วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ชาติพันธุ์บรู อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ชาติพันธุ์บรู อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ชนเผ่าบรู กับ ชนเผ่าโซ่  มีถิ่นที่อยู่เดิมใกล้เคียงกันแต่ไม่ใช่เผ่าเดียวกัน
ชาวบรู  เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มมองโกลอยด์  จัดอยู่ในตระกูลออสโตร-เอเชียติค  มอญ-เขมร  เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาภูพาน  บ้านหินแตก  บ้านคำแหว  ตำบลไร่  บ้านนาเลา  บ้านห้วนบุ่น   บ้านนาทัน  ตำบลนาใน  อำเภอพรรณนานิคม  บ้านหนองไฮน้อย  บ้านหนองไฮใหญ่  บ้านโคกสะอาด  ตำบลแร่  อำเภอพังโคน   จังหวัดสกลนคร  ชาวบรูมีการตั้งหมู่บ้านกระจายกันออกไปทั้งอยู่ที่ราบเชิงเขา  และสภาพหมู่บ้านบนเทือกเขาภูพาน  และอาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน
             
                         

   การแต่งกายแบบชาวบรู

ชาวบรู  เดิมอาศัยอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ  แขวงสะหวันนะเขต   ประเทศสาธารณรัฐ  ประชาธิปไตยประชาชนลาว  ในปัจจุบันนี้  ลาวได้แบ่งเขตการปกครองเป็นกำแพงนครเวียงจันทร์  แขวงหลวงทา  อุดมไช  บ่อแก้ว   หลวงพระบาง  หัวพัน  ไชยะบุรี   เชียงขวาง  เวียงจันทร์  บอลิคำไชย  คำม่วน  เซกอง   อัดตะปือ  จำปาสัก   สะหวันนะเขต  และเขตพิเศษไชยสมบูน  ชาวบรู  อำเภอพรรณนานิคม  อำเภอพังโคน  มีถิ่นฐานเดิมอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง   บริเวณเมืองวัง-อ่างคำ  การอพยพถิ่นฐานหน้าจะผ่านเมืองคันธบุรี  แขวงสะหวันเขต   แล้วข้ามแม่น้ำโขง  เข้าสู่ดินแดนฝั่งขวาของประเทศไทยที่จังหวัดมุกดาหาร  นครพนม  และจังหวัดสกลนคร   เดินทางผ่านเลาะเลียบชายขอบเทือกเขาภูพาน  ก่อนที่จะตั้งหลักปักฐานสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณชายเขื่อนน้ำอูน (ลำห้วยอูน)  ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารจนปัจจุบัน

การอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของชาวบรูจะมีผู้นำ  และบุคคลที่ให้ความเคารพนับถือเรียกว่า “จ้ำ”  เป็นผู้ที่มีบทบาทในการประกอบพิธีกรรมที่เป็นฮีต (จารีต)  และเป็นผู้นำพาชาวบ้านสร้างหอปู่ตา เพื่อให้ชาวบ้านได้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ  ภาพที่ชาวบรูจำลองพิธีกรรมน๋ชองอะร่วาย

กลุ่มชาวบรู  มีถิ่นฐานกำเนิดอยู่ลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  บริเวณแขวงสะหวันเขต  สาละวัน  และอัตตะปือ  เมื่อราว  ๑๑๕  ปี  ดินแดนบริเวณนี้เคยเป็นของชาวบรูมาก่อน  แล้วจึงได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทย  ชาวบรูตามคำเรียกของนักมานุษยวิทยา  เรียก ชาวบรูเป็นชาวข่า  กลุ่มชนดั้งเดิมในแถบลุ่มแม่น้ำโขง  สืบเชื้อสายมาจากลุ่มชาวขอม  ซึ่งกลุ่มชนขอมเคยอยู่ในบริเวณอาณาจักรเจนละมาก่อน   และชาวข่า  จะเรียกกลุ่มของตนเองว่า “บรู”

วิถีชีวิตชาวบรู

ชาวบรู  ดำรงชีวิตเรียบง่าย  มักน้อยสันโดษ   ชอบดำรงชีวิตอาศัยตามสภาพธรรมชาติซึ่งเป็นป่าเขา  แหล่งน้ำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย  มีอาชีพทำนา  ทำไร่   รับจ้าง  ทำงานหัตถกรรมพื้นบ้านสานเสื่อ  ทอผ้า  ชอบเลี้ยงวัว   เลี้ยงควาย  ไม่นิยมการซื้อขาย  ชอบการแลกเปลี่ยน  เช่น  นำสัตว์ป่า  หอย  หน่อไม้  เห็ด  ผักตาเปียก  ผักหวาน ฯลฯ   แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่ตนเองไม่มี  เช่น  ข้าว  เพราะส่วนมากที่นาทำกินมีน้อย  ผู้ชายชาวบรู  นิยมออกป่าล่าสัตว์  ลงน้ำหาปลา  ผู้หญิงจะอยู่บ้าน  มีความเชื่อเรื่อง  ภูตผี  วิญญาณ  และนับถือพระพุทธศาสนา  ในโลกปัจจุบันเริ่มออกสู่โลกภายนอกจากหมู่บ้าน  อำเภอ   จังหวัดและกรุงเทพฯ   เพื่อไปเรียนรู้โลกภายนอกตามความเจริญของโลก

ในปัจจุบัน  จารีตประเพณีหลายอย่างอยู่ในภาวะที่ใกล้จะสูญหาย  โดยเฉพาะพิธีกรรมศพและภาษา  เนื่องจากชาวบรูมีทัศนคติว่า  ภาษาบรูของตนมีสำเนียงลีลาการพูดไม่เหมือนกับภาษาของคนอื่น ๆ  คนอื่นฟังแล้วไม่เข้าใจ  ในขณะเดียวกันก็ถูกคนกลุ่มอื่นมองว่าเป็นข่า  โส้  ไม่ใช่บรู  เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกับโลกนอก  ปัจจุบันนี้สังคมกลุ่มชาวบรูจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกนิยม  จึงมิได้อยู่แต่ลำพังในกลุ่มตนฝ่ายเดียว  ชาวบรูสามารถที่จะอยู่ร่วมกันกับหมู่บ้านอื่น ๆ ได้  จึงสามารถจะพูดสื่อสารกับคนอื่น  มีการแต่งงานจึงมีการผสมผสานกลมกลืน

ในปัจจุบันภาษา  และวัฒนธรรมประเพณีชาวบรู  อยู่ในขั้นวิกฤติ  หากไม่อนุรักษ์  ส่งเสริมฟื้นฟูภาษา  และวัฒนธรรมของชาวบรู   อาจสูญหายไปได้  เนื่องจากไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเองคงมีไว้เพียงสำเนียงการพูดอยู่ในระดับหมู่บ้าน  และกลุ่มตนเองเท่านั้น

ขอบคุณ:http://www.oknation.net/blog/plardeakdee/2010/06/11/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น: