วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สาเหตุของการเกิดกบฎสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๓

ขอบคุณภาพ:https://khampoua.wordpress.com/tag/chao-anouvong/
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ให้กลุ่มชาวกูยเป็นข้าไพร่แผ่นดินสยาม ได้ถูกเกณฑ์แรงงานและจัดส่งส่วย ให้แก่ทางราชการอยู่โดยตลอด ในสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเกณฑ์แรงงานกูยในเขตอีสานใต้ ( เขมรป่าดง ) เริ่มประสบความยุ่งยากเพราะหนุ่มฉกรรจ์ชาวกูย มักหลบหนีการเกณฑ์ บางครั้งถึงกับซุ่มโจมตีทำร้ายเจ้าพนักงานแล้วหนีเข้าป่า และมีชาวกูยได้ก่อการกบฏขึ้น ดังเช่นกบฏเชียงแก้ว พ.ศ. ๒๓๓๔ ได้เกิดเหตุในแขวงเขตจำปาศักดิ์ และในเขตหัวเมืองต่างๆในอุบลราชธานี กบฏสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๓ เป็นกบฏของข่า ( กูย ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลาวใต้ และบริเวณอีสานใต้ ทางกรุงเทพฯ ได้ให้เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองเวียงจันทร์ ยกทัพไปปราบ และได้จับสาเกียดโง้งและชาวข่า ( กูย ) พร้อมทั้งครอบครัวจำนวนมากส่งมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้จำสาเกียดโง้งไว้ตลอดชีวิต ส่วนครอบครัวกูยโปรดให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ตั้งบ้านเรือนที่บางบอนธนบุรี กูยเคยมีจำนวนถึง ๓๐๐,๐๐๐ คน ถูกลดจำนวนลงเหลือเพียงไม่กี่พันคน เมื่อรัฐไทยได้เข้าไปทำการจัดเก็บภาษีในบริเวณอีสานใต้ โดยมีการพัฒนาจัดเก็บภาษีเป็นควาย ซึ่งนอกเหนือจากภาษีของคนป่า เพื่อนำส่งไปยังกรุงเทพฯ เช่นปี พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่เมืองสุรินทร์ ได้จัดส่งควาย ๖๑ ตัว เมืองรัตนบุรี ๑๖๓ ตัว และกองพระยาภักดีชุมพลเมืองสุรินทร์ ๓๒ ตัว การจัดเก็บได้ทวีเพิ่มความรุนแรงขึ้น เมื่อชาวกูยไม่มีสิ่งของเป็นส่วยให้กับทางราชการ และพอถึงปลายรัชกาลที่ ๔ ก็เข้ารอบวิกฤตอีกคือ กูยไม่มีส่วยสิ่งของส่ง จึงเอาตัวคนกูยส่งส่วยแทน ล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เกิดกบฏผีบุญขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ยกบฏกับฝ่ายรัฐบาลสะพือ ( ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตระกาลพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ) หัวหน้าฝ่ายกบฏคือ องค์ลูกน้องขององค์แก้ว หัวหน้าพวกข่า ( กูย ) ในลาว องค์มั่น มีชาวบ้านเข้าด้วยหลายพันคน เมื่อปะทะกับกองกำลังประมาณ ๑๐๐ คน ของกรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงสำเร็จราชการอีสานในวันที่ ๔ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๒ ( พ.ศ. ๒๔๔๕ ) ที่บ้านสะพือ องค์มั่นก็สั่งให้พรรคพวกนั่งลง ภาวนาเอาบารมีบุญกุศลเป็นที่พึ่ง จะแคล้วคลาดจากกระสุนปืนใหญ่ ปรากฏว่าฝ่ายผู้มีบุญถูกกระสุนปืนใหญ่ตายนับร้อย ที่เหลือถูกจับหรือแตกหนีไป เมื่อพิจารณาสาเหตุการเกิดกบฏ ถ้ามองการปกครองรัฐบาลไทย ซึ่งนำเอาอย่างประเทศอาณานิคม คือ อังกฤษ ด้านวัฒนธรรมไม่เอาใจใส่ หรือไม่สนใจกับรากฐานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ตนเข้าไปปกครองขณะเดียวกันก็มี ความพยายามที่จะกดดันวัฒนธรรมเดิมให้อ่อนด้อยลงพร้อมกับการนำเอาวัฒนธรรม ใหม่เข้าไปแทน ปัจจัยดังกล่าวน่าจะมีผลกระทบต่อชาวกูยเพราะสอดคล้องกับผลการสำรวจของ เอเจียน แอมอนิเย ที่กล่าวว่า ชนเผ่ากูยเป็นเผ่าที่ยากจนที่สุด ไม่มีไร่นาจะเพาะปลูก เขามีเพียงไร่ผืนเล็กๆกลางป่าเพื่อปลูกข้าว ต่อมาฝรั่งได้ขยายอำนาจสู่บริเวณอินโดจีน รัฐไทยมีนโยบายเพื่อความมั่นคง โดนเฉพาะชายแดนในอีสานตอนใต้ที่มีชนชาติกูยได้ถูกผนวกเข้ากับรัฐไทย ได้เปลี่ยนสัญชาติกูยเป็นไทย การสำรวจสำมะโนครัว หรือ หากมีราษฎรติดต่อราชการที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ทางราชการให้ปฏิบัติโดดยกรอกใน ช่องสัญชาติว่าไทย บังคับห้ามมิให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ชาติส่วย(กูย) ผู้ไทย ดังที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อนเด็ดขาด อาจกล่าวได้ว่าประวัติชนชาติกูย มีบทบาทสำคัญยิ่งในบริเวณอีสานตอนใต้ ลาวใต้และกัมพูชาตอนบน (ตะวันออกเฉียงเหนือทะเลสาบเขมร) มีความเป็นมาและได้มีการพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ผสมกลมกลืนกับชาว กัมพูชา ลาวและไทยตลอดมาโดยเฉพาะกับชนชาติไทยปัจจุบัน ชาวกูยมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บางอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ บ้านสะเดาหวาน อำเภอพยัคฆ์ภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และบางอำเภอในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
ถิ่นฐานของชาวกูยในประเทศไทย
เนื่องจากชาวกูยตั้งถิ่นฐานปะปนกันอยู่กับชาวเขมรสูงและชาวลาว จึงมีการติต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกันตามวิสัย และทำให้ชาวกูยกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเขมรสูงและวัฒนธรรมลาว ดังจะเห็นได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองสุรินทร์ใหม่ๆนั้นมีคนกูยทั้งเมือง ชาวเขมรสูงมีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่นานเข้าวัฒนธรรมของเขมรสูงก็ค่อยๆเข้ามามีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมของชาวกู ย ชาวกูยจึงถูกกลืนเข้าไปเป็นคนเขมรเกทอบหมด ( ประเสริฐ ศรีวิเศษ ๒๕๒๑ ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ จังหวัดศรีสะเกษยังเป็นเมืองที่มีชาวกูยอยู่กันทั้งเมืองมีพวกลาวเวียง ( สาขาเวียงจันทร์ ) ปะปนอยู่บ้างบางหมู่บ้าน แต่วัฒนธรรมของลาวได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือชาวกูย จึงทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม ชาวกูยที่นี่พูดภาษาลาวด้วยสำเนียงส่วยโดยสามารถใช้สะระเอือได้ ในขณะที่ภาษาลาวเวียงเดิมมีแต่สระเอีย ร่องรอยที่แสดงว่าศรีสะเกษเดิมเป็นเมืองที่ชาวกูยอาศัยอยู่กันทั้งเมืองก็ คือตัวเลขสำมะโนครัวสมัยนั้นและการเรียกขานชาวศรีสะเกษว่า “ส่วยศรีสะเกษ” อยู่จนทุกวันนี้ ( จิตร ภูมิศักดิ์ ๒๕๒๔ ) ปัจจุบันชาวกูยอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างแม่น้ำมูลกับเทือกเขาพนมดง รัก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ จนถึงอุบลราชธานี เชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็นเส้นทางอพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศลาวสู่ประเทศ ไทยและยังเชื่อกันว่า ชาวกูยที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นชาวกูยที่ตกค้างอยู่ตั้งแต่ครั้งอพยพ มาจากลาว ( ประเสริฐ ศรีวิเศษ ๒๕๒๑ ) ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชาวกูยส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษและมีการอพยพโยกย้ายข้ามอำเภอ หมู่บ้านชาวกูยแต่ละหมู่บ้านมาจากที่เดียวกันทั้งหมู่บ้านหรือมาจากหลายที่มา อาศัยด้วยกัน นอกจากนี้ยังพบผู้พูดภาษากูยในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และที่บ้านหนองบัว ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พูดภาษาเขมรอาศัยอยู่เช่นกัน ชาวกูยที่นี่เรียกตัวเองว่า “กวย”
ขอบคุณ;https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://human.msu.ac.th/husoc/doc/doc_research/001.pdf&ved=0ahUKEwjOx8GugavPAhWItI8KHR1FB_M4FBAWCBowAQ&usg=AFQjCNHsdVhXuGCvLTtGjNG-w1Zxbtx29A&sig2=e-sOMFNLmmbfPSlMoh3nUQ

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

นายสุ่น หลานเชียงปุม และนางดาม ต้นสายสกุล เมืองสุรินทร์

นายสุ่น นางดาม ต้นตระกูล เมืองสุรินทร์


นายสุ่น  หลานเชียงปุม ต้นสายสกุล เมืองสุรินทร์

ปี พ.ศ. 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเขมรมีใจฝักใฝ่ ให้กับญวน พระเจ้าตากสิน สั่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่1 (ท่าน เคยนำคนมาตามหาช้างเผือก บริเวณ เขมรข่า ป่าดง )ยกทัพไปปราบปรามเขมร โดยเกณฑ์กองทัพช้างเมืองประทายสมันต์ สังขะ ขุขันธ์ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ กำปงสวายและเสียมราฐ....การปราบปรามเขมรครั้งนี้ ยังไม่เสร็จ ก็เกิดความวุนวายไม่สงบขึ้น ในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงเลิกทัพกลับคืน ธนบุรี..ทิ้งความขัดแย้งไว้ที่เมืองเขมร(กองทัพช้างของเมืองปะทายสมันต์ แต่งทัพช้าง ที่ทุ่งมน วัดหลวงปู่หงษ์เป็นกลุ่มคนเลี้ยงช้าง ชาวข่า ปัจจุบันนี้มีร่องรอยให้เห็น เล็กน้อยที่ทุ่งมน )
ในสงครามครั้งนี้ได้ เขมรหลบหนีสงครามจากเมือง เสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร ฯ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ เป็นจำนวนมาก เช่น.. นางดาม เป็นลูกสาวเจ้าเมืองประทายเพชร ได้นำข้าทาส บริวารชาวเขมรมาอยู่เมืองประทายสมันต์ ได้แต่งงานกับนายสุ่น หลานเชียงปุ่ม สังคมของเมืองปะทายสมันต์ ในอดีตมีวัฒนธรรมความเป็นกูย จำนวนมาก เมื่อชาวเขมร ได้นำวัฒนธรรมของเขมรที่แข็งแรงกว่าของชาวกูย เข้ามาแทนที่ วัฒนธรรมของชาวกูย ความเป็นอยู่ จึงเป็นไปทางเขมรมากขึ้นทำให้วัฒนธรรมของเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองปะทายสมันต์..ศึกสงครามเมืองเขมรครั้งนี้ ทำให้เชียงปุ่มได้หลานสะใภ้ ได้เป็น " พระยา "
เมื่อประมาณปี พศ 2330 คนสุรินทร์กลุ่มแรกๆที่มาอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง คือกลุ่มข้าทาสของภรรยา หลานเจ้าเมืองสุรินทร์ ชื่อ นางดาม ต่อมาได้เป็นภรรยาของเจ้าเมือง ท่านที่4นางดาม-นายสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตระกูลของคนสุรินทร์ หลายสิบสายสกุล ชีวิตของนางดาม ได้ทำประโยชน์ เกื้อหนุน คนสุรินทร์ไว้มาก เช่น ได้อุปถัมค้ำจุน ออกทุนสนับสนุน วัดศาลาลอย สั่งให้ลูกหลานคอยดูแลหลายๆครอบครัวในละแวก วัดศาลาลอย สืบเชื้อสาย จาก นางดาม-นายสุ่นนางดาม ได้ใช้พื้นที่นอกกำแพงเมืองชั้นนอก( ตลาดน้อย) ตะเปียงเวียงหนองยาว โรงเรียน สวค สธ เทคนิค อาชีวะ อนุบาล โรงเรียนเมือง สนามกีฬา " เพื่อทำการเกษตร " และ ใช้พื้นที่ บริเวณ เวียลสวาย (ดองกะเม็ด - หมอกวน -ไตรรงค์ )ใช้เป็น พื้นทีี่ " ปลูกพืชสวน ผลไม้ "
รวมถึง ทุ่งนา นอกกำแพงเมือง ทิศตะวันตก-เหนือ เวียลโพธิ์ ทุ่งโพธิ์ โคกบัวราย (โคกบาราย ) ติดชายขอบกำแพงเมืองข้ามรางรถไฟปัจจุบัน ชุมชนทุ่งโพธิ์ วัดทุ่งโพธิ์ เกาะลอย ชอยกำแพง นางดามได้ใช้พื้นที่ เป็นที่ ทำนา เพราะเป็นนาโล่งกว้าง และพื้นที่นาทุ่งโพธิ์นี้แห่งนี้เอง ใช้เป็นบริเวณที่ จัดงาน " เผาศพ นางดาม "กระดูกของนางดาม ฝังไว้ ที่ป่าช้า โคกตังกอ( บางท่านว่า อยู่บริเวณ วัดเทพสุรินทร์ หรือ บริเวณชุมชนทุ่งโพธิ์ )นางดาม พักที่คุ้มเจ้าเมือง เนินโคกสูง(ชุมชนตาดอก) มีลูก หญิง1 ชาย 7 คนโตเป็นหญิงเป็นสะใภ้เจ้าเมืองสังขะลูกชายคนที่2 ต้นสกุล แย้มศรี ลูกคนที่ 3 ต้นสกุล สุภิมารส คนที่4 ต้นสกุล นิลพัฒน์ ลูกคนที่ 5 ไม่ทราบ คนที่6 เป็นต้นสกุล กนกนาก ท่านที่7 ต้นสกุล รัตนสูรย์ ลูกคนที่8 ต้นสกุล สุนทรารักษ์ สกุลทั้งหมดนี้ได้แตก-แยก-ร่วมเป็นหลายสายสกุลในเมืองสุรินทร์ครับ นับว่าคนสุรินทร์มีบรรพบุรุษเป็นพี่น้องกัน" เป็นไปได้ไหมครับ ที่ลูกหลานนายสุ่น ไม่ค่อยพูดกูย เพราะมีคนเลี้ยง-พี่เลี้ยงเป็นคนเขมร เลยพูดเขมร ตามสายเลือดของ มารดา
นายสุ่น ต้นตระกูล เมืองสุรินทร์
ปฐมบท นายสุ่น...
หรือ พระยาสุรินทร์ภักดี ศรีผไทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่ 4
นายสุ่น เป็นหลานคนโตของ เชียงปุ่ม เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่1
นายสุ่นเป็นลูกชายคนแรกของ นายตี เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่2
และ นายสุ่นก็เป็นหลานอา ของ นายมี เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่3
และนายสุ่นยังเป็นต้นตระกูลระดับtop tenของเมืองสุรินทร์ด้วย
ในปีพศ. 2354 ตรงกับสมันรัชกาลที่ 3 เทียบได้ รศ. 30
เจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่3 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์เสียชีวิต
นายสุ่นหลานชายได้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์คนที่4 มีชื่อว่า
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์(สุ่น) เป็นเจ้าเมืองนานถึง 40ปี
นายสุ่น เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่4 ได้แต่งงานกับนางดาม มาดไว
ลูกสาวเจ้าเมืองประทายเพชร ที่หนีสงครามในเขมรมาอาศัยอยู่เมืองสุรินทร์ (ประทายสมันต์ )พร้อมบริวารมากมาย
นายสุ่น กับ นายดาม มีลูกด้วยกัน 8 คน ชาย 7 หญิง 1
บทที่1
๐๐ลูกสาวคนโต ชื่อ นางจันทร์ แต่งงานกับ นายทองอินทร์ เป็นลูกชายเจ้าเมืองสังขะ( ทองด้วงย้ายไปปกครองขุขันธ์ ) ทองอินทร์จึงเป็นพระยาสังขะบุรีศรีนครอัจจะ เป็นเจ้าเมืองสังขะแทนบิดา
( นายสุ่น เจ้าเมืองสุรินทร์ ท่านที่4 มีลูกเขยเป็นเจ้าเมืองสังขะ )
นายทองอินทร์ กับ นางจันทร์ มีลูกคนเดียวเป็นผู้ชายชื่อ นุต
หรือพระอนันต์ภักดี(นุต) เป็นผู้ช่วยเจ้าเมืองสังขะ
เมือนายทองอินทร์บิดาเสียชีวิต นาย นุต ก็เป็นเจ้าเมืองสังขะ
นายนุต แต่งงานกับใคร ไม่ทราบ แต่มีลูกชาย2คน(เท่าที่รู้)
คนแรก ชื่อนายเทศ ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระทิพย์ธานินธ์อินทรนฤมิตร เจ้าเมืองจงกัลป์ (ปัจจุบันนี้อยู่ในเขมร)
ลูกชายคนที่สอง นายทองดี เป็นเจ้าเมืองสังขะ ท่านสุดท้าย
จะเห็นได้ว่า นายสุ่นเจ้าเมืองสุรินทร์ มี ลูกเขย หลาน เหลน
เชื้อสายสุรินทร์ต่อสายสัมพันธ์ ได้เป็นถึงเจ้าเมืองสังขะ
บทที่2
๐๐ลูกชายคนที่สอง ชื่อ นายมาส หรือ พระไชยณรงค์ภักดี
นายมาส แต่งงานกับหญิงใด ก็ไม่ทราบเช่นกัน แต่..
มีลูก 4 คน ทราบประวัติ แค่ 2 ท่าน
ลูกชายคนแรก ชื่อ นายทูล หรือ พระพิชัยนครบวรวุฒิ
ลูกชายคนที่สาม ชื่อ แย้ม มีลูกชาย 1คน ชื่อนายเยี่ยม หรือ
หลวงบุรินทร์ภักดี(เยี่ยม ) ท่านนี้คือ " ต้นตระกูล แย้มศรี "
นายเยี่ยม แต่งงานกับ นางเซียม(สกุลเดิม ทัดศรี ญาติๆกัน)
กลายเป็นต้นตระกูล " แย้มศรี " สืบเชื้อสายพระยาสุรินทรืภักดีฯ
ซึ่งแตกออกไปอีกหลายนามสกุลในเมืองสุรินทร์
บทที่3
๐๐ลูกชายคนที่สาม ชื่อ นายเม็งหรือพระสุนทรภักดี แต่งงานกับ นางเติง
มีลูก 7 คน ชาย 5 คน หญิง 2 คน
ลูกชายคนแรกชื่อ นายเภา ไม่มีลูกสืบสกุล
ลูกสาวคนรอง ชื่อ งา แต่งงานกับ พระพล เกิด สายสกุล " สุภิมารส "
ลูกชายคนที่สาม ชื่อ ยังท่าน มีเมียหลายคน ต้นตระกูล " สุบินยัง "
นายยัง เป็น บิดาของนายทัดเป็นปู่นายพลอย ต้นตระกูล " ทัดศรี "
และนายยัง ก็เป็นปู่ทวดของหลวงปู่เวียน วัดหนองบัว
ลูกคนที่4 5 6 7 ไม่ทราบข้อมูล
บทที่ 4
๐๐ ลูกชายคนที่4 ชื่อ นายมาลย์ หรือ พระกุมาลย์มนตรี
นายมลาย์ แต่งงานกับ นางสุมณฑา ลูกสาวเจ้าเมืองร้อยเอ็ด
มีลูก 5 คน หญิง 3 คน ชาย 2 คน
คนแรกชื่อ หลวงรักษ์เมธา ต้นตระกูล " นิลพัฒน์ "
ลูกสาวคนที่2 ชื่อ นางศรี แต่งงานกับลูกชายเจ้าเมืองสังขะ
ลูกชายที่3 ตาย ลูกสาวคนที่4 ชื่อนางเทวี แต่งงานกับ นาย นิล
ลูกข้าหลวง บ้านสดอ-เขวาฯ เป็นต้นตระกูล " สุกิมานิล "
ลูกสาวคนที่5 แต่งงานกับ พระสามิภักดิภูพาน มีลูกเลี้ยง2คน
บทที่ 5
๐๐ลูกชายคนที่5 ชื่อ ม่วง หรือพระพิชัยราชวงศา ต่อมา
นายม่วง เป็น เจ้าเมืองสุรินทร์ คนที่5 ต่อจากนายสุ่น บิดา
ได้บรรดาศักดิ์ เป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์( ม่วง )
ในปีพศ 2411 นายม่วงเจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่5มีเมียเกิน2คน
๐เมียคนแรกชื่อนางสม ไม่ทราบที่มา มีลูกด้วยกัน 2คน
ลูกชายคนแรกชื่อ ปรางค์ หรือ หลวงบุรินทร์บุรีรักษ์ ต่อมาเป็น
พระสุรพินมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินนคร-ลำดวน
ลูกชายคนที่สองชื่อ นายนิ่ม หรือ พระอนุรักษ์ภักดี มีลูกชายชื่อ นาย เยียบ ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ท่านที่ 6
๐เมียคนที่2 ชื่อนางสม มีลูกชาย3คน เป็นต้นตระกูล " สุนทรชัย "
๐เมียอีกคนชื่อ นางคำ เป็นคนบ้านไพรขลา ท่าตูม ไม่มีลูก
บทที่ 6
๐๐ลูกชายคนที่6 ชื่อ นายบุญนาก หรือหลวงนริรทร์ราชวงศา
ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระไชยณรงค์ภักดี เป็นปลัดเมือง
และก็เลื่อนเป็น เจ้าเมืองสุรินทร์ ท่านที่7 ในปีพศ,2434
เป็นเจ้าเมืองเพียงแค่2 ปี ท่านนี้ เป็นต้นตระกูล " กนกนาก "
นายบุญนาก มีลูกชายคนเดียว คือ นายตุ้มทอง กนกนาก ต่อมา
เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ หลวงประเสริฐสุรินทร์บาล เจ้าเมืองสุรินทร์
ท่านสุดท้ายในลำดับที่ 10 ต้นตระกูล " กนกนาก "
บทที่ 7
๐๐ลูกชายคนที่7 ชื่อนายแก้ว ได้แต่งงานกับ นางศรี คนสุวรรณภูมิ
มีลูกชาย 3คน ลูกชายคนแรกชื่อ นายพรหม หรือ พระสุรินทร์บริรักษ์
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าเมือง นายพรหม จึงเป็นต้นตระกูล " รัตนสูรย์ "
(รัตน แปลว่า แก้ว พ่อ และ สูรย์ คือ สุ่น ปู่ )
ลูกชายคนที่2 ชื่อ นาย สุวรรณ ไม่มีลูกสืบสกุล
ลูกชายคนที่3 ชื่อ นาย ผึ้ง รัตนสูรย์ เป็นชาวสุรินทร์บุคคลหนึ่งที่ร่วมบริจาคที่ดินสร้างทางรถไฟ สถานีรถไฟเมืองสุรินทร์
บทที่ 8
๐๐ลูกชายคนที่8 ชื่อ นายตง หรือ พระพิทักษ์สุนทร นายตง แต่งงาน
กับนางจันทร์ มีลูก 3คน เป็นหญิง1 คน ชาย 2 คน
ลูกสาวคนแรกชื่อ นางเทศ แต่งงานกับนายแก้ว คนบ้านเขวาสินรินทร์
นางเทศ มีลูก 8 คน ชาย4 คน หญิง4 คน
๐ลูกสาวคนที่3ของนางเทศ ชื่อนางมากแต่งงานกับนายแผน บ้านสดอ
นายแผน เป็นพ่อของ ขุนมูลศาสตร์สาธร (บิดา ท่านปลัดพิศาล )
นายแผน เป็นพ่อของ นายแผ้ว มูลศาสตร์( บิดา ท่านผู้ว่า เสนอ )
๐ลูกชายคนที่ 8 คนสุดท้าย ของนางเทศ คือ ขุนรักษ์รัษฎากร " ไมยรัตน์ "
(ผมเข้าใจว่าท่านเป็น ผู้แทนราษฎร ส.ส. คนแรกของสุรินทร์ 2475 )
๐ส่วนลูกชายคนที่2ของ นายตง กับนางจันทร์ ชื่อ นายเปรียม ต่อมาเป็น
พระประสิทธิ์สุรินทร์การ อยู่ภายใต้ สายสกุล " สุนทรารักษ์ "
ลูกชายคนที่ 3 ชื่อ เปรม หรือ หลวงตรีวงศา ก็ใช้สกุล " สุนทรารักษ์ "
นายตง พระพิทักษ์สุนทร ต้นสกุล " สุนทรารักษ์
บทส่งท้าย..
นายสุ่น และ นางดาม มีลูก 8 คน ลูกๆแต่ละคนก็เป็นต้นสาย ต้นทาง
ของนามสกุลที่ใช้กันในเมืองสุรินทร์ นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ
นายสุ่น ยังเมียอีกคนชื่อ นางจันทร มีลูก 4 คน มีหลานชายคนหนึ่ง
ชื่อ นายกาญจน์ บิดา คุณตาเหลื่อม พันฤกษ์ ต้นตระกูล " พันธ์ฤกษ์"
และก็มี สายสกุลอีกมาก เช่นสายสกุล ของนายมี เจ้าเมืองคนที่3
หรือนายสอน น้องชายคนที่6 ของนายสุ่น ก็มีลูกชายเป็นเจ้าเมืองคนที่ 8
พระยาจรัณ " ต้นตระกูล จรัณยานนท์ "
หรือ เจ้าเมืองคนที่9 นาย บุญจันทร์ เป็นเหลน นายมี เจ้าเมืองคนที่3
มีลูกชายชื่อ พรหม มีหลาน ชื่อบุตร มี เหลนเป็นเจ้าเมืองคนที่ 9
เป็นต้นตระกูล " พรหมบุตร "
บทที่..แถมให้ครับ
๐๐นาง สมุทร ลูกสาวคนที่2 ของนายสุ่นเจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 4
กับนางจันทร์ ได้แต่งงานกับ พระพิชัยธานี (รักษ์คิด) มีลูก3คน
๐ลูกสาวคนโตชื่อ นางเมียน ได้แต่งงานกับ นายภู ต้นสกุล " ภูทอง "
นายภู มีลูกชายชื่อดุล ภูทอง แต่งงานกับ ทวดแม้น (เดิม พรหมบุตร)
น้องสาวทวดแม้น คือทวดนูร แต่งงานกับทวดกาญจน์ ตระกูล"พันธ์ฤกษ์"
ลูกสาวคนที่2ของนางแม้น ชื่อยายเผือ ออกเรื่อนกับ ตาสูน ตระกูล
" ยินดีงาม " หลานขุนบรรเทา ยินดีงาม มีบ้านอยู่คุ้มโคกสูงหน้าตลาด
ยายเผือ มีลูกสาวคนเดียว คือคุณแม่ของผม ครู สดใส ศิวะสมบูรณ์
๐ลูกชายคนที่ 2 3 นายคิด นายนึก ต้นตระกูล " รักษ์คิด "
กลุ่มสายตระกูล พรหมบุตร พันธ์ฤกษ์ รักษ์คิด รัตนสูรย์ ภูทอง
สร้างบ้านเรือน บนเนิน วัดบูรพาราม เป็นญาติกันเกือบทั้งนั้นครับ
ขอบคุณข้อมูล จากครอบครัว คุณยายภัทรา (ยายเชียน) ทัดศรี
ขอบคุณข้อมูลจาก: ที่นี้ อ.ปราสาท,เรื่องเล่า ในวงเหล้า,http://surin108.com/web/?p=9561