกูลชาวไทยกูยแถวหมู่บ้านที่ไม่มีตะกวด   เช่น  สำโรงทาบ  และบ้านอื่น ๆ ใน อ.สำโรงทาบ  บ้านหนองสมบูรณ์  และบ้านอื่น ๆ ใน  อ.กาบเชิงหรือสังขะ  จะเน้นและให้ความสำคัญยะจั๊วะดุงมากกว่ายะจั๊วะเพรียม  เพราะถือว่ายะจั๊วะดุงเป็นผู้คอยดูแลความเป็นไปในครอบครัว  และเครือญาติในสายตระกูลให้อยู่อย่างปกติสุข  ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทยกูยเหล่านี้บอกว่า “เกิดมาก็เห็นหมอนใบหนึ่งวางอยู่ตรงมุมหนึ่งของห้องที่เป็นบ้านยะจั๊วะ (โคตรใหญ่)  แล้วเมื่อพ่อแม่ปฏิบัติอย่างไรรุ่นลูกรุ่นหลานก็ปฏิบัติอย่างนั้นเป็นธรรมเนียมมาจนปัจจุบัน  “แต่ที่หมู่บ้าน  ตรึม  แตล หัวแรด  อ.ศรีขรภูมิ  ที่มีตะกวดแทนผีปู่ตานั้น  ให้ความสำคัญแก่ยะจั๊วะดุงค่อนข้างน้อย
ชาวไทยกูยจะผูกพันกับยะจั๊วะ  ไม่ว่าการเกิด  การตาย  การแต่งงาน  การบวช  หรือแม้แต่การทะเลาะเบาะแว้งกันในวงศ์เครือญาติ  หรือการประพฤติผิดศีลของคนในตระกูล  จะมีการเสี่ยงทายหาสาเหตุ  หากพบว่าเป็นการกระทำของยะจั๊วะ  ทุกคนก็จะยอมรับว่ามีผู้กระทำผิดจารีตบ้านยะจั๊วะ  ยะจั๊วะจะหายโกรธและยอมให้อภัย
โดยเฉพาะการแต่งงาน  เมื่อสะใภ้เข้ามาอยู่ในบ้าน  จำต้องทำพิธีเซาะดุง (ขึ้นบ้าน) ที่บ้านยะจั๊วะก่อน  จึงจะถือว่าเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวโดยสมบูรณ์   หากยังไม่ได้ทำพิธีเซาะดุง  สะใภ้คนนั้นก็ไม่มีสิทธิ์จะขึ้นบ้านยะจั๊วะ  แต่ถ้าหากปีใดมีการแต่งสะใภ้เข้ามาในสายตระกูลเกิน 2 คน  ก็จะทำพิธีเซาะดุงได้  เพียงสะใภ้คนเดียว  ส่วนคนต่อไปก็จะมาทำพิธีในปีถัดไป  เพราะหากทำในปีเดียวกัน  จะทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นสะใภ้มีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง

การใช้สัตว์หรือชื่อสัตว์เป็นสัญลักษณ์แทนผีปู่ตา

แม้ชาวไทยกูยในจังหวัดสุรินทร์จะไม่รู้ว่ายะจั๊วะอยู่ที่ใด  มีตัวตนหรือไม่  แต่เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นในครอบครัวเครือญาติในสายตระกูล  ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะดีหรือร้ายประการใด  ทุกคนก็ให้ความสำคัญ และเคารพยำเกรงยะจั๊วะเสมอ  โดยผ่านทางญาติผู้ใหญ่ที่เรียกว่าโคตรปืด หรือสมมุติสัตว์หรือชื่อสัตว์  เช่น ตะกวดที่อาศัยอยู่ในโพรงไม้  หรือป่าทึบ  เต่าที่อาศัยในน้ำหรือด้านถักใยแมงมุมที่แขวนอยู่รอบศาลที่ประทับของยะจั๊วะดุง  หรือผีบรรพบุรุษในบ้านของโคตรใหญ่ในสายตระกูล  ก็เพื่อเป็นการสื่อระหว่างบุคคลในสายตระกูลกับผีบรรพบุรุษ หรือบุคคลในหมู่บ้านกับผีบรรพบุรุษ  เพราะจะพบว่า  การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ  (ยะจั๊วะ) หรือผีปู่ตา  โดยโคตรใหญ่ในสายตระกูลหรือเต่าประจำหมู่บ้าน  สะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์เกี่ยวกับความเชื่อที่ว่า  มนุษย์สามารถติดต่อกับผีบรรพบุรุษตลอดจนสิ่งเหนือธรรมชาติที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้  และสถานที่หวงห้ามซึ่งให้คุณและให้โทษแก่คนในชุมชน
กูยช้าง-กูยตะกวด เป็นแบบอย่าง  ที่น่าศึกษาด้านการรักษาระบบนิเวศวิทยาและการปลูกฝังความเชื่อ-ค่านิยมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ที่น่าทึ่งและเหมาะสมในสภาวการณ์โลกในปัจจุบัน
ขอบคุณ-http://www.oknation.net/blog/kradandum/2008/11/06/entry-3

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ฉิกกะแจ หรือ ผ้าขิด ของชาวกูย

ฉิกกะแจ หรือ ผ้าขิด ของชาวกูย
     ขิดกูยเป็นขิดอีกชนิดที่งดงามโดดเด่น เป็น เอกลักษณ์ แต่เป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปน้อย  ชาวกูย-กวย ในหลายท้องถิ่นมีทักษะฝีมือในการทอผ้าขิด แต่ในบางท้องถิ่นทักษะนี้อาจลืมเลือนหรือเป็นที่นิยมน้อย            
 ขิดกูยในแต่ละท้องถิ่นนั้นอาจมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน แต่จะมีอัตลักษณ์ร่วมคือโครงสร้างลวดลายที่คล้ายคลึงกัน คือนิยมลวดลายประเภทขอและกาบ โดยเฉพาะขอขนาดใหญ่ซึ่งมักพบเห็นได้บ่อยครั้งในขิดกูยลายโบราณ ลายที่พบบ่อยได้แก่ลาย ขอใหญ่ กาบใหญ่  กาบซ้อนขอ ขอซ้อนกาบ ขอเครือ ของ่า ขอนอน ขอก่าย  ขอสบไถ ดอกมะเขือ ฟันปลา กะปู ช่อดอกหมาก ลูกหวาย  และขิดกาบน้อย เป็นต้น



       ขิดกูยลักษณะในภาพนี้ นับเป็นขิดกูยที่มีความงามโดดเด่น  สามารถพบได้ในบริเวณ แถบ อ.สำโรงทาบ อ.ศีขรภูมิ  อ.ท่าตูม อ.จอมพระ  จ.สุรินทร์ และ อ.ห้วยทับทัน อ.ปรางค์กู่  อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ

        ขิดกูยลักษณะนี้ใช้การทอด้วยเทคนิคการเก็บลายแบบทิ้งไม้ ไม่ได้ใส่เขาหรือตะกอในการช่วยเก็บลาย ภาษากูยเรียกว่า “ตอจเลีย”  จึงทำให้ต้องใช้ทักษะการทอมากเป็นพิเศษ และใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่งในการเก็บลาย วันหนึ่งสามารถทอได้ประมาณหนึ่งคืบ ผืนหนึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาหฺ์ ในการทอ ซึ่งนับว่าใช้เวลาทอนานกว่าผ้าขิดทั่วไป



      ปัจจุบัน เหลือช่างที่มีทักษะความสามารถ ในการทอขิดกูยลายโบราณ ได้น้อยคน เนื่องจากต้องใช้ทักษะในการทอและความเพียรมากเป็นพิเศษ  แต่ยังพบเห็นการทอขิดกูยได้ในหลายหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้การเก็บลายใส่ในเขาหรือตะกอ เพื่อให้สะดวกในการทอ แต่มีขอจำกัดคือไม่สามารถทอได้หลากหลายลวดลาย และลวดลายมีขนาดเล็ก

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก:เฟสบุ้ค คุณ กชกร เวียงคำ

วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ฉิก กะเนียว กูย,กวย

                 ฉิก กะเนียว กูย,กวย


สำหรับผู้ชายนุ่งเวลาไปคล้องช้าง


     ดร.สนอง สุขแสวง ในชุดฉิกกะเนียว


    ส่วนผู้หญิงจะต่อตีนซิ่น(หยี่ง กะบูร์)


ผืนนี้กว่าจะทอเป็นผืนได้ต้องปั่นเส้นไหม2เส้น2สี รวมเป็นเส้นเดียว
 ผืนนี้ทอ2เส้น เส้นหนึ่ง ปั่นไหมสีเหลืองทองและสีเขียวรวมเป็นเส้นเดียว
อีกเส้นปั่นไหมสีเหลืองทองและสีแดงรวมเป็นเส้นเดียว
เรียกกรรมวิธีนี้ว่า ระหวี่ โซ๊ด
ใช้เวลานานและความมุ่งมั่นตั้งใจสูงกว่าจะทอเสร็จแต่ละผืน


สุดยอดช่างทอชาวกูยกวยจริงๆ
ขอบคุณภาพและข้อมูล:เฟสบุ้ค คุณ ณษา สุขแสวง

วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ไทกวย กูย ในจังหวัดนครราชสีมา


ไทกวย กูย ในจังหวัดนครราชสีมา
ชาวกวย (กูย, ส่วย) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ เพื่อตั้งหลักแหล่งทำมาหากินบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดนครราชสีมากับจังหวัดบุรีรัมย์ คือ
อำเภอห้วยแถลง
- ตำบลห้วยแถลง-บ้านแสนสุข บ้านสันติสุข บ้านห้วยปอ บ้านพลวงทอง
-ตำบลตะโก -หมู่9 บ้านสี่แยก
-ตำบลกงรถ-หมู่7 บ้านโคกแค
ชาวกวย กูยเหล่านี้อพยพมาประมาณ ๙๐-๑๐๐ ปีที่แล้ว ยังรักษาความเป็นวัฒนธรรมแบบกวย กูย คือ การทอผ้า ภาษา ที่อยู่อาศัยชาวกวย กูย ในจังหวัดสุรินทร์ ยังคงเลี้ยงช้างกันเป็นจำนวนมาก
และนอกจากนั้นในท้องที่อื่นๆ ก็มีชาวกูยอาศัยอยู่พอสมควรเช่นกัน เช่นที่

อำเภอเสิงสาง 2 หมู่บ้าน
-ตำบลกุดโบสต์-บ้านหนองม่วง
-ตำบลสุขไพบูลย์-บ้านดงอีจานใหญ่

อำเภอขามสะแกแสง 1 หมู่บ้าน
-ตำบลพะงาด-บ้านหนองไอ้เผือก
ขอบคุณภาพจาก:เพจเฟสบุ้ค อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทกวย กูย

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

บวชนาคช้าง


เอื้อเฟื้อภาพโดย ดร.สนอง สุขแสวง

  ประเทศไทยของเรานั้น เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมและประเพณีที่มีอยู่อย่างมากมายและหลากหลาย โดยแต่ละประเพณีนั้นก็ต่างมีความงดงามของขนบธรรมเนียมและพิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป และบางประเพณีก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะและไม่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ประเพณีบวชนาคช้าง” ประเพณีพื้นบ้านของชนชาวกวย กูย อันขึ้นชื่อของจังหวัดสุรินทร์


บวชนาคช้าง
ขอบคุณ:เฟสบุ้คอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย กวยกูย


    บวชนาคช้าง ไม่ได้มีความหมาย ว่าช้างบวช แต่หมายถึง ชายหนุ่มเมื่อถึงวัยบวช จะบวชเพื่อทดแทนคุณของพ่อแม่หรือสืบต่อพระพุทธศาสนา ก็แล้วแต่ แต่จะมีพิเศษกว่าพิธีของที่อื่นคือ เมื่อแห่นาคเข้าโบสถ์ นาคจะขี่หลังช้างตั้งแต่ขบวนแห่ จนกว่าจะถึงโบสถ์

ขอบคุณ:เพจอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ไทย กวย กูย

          “ประเพณีบวชนาคช้าง” นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีเอกลักษณ์ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ประเพณีบวชนาคช้างนั้นเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวกูย หรือ ชาวกวย ซึ่งเป็นชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตระหว่างคนกับช้าง ที่ได้สืบทอดวิถีชีวิตจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี และที่บ้านตากลางแห่งนี้ก็เป็นที่รู้จักของผู้คนในชื่อ “หมู่บ้านช้าง” นั่นเอง


       ไม่เฉพาะที่บ้านตากลาง ชาว กูย กวย หลายท้องที่ แม้ไม่ได้เลี้ยงช้าง แต่บรรพบุรุษเดิมก็เลี้ยงเช่นกัน ก็ยังคงรักษาประเพณีบวชนาคช้างเหมือนกัน


        นับได้ว่าประเพณีบวชนาคช้างนั้น เป็นประเพณีที่มีทั้งความสวยงามและยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ที่ไม่สามารถชมได้ที่ไหน โดยเฉพาะในช่วงเวลาของขบวนแห่ที่ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งหนึ่ง และคู่ควรกับการอนุรักษ์รักษาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นประเพณีพื้นบ้านอันงดงามที่บรรพบุรุษสร้างไว้
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก;
 เพจเฟสบุ้ค ศิลปะวัฒนธรรมชาวกวย/กูย https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1430294693656286&id=478429002176198

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความสัมพันธ์ของภาษากูย กวย เยอ บรู โซ่

 ความสัมพันธ์ของภาษากูย กวย เยอ บรู โซ่



  หลายๆคนที่มีชาติพันธุ์ กูย กวย เยอ กูยบรู โซ่ อาจเคยได้สัมผัสหรือได้ฟังภาษาสำเนียงที่คล้ายๆกันหรืออาจจะเหมือนกันในบางคำ ก็จะเกิดความข้องใจในภาษาที่ตนเองใช้อยู่ว่า มีต้นกำเนิดและความเป็นมาเป็นไปอย่างไร มีความสัมพันธุ์กันอย่างไรและนี่คือรายละเอียดเล็กน้อยเพื่อไขข้อข้องใจเหล่านั้น


กลุ่มภาษากะตู (Katuic languages) อยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร ตระกูลออสโตรเอเชียติก

ประเภทของภาษากะตูแก้ไข

แบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติชาวเยอ


ประวัติเกี่ยวกับชาวเยอ
เมืองคงโคกกับพญากตะศิลา
เมืองคงโคก เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ในพื้นที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างตัวแม่น้ำมูลขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร ลักษณะของเมืองโบราณแห่งนี้เป็นเนินดินรูปร่างค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเมืองประมาณ ๙๐๐ เมตร มีพื้นที่ราบเป็นผืนนาล้อมอยู่โดยรอบ รูปแบบของผังเมืองโบราณแห่งนี้ เป็นพื้นที่เมืองรูปทรงกลมที่มีคันดินและคูน้ำล้อมรอบอย่างละสองชั้น

ประวัติความเป็นมาของเมืองคงโคกแห่งนี้นั้น เดิมมีบันทึกลงในใบลานซึ่งเรียกกันว่า “หนังสือพื้นเมืองราษีไศล” เดิมเก็บรักษาไว้ที่วัดกัลยาโฆสิตาราม ซึ่งตั้งอยู่ภายในตัวอำเภอราษีไศล แต่ได้ผุพังไปหมดแล้ว เหลือแต่เป็นตำนานหรือนิทานเล่าปากต่อปากสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมมีพี่น้องสองคน ชนกลุ่มน้อยพวกหนึ่งที่เรียกว่าเผ่า”เยอ” มีหลักแหล่งอาศัยอยู่ในแถบเมืองหลวงพระบางตอนเหนือ มีชื่อ “พญาไกร”และ “พญากตะศิลา” อพยพผู้คนล่องตามลำน้ำโขงลงมา ด้วยขบวนเรือแข่งจากเมืองเชียงทอง เขตเมืองหลวงพระบาง ซึ่งอยู่เขตประเทศลาวในอดีต ขบวนผู้คนเหล่านี้อพยพมาจนถึงบริเวณแถบจังหวัดศรีสะเกษในอดีตกาล แล้วได้แยกออกเป็นสองสาย คือ พญาไกร ผู้พี่นำผู้คนไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณปราสาทเยอ เขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มหนึ่ง และพระยากตะศิลา ผู้น้องนำผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองคงโคกแห่งนี้ อีกกลุ่มหนึ่ง


ในระยะต่อมาบริเวณเมืองคงโคก เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาด ประกอบกับเกิดภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำ จึงมีการอพยพชุมชนลงมาตั้งบ้านเรือนหนาแน่นริมแม่น้ำมูล ทิ้งให้บริเวณเมืองคงโคกรกร้างอยู่เป็นเวลากว่า ๓๐๐ ปีเศษ ชุมชนเชื้อสายเยอส่วนใหญ่มาตั้งชุมชนใหญ่อยู่ที่บริเวณวัดกลาง และวัดใต้ ของตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน

อำเภอราษีไศล เดิมชื่ออำเภอคง คงจะเอาชื่อเมืองคงโคกมาตั้งเป็นชื่ออำเภอ แต่ตัดเอา “โคก” ออกไปเพราะไม่ได้ตั้งอยู่บนโคกเมืองแล้ว ที่ตั้งอำเภอจึงมีชื่อว่า “ตำบลเมืองคง” แตกต่างกับอำเภอโดยทั่วไป ชื่ออำเภอ และ ตำบลที่ตั้งอำเภอ มักจะมีชื่อเดียวกัน ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๘๒ จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอราษีไศล

อนึ่งมีข้อสังเกตว่า ในบริเวณตำบลเมืองคง อันเป็นสถานที่ตั้งอำเภอแห่งนี้มีประชาชนใช้นามสกุล “กตะศิลา” เช่นเดียวกันเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่อาจจะไม่ได้สืบสายสกุล หรือมีการเกี่ยวพันทางเครือญาติกันโดยตรง แต่เป็นที่เชื่อกันว่า “ประชาชนในแถบนี้ล้วนแต่เป็นคน เผ่าเยอ ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเผ่าเดียวกัน คือ พญากตะศิลา” เมื่อประกาศใช้ พ.ร.บ. พระราชบัญญัตินามสกุล ปี 2465 แล้วชาวบ้านย่านเดียวกันไปติดต่อตั้งชื่อสกุล ณ ที่ว่าการอำเภอ เมื่อผู้ใหญ่บ้าน ขอตั้งชื่อสกุลว่า “กตะศิลา” ลูกบ้านในหมู่บ้านก็เห็นดีเห็นงาม ขอใช้ชื่อสกุลเดียวกัน ตามกันไปหมดทั้งหมู่บ้าน เพราะเชื้อสายเยอด้วยกันถือว่า เป็นลูกหลานพญากตะศิลา ดังปรากฏมีชื่อสกุล ”กตะศิลา” กันทั้งหมดหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ให้คนไทยได้รู้จัก ดังชื่อนามสกุลของนักเคลื่อนไหวทางการเมือง โด่งดังคนหนึ่ง เกิดที่ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จบการศึกษาจาก โรงเรียนมัธยมราษีไศล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านคือ นายสุริยะใส กตะศิลา นอกจากนั้น น.พ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ยังได้เคยเป็น แพทย์ชนบท ที่โรงพยาบาลราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ จนถึง พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นระยะเวลา ๕ ปี มีความรู้จักพื้นที่ ในดินแดนถิ่นแคว้นของ พญากตะศิลา อำเภอราษีไศล เป็นนายแพทย์ที่มีผลงานดีเด่นในการบุกเบิก และผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จนรัฐบาลไทยรับไปเป็นนโยบายใช้จริง โดยพรรคไทยรักไทย ได้นำไปใช้เป็นนโยบายที่เรียกว่า "๓๐ รักษาได้ทุกโรค"

ผมเองในฐานะผู้เขียน ได้มีส่วนริเริ่มปั้นรูปปั้น พญากตะศิลา ไว้ที่เมืองคงโคกตามจินตนาของคนทรงเจ้าของผม เพื่อให้ผู้สืบเชื้อสายชาวเยอ ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล ไว้เคารพสักการะและทำอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษชาวเผ่าเยอ ในวันเพ็ญเดือน ๓ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้…/

โดย : นายสมหมาย ฉัตรทอง/ อดีต นอภ.ราษีไศล
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/606967
ขอบคุณ;ข้อความเฟสบุ้ค คุณ รุ่ง กอนกูย,https://gotoknow.org/posts/606967

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทบาทของบรรพบุรุษกูยและการปกครอง ในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - พ.ศ. ๒๔๕๓)

บทบาทของบรรพบุรุษกูยและการปกครอง ในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - พ.ศ. ๒๔๕๓)

