วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ข่า,กูย,กูยบรู ในจ.อุบลราชธานี


ข่า,กูย,กูยบรู ในจ.อุบลราชธานี    
ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานียังคงมีชนเผ่าพื้นเมืองเดิมในสายวัฒนธรรมมอญ-เขมร คือ ชนเผ่าข่า (บรู)   ชาวอีสานเรียกพวกที่อยู่ในป่าและใกล้ภูเขาว่า "ข่า" เป็นคำเรียกรวมๆ แต่เขาเรียกตนเองว่า "บลู" หรือ "บรู" ซึ่งแปลว่าภูเขา หรือคนที่อยู่ในป่าใกล้เขานั่นเอง ชนกลุ่มนี้มักอาศัยอยู่ตามป่าเขา ตามแนวริ่มฝั่งแม่น้ำโขงทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว  มีภาษาบรูเป็นภาษาพูดของตน (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 17)
ชาวบรูเป็นชนเผ่าที่อพยพเข้ามาจากประเทศลาว  และมีชาวส่วยส่วนน้อยอาศัยอยู่ด้วยกัน  ทั้งนี้อพยพมาจากบ้านหนองเม็ก  (ชาวป่าที่อพยพเร่ร่อน ทำไร่  และเลี้ยงสัตว์ตามป่าเขา  ที่สูง ) บ้านลาดเสือ  (ชาวที่ราบอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำโขง) และบ้านเวินขัน (บ้านใหม่ตั้งระหว่างสองหมู่บ้าน)    เนื่องจากถูกกดขี่และให้ทำงานหนัก อีกทั้งยังต้องเสียภาษีให้ฝรั่งเศส จึงอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ทางฝั่งไทยตามริมแม่น้ำโขง เช่น ที่บ้านเวินบึก บ้านท่าล้ง และบ้านหนองครก อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ ตอนแรกอพยพมาอยู่ที่บ้านท่าล้งที่ขึ้นไปทางเหนือ  และบ้านหินครก (บริเวณทางเข้าหมู่บ้านเวินบึกในปัจจุบัน) แต่เนื่องจากมีกรณีลักขโมยวัวควายของชาวบ้าน  ทางราชการจึงให้ราษฎรบริเวณบ้านหินครก  มาตั้งหมู่บ้านใหม่ที่บ้านเวินบึก

ซิ่นจก ของไทข่า หรือ มอย ในลาวเหนือและเวียดนาม
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/

ชนเผ่าบรูหรือข่านี้  นับถือผีสาง มีทั้งผีประจำตัว ประจำครอบครัว  ประจำตระกูล  ประจำคุ้ม และประจำหมู่บ้าน  ซึ่งความสำคัญลดหลั่นตามฐานะของผี  เป็นเผ่าที่จารีตแปลกไปจากกลุ่มอื่น  เช่น ถ้ามีลูกชายเมื่อไปขอหญิงแต่งงานเป็นสะใภ้  ย่อมไม่ให้สะใภ้ขึ้นบนบ้านของย่า (แม่ของสามี)ตลอดชีวิต  ทั้งไม่ให้ใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน  เช่น กระจก หวี น้ำมันแต่งผม แป้ง ฯลฯ นอกจากนั้นความเชื่อทางไสยศาสตร์เกี่ยวกับภูติผีประจำตัว  และบ้านมีบันได 2 ทาง คือ  ขึ้นด้านหนึ่งแล้วไปลงอีกด้านหนึ่ง  ส่วนการไปแอ่วสาวบนบ้านของสาว  หากขึ้นบันไดไม่ถูกด้านแล้ว  อาจต้องทนคุยกับพ่อแม่ของสาวตลอดคืนแทนที่จะได้คุยกับสาวตามปรารถนาเป็นต้น (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 286 ; ศูนย์ข้อมูลสำนักศิลปะและวัฒนธรรมอำเภอราชธานี)

บรู เป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย มีเฉพาะใน จ.อุบลราชธานี และเป็นชื่อเรียกภาษาอีกด้วย
ข่าบรู มิใช่ข่า แต่เป็นกูยกลุ่มหนึ่ง
บรู หรือข่าบรู  ถ้าเอาจริงๆ แล้ว 
เป็นกูยกลุ่มหนึ่งชาวบรูจริงๆไม่ใช่ข่า
ถ้าจะเรียกให้ถูก ควรเรียกว่า "กวยมะไฮ"
คนบรูถือว่าตัวเองมาสถานะสูงกว่าพวกข่าทั่วไปไม่ว่าจะเป็นข่าระแงะ ข้ากระเซ็ง
บรู อยู่ ในคนกูย 5 กลุ่มของไทยครับ ซึ่งมีดังนี้
1.กวยมะไฮ(บรู)
2.กูยมลอ
3.กวยมะลั่ว
4.กูยอาจีง(กูยช้าง)

5.กูยเยอ(คนเยอ)

ภาษาบรูจัดอยู่ในกลุ่มมอญ-เขมรเช่นเดียวกับภาษากูย (หรือส่วย) ดังนั้น ภาษาบรูจึงคล้ายกับส่วยหรือ
กูยมาก โดยเฉพาะศัพท์ต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้เหมือนกันแต่แตกต่างกันในการผสมคำ (ม.มหิดลกับสถาบันราชภัฎอุบลราชธานีได้ศึกษาไว้)  
ภาษาบรูมีเฉพาะภาษาพูดเท่านั้น  ไม่มีภาษาเขียน  การออกเสียงเป็นลักษณะเฉพาะเช่น “ร” นิยมออกเสียงในระดับต่ำกว่า ร ภาษาไทย  ตัวพยัญชนะ “ต”และ “ท”  ใช้ร่วมกันเพียงตัวเดียวโดยออกเสียงเป็นเสียงกลางๆระหว่างพยัญชนะทั้งสองเช่นเดียวกับ “ก”และ “ค” เป็นต้น  เช่น
ศรีษะ (เปรอ)         ฟัน (กะแนง)            ตา (มั๊ด)            เท้า (อาเยิง)
มือ (อาเตย)          ปาก (แป๊ะ)              ควาย (ตะเรี๊ยะ)     หมู (อะลี้)
คนลาว (เลียว)        เกลือ (บอย)            น้ำ (เด่อะ)          ข้าว (โด็ย)
ข้าวเหนียว (โด๊ยดิ๊บ)  ข้าวจ้าว (โด๊ยกะซาย)   เรือ (ทั๊วะ)          ฯลฯ
ส่วนการนับเลข  ไม่มีเลข 0 ในการนับ เช่น
1 (มวย)          2 (บารร)               3 (ไป)                4 (โปน)
5 (เซิง)           6 (ตะปรั๊ด)            7 (ตะปูลล)            8 (ตะกวลล)
9 (ตะเก๊ะ)        10 (มันจิ๊ด)            11 (มันจิ๊ดละมวย)    12 (มันจิ๊ดละบารร)
20 (บารรละจิ๊ด)  21 (บารรจิ๊ดละมวย)   22 (บารรจิ๊ดละบารร) 100 (มวยกะแซ)
1,000 (มันจิ๊ดกะแซ)      10,000 (มันจิ๊ดมันจิ๊ดกะแซ)
ภาษาบรูนับวันจะสูญสลายไปด้วยเหตุที่เด็กรุ่นใหม่นิยมพูดภาษาไทยอีสาน (สำเนียงลาวอุบลราชธานี) ปัจจุบันเหลือหมู่บ้านที่พูดภาษาบรูอยู่ 2 แห่งคือ บ้านท่าล้ง หมู่ 5 ต.ห้วยไผ่ และบ้านเวินบึก หมู่ที่ 8 ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม
ขอบคุณ : http://www.klonthaiclub.com/index.php?topic=19784.0
14 พ.ย. 2006 10:55น.

2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ไม่ใช่คนบรู เป็นชาวอุบลที่ชอบศึกษา เป็นอยากรู้คำศัพท์ หรือตัวอย่างประโยคเพิ่มอีกครับ

sungkreeb watanarat กล่าวว่า...

www.garpin1961.wordpress.com