วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สาเหตุของการเกิดกบฎสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๓

ขอบคุณภาพ:https://khampoua.wordpress.com/tag/chao-anouvong/
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ให้กลุ่มชาวกูยเป็นข้าไพร่แผ่นดินสยาม ได้ถูกเกณฑ์แรงงานและจัดส่งส่วย ให้แก่ทางราชการอยู่โดยตลอด ในสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเกณฑ์แรงงานกูยในเขตอีสานใต้ ( เขมรป่าดง ) เริ่มประสบความยุ่งยากเพราะหนุ่มฉกรรจ์ชาวกูย มักหลบหนีการเกณฑ์ บางครั้งถึงกับซุ่มโจมตีทำร้ายเจ้าพนักงานแล้วหนีเข้าป่า และมีชาวกูยได้ก่อการกบฏขึ้น ดังเช่นกบฏเชียงแก้ว พ.ศ. ๒๓๓๔ ได้เกิดเหตุในแขวงเขตจำปาศักดิ์ และในเขตหัวเมืองต่างๆในอุบลราชธานี กบฏสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๓ เป็นกบฏของข่า ( กูย ) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลาวใต้ และบริเวณอีสานใต้ ทางกรุงเทพฯ ได้ให้เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองเวียงจันทร์ ยกทัพไปปราบ และได้จับสาเกียดโง้งและชาวข่า ( กูย ) พร้อมทั้งครอบครัวจำนวนมากส่งมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้จำสาเกียดโง้งไว้ตลอดชีวิต ส่วนครอบครัวกูยโปรดให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ตั้งบ้านเรือนที่บางบอนธนบุรี กูยเคยมีจำนวนถึง ๓๐๐,๐๐๐ คน ถูกลดจำนวนลงเหลือเพียงไม่กี่พันคน เมื่อรัฐไทยได้เข้าไปทำการจัดเก็บภาษีในบริเวณอีสานใต้ โดยมีการพัฒนาจัดเก็บภาษีเป็นควาย ซึ่งนอกเหนือจากภาษีของคนป่า เพื่อนำส่งไปยังกรุงเทพฯ เช่นปี พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่เมืองสุรินทร์ ได้จัดส่งควาย ๖๑ ตัว เมืองรัตนบุรี ๑๖๓ ตัว และกองพระยาภักดีชุมพลเมืองสุรินทร์ ๓๒ ตัว การจัดเก็บได้ทวีเพิ่มความรุนแรงขึ้น เมื่อชาวกูยไม่มีสิ่งของเป็นส่วยให้กับทางราชการ และพอถึงปลายรัชกาลที่ ๔ ก็เข้ารอบวิกฤตอีกคือ กูยไม่มีส่วยสิ่งของส่ง จึงเอาตัวคนกูยส่งส่วยแทน ล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เกิดกบฏผีบุญขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ยกบฏกับฝ่ายรัฐบาลสะพือ ( ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตระกาลพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ) หัวหน้าฝ่ายกบฏคือ องค์ลูกน้องขององค์แก้ว หัวหน้าพวกข่า ( กูย ) ในลาว องค์มั่น มีชาวบ้านเข้าด้วยหลายพันคน เมื่อปะทะกับกองกำลังประมาณ ๑๐๐ คน ของกรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงสำเร็จราชการอีสานในวันที่ ๔ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๒ ( พ.ศ. ๒๔๔๕ ) ที่บ้านสะพือ องค์มั่นก็สั่งให้พรรคพวกนั่งลง ภาวนาเอาบารมีบุญกุศลเป็นที่พึ่ง จะแคล้วคลาดจากกระสุนปืนใหญ่ ปรากฏว่าฝ่ายผู้มีบุญถูกกระสุนปืนใหญ่ตายนับร้อย ที่เหลือถูกจับหรือแตกหนีไป เมื่อพิจารณาสาเหตุการเกิดกบฏ ถ้ามองการปกครองรัฐบาลไทย ซึ่งนำเอาอย่างประเทศอาณานิคม คือ อังกฤษ ด้านวัฒนธรรมไม่เอาใจใส่ หรือไม่สนใจกับรากฐานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ตนเข้าไปปกครองขณะเดียวกันก็มี ความพยายามที่จะกดดันวัฒนธรรมเดิมให้อ่อนด้อยลงพร้อมกับการนำเอาวัฒนธรรม ใหม่เข้าไปแทน ปัจจัยดังกล่าวน่าจะมีผลกระทบต่อชาวกูยเพราะสอดคล้องกับผลการสำรวจของ เอเจียน แอมอนิเย ที่กล่าวว่า ชนเผ่ากูยเป็นเผ่าที่ยากจนที่สุด ไม่มีไร่นาจะเพาะปลูก เขามีเพียงไร่ผืนเล็กๆกลางป่าเพื่อปลูกข้าว ต่อมาฝรั่งได้ขยายอำนาจสู่บริเวณอินโดจีน รัฐไทยมีนโยบายเพื่อความมั่นคง โดนเฉพาะชายแดนในอีสานตอนใต้ที่มีชนชาติกูยได้ถูกผนวกเข้ากับรัฐไทย ได้เปลี่ยนสัญชาติกูยเป็นไทย การสำรวจสำมะโนครัว หรือ หากมีราษฎรติดต่อราชการที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ทางราชการให้ปฏิบัติโดดยกรอกใน ช่องสัญชาติว่าไทย บังคับห้ามมิให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ชาติส่วย(กูย) ผู้ไทย ดังที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อนเด็ดขาด อาจกล่าวได้ว่าประวัติชนชาติกูย มีบทบาทสำคัญยิ่งในบริเวณอีสานตอนใต้ ลาวใต้และกัมพูชาตอนบน (ตะวันออกเฉียงเหนือทะเลสาบเขมร) มีความเป็นมาและได้มีการพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ผสมกลมกลืนกับชาว กัมพูชา ลาวและไทยตลอดมาโดยเฉพาะกับชนชาติไทยปัจจุบัน ชาวกูยมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บางอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ บ้านสะเดาหวาน อำเภอพยัคฆ์ภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และบางอำเภอในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
ถิ่นฐานของชาวกูยในประเทศไทย
เนื่องจากชาวกูยตั้งถิ่นฐานปะปนกันอยู่กับชาวเขมรสูงและชาวลาว จึงมีการติต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกันตามวิสัย และทำให้ชาวกูยกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเขมรสูงและวัฒนธรรมลาว ดังจะเห็นได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองสุรินทร์ใหม่ๆนั้นมีคนกูยทั้งเมือง ชาวเขมรสูงมีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่นานเข้าวัฒนธรรมของเขมรสูงก็ค่อยๆเข้ามามีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมของชาวกู ย ชาวกูยจึงถูกกลืนเข้าไปเป็นคนเขมรเกทอบหมด ( ประเสริฐ ศรีวิเศษ ๒๕๒๑ ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ จังหวัดศรีสะเกษยังเป็นเมืองที่มีชาวกูยอยู่กันทั้งเมืองมีพวกลาวเวียง ( สาขาเวียงจันทร์ ) ปะปนอยู่บ้างบางหมู่บ้าน แต่วัฒนธรรมของลาวได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือชาวกูย จึงทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม ชาวกูยที่นี่พูดภาษาลาวด้วยสำเนียงส่วยโดยสามารถใช้สะระเอือได้ ในขณะที่ภาษาลาวเวียงเดิมมีแต่สระเอีย ร่องรอยที่แสดงว่าศรีสะเกษเดิมเป็นเมืองที่ชาวกูยอาศัยอยู่กันทั้งเมืองก็ คือตัวเลขสำมะโนครัวสมัยนั้นและการเรียกขานชาวศรีสะเกษว่า “ส่วยศรีสะเกษ” อยู่จนทุกวันนี้ ( จิตร ภูมิศักดิ์ ๒๕๒๔ ) ปัจจุบันชาวกูยอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างแม่น้ำมูลกับเทือกเขาพนมดง รัก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ จนถึงอุบลราชธานี เชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็นเส้นทางอพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศลาวสู่ประเทศ ไทยและยังเชื่อกันว่า ชาวกูยที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นชาวกูยที่ตกค้างอยู่ตั้งแต่ครั้งอพยพ มาจากลาว ( ประเสริฐ ศรีวิเศษ ๒๕๒๑ ) ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชาวกูยส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษและมีการอพยพโยกย้ายข้ามอำเภอ หมู่บ้านชาวกูยแต่ละหมู่บ้านมาจากที่เดียวกันทั้งหมู่บ้านหรือมาจากหลายที่มา อาศัยด้วยกัน นอกจากนี้ยังพบผู้พูดภาษากูยในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และที่บ้านหนองบัว ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พูดภาษาเขมรอาศัยอยู่เช่นกัน ชาวกูยที่นี่เรียกตัวเองว่า “กวย”
ขอบคุณ;https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://human.msu.ac.th/husoc/doc/doc_research/001.pdf&ved=0ahUKEwjOx8GugavPAhWItI8KHR1FB_M4FBAWCBowAQ&usg=AFQjCNHsdVhXuGCvLTtGjNG-w1Zxbtx29A&sig2=e-sOMFNLmmbfPSlMoh3nUQ

ไม่มีความคิดเห็น: