วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ชนชาติกูย

ประวัติความเป็นมาชนเผ่ากูย      
           ชนเผ่ากุยหรือส่วย กลุ่มคนชนเผ่าส่วย(กูย) ที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในบ้านเคาะโดยพื้นเพบรรพบุรุษของคนเผ่าส่วยสันนิษฐานว่า มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันตกของอีกหมู่บ้านหนึ่งชื่อหมู่บ้านตาฮีงซึ่ ง หมู่บ้านนี้มีชื่อเรียกเดิมว่า อาแดะ(บ้านหม้อ) ที่เรียกชื่อว่า อาแดะ เพราะผู้คนในหมู่บ้านโดยมากมีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาโดยส่วนมาก ( " แต่หมู่บ้านแห่งนี้ได้หายสาบสูญไปแล้ว") ซึ่งมีหลักฐานหลงเหลืออยู่บ้าง เป็นงานปั้นเครื่องปั้นดินเผ่าที่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงที่ทำเกษตรกรรมในบริเวณนั้นได้ขุดพบ
ประเพณีแห่นาคของชาวกูย

           ชาวกูย (Kui),  ชาวกูย  (Kui), กวย (Kuoy), ส่วย (Suay)  ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขากะตูอิค อพยพเข้าประเทศไทย ครั้งใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา (พ.ศ.๒๒๔๕-๒๓๒๖) ชาวกูยมีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกำปงธม ประเทศกัมพูชา ชาวกูย เคยเป็นรัฐอิสระ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เคยส่งทูตมาค้าขายกับอยุธยาและเคยช่วยกษัตริย์ เขมรปราบขบถ  ต่อมาเขมรได้ใช้อำนาจทางทหารปราบชาวกูย และผนวกอาณาจักรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเขมร ชาวกูยชอบการอพยพ เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก ชาวกูยอพยพขึ้นเหนือเข้าสู่เมืองอัตตะบือ-แสนแป จำปาศักดิ์ และปัจจุบันพบชาวกูยในจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ สาละวัน ทางตอนใต้ของลาวและอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสาน ทางด้าน แก่งสะพือ อ.โขงเจียม
            หลังจากนั้นลูกหลานชาวกูยแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน ชาวกูยที่อพยพมา มีหัวหน้าของตัวเอง คนไทยเรียกชาวกูยว่า “เขมรป่าดง” แต่ “ชาวกูย”เรียกเรียกตัวองว่า กุย หรือ โกย ซึ่งแปลว่า “คน”ส่วนคำว่า "ส่วย"นั้น ชาวกูยเองไม่ค่อยยอมรับชื่อนี้
            ปัจจุบันพบชาวกูยในจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษและ สุพรรณบุรี) ส่วนใหญ่ชาวกูยในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานปนอยู่กับชาวเขมรสูง และชาวลาวทำให้ชาวกูยถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เขมรสูงและลาว
ลักษณะบ้านของชาวกูย

             ลักษณะบ้านของชาวกูย  มีลักษณะใต้ถุนสูงด้านหน้าเอาไว้เลี้ยงช้าง ใต้ถุนใช้เป็นที่วางหูก ทอผ้าวางกระด้งไหม และวัสดุเครื่องใช้สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ ชาวกูยบางบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ติดตัวบ้านเป็นยุ้งข้าว บางบ้านสร้างแยกต่างหาก ชนเผ่ากูยจะเลือกตั้งบ้าน เรือนอยู่ตามไหล่เขาสูงที่มีน้