ขอบคุณภาพ:http://scoop.mthai.com/specialdays/5451.html

พ.ศ. ๒๔๑๒ พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านกุดไผทหรือจารพัตเป็นเมือง ขอหลวงไชยสุริยง (คำมี) บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์ (หมื่น) กองนอกเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งปลัดและยกกระบัตรเมืองสังฆะว่าง ขอพระสุนทรพิทักษ์ บุตรพระปลัดคนเก่าเป็นปลัด ขอหลวงศรีสุราช ผู้หลานเป็น ยกกระบัตรเมืองสังฆะ ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๗ ในปีมะเส็งนั้น (พ.ศ. ๒๔๑๒) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีตราพระราชสีห์ตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัต เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ตั้งให้หลวงไชยสุริยงกองนอกเป็นพระศีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมืองขึ้นเมืองสังฆะ
ฝ่ายทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรฯ เห็นว่าพระยาสังฆะฯ ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศีขรภูมิแล้ว ก็เกรงว่าพระยาสังฆะฯ จะเอาบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย จึงได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลำดวนเป็นเมือง ขอให้พระไชยณรงค์ภักดี (นาก) ปลัดเมืองสุรินทร์ เป็นเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองสุรพินทนิคม ให้พระปลัด (นาก) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมขึ้นเมืองสุรินทร์มาแต่นั้น พ.ศ. ๒๔๑๕ ฝ่ายพระยาสังฆะฯ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลำพุกเป็นเมือง ขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะเป็นเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลำพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์ เจ้าเมืองกันทรารมย์ ขึ้นกับเมืองสังฆะ พ.ศ. ๒๔๑๖ ทางเมืองสุรพินทนิคม พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองก็ถึงแก่กรรมในปีนี้ พระยาสุรินทรฯ (ม่วง) เห็นว่า หลวงพิทักษ์สุนทร บุตรพระปลัดกรมการเมืองสังฆะ ซึ่งสมัครมาอยู่เมืองสุรพินทนิคมเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงดี จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคม หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมได้สามปีก็ถึงแก่กรรม
แต่นั้นมาเจ้าเมืองสุรพินทนิคมว่างตลอดมา พ.ศ. ๒๔๒๔ ฝ่ายทางเมืองจงกัล ตั้งแต่โปรดเกล้าฯ ให้หลวงสัสดี (สิน) เป็นพระวิไชยเจ้าเมืองจงกัลแล้ว พระวิไชยรับราชการได้ ๗ ปีก็ถึงแก่กรรม ครั้นมาปีนี้ เจ้าเมืองสังฆะจึงได้ให้พระสุนทรนุรักษ์ผู้หลานนำใบบอกไปกรุงเทพฯ ขอให้พระสุนทรนุรักษ์เป็นพระทิพชลสินธุ์อินทรนฤมิตร
ทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรฯ ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ว่าง ขอพระมหาดไทยเป็นพระพิไชยนครบวรวุฒิ ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๒๕ ระหว่างปีนี้ คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวเป็นอันมากข้ามไปตั้งอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรฯ จึงได้มีใบบอกขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง ขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง วันอังคารขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองชุมพลบุรี ให้พระวิเศษราชา (นัยหนึ่งว่า หลวงราชวรินทร์) (ทองอิน) เป็นพระฤทธิรณยุทธ เจ้าเมือง และโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวเพชรเป็นที่ปลัดให้ท้าวกลิ่นเป็นที่ยกกระบัตร ทั้งสองคนนี้เป็นพี่ชายพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) และท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี พร้อมกันนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทรฯ (ม่วง) คนหนึ่งเป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์เป็นเจ้าเมืองสุรพินทนิคมแทนคนเก่าที่ถึงแก่กรรมและตำแหน่งเจ้าเมืองยังว่าง พ.ศ. ๒๔๒๙ พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ได้เชิญประชุมเจ้าเมืองภาคอีสานขึ้น ณ เมืองอุบล เพื่อสำรวจชายฉกรรจ์และแก้ไขระเบียบการจัดเก็บภาษีอากรในระหว่างการประชุมข้าราชการอยู่นั้น ได้รับรายงานว่าทัพฮ่อเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์แตก การประชุมต้องยุติลง พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ต้องรีบระดมกำลังขึ้นไปยังเมืองหนองคายโดยด่วนเพื่อสมทบกับกองทัพเมืองนครราชสีมา ส่วนกองทัพจากกรุงเทพฯ นั้นโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปสมทบที่เมืองหนองคายซึ่งเป็นจุดชุมพล สำหรับพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์(ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์ ได้มีคำสั่งให้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบล เพราะเจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพในครั้งนั้นด้วย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบลอยู่ ๒ ปี จึงได้กลับเมืองสุรินทร์ เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ย่างเข้าวัยชราภาพแล้ว ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เต็มที่ จึงได้มอบให้นายเยียบ (บุตรชาย) ช่วยราชการเป็นการภายใน พ.ศ. ๒๔๓๒ พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีอำนาจเต็มในภาคอีสานทั้งหมด ได้แต่งตั้งใบประทวนให้ นายเยียบ เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง ๒ ปี ถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ก็ถึงแก่กรรม พระยา สุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงต้องกลับมาเป็นเจ้าเมืองอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้นเอง พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีสะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ ๒๑ เมือง เมืองขึ้น ๔๓ เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว พ.ศ. ๒๔๓๕ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ ซึ่งย้ายมาแทนพระมหาอำมาตย์ (หรุ่น)ได้ทรงแต่งตั้งให้พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) น้องชายพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ (เปลี่ยนจากเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง) ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลางมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาดทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งเป็นราชอาณาจักรของไทย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ ศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ ๘๐๐ เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ ๕๐๐ ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม ๒๔๓๖ ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองสุรินทร์จึงได้กลับคืนบ้านเมือง
อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวสุรินทร์จะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสสงบลงไม่นานนัก ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ (บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ได้ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ยังมิได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ตามตำแหน่งในช่วงระยะนี้ เสด็จในกรมฯ ผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้สั่งย้ายหลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) และแต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน และในปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สับเปลี่ยนข้าหลวงต่างพระองค์มณฑลอีสาน โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ มาดำรงตำแหน่งแทนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ในวาระที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เดินทางกลับกรุงเทพฯ ผ่านเมืองสุรินทร์ ได้ทรงแต่งตั้งพระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ)บุตรนายสอน ซึ่งเป็นบุตรพระยาสุรินทรฯ (ตี) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ และเมื่อเสด็จถึงกรุงเทพฯ แล้ว จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) เป็นพระยา สุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา ระหว่างนี้ ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตัวข้าหลวงกำกับราชการโดยลำดับ กล่าวคือ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาประจำอยู่ประมาณ ๑ ปี ก็ย้ายไปอยู่จังหวัดศรีสะเกษ สับเปลี่ยนกับจมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) จมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี ดำรงตำแหน่งประมาณ ๑ ปี ก็ย้ายไปโดยมีหลวงวิชิตชลหาญมาดำรงตำแหน่งแทน ชั่วระยะเวลาอันสั้น กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ก็ได้ย้ายหลวงสาทรสรรพกิจมาดำรงตำแหน่งแทนในประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๘ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) ถึงแก่กรรมในปีจุลศักราช ๑๒๕๗ หรือ ร.ศ. ๑๑๔ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๓๘ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ โปรดให้พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) สันนิษฐานว่าเป็นบุตรของนายพรหม (นายพรหมเป็นบุตรของพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี)เจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ ๓) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรมเมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๐ และเมื่อถึงแก่กรรมแล้วจึงไดรับสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสาน จึงโปรดให้หลวงประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) ซึ่งเป็นบุตรของพระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์คนที่ ๘ เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์แทน แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง ๑ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ.๒๔๕๑ และในต้นปี พ.ศ. ๒๔๕๑ นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง เป็นช่วงเวลาที่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (เข้าสู่แบบเทศาภิบาล) ส่วนกลางได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดบ้าง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง บุคคลแรกที่ได้รับการแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ คือ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์)
นับแต่ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองสุรินทร์ มีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมือง ปกครองสืบเชื้อสายต่อมา ได้มีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองปกครองโดยลำดับ ดังนี้
๑. พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) พ.ศ. ๒๓๐๓ - ๒๓๓๗
๒. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) พ.ศ. ๒๓๓๗– ๒๓๕๑
๓. พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) พ.ศ. ๒๓๕๑ - ๒๓๕๔
๔. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) พ.ศ. ๒๓๕๔ - ๒๓๙๔
๕. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๓๒
๖. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (เยียบ) พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๓๓
๗. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๓๔
๘. พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๓๖
๙. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๓๘
๑๐. พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (บุญจันทร์) พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๕๐
๑๑. พระประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๕๑
รายนามข้าหลวงกำกับราชการ
๑. หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๓๖
๒. หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๓๗
๓. จมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๓๘
๔. หลวงวิชิตชลหาญ พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๓๘ ๕. หลวงสาทรสรรพกิจ (อู๊ต) พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๕๐
รายนามข้าหลวงและผู้ว่าราชการจังหวัด
๑. พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์) พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๓
๒. หลวงวิชิตสรไกร (ขำ ณ ป้อมเพชร) พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๕๔
๓. พระอนันตรานุกูล (สว่าง พุกณานนท์) พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๕๗
๔. หลวงประสงค์สุขการี (เทียบ สุวรรณิน) พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๑
๕. พระยาสำเริงนฤปการ (อนงค์ พยัคฆันตร์) พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๖๕
๖. พระนิกรจำนงค์ (จิตร ไกรฤกษ์) พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๔๖๙
๗. พระยาเสนานุชิต (จร ศกุนตะลักษณ์) พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๐
๘. พระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา) พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๑
๙. พระยาสุริยาราชวราภัย (ศิริ วิเศษโกสิน) พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๗๖
๑๐. พ.ต.อ.พระยาขจรธรณี (ปลั่ง โสภารักษ์) พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๗๗
๑๑. พระศรีพิชัยบริบาล (สวัสดิ์ ปัทมดิลก) พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๑
๑๒. หลวงนครคุนูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๘๔
๑๓. นายโฉม จงศิริ พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๙
๑๔. ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ไมตรีประชารักษ์) พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๐ ๑๕. ขุนพำนักนิคมคาม (สนธิ พำนักนิคมคาม) พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๒
๑๖. นายทำนุก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๖
๑๗. นายเลื่อน ไขแสง พ.ศ. ๒๔๙๖ - ๒๔๙๘
๑๘. พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๐๐
๑๙. นายมานิต ปุรณพรรค์ พ.ศ. ๒๕๐๐- ๒๕๐๑
๒๐. หลวงปริวรรตวรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย ปริวรรตวร) พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๕ ๒๑. นายคำรน สังขกร พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๑๐
๒๒. พล.ต.ต.วิเชียร สีมันตร พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๓
๒๓. นายสงัด รักษ์เจริญ พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๑๔
๒๔. นายฉลอง วัชรากร พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๕
๒๕. นายสงวน สาริตานนท์ พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๗
๒๖. นายสุธี โอบอ้อม พ.ศ. ๒๕๑๗- ๒๕๑๙
๒๗. นายฉลอง กัลยาณมิตร พ.ศ. ๒๕๑๙- ๒๕๒๓
๒๘. นายเสนอ มูลศาสตร์ พ.ศ.๒๕๒๓ – ๒๕๓0..... 
  ปัจจุบัน  นายนิรันดร์   กัลยาณมิตร พ.ศ. ๒๕๕๔- ปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูล:http://9surin.blogspot.com/p/blog-page_2943.html

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สาเหตุของการเกิดกบฎสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๓

ขอบคุณภาพ:https://khampoua.wordpress.com/tag/chao-anouvong/
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ให้กลุ่มชาวกูยเป็นข้าไพร่แผ่นดินสยาม ได้ถูกเกณฑ์แรงงานและจัดส่งส่วย ให้แก่ทางราชการอยู่โดยตลอด ในสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเกณฑ์แรงงานกูยในเขตอีสานใต้ ( เขมรป่าดง ) เริ่มประสบความยุ่งยากเพราะหนุ่มฉกรรจ์ชาวกูย มักหลบหนีการเกณฑ์ บางครั้งถึงกับซุ่มโจมตีทำร้ายเจ้าพนักงานแล้วหนีเข้าป่า และมีชาวกูยได้ก่อการกบฏขึ้น ดังเช่นกบฏเชียงแก้ว พ.ศ. ๒๓๓๔ ได้เกิดเหตุในแขวงเขตจำปาศักดิ์ และในเขตหัวเมืองต่างๆในอุบลราชธานี กบฏสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๓ เป็นกบฏของข่า ( กูย ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลาวใต้ และบริเวณอีสานใต้ ทางกรุงเทพฯ ได้ให้เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองเวียงจันทร์ ยกทัพไปปราบ และได้จับสาเกียดโง้งและชาวข่า ( กูย ) พร้อมทั้งครอบครัวจำนวนมากส่งมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้จำสาเกียดโง้งไว้ตลอดชีวิต ส่วนครอบครัวกูยโปรดให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ตั้งบ้านเรือนที่บางบอนธนบุรี กูยเคยมีจำนวนถึง ๓๐๐,๐๐๐ คน ถูกลดจำนวนลงเหลือเพียงไม่กี่พันคน เมื่อรัฐไทยได้เข้าไปทำการจัดเก็บภาษีในบริเวณอีสานใต้ โดยมีการพัฒนาจัดเก็บภาษีเป็นควาย ซึ่งนอกเหนือจากภาษีของคนป่า เพื่อนำส่งไปยังกรุงเทพฯ เช่นปี พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่เมืองสุรินทร์ ได้จัดส่งควาย ๖๑ ตัว เมืองรัตนบุรี ๑๖๓ ตัว และกองพระยาภักดีชุมพลเมืองสุรินทร์ ๓๒ ตัว การจัดเก็บได้ทวีเพิ่มความรุนแรงขึ้น เมื่อชาวกูยไม่มีสิ่งของเป็นส่วยให้กับทางราชการ และพอถึงปลายรัชกาลที่ ๔ ก็เข้ารอบวิกฤตอีกคือ กูยไม่มีส่วยสิ่งของส่ง จึงเอาตัวคนกูยส่งส่วยแทน ล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เกิดกบฏผีบุญขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ยกบฏกับฝ่ายรัฐบาลสะพือ ( ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตระกาลพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ) หัวหน้าฝ่ายกบฏคือ องค์ลูกน้องขององค์แก้ว หัวหน้าพวกข่า ( กูย ) ในลาว องค์มั่น มีชาวบ้านเข้าด้วยหลายพันคน เมื่อปะทะกับกองกำลังประมาณ ๑๐๐ คน ของกรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงสำเร็จราชการอีสานในวันที่ ๔ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๒ ( พ.ศ. ๒๔๔๕ ) ที่บ้านสะพือ องค์มั่นก็สั่งให้พรรคพวกนั่งลง ภาวนาเอาบารมีบุญกุศลเป็นที่พึ่ง จะแคล้วคลาดจากกระสุนปืนใหญ่ ปรากฏว่าฝ่ายผู้มีบุญถูกกระสุนปืนใหญ่ตายนับร้อย ที่เหลือถูกจับหรือแตกหนีไป เมื่อพิจารณาสาเหตุการเกิดกบฏ ถ้ามองการปกครองรัฐบาลไทย ซึ่งนำเอาอย่างประเทศอาณานิคม คือ อังกฤษ ด้านวัฒนธรรมไม่เอาใจใส่ หรือไม่สนใจกับรากฐานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ตนเข้าไปปกครองขณะเดียวกันก็มี ความพยายามที่จะกดดันวัฒนธรรมเดิมให้อ่อนด้อยลงพร้อมกับการนำเอาวัฒนธรรม ใหม่เข้าไปแทน ปัจจัยดังกล่าวน่าจะมีผลกระทบต่อชาวกูยเพราะสอดคล้องกับผลการสำรวจของ เอเจียน แอมอนิเย ที่กล่าวว่า ชนเผ่ากูยเป็นเผ่าที่ยากจนที่สุด ไม่มีไร่นาจะเพาะปลูก เขามีเพียงไร่ผืนเล็กๆกลางป่าเพื่อปลูกข้าว ต่อมาฝรั่งได้ขยายอำนาจสู่บริเวณอินโดจีน รัฐไทยมีนโยบายเพื่อความมั่นคง โดนเฉพาะชายแดนในอีสานตอนใต้ที่มีชนชาติกูยได้ถูกผนวกเข้ากับรัฐไทย ได้เปลี่ยนสัญชาติกูยเป็นไทย การสำรวจสำมะโนครัว หรือ หากมีราษฎรติดต่อราชการที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ทางราชการให้ปฏิบัติโดดยกรอกใน ช่องสัญชาติว่าไทย บังคับห้ามมิให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ชาติส่วย(กูย) ผู้ไทย ดังที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อนเด็ดขาด อาจกล่าวได้ว่าประวัติชนชาติกูย มีบทบาทสำคัญยิ่งในบริเวณอีสานตอนใต้ ลาวใต้และกัมพูชาตอนบน (ตะวันออกเฉียงเหนือทะเลสาบเขมร) มีความเป็นมาและได้มีการพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ผสมกลมกลืนกับชาว กัมพูชา ลาวและไทยตลอดมาโดยเฉพาะกับชนชาติไทยปัจจุบัน ชาวกูยมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บางอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ บ้านสะเดาหวาน อำเภอพยัคฆ์ภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และบางอำเภอในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
ถิ่นฐานของชาวกูยในประเทศไทย
เนื่องจากชาวกูยตั้งถิ่นฐานปะปนกันอยู่กับชาวเขมรสูงและชาวลาว จึงมีการติต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกันตามวิสัย และทำให้ชาวกูยกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเขมรสูงและวัฒนธรรมลาว ดังจะเห็นได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองสุรินทร์ใหม่ๆนั้นมีคนกูยทั้งเมือง ชาวเขมรสูงมีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่นานเข้าวัฒนธรรมของเขมรสูงก็ค่อยๆเข้ามามีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมของชาวกู ย ชาวกูยจึงถูกกลืนเข้าไปเป็นคนเขมรเกทอบหมด ( ประเสริฐ ศรีวิเศษ ๒๕๒๑ ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ จังหวัดศรีสะเกษยังเป็นเมืองที่มีชาวกูยอยู่กันทั้งเมืองมีพวกลาวเวียง ( สาขาเวียงจันทร์ ) ปะปนอยู่บ้างบางหมู่บ้าน แต่วัฒนธรรมของลาวได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือชาวกูย จึงทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม ชาวกูยที่นี่พูดภาษาลาวด้วยสำเนียงส่วยโดยสามารถใช้สะระเอือได้ ในขณะที่ภาษาลาวเวียงเดิมมีแต่สระเอีย ร่องรอยที่แสดงว่าศรีสะเกษเดิมเป็นเมืองที่ชาวกูยอาศัยอยู่กันทั้งเมืองก็ คือตัวเลขสำมะโนครัวสมัยนั้นและการเรียกขานชาวศรีสะเกษว่า “ส่วยศรีสะเกษ” อยู่จนทุกวันนี้ ( จิตร ภูมิศักดิ์ ๒๕๒๔ ) ปัจจุบันชาวกูยอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างแม่น้ำมูลกับเทือกเขาพนมดง รัก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ จนถึงอุบลราชธานี เชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็นเส้นทางอพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศลาวสู่ประเทศ ไทยและยังเชื่อกันว่า ชาวกูยที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นชาวกูยที่ตกค้างอยู่ตั้งแต่ครั้งอพยพ มาจากลาว ( ประเสริฐ ศรีวิเศษ ๒๕๒๑ ) ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชาวกูยส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษและมีการอพยพโยกย้ายข้ามอำเภอ หมู่บ้านชาวกูยแต่ละหมู่บ้านมาจากที่เดียวกันทั้งหมู่บ้านหรือมาจากหลายที่มา อาศัยด้วยกัน นอกจากนี้ยังพบผู้พูดภาษากูยในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และที่บ้านหนองบัว ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พูดภาษาเขมรอาศัยอยู่เช่นกัน ชาวกูยที่นี่เรียกตัวเองว่า “กวย”
ขอบคุณ;https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://human.msu.ac.th/husoc/doc/doc_research/001.pdf&ved=0ahUKEwjOx8GugavPAhWItI8KHR1FB_M4FBAWCBowAQ&usg=AFQjCNHsdVhXuGCvLTtGjNG-w1Zxbtx29A&sig2=e-sOMFNLmmbfPSlMoh3nUQ

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

นายสุ่น หลานเชียงปุม และนางดาม ต้นสายสกุล เมืองสุรินทร์

นายสุ่น นางดาม ต้นตระกูล เมืองสุรินทร์


นายสุ่น  หลานเชียงปุม ต้นสายสกุล เมืองสุรินทร์

ปี พ.ศ. 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเขมรมีใจฝักใฝ่ ให้กับญวน พระเจ้าตากสิน สั่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่1 (ท่าน เคยนำคนมาตามหาช้างเผือก บริเวณ เขมรข่า ป่าดง )ยกทัพไปปราบปรามเขมร โดยเกณฑ์กองทัพช้างเมืองประทายสมันต์ สังขะ ขุขันธ์ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ กำปงสวายและเสียมราฐ....การปราบปรามเขมรครั้งนี้ ยังไม่เสร็จ ก็เกิดความวุนวายไม่สงบขึ้น ในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงเลิกทัพกลับคืน ธนบุรี..ทิ้งความขัดแย้งไว้ที่เมืองเขมร(กองทัพช้างของเมืองปะทายสมันต์ แต่งทัพช้าง ที่ทุ่งมน วัดหลวงปู่หงษ์เป็นกลุ่มคนเลี้ยงช้าง ชาวข่า ปัจจุบันนี้มีร่องรอยให้เห็น เล็กน้อยที่ทุ่งมน )
ในสงครามครั้งนี้ได้ เขมรหลบหนีสงครามจากเมือง เสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร ฯ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ เป็นจำนวนมาก เช่น.. นางดาม เป็นลูกสาวเจ้าเมืองประทายเพชร ได้นำข้าทาส บริวารชาวเขมรมาอยู่เมืองประทายสมันต์ ได้แต่งงานกับนายสุ่น หลานเชียงปุ่ม สังคมของเมืองปะทายสมันต์ ในอดีตมีวัฒนธรรมความเป็นกูย จำนวนมาก เมื่อชาวเขมร ได้นำวัฒนธรรมของเขมรที่แข็งแรงกว่าของชาวกูย เข้ามาแทนที่ วัฒนธรรมของชาวกูย ความเป็นอยู่ จึงเป็นไปทางเขมรมากขึ้นทำให้วัฒนธรรมของเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองปะทายสมันต์..ศึกสงครามเมืองเขมรครั้งนี้ ทำให้เชียงปุ่มได้หลานสะใภ้ ได้เป็น " พระยา "
เมื่อประมาณปี พศ 2330 คนสุรินทร์กลุ่มแรกๆที่มาอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง คือกลุ่มข้าทาสของภรรยา หลานเจ้าเมืองสุรินทร์ ชื่อ นางดาม ต่อมาได้เป็นภรรยาของเจ้าเมือง ท่านที่4นางดาม-นายสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตระกูลของคนสุรินทร์ หลายสิบสายสกุล ชีวิตของนางดาม ได้ทำประโยชน์ เกื้อหนุน คนสุรินทร์ไว้มาก เช่น ได้อุปถัมค้ำจุน ออกทุนสนับสนุน วัดศาลาลอย สั่งให้ลูกหลานคอยดูแลหลายๆครอบครัวในละแวก วัดศาลาลอย สืบเชื้อสาย จาก นางดาม-นายสุ่นนางดาม ได้ใช้พื้นที่นอกกำแพงเมืองชั้นนอก( ตลาดน้อย) ตะเปียงเวียงหนองยาว โรงเรียน สวค สธ เทคนิค อาชีวะ อนุบาล โรงเรียนเมือง สนามกีฬา " เพื่อทำการเกษตร " และ ใช้พื้นที่ บริเวณ เวียลสวาย (ดองกะเม็ด - หมอกวน -ไตรรงค์ )ใช้เป็น พื้นทีี่ " ปลูกพืชสวน ผลไม้ "
รวมถึง ทุ่งนา นอกกำแพงเมือง ทิศตะวันตก-เหนือ เวียลโพธิ์ ทุ่งโพธิ์ โคกบัวราย (โคกบาราย ) ติดชายขอบกำแพงเมืองข้ามรางรถไฟปัจจุบัน ชุมชนทุ่งโพธิ์ วัดทุ่งโพธิ์ เกาะลอย ชอยกำแพง นางดามได้ใช้พื้นที่ เป็นที่ ทำนา เพราะเป็นนาโล่งกว้าง และพื้นที่นาทุ่งโพธิ์นี้แห่งนี้เอง ใช้เป็นบริเวณที่ จัดงาน " เผาศพ นางดาม "กระดูกของนางดาม ฝังไว้ ที่ป่าช้า โคกตังกอ( บางท่านว่า อยู่บริเวณ วัดเทพสุรินทร์ หรือ บริเวณชุมชนทุ่งโพธิ์ )นางดาม พักที่คุ้มเจ้าเมือง เนินโคกสูง(ชุมชนตาดอก) มีลูก หญิง1 ชาย 7 คนโตเป็นหญิงเป็นสะใภ้เจ้าเมืองสังขะลูกชายคนที่2 ต้นสกุล แย้มศรี ลูกคนที่ 3 ต้นสกุล สุภิมารส คนที่4 ต้นสกุล นิลพัฒน์ ลูกคนที่ 5 ไม่ทราบ คนที่6 เป็นต้นสกุล กนกนาก ท่านที่7 ต้นสกุล รัตนสูรย์ ลูกคนที่8 ต้นสกุล สุนทรารักษ์ สกุลทั้งหมดนี้ได้แตก-แยก-ร่วมเป็นหลายสายสกุลในเมืองสุรินทร์ครับ นับว่าคนสุรินทร์มีบรรพบุรุษเป็นพี่น้องกัน" เป็นไปได้ไหมครับ ที่ลูกหลานนายสุ่น ไม่ค่อยพูดกูย เพราะมีคนเลี้ยง-พี่เลี้ยงเป็นคนเขมร เลยพูดเขมร ตามสายเลือดของ มารดา
นายสุ่น ต้นตระกูล เมืองสุรินทร์
ปฐมบท นายสุ่น...
หรือ พระยาสุรินทร์ภักดี ศรีผไทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่ 4
นายสุ่น เป็นหลานคนโตของ เชียงปุ่ม เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่1
นายสุ่นเป็นลูกชายคนแรกของ นายตี เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่2
และ นายสุ่นก็เป็นหลานอา ของ นายมี เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่3
และนายสุ่นยังเป็นต้นตระกูลระดับtop tenของเมืองสุรินทร์ด้วย
ในปีพศ. 2354 ตรงกับสมันรัชกาลที่ 3 เทียบได้ รศ. 30
เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่3 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์เสียชีวิต
นายสุ่นหลานชายได้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์คนที่4 มีชื่อว่า
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์(สุ่น) เป็นเจ้าเมืองนานถึง 40ปี
นายสุ่น เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่4 ได้แต่งงานกับนางดาม มาดไว
ลูกสาวเจ้าเมืองประทายเพชร ที่หนีสงครามในเขมรมาอาศัยอยู่เมืองสุรินทร์ (ประทายสมันต์ )พร้อมบริวารมากมาย
นายสุ่น กับ นายดาม มีลูกด้วยกัน 8 คน ชาย 7 หญิง 1
บทที่1
๐๐ลูกสาวคนโต ชื่อ นางจันทร์ แต่งงานกับ นายทองอินทร์ เป็นลูกชายเจ้าเมืองสังขะ( ทองด้วงย้ายไปปกครองขุขันธ์ ) ทองอินทร์จึงเป็นพระยาสังขะบุรีศรีนครอัจจะ เป็นเจ้าเมืองสังขะแทนบิดา
( นายสุ่น เจ้าเมืองสุรินทร์ ท่านที่4 มีลูกเขยเป็นเจ้าเมืองสังขะ )
นายทองอินทร์ กับ นางจันทร์ มีลูกคนเดียวเป็นผู้ชายชื่อ นุต
หรือพระอนันต์ภักดี(นุต) เป็นผู้ช่วยเจ้าเมืองสังขะ
เมือนายทองอินทร์บิดาเสียชีวิต นาย นุต ก็เป็นเจ้าเมืองสังขะ
นายนุต แต่งงานกับใคร ไม่ทราบ แต่มีลูกชาย2คน(เท่าที่รู้)
คนแรก ชื่อนายเทศ ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระทิพย์ธานินธ์อินทรนฤมิตร เจ้าเมืองจงกัลป์ (ปัจจุบันนี้อยู่ในเขมร)
ลูกชายคนที่สอง นายทองดี เป็นเจ้าเมืองสังขะ ท่านสุดท้าย
จะเห็นได้ว่า นายสุ่นเจ้าเมืองสุรินทร์ มี ลูกเขย หลาน เหลน
เชื้อสายสุรินทร์ต่อสายสัมพันธ์ ได้เป็นถึงเจ้าเมืองสังขะ
บทที่2
๐๐ลูกชายคนที่สอง ชื่อ นายมาส หรือ พระไชยณรงค์ภักดี
นายมาส แต่งงานกับหญิงใด ก็ไม่ทราบเช่นกัน แต่..
มีลูก 4 คน ทราบประวัติ แค่ 2 ท่าน
ลูกชายคนแรก ชื่อ นายทูล หรือ พระพิชัยนครบวรวุฒิ
ลูกชายคนที่สาม ชื่อ แย้ม มีลูกชาย 1คน ชื่อนายเยี่ยม หรือ
หลวงบุรินทร์ภักดี(เยี่ยม ) ท่านนี้คือ " ต้นตระกูล แย้มศรี "
นายเยี่ยม แต่งงานกับ นางเซียม(สกุลเดิม ทัดศรี ญาติๆกัน)
กลายเป็นต้นตระกูล " แย้มศรี " สืบเชื้อสายพระยาสุรินทรืภักดีฯ
ซึ่งแตกออกไปอีกหลายนามสกุลในเมืองสุรินทร์
บทที่3
๐๐ลูกชายคนที่สาม ชื่อ นายเม็งหรือพระสุนทรภักดี แต่งงานกับ นางเติง
มีลูก 7 คน ชาย 5 คน หญิง 2 คน
ลูกชายคนแรกชื่อ นายเภา ไม่มีลูกสืบสกุล
ลูกสาวคนรอง ชื่อ งา แต่งงานกับ พระพล เกิด สายสกุล " สุภิมารส "
ลูกชายคนที่สาม ชื่อ ยังท่าน มีเมียหลายคน ต้นตระกูล " สุบินยัง "
นายยัง เป็น บิดาของนายทัดเป็นปู่นายพลอย ต้นตระกูล " ทัดศรี "
และนายยัง ก็เป็นปู่ทวดของหลวงปู่เวียน วัดหนองบัว
ลูกคนที่4 5 6 7 ไม่ทราบข้อมูล
บทที่ 4
๐๐ ลูกชายคนที่4 ชื่อ นายมาลย์ หรือ พระกุมาลย์มนตรี
นายมลาย์ แต่งงานกับ นางสุมณฑา ลูกสาวเจ้าเมืองร้อยเอ็ด
มีลูก 5 คน หญิง 3 คน ชาย 2 คน
คนแรกชื่อ หลวงรักษ์เมธา ต้นตระกูล " นิลพัฒน์ "
ลูกสาวคนที่2 ชื่อ นางศรี แต่งงานกับลูกชายเจ้าเมืองสังขะ
ลูกชายที่3 ตาย ลูกสาวคนที่4 ชื่อนางเทวี แต่งงานกับ นาย นิล
ลูกข้าหลวง บ้านสดอ-เขวาฯ เป็นต้นตระกูล " สุกิมานิล "
ลูกสาวคนที่5 แต่งงานกับ พระสามิภักดิภูพาน มีลูกเลี้ยง2คน
บทที่ 5
๐๐ลูกชายคนที่5 ชื่อ ม่วง หรือพระพิชัยราชวงศา ต่อมา
นายม่วง เป็น เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่5 ต่อจากนายสุ่น บิดา
ได้บรรดาศักดิ์ เป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์( ม่วง )
ในปีพศ 2411 นายม่วงเจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่5มีเมียเกิน2คน
๐เมียคนแรกชื่อนางสม ไม่ทราบที่มา มีลูกด้วยกัน 2คน
ลูกชายคนแรกชื่อ ปรางค์ หรือ หลวงบุรินทร์บุรีรักษ์ ต่อมาเป็น
พระสุรพินมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินนคร-ลำดวน
ลูกชายคนที่สองชื่อ นายนิ่ม หรือ พระอนุรักษ์ภักดี มีลูกชายชื่อ นาย เยียบ ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่ 6
๐เมียคนที่2 ชื่อนางสม มีลูกชาย3คน เป็นต้นตระกูล " สุนทรชัย "
๐เมียอีกคนชื่อ นางคำ เป็นคนบ้านไพรขลา ท่าตูม ไม่มีลูก
บทที่ 6
๐๐ลูกชายคนที่6 ชื่อ นายบุญนาก หรือหลวงนริรทร์ราชวงศา
ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระไชยณรงค์ภักดี เป็นปลัดเมือง
และก็เลื่อนเป็น เจ้าเมืองสุรินทร์ ท่านที่7 ในปีพศ,2434
เป็นเจ้าเมืองเพียงแค่2 ปี ท่านนี้ เป็นต้นตระกูล " กนกนาก "
นายบุญนาก มีลูกชายคนเดียว คือ นายตุ้มทอง กนกนาก ต่อมา
เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ หลวงประเสริฐสุรินทร์บาล เจ้าเมืองสุรินทร์
ท่านสุดท้ายในลำดับที่ 10 ต้นตระกูล " กนกนาก "
บทที่ 7
๐๐ลูกชายคนที่7 ชื่อนายแก้ว ได้แต่งงานกับ นางศรี คนสุวรรณภูมิ
มีลูกชาย 3คน ลูกชายคนแรกชื่อ นายพรหม หรือ พระสุรินทร์บริรักษ์
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าเมือง นายพรหม จึงเป็นต้นตระกูล " รัตนสูรย์ "
(รัตน แปลว่า แก้ว พ่อ และ สูรย์ คือ สุ่น ปู่ )
ลูกชายคนที่2 ชื่อ นาย สุวรรณ ไม่มีลูกสืบสกุล
ลูกชายคนที่3 ชื่อ นาย ผึ้ง รัตนสูรย์ เป็นชาวสุรินทร์บุคคลหนึ่งที่ร่วมบริจาคที่ดินสร้างทางรถไฟ สถานีรถไฟเมืองสุรินทร์
บทที่ 8
๐๐ลูกชายคนที่8 ชื่อ นายตง หรือ พระพิทักษ์สุนทร นายตง แต่งงาน
กับนางจันทร์ มีลูก 3คน เป็นหญิง1 คน ชาย 2 คน
ลูกสาวคนแรกชื่อ นางเทศ แต่งงานกับนายแก้ว คนบ้านเขวาสินรินทร์
นางเทศ มีลูก 8 คน ชาย4 คน หญิง4 คน
๐ลูกสาวคนที่3ของนางเทศ ชื่อนางมากแต่งงานกับนายแผน บ้านสดอ
นายแผน เป็นพ่อของ ขุนมูลศาสตร์สาธร (บิดา ท่านปลัดพิศาล )
นายแผน เป็นพ่อของ นายแผ้ว มูลศาสตร์( บิดา ท่านผู้ว่า เสนอ )
๐ลูกชายคนที่ 8 คนสุดท้าย ของนางเทศ คือ ขุนรักษ์รัษฎากร " ไมยรัตน์ "
(ผมเข้าใจว่าท่านเป็น ผู้แทนราษฎร ส.ส. คนแรกของสุรินทร์ 2475 )
๐ส่วนลูกชายคนที่2ของ นายตง กับนางจันทร์ ชื่อ นายเปรียม ต่อมาเป็น
พระประสิทธิ์สุรินทร์การ อยู่ภายใต้ สายสกุล " สุนทรารักษ์ "
ลูกชายคนที่ 3 ชื่อ เปรม หรือ หลวงตรีวงศา ก็ใช้สกุล " สุนทรารักษ์ "
นายตง พระพิทักษ์สุนทร ต้นสกุล " สุนทรารักษ์
บทส่งท้าย..
นายสุ่น และ นางดาม มีลูก 8 คน ลูกๆแต่ละคนก็เป็นต้นสาย ต้นทาง
ของนามสกุลที่ใช้กันในเมืองสุรินทร์ นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ
นายสุ่น ยังเมียอีกคนชื่อ นางจันทร มีลูก 4 คน มีหลานชายคนหนึ่ง
ชื่อ นายกาญจน์ บิดา คุณตาเหลื่อม พันฤกษ์ ต้นตระกูล " พันธ์ฤกษ์"
และก็มี สายสกุลอีกมาก เช่นสายสกุล ของนายมี เจ้าเมืองคนที่3
หรือนายสอน น้องชายคนที่6 ของนายสุ่น ก็มีลูกชายเป็นเจ้าเมืองคนที่ 8
พระยาจรัณ " ต้นตระกูล จรัณยานนท์ "
หรือ เจ้าเมืองคนที่9 นาย บุญจันทร์ เป็นเหลน นายมี เจ้าเมืองคนที่3
มีลูกชายชื่อ พรหม มีหลาน ชื่อบุตร มี เหลนเป็นเจ้าเมืองคนที่ 9
เป็นต้นตระกูล " พรหมบุตร "
บทที่..แถมให้ครับ
๐๐นาง สมุทร ลูกสาวคนที่2 ของนายสุ่นเจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 4
กับนางจันทร์ ได้แต่งงานกับ พระพิชัยธานี (รักษ์คิด) มีลูก3คน
๐ลูกสาวคนโตชื่อ นางเมียน ได้แต่งงานกับ นายภู ต้นสกุล " ภูทอง "
นายภู มีลูกชายชื่อดุล ภูทอง แต่งงานกับ ทวดแม้น (เดิม พรหมบุตร)
น้องสาวทวดแม้น คือทวดนูร แต่งงานกับทวดกาญจน์ ตระกูล"พันธ์ฤกษ์"
ลูกสาวคนที่2ของนางแม้น ชื่อยายเผือ ออกเรื่อนกับ ตาสูน ตระกูล
" ยินดีงาม " หลานขุนบรรเทา ยินดีงาม มีบ้านอยู่คุ้มโคกสูงหน้าตลาด
ยายเผือ มีลูกสาวคนเดียว คือคุณแม่ของผม ครู สดใส ศิวะสมบูรณ์
๐ลูกชายคนที่ 2 3 นายคิด นายนึก ต้นตระกูล " รักษ์คิด "
กลุ่มสายตระกูล พรหมบุตร พันธ์ฤกษ์ รักษ์คิด รัตนสูรย์ ภูทอง
สร้างบ้านเรือน บนเนิน วัดบูรพาราม เป็นญาติกันเกือบทั้งนั้นครับ
ขอบคุณข้อมูล จากครอบครัว คุณยายภัทรา (ยายเชียน) ทัดศรี
ขอบคุณข้อมูลจาก: ที่นี้ อ.ปราสาท,เรื่องเล่า ในวงเหล้า,http://surin108.com/web/?p=9561

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

หลวงสุรินทร์ภักดี(เชียงปุม)ผู้ก่อตั้งเมืองสุรินทร์

หลวงสุรินทร์ภักดี(เชียงปุม)ผู้ก่อตั้งเมืองสุรินทร์


อนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง 
https://th.wikipedia.org/wiki/

เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม
 ดังที่จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2469 ดังนี้
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่สร้างอย่างมั่นคงในปางก่อน มีคูถึง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพงเมือง น่าจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นเมืองหน้าด่านทั้งทางตะวันออก และทางใต้ซึ่งมีช่องข้ามเขาบรรทัดต่อจังหวัดสุรินทร์อยู่หลายช่อง คือ ช่องปราสาทตาเมิน, ช่องเสม็ก, ช่องดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งมีทางเดินไปสู่ศรีโสภณ และเมืองจงกัน ยังมีคนและเกวียนเดินอยู่ทุกช่อง แต่เป็นทางลำบาก คงสะดวกแต่ช่องตะโก ต่อมาทางตะวันตก ซึ่งกรมทางได้ไปทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว บริเวณเมืองสุรินทร์เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมตลอดปี แต่ก็ทำไร่นาได้ เป็นทุ่งใหญ่ บ้านเมืองกำลังจะเจริญขึ้น เพราะเป็นปลายทางรถไฟ มีห้องแถวคึกคักไม่หย่อนกว่าอุบล และกำลังสร้างทำอยู่อีกก็มีมาก
พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์เป็นเขมรเป็นชาวพื้นเหมือนเช่น บุรีรัมย์ นางรอง มีลาวเจือปนบ้างเป็นส่วนน้อย กับมีชาติส่วยอีกพวกหนึ่ง ซึ่งว่าพูดภาษาของตนต่างหาก ตามที่ผู้รู้กล่าวว่า พื้นเป็นภาษาเขมรเจือด้วยคำลาว พวกเขมรพลเมืองสุรินทร์ยังคงพูดภาษาเขมร อยู่ทั่วไปและที่กล่าวว่าไม่รู้ภาษาไทยก็มีต้องใช้ล่ามเนืองๆ ผู้ปกครองท้องถิ่น เห็นว่าเป็นการดิ้นรน แสร้งทำเป็นพูดไทยไม่ได้ก็มีอยู่มาก แต่ในการปกครองไม่ปรากฏว่ามีความยากลำบากอะไรกว่าพลเมืองธรรมดา ในเรื่องของภาษาเขมรสอบสวนได้ความว่า วิชชาหนังสือขอมสูญแล้ว ไม่มีใครเรียน และไม่มีที่เรียน เพราะโรงเรียนสอนภาษาไทยอย่างเดียว เวลานี้มีแต่คนแก่ๆ เท่านั้นที่รู้หนังสือขอม ได้เพียงนี้ก็เห็นว่าในทางปกครองที่จะให้เกิดเป็นสำนึกของคนไทย นับว่าได้ทำไปได้มากแล้ว ถ้าจัดการโรงเรียนให้เจริญขึ้นอีก และในต่อไปการคมนาคมกับกรุงเทพสะดวกขึ้น พลเมืองพวกนี้จะรู้สึกตัวเป็นไทยยิ่งขึ้นทุกวัน ทั้งการลูกเสือก็ย่อมเป็นปัจจัยช่วยในทางนี้อยู่มาก ส่วนการไปมาถึงกันกับพวกเขมรต่ำในการปกครองฝรั่งเศสนั้น สอบสวนได้ความว่ายังมีอยู่เสมอแต่มีข้างฝ่ายคนเรื่องเขมรต่ำอพยพเข้ามาอยู่ทางเราเสียมากกว่า ปีหนึ่ง เข้าประมาณ 50 คน โดยมากเป็นเรื่องหนีส่วยอากรที่ทางฝ่ายโน้นเก็บแรงกว่าทางนี้
จังหวัดสุรินทร์ มีลำดับการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งทางด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งบ้านเรือนที่มีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายในอดีต มาเป็นวิถีชีวิตที่สลับซับซ้อนอย่างในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสะท้อนความเคลื่อนไหวของผู้คนที่มีมิติความสัมพันธ์ต่อกันอยู่ตลอดเวลา อันเป็นลักษณะโดดเด่นของผู้คนชาวจังหวัดสุรินทร์
 ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระยาประชากรกิจกรจักรเชื่อว่า ชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานล่างคือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีบางส่วน กลุ่มแรกคือ กวย กูย หรือ ข่า ขมุ ลัวะ ละว้า เยอ ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน แต่เรียกตามสำเนียงของภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกชนกลุ่มนี้ว่าส่วย
อีริค ไซเดนฟาเดน (Erick Seidenfaden) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวเดนมาร์ก สันนิษฐานว่าพวกกูยเคลื่อนย้ายจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศพม่า และมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 3,000 ปีเศษมาแล้ว ชาวกูยเหล่านี้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภาคใต้ของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พวกที่อพยพเข้ามาเป็นระลอกที่ 2 และที่ 3 คือ เขมรและลาว
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนป่า อันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า ข่า, ส่วย, กวย ซึ่งยังมีอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก
เขมรเป็นชนพื้นเมืองที่เพิ่งอพยพเข้ามาอยู่ในสมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ภายหลังได้ผสมกลมกลืนกับชาวส่วยซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิมและได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า พวกเขมรป่าดง (ข่า-เขมร) ส่วนพวกลาวนั้นอพยพเข้ามาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ราวพุทธศักราช 2257-2261
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางการเมืองทำให้กัมพูชาตกอยู่ในฐานะประเทศราชและในระหว่างปีพุทธศักราช 2103 อาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พุทธศักราช 2091-2111) กษัตริย์ของลาวได้สร้างนครเวียงจันทร์เป็นเมืองหลวงของล้านช้าง
ในปีพุทธศักราช 2257 ลาวแตกออกเป็น 3 รัฐอิสระ คือหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ชาวลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดพร้อมด้วยนักศึกษาวัด ทั้งที่กำลังศึกษา เป็นพระภิกษุสามเณรอยู่และที่จบการศึกษาแล้วเป็นอ้ายเชียง อ้ายทิด (บันฑิต) อ้ายจารย์ (อาจารย์) กับพวกข้าทางใต้ไปบูรณะพระธาตุพนม และไปจนถึงเขมร แล้วกลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์
เมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองอัตตปือแสนแปง (แสนแปง) ซึ่งต่างเป็นเมืองของพวกลัวะ ข่า (หรือชนเผ่าพันธุ์ที่เราเรียกว่าส่วยในปัจจุบัน) ขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ปกครองโดยนางแพง เจ้าหญิงข่า-ลัวะ ธิดาของนางเพากับเจ้าคำช้าง หรือบ้างคำ ด้วยคุณงามความดีของเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ด นางแพงจึงมอบอำนาจการปกครองเมืองจำปาศักดิ์ให้ เจ้าราชครูหลวงจึงได้อัณเชิญเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจากนครเวียงจันทร์ไปปกครองนครจำปาศักดิ์นับตั้งแต่พุทธศักราช 2261 - 2281 เป็นต้นมา เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้ปกครองจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าราชครูแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดจึงขยายอำนาจ โดยตั้งชาวลาวที่มีความรู้ ความสามารถ ออกไปปกครองเมืองของลัวะ ข่าต่างๆ ภายในเขตเมืองจำปาศักดิ์ เช่น ส่งจารย์หวดเป็นเจ้าเมืองโขงสี่พันดอน ให้ท้าวมั่นไปตั้งบ้านโพนขึ้นเป็นเมืองสาระวันแต่ชาวบ้านชอบเรียกเมืองมั่นตามชื่อท้าวมั่นและเรียกควบกับเมืองคำทองใหญ่ว่าเมืองมั่นคำทอง ให้จารย์แก้ไปตั้งบ้านถ่ง (ท่ง) เป็นเมืองสุวรรณภูมิ ( ในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ให้จารย์เซียงมาตั้งบ้านโนนสามขาเป็นเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษในปัจจุบัน) ตั้งได้ไม่นานเมืองศรีนครเขตก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
การแยกเป็นรัฐอิสระของอาณาจักรลาว ทำให้ทั้ง 3 รัฐ เกิดการแข็งต่อเมืองกันและต่างสะสมแสนยานุภาพไว้ต่อสู้ ป้องกันการรุกราน เมืองจำปาศักดิ์จึงบังคับให้อัตตปือ แสนปางส่งช้างป้อนกองทัพให้แก่จำปาศักดิ์ตามที่ต้องการ ทำให้ส่วยอัตตปือ แสนปางทนต่อสภาพถูกบีบบังคับไม่ได้ จึงหนีข้ามลำน้ำโขงเข้ามาอาศัยกับพวกส่วยดั้งเดิมบริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่างคือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบางส่วนของนครราชสีมา มหาสารคาม
ชาวส่วยหลายกลุ่มพากันอพยพหนีสงครามข้ามมาตั้งหลักแหล่งทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เมื่อพุทธศักราช 2260 แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนและมีหัวหน้าปกครองตามที่ต่างๆ ซึ่งเป็นจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันคือ
กลุ่มที่ 1 มาอยูที่บ้านเมืองที (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม
กลุ่มที่ 2 มาอยูที่บ้านกุดหวายหรือเมืองเตา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี) มีหัวหน้าชื่อ เชียงลี
กลุ่มที่ 3 มาอยูที่บ้านเมืองลีง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง
กลุ่มที่ 4 มาอยูที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (ปัจจุบันคือบ้านดอนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะและเชียงขัน
กลุ่มที่ 5 มาอยูที่บ้านอัจจะปะนึง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสังขะ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ
กลุ่มที่ 6 มาอยูที่บ้านกุดปะไท (ปัจจุบันคือบ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงไชย
ชาวส่วยเหล่านี้มีความชำนาญในการคล้องช้าง ทำการเกษตร หาของป่า ป่าดงแถบนี้มีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น โขลงช้างพัง ช้างพลาย ฝูงเก้ง กวาง ละมั่ง และโคแดง เหมาะกับการทำมาหากินของชาวส่วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ละชุมชนมีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ
สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกเขตกรุงหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตพิมาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ขุนนางสองพี่น้อง (เข้าใจว่า คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) กับไพร่พล 30 คน ออกติดตามช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ได้มาสืบถามร่องรอยช้างจากชาวเมืองพิมายซึ่งเป็นผู้ชำนาญภูมิประเทศในแถบนั้น ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปสืบถามพวกส่วย มอญ แซก โพนช้างอยู่ริมเขาดงใหญ่เชิงเขาพนมดงรัก เมื่อได้รับคำแนะนำจากชาวเมืองพิมายว่าช้างเผือกหนีไปทางไหนแล้ว ขุนนางสองพี่น้องพร้อมด้วยไพร่พลออกติดตามต่อมาตามลำน้ำมูลมาพบเชียงสีหรือตากะอาม หัวหน้าบ้านกุดหวาย เชียงสีได้พาขุนนางสองพี่น้องไปพบหัวหน้าหมู่บ้านอื่นๆ เพื่อจะได้ช่วยกันตามหาช้างเผือกต่อไป โดยไปหาเชียงปุมที่บ้านเมืองที เชียงปุมได้ร่วมสมทบกับขุนนางสองพี่น้องพากันไปหาเชียงไชยที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัต) ไปหาเชียงขันที่บ้านโคกลำดวน ไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง จึงทราบข่าวจากเชียงฆะว่า ได้พบช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งาพาบริวารซึ่งเป็นช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก หรือหนองบัวในเวลาบ่ายทุกวัน
เชียงฆะก็พาขุนนางสองพี่น้องและพวกไปยังหนองโชก พากันขึ้นต้นไม้ที่ริมหนองโชกเพื่อดูช้างโขลงนั้น ครั้นเวลาบ่ายช้างโขลงนั้นก็ออกจากชายป่ามาเล่นน้ำตามเคย ปรากฏว่าช้างเผือกที่หายมานั้นอยู่กลางฝูงพากันลงเล่นน้ำที่หนองโชก ขุนนางทั้งสองจึงเอาก้อนอิฐแปดก้อนที่นำมาจากบ้านเมืองทีขึ้นเสกเวทมนตร์ตามพิธีกรรมคชศาสตร์ อธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างทั้งแปดทิศ ฝ่ายช้างป่าก็แตกตื่นหนีเข้าป่าหมด คงเหลืออยู่แต่ช้างเผือกเชือกเดียวขุนนางสองพี่น้องก็ลงจากต้นไม้พากันขึ้นขี่หลังช้างโดยง่าย เมื่อจับช้างได้แล้ว ขุนนางสองพี่น้องและบริวารพากันเดินทางกลับ หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายที่มาช่วยเหลือในการติดตามช้าง ก็ได้อำนวยความสะดวกในการควบคุมช้างเผือกมาส่งที่กรุงศรีอยุธยาด้วย เมื่อมาถึงพระนครแล้ว ขุนนางสองพี่น้องจึงได้นำหัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายเข้าเฝ้าสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ และกราบบังคมทูลเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทรงทราบ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งบรรดาหัวหน้าชาวส่วยให้มีฐานันดรศักดิ์ คือ
ตากะจะ เป็น หลวงแก้วสุวรรณ
เชียงขัน เป็น หลวงปราบ
เชียงฆะ เป็น หลวงเพชร
เชียงปุม เป็น หลวงสุรินทรภักดี
เชียงลี เป็น หลวงศรีนครเตา
เชียงไชย เป็น ขุนไชยสุริยงค์

หลวงศรีนครเตา

กลับไปปกครองคนในหมู่บ้านของตน โดยอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย ( ยุพดี จรัณยานนท์ 2522 : 34 - 35 )
พุทธศักราช 2306 หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาตย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีซึ่งคับแคบและไม่สะดวกในการทำมาหากินไปตั้งที่บ้านคูประทายหรือบ้านคูประทายสมันต์ คือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะป้องกันและต่อต้านศัตรูที่มารุกรานได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหลวงสุรินทร์ภักดีจึงได้อพยพราษฎรบางส่วนไปอยู่ที่บ้านคูประทาย ส่วนญาติพี่น้อง ชื่อเชียงบิด เชียงเกตุ เชียงพัน นางสะตา นางแล และราษฎรส่วนหนึ่งคงอยู่ ณ หมู่บ้านเมืองทีตามเดิม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) กับญาติร่วมกันสร้างเจดีย์ 3 ยอด สูง 18 ศอก และสร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง 4 ศอก ซึ่งปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อย้ายถิ่นฐานจากบ้านเมืองทีไปอยู่ที่บ้านคูประทายแล้ว หัวหน้าหมู่บ้านทั้ง 5 จึงได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา นำสิ่งของไปทูลเกล้าถวาย คือ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี เพราะว่าขณะนั้นบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์จะได้อพยพมาตั้งฐิ่นฐานอยู่ในดินแดนอันเป็นป่าดงทึบส่วนนี้ โดยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่อย่างมั่นคงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของกรุงศรีอยุธยา ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในป่าดงในราชอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งกรุงศรีอยุธยาเริ่มรู้จักก็โดยหัวหน้าหมู่บ้านได้ช่วยเหลือจับช้างเผือกคืนกรุงศรีอยุธยา และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำของไปทูลเกล้าถวายแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้น ดังนี้
หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็น พระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ยกบ้านคูประทาย เป็น เมืองประทายสมันต์ ให้พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็น พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านดงยาง เป็น เมืองสังฆะ ให้พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงศรีนครเตา (เชียงสี หรือตากะอาม) เป็น พระศรีนครเตา ยกบ้านกุดหวาย เป็น เมืองรัตนบุรี ให้พระศรีนครเตา เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาท-สี่เหลี่ยมดงลำดวน เป็น เมืองขุขันธ์ ให้พระภักดีศรีนครลำดวน เป็นเจ้าเมืองปกครอง การปกครองบังคับบัญชาแบ่งเป็นหมวดหมู่ เป็นกอง มีนายกอง นายหมวด นายหมู่ บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหมดก็เดินทางกลับและปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุขตลอดมา
อนุเสาวรีย์พระยาไกรภักดี(ตากะจะ)
th.wikipedia.org
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี
เมื่อพุทธศักราช 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทร์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร ในปีพุทธศักราช 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี
ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชรรวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่างๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทร์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา ทั้ง 3 เมือง

อนุเสาวรีย์พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ
pr.prd.go.th

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2325 และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
พุทธศักราช 2329 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในการเปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์ เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้า ให้เจ้าเมืองพิมาย แบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้
ทิศเหนือ จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ำมูล ถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก ถึงลำห้วยตะโคง หรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองขั้น และห้วยราช
ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนอยู่ในความปกครองของไทย เช่นบ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับเมืองสังขะ
พุทธศักราช 2337 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน ชื่อนายตี (แต็ย) และนายมี (แม็ย) เป็นหญิง 2 คน ชื่อนางน้อยและนางเงิน เมื่อพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้า ตั้งให้นายตี (แต็ย) บุตรชายคนโต เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองสุรินทร์คนต่อมา
พุทธศักราช 2342 มีตราโปรดเกล้า ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ 100 รวม 300 เข้ากองทัพยกไปตีกองทัพพม่า ซึ่งยกมาตั้งอยู่ในเขตแขวง เมืองนครเชียงใหม่ แต่กองทัพไทยมิทันไปถึงได้ข่าวว่ากองทัพพม่าถอยไปแล้ว ก็โปรดเกล้าให้ยกกองทัพกลับ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนนามพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ตี) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์
พุทธศักราช 2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้า ให้ทั้ง 3 เมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เลยทีเดียว มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน (พงศาวดารเมืองประทายสมันต์เลขที่ 001: 3/10)
พุทธศักราช 2351 พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งหลวงวิเศษราชา (มี หรือแม็ย) ผู้เป็นน้องชาย เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พุทธศักราช 2354 พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งให้นายสุ่น บุตรพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
ต่อมาเมืองขุขันธ์ ขออนุญาตยกบ้านลังเสนเป็นเมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายมาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็นเมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เขตแขวงเมืองจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทร์อยู่ในอำนาจเจ้าอนุเมืองเวียงจันทร์กับเจ้าโย่บุตรที่ครองเมืองจำปาศักดิ์ พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกำลังผู้คนมากขึ้นก็มีใจกำเริบคิดกบฏต่อกรุงเทพ เมื่อปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุแต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทร์ คุมกองทัพยกเข้าตีหัวเมืองรายทางเข้ามาจนถึงจังหวัดนครราชสีมา
ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ก็เกณฑ์กำลังยกเป็นกองทัพมาตีเมืองขุขันธ์แตกจับพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์กับพระภักดีภูธรสงครามปลัด (มานะ) พระแก้วมนตรียกกระบัตร (เทศ) กับกรมการได้และฆ่าเสีย ส่วนเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ ได้มีการป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน และได้เกณฑ์กำลังไพร่พลไปสมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงคราม สาเหตุการกบฏครั้งนี้มีหลักฐานทั้งฝ่ายไทยและเอกสารพื้นเวียง เสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ไว้ 3 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1. การสักเลก (การสักข้อมือคนในบังคับ) ในหัวเมืองอีสาน สำหรับการสักเลกนี้ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มเมื่อใดแต่อย่างน้อยที่สุดประมาณปีพุทธศักราช 2317 ช่วงสมัยธนบุรี จนเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในปีพุทธศักราช 2369 (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จุลศักราช 1205 เลขที่ 86) การส่งข้าหลวงมาสักเลกสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนในหัวเมืองเขมรป่าดงอย่างมาก ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเจ็บตัวจากการสักเลกแล้วยังต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสักเลกอีก คนละ 1 บาท 1 เฟื้อง
ประเด็นที่ 2. ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเมืองขุขันธ์ เอกสารพื้นเวียงกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมา จากการศึกษาของพรรษา สินสวัสดิ์ (2521:83-84) กล่าวไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีความเชื่อมั่นและวางพระทัยในความสามารถของพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมาดำเนินการบางประการที่ทำให้เดือดร้อนแก่หัวเมืองลาว และหัวเมืองเขมรป่าดง (เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขันธ์) จนเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกับหัวเมืองในกลุ่มดังกล่าว เช่น ในครั้งพระยาพรหมภักดีมีคำสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลจากเมืองอุบลราชธานี เมืองจำปาศักดิ์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์จะยกไปตีข่าในเขตแดนจำปาศักดิ์เพื่อกวาดต้อนส่งเข้ามากรุงเทพในครั้งนั้น พระยาไกรภักดีเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เกิดขัดแย้งกับพระยาพรหมภักดีอย่างรุนแรงถึงกับพระยาไกรภักดีมีใบบอกฟ้องเข้ามายังกรุงเทพ ว่าพระยาพรหมภักดีทำการกดขี่ข่มเหง ทางกรุงเทพ จึงได้ส่งขุนนางผู้ใหญ่ขึ้นไปสอบสวนผลการสอบสวนปรากฏว่า พระยาพรหมภักดีไม่ผิด ความขัดแย้งระหว่างพระยาพรหมภักดีกับพระยาขุขันธ์ได้เกิดบานปลายออกไปเมื่อ พระยาพรหมภักดีสนับสนุนให้เจ้าทิงหล้า ซึ่งเป็นน้องชายของพระยาขุขันธ์ ก่อการกบฏต่อพระยาขุขันธ์ และพระยาพรหมภักดีนำ(กองทัพ)จังหวัดนครราชสีมาขึ้นมาสนับสนุนเจ้าทิงหล้า และได้จุดไฟเผาเมืองขุขันธ์จนพระยาขุขันธ์ต้องหนีไปอยู่เมืองนางรอง
ประเด็นที่ 3. ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้านครจำปาศักดิ์ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดารไทย แต่ในเอกสารพื้นเวียงกล่าวว่าเป็นชนวนสำคัญที่สุดที่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏ (ธวัช ปุณโณทก 2526 : 82) กล่าวคือ พระยาพรหมภักดีครองเมืองโคราชได้ 2 ปี มีความขัดข้องใจที่ไม่ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ จึงจัดสร้างด่านใกล้เมืองพระยาไกรภักดี เจ้าเมืองขุขันธ์จนเกิดเรื่องกับพระยาไกรภักดี ดังกล่าวมาแล้ว ภายหลังพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมามีหนังสือสารตรา ไปยังเมืองจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตรโย่) เจ้าเมืองจำปาศักดิ์โกรธจึงไปทูลเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์โกรธแค้นมาก
จาก 3 ประเด็นที่กล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์กับเจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอิน) และนำไปสู่กบฏเจ้าอนุวงศ์ในปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทรน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธจับพระไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) ์เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม (มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี (ทศ) ยกกระบัตรกับกรมการได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไปเมืองจำปาศักดิ์
เมื่อข่าวเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏได้ททราบถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นทัพหน้าพร้อมด้วย พระยาราชนิกุล พระยากำแหง พระยารองเมือง พระยาจันทบุรี คุมไพร่พลไปทางเมืองพระตะบองขึ้นไปเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เกณฑ์เขมรป่าดงไปเป็นทัพขนาบกองทัพกรุงเทพ ได้ตามตีกองทัพลาวเรื่อยไปจนถึงเวียงจันทน์และตีเมืองเวียงจันทน์แตกเมื่อพุทธศักราช 2370
เมื่อพุทธศักราช 2371 ทรงพระโปรดเกล้า ให้เลื่อนพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทาย-สมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์เป็นเจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์
ส่วนทางเมืองสังขะ โปรดให้พระยาสังขะเป็นพระยาภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้บุตรพระยาสังขะ เป็นพระยาสังขะบุรีศรีนครอัจจะปะนึง
ในปีพุทธศักราช 2372 หัวเมืองฝ่ายตะวันออกไม่เรียบร้อยดี เนื่องมาจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์เพราะราษฏรพากันหนีหลบภัยสงครามไปต่างเมือง เช่น หัวเมืองเขมรป่าดง ราษฎรพากันหลบหนีไปยังแถบเขมร ราษฎรเมืองนครราชสีมาก็พากันหลบหนีไปทางเมือง ลพบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี เป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาขณะดำรงตำแหน่งพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่กองออกไปจัดการหัวเมืองอีสาน-ลาว ทั้งหมด (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1856 เลขที่ 86) และได้ไปจัดตั้งราชการสำมะโนครัว แต่งตั้งกองสักเลกอยู่ ณ กุดผไท (อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์)
ในปีพุทธศักราช 2385 (จุลศักราช 1205) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้เกณฑ์คน หัวเมืองเขมรป่าดงหัวเมืองขุขันธ์ 2,000 คน เมืองสุรินทร์ 1,000 คน เมืองสังขะ 300 คน เมืองศีรษะเกษ 2,000 คน เมืองเดชอุดม 400 คน รวม 6,200 คน (หอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 4/1 จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1205) และในปีพุทธศักราช 2381 เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้กำลังจากเมืองลาว หัวเมืองเขมรป่าดง เมืองนครราชสีมา 12,000 คน เกณฑ์กำลังขึ้นไปสมทบทัพกรุงเทพ ที่เมืองอุดมมีชัยไปรบในกัมพูชา (หอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 3 จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1201)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อพุทธศักราช 2394 (จุลศักราช 1213) กรมการเมืองสุรินทร์ได้เข้าไปเฝ้าถึงกรุงเทพจึงโปรดเกล้า ให้พระยาบดินทรเดชา สมุหนายกปรึกษากับกรมการเมืองสุรินทร์ ที่ประชุมเห็นว่า พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) ผู้ช่วยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นผู้มีปัญญารู้หลักราชการและมีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ไพร่บ้านพลเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตรให้พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ตั้งแต่เดือนอ้าย ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 2214 (พุทธศักราช 2395) (ไพฑูรย์ มีกุศล 2515 : 8-9) และในปีเดียวกันได้โปรดเกล้า ให้หลวงนรินทร์ราชวงศา (นาก) บุตรเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระไชยณรงค์ภักดี ปลัด
ให้พระมหาดไทย (จันทร์) บุตรเจ้าวงศา หลานเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระยาพิชัยบวรวุฒิ ยกกระบัตร รักษาราชการเมืองสุรินทร์ต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พุทธศักราช 2411-2453)
พุทธศักราช 2412 พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านกุดไผท หรือจารพัตเป็นเมือง ขอหลวงไชยสุริยง (คำมี) บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์ (หมื่น) กองนอกไปเป็นเจ้าเมือง ส่วนตำแหน่งปลัดและยกกระบัตรเมืองสังฆะว่าง ขอพระสุนทรพิทักษ์บุตรพระปลัดคนเก่าขึ้นเป็นปลัด และขอหลวงศรีสุราชผู้หลานเป็นยกกระบัตรเมืองสังฆะ ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ในปีมะเส็งนั้น (พุทธศักราช 2412) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้มีตราพระราชสีห์ ตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัต เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ตั้งให้หลวงไชยสุริยงกองนอกเป็นพระศีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมือง ขึ้นเมืองสังฆะ
ฝ่ายทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ เห็นว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศีขรภูมิแล้ว ก็เกรงว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ จะเอาบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย จึงได้มีใบบอกขอตั้ง้านลำดวนเป็นเมือง ขอให้พระไชยณรงค์ภักดี (นาก) ปลัดเมืองสุรินทร์ เป็นเจ้าเมืองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองสุรพินทนิคม ให้พระไชยณรงค์ภักดี ปลัด (บุนนาก) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมขึ้นเมืองสุรินทร์มาแต่นั้น
พุทธศักราช 2415 ฝ่ายพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลุมพุกเป็นเมือง ขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะเป็นเจ้าเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลุมพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์ เจ้าเมืองกันทรารมย์ ขึ้นกับเมืองสังฆะ
พุทธศักราช 2416 พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองก็ถึงแก่กรรม พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เห็นว่าหลวงงพิทักษ์สุนทรบุตรพระปลัดกรมการเมืองสังฆะ ซึ่งสมัครมาอยู่เมืองสุรพินทนิคมเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงดี จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมหลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมได้สามปีก็ถึงแก่กรรมแต่นั้นมาเจ้าเมืองสุรพินทนิคมจึงว่างตลอดมา
พุทธศักราช 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระศักดิ์เสนีย์ เป็นข้าหลวงออกไปตั้งสืบสวนจับโจรผู้ร้ายหัวเมืองตะวันออก เนื่องจากพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) และพระยาสังขะได้บอกมายังกรงเทพ ว่าเกิดโจรผู้ร้ายปล้นลักทรัพย์สิ่งของราษฎรในเขตของเมืองทั้งสองแล้วหนีเข้าไปแขวงเมืองบุรีรัมย์ เมืองนางรอง เมืองประโคนชัย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนมาก ข้าหลวงที่ส่งไปเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อปราบโจรผู้ร้ายเสร็จแล้วก็กลับกรุงเทพ ข้าหลวงที่ได้รับการแต่งตั้งลักษณะนี้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดได้ทุกเมือง
พุทธศักราช 2424 ฝ่ายทางเมืองจงกัล ตั้งแต่โปรดเกล้า ให้หลวงสัสดี (ลิน) เป็นพระวิไชย เจ้าเมืองจงกัล พระวิไชยรับราชการได้ 7 ปี ก็ถึงแก่กรรม เจ้าเมืองสังฆะจึงได้ให้พระสุนทรนุรักษ์ผู้หลานนำใบบอกไปกรุงเทพ ขอให้พระสุนทรนุรักษ์เป็น พระทิพชลสินธุ์อินทรนฤมิตร
ทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ว่าง ขอพระมหาดไทยเป็นพระยกกระบัตร เมื่อวันศุกร์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระไชยนครบวรวุฒิ ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์
พุทธศักราช 2425 คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวเป็นอันมาก ข้ามไปตั้งอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงได้มีใบบอก ขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง ขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองชุมพลบุรี ให้พระวิเศษราชา (นัยหนึ่งว่า หลวงราชวรินทร์ ทองอิน) เป็นพระฤทธิรณยุทธ เจ้าเมืองและโปรดเกล้า ให้ตั้งท้าวเพชรเป็นที่ปลัด ให้ท้าวกลิ่นเป็นที่ยกกระบัตร ทั้งสองคนนี้เป็นพี่ชายพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) และท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี พร้อมกันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งนายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคม แทนคนเก่าที่ถึงแก่กรรมและตำแหน่งเจ้าเมืองยังว่าง
พุทธศักราช 2492 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองจำปาศักดิ์ ได้เชิญประชุมเจ้าเมืองภาคอีสานขึ้น ณ เมืองอุบล เพื่อสำรวจชายฉกรรจ์และแก้ไขระเบียบการจัดเก็บภาษีอากร ในระหว่างการประชุมข้าราชการอยู่นั้น ได้รับรายงานว่า ทัพฮ่อเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทร์แตกการประชุมต้องยุติลง พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ต้องรีบระดมกำลังขึ้นไปยังเมืองหนองคายโดยด่วนเพื่อสมทบกับกองทัพเมืองนครราชสีมา ส่วนกองทัพจากกรุงเทพนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปสมทบที่เมืองหนองคาย ซึ่งเป็นจุดชุมนุมพล สำหรับพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์นั้นได้มีคำสั่งให้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบล เพราะเจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพในครั้งนั้นด้วย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบลอยู่ 2 ปี จึงได้กลับเมืองสุรินทร์ เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ย่างเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เต็มที่ จึงได้มอบให้นายเยียบ (บุตรชาย) ช่วยราชการเป็นการภายใน
พุทธศักราช 2432 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีอำนาจเต็มในภาคอีสานทั้งหมด ได้แต่งตั้งใบประทวนให้ ยานเยียบ เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง 2 ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่อ พุทธศักราช 2433 พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงต้องกลับมาเป็นเจ้าเมือง อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้นเอง
พุทธศักราช 2434 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีสะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว
พุทธศักราช 2435 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ซึ่งย้ายมาแทนพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ได้ทรงแต่งตั้งให้พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) น้องชาย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ (เปลี่ยนจากเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง)
ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้ เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลาง มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาด ทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ใช่เชื้อสายบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ด้วยความไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวเมืองได้ดีพอจึงทำให้ดำเนินการบางอย่างผิดพลาด มิชอบโดยหลักการ แต่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) เจ้าเมืองไม่อาจขัดขวางได้เพราะเห็นว่า ถ้าเข้าขัดขวางแล้วก็จะมีแต่ความร้าวฉาน ขาดความสามัคคีในชนชั้นปกครอง
พุทธศักราช 2436 ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองสุรินทร์จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวสุรินทร์จะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ
กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสสงบลงไม่นานนัก ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ ได้ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ยังไม่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นที่ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ตามตำแหน่ง ในช่วงระยะนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้สั่งย้ายหลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) และแต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ระหว่างที่เสด็จกลับกรุงเทพผ่านเมืองสุรินทร์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรได้ทรงแต่งตั้งพระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ยกกระบัตรเมือง เป็นผู้รักษาเมืองสุรินทร์และเมื่อเสด็จถึงกรุงเทพ แล้วได้กราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งให้พระพิชัยนครบวรวุฒิเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์สืบต่อมาและถึงแก่กรรมในปีพุทธศักราช 2438 (รัตนโกสินทรศก 114)
ระหว่างนี้ ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตัวข้าหลวงกำกับราชการโดยลำดับกล่าวคือ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) ดำรงตำแหน่งอยู่ประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปอยู่จังหวัดศรีสะเกษสับเปลี่ยนกับจมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) จมื่นวิชัยยุทธเดชาคณี ดำรงตำแหน่งประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปโดยมีหลวงวิชิตชลชาญมาดำรงตำแหน่งแทน ชั่วระยะเวลาอันสั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ก็ได้ย้ายหลวงสาทรสรรพกิจมาดำรงตำแหน่งในประมาณปีพุทธศักราช 2438
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) ถึงแก่กรรมในปีจุลศักราช 1257 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 114 ตรงกับปี พุทธศักราช 2438 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้ พระพิชัยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา สันนิษฐานว่าพระพิชัยณรงค์ภักดีเป็นบุตรของนายพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 3 พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรมเมื่อรัตนโกสินทรศก 126 หรือ พุทธศักราช 2450 และเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว จึงได้รับสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้หลวงประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) ซึ่งเป็นบุตรพระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์คนที่ 8 เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์แทน แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมในปีพุทธศักราช 2451 และในต้นปีพุทธศักราช 2451 นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังเป็นช่วงเวลาที่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (เข้าสู่แบบเทศาภิบาล) ส่วนกลางได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดบ้าง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง บุคคลแรกที่ได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์ ในปีพุทธศักราช 2451 คือ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์)
จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบบเทศาภิบาลจนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล
ขอบคุณข้อมูล:http://53010911019.blogspot.com/