วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวัติ ชนเผ่าชาวข่า หรือ บรู จังหวัดมุกดาหาร

ประวัติ ชนเผ่าชาวข่า หรือ บรู จังหวัดมุกดาหาร

ข่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร ชาวข่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาลวัน และแขวงอัตปือ ของลาว ซึ่งเมื่อร้อยปีก่อน (ก่อน พ.ศ. 2436) ยังเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทยชาวข่า อพยพมาตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นส่วนมาก
นักมานุษยวิทยาถือว่า ชาวข่าเป็นชนเผ่าหนึ่งในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งอาจสืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณ ซึ่งเคยอยู่ในดินแดนของอาณาจักรเจนละซึ่งต่อมาเป็นอาณาจักรขอมและอาณาจักรศรีโคตรบรูณ์ซึ่งขอมเคยมีอิทธิพลครอบคลุมขึ้นมาถึงแล้วเสื่อมอำนาจลง ซึ่งพวกข่าอยู่ในตระกูลเดียวกับขอมและมอญเขมร

ภาพจาก:http://www.isangate.com/isan/paothai_ka_bru.html

      ภาษาข่า เป็นภาษาในตระกูล ออสโตรอาเซียติค สาขามอญ เขมร กลุ่ม กะตู ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับภาษากูย ชาวข่ายังแบ่งแยกกันอีก เป็นหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ข่าย่าเหิน ข่าบริเวณ ข่าสุ ข่าตะโอย ข่าสอก ข่าสปวน ฯลฯ
เป็นต้น  ชาวข่า มิได้เรียกตัวเองว่า ข่า แต่เรียกตัวเองว่าเป็น พวกบรู ซึ่งแปลว่า ภูเขา คำว่า ข่า เป็นชื่อที่ชาวอีสาน เรียกขานชาวบรู
    คำว่า ข่า อาจจะมาจากคำว่าข้าทาส ซึ่งชาวอีสานชอบเรียก
ชาวข้าทาสว่า ข่า หรือ ข่อย ซึ่งหมายถึง ข้า หรือ ทาส แต่ชอบออกเสียงไม้โทเป็นไม้เอกคือคำว่า ข้าเป็น ข่าเพราะว่าในอดีตชาวไทยในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ชอบไปจับ เอาชาวข่า(บรู)ตามป่าดงมาเป็นข้าทาส  ในสมัยรัชกาลที่ 5จึงประกาศห้ามมิให้
ไปจับพวกข่ามาเป็นข้าทาสอีกส่วนในประเทศเวียดนามเรียกพวกข่า ว่า พวกมอย (MOI)

ชาวไทยข่า ( บรู )
    ชาวข่าในสมัยโบราณเคยมีประวัติว่ามี ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สูงส่งมาก่อน มีความรอบรู้ในการประดิษฐ์ของใช้ในการดำรงชีวิต เช่น การปั้นไห การหล่อโลหะ (กลองมโหระทึก) การนำหินมากรอฟัน ให้ราบเรียบสวยงาม มีมาก่อนเครื่องมือทันตแพทย์สมัยนี้เสียอีก อันเป็นเอกลักษณ์ของพวกข่า
 ชาวข่าดั้งเดิมมักจะมีผิวกายดำคล้ำ ผมหยิกทั้งหญิงและชาย ผู้ชายแต่งกายด้วยการนุ่งผ้าเตี่ยวมีผมม้ายาว ประบ่าและนิยมใช้ผ้าแดงผูกคล้องคอหรือโพกศรีษะเป็นเอกลักษณ์ตามประวัติเล่าว่า เนื่องจากบรรพบุรุษของชาวข่าได้ใช้ผ้าชุบเลือดสีแดงแนบติดกายไว้ก่อนสิ้นชีวิตในการต่อสู้แย่งชิงถิ่นที่อยู่ กับชาวผู้ไทยในอดีต ในดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พวกข่าจึงถือว่าผ้าแดงเป็นเอกลักษณ์ของเขา ส่วนผู้หญิงนิยมแต่งกายด้วยการนุ่งผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้าแต่เปลือยอกท่อนบน
ผู้ชายข่าเคยมีประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ มีหน้าไม้พร้อมลูกดอกอาบยาพิษยางหน่อง
(ยางไม้ที่มียาพิษรสชาติขม) เป็นอาวุธประจำกาย แม้ในสมัยที่ดินแดนลาวยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่ ทหารข่าของฝรั่งเศสบางหน่วยยังนิยมใช้หน้าไม้เป็นอาวุธอยู่ ปัจจุบันในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวันและแขวงอัตปือ ของลาว ก็ยังมีข้ารัฐการที่เป็นพวกข่ารับราชการอยู่ในตำแหน่งสูง ๆ อยู่ไม่น้อยใน
จังหวัดมุกดาหาร
เขตอำเภอเมืองมุกดาหาร ยังมีชาวไทยเชื้อสายข่า อยู่ที่บ้านพังคอง บ้านนาเสือหลาย และบ้านหนองยาง
ในท้องที่อำเภอดอนตาล มีชาวไทยเชื้อสายข่าอยู่ที่บ้านบาก
 ในท้องที่อำเภอดงหลวงมีชาวไทยเชื้อสายข่าอยู่ที่ ตำบลกกตูม บ้านสานแว้ บ้านคำผักกูด บ้านโคกกุง บ้านปากช่อง บ้านหินกอง ซึ่งในเขตภูพานต่อเขตกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัด สกลนคร จนมีคำกล่าวในอดีตว่า บ้านคำผักแพว แปวป่องฟ้า
พาเซโต โซไม้แก่น แท่นหินลับ ซับห้วยแข้ แง้หอยมะบาน ด่านสามหัวขัว น้ำบ่อบุ้น ยางสามต้น อ้นสามขุย
ซึ่งปัจจุบันเป็นนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ที่อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ได้อพยพพวกไทยข่า (บรู) จากภูพาน ซึ่งเป็นรอยต่อ 4 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร จำนวน หลายร้อยครอบครัว ไปอยู่ที่ หมู่บ้านร่มเกล้า ของนิคมสร้างตนเองคำสร้อยโดยได้จัดสรรที่ดินให้ทำกินและปลูกบ้านเรือนให้เป็นหมู่บ้านชาวไทยข่าตลอดทั้งได้ช่วยเหลือให้ราษฏรเหล่านี้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านที่เท่าเทียมกับหมู่บ้านอื่น ๆ
  วิถีชีวิตและอุปนิสัย ชาวไทยข่าเป็นชนเผ่าที่ขยันขันแข็ง หมั่นเพียรสูง มีความอดทน มีภาษาพูดเป็นของตัวเอง
 ในอดีตนั้นภาษาของชาวไทยข่า ไม่มีโคลงเคล้าของภาษา อีสานปนอยู่เลย ชาวไทยข่านั้นเป็นชนเผ่าที่มีวิถีชิวิตที่เรียบง่าย ไม่ค่อยออกพบปะกับชาวตางถิ่นมากนัก ค่อนข้างจะเก็บตัวอยู่ในเผ่าของตัวเอง ไม่ค่อยไว้เนื้อเชื่อใครง่ายนักโดยเฉพาะคนแปลกหน้าจากต่างถิ่น แต่ถ้าคนไหนเป็นที่ไว้วางใจและเชื่อใจจากชาวไทยข่า ก็จะได้มิตรไมตรี และมิตรแท้ เหมือนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครับของชาวข่า และสามารถตายแทนกันได้ ฉะนั้นหากคนแปลกหน้าต่างถิ่นเข้าไปในชุมชนของชาวไทยข่า ถ้าต้องการมิตรแท้จากชนเผ่า จะต้องพกเอาความรักความจริงใจ เข้าพบปะกับชนเผ่าและจะได้ มิตรแท้ และไมตรีจิตกลับมาอย่างแน่นอน
  จารีตประเพณีของชาวข่า (บรู) การสู่ขอเพื่อขอแต่งงานต้องมีล่าม 4 คน(ชาย 2 หญิง 2)
เทียน4 เล่ม และเงินหนัก 5 บาท เมื่อแต่งงานต้องมีเหล้าอุ(เหล้าไห) 2 ไห ไก่ 2 ตัว ไข่ 8 ฟอง เงินหนัก 2 บาทหมู 1 ตัว และกำไรเงิน 1 คู่การทำผิดประเพณี (ผิดผี) เช่น
 ห้ามภรรยา เข้าห้องนอนก่อนผัว ห้ามลูกสะใภ้รับของจากพ่อผัวห้ามลูกเขยที่เข้าออกในบ้านออกจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง
ห้ามลูกเขยพกมีดหรือสวมหมวกเข้าบ้านพ่อตา หรือกินข้าวร่วมกับแม่ยาย การผิดจารีตประเพณี(ผิดผี)เช่นนี้ ลูกเขยต้องใช้เงิน 5 บาท หมู 1 ตัว ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่บุหรี่พื้นบ้านมวนด้วยใบตอง 2 มวนหมากพลู 2 คำ นำไปคารวะต่อผี (วิญญาณ)ของบรรพบุรุษที่มุมบ้านด้านตะวันออก หรือที่เตาไฟ
หากเป็นลูกสะใภ้ก็ต้องใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืน ผ้าซิ่น 1 ผืน ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่ หมากพลู2 คำ บุหรี่ใบตอง 2 มวน ไปคารวะ ต่อผีเช่นเดียวกัน

  จำนวนนับใกล้เคียงกับภาษากูยและโส้

                   เขมร           กูย,กวย         โส้              บรู

หนึ่ง             มวย                          มูย                     มวย                 มวย                             
สอง              ปีร                           เบีย                   บาล                บารร
สาม            เบ็ย                            ปัย                    ปัย                   ปัย
สี่                  บวน                       ปอน                    ปูน                  โปน
ห้า            ปรัม                           เซิง                      ซืง                  เซิง 
หก            ปรัม มวย                  ตะผัด                                       ตะปรั๊ด
เจ็ด            ปรัม ปี                      ตะโผล                                     ตะปูล
แปด            ปรัม เบ็ย                 ตะขวล                                      ตะกวล
เก้า           ปรัม บวน                  ตะแข่ะ                                     ตะเก๊ะ
สิบ           ด๊อบ                           เจิ้ด                                         มันจิ้ด
สิบเอ็ด       ด๊อบมวย                  เจิ้ดมูย                                    มันจิ้ดละมวย
ยี่สิบ            มะพึย                     เฉียว                       
ยี่สิบสอง                                                                                    มันจิ้ดละบาร
หนึ่งร้อย     มะโรย                      มูยหรวย                                  มวยกะแซ
หนึ่งพัน       มะปวน                    มูยผัน                                     มันจิ้ดกะแซ
                                                                                              ขอบคุณ:http://www.hellomukdahan.com/thaikha/thailand-mukdahan-thai-kha-tribe-history-01.php

ไม่มีความคิดเห็น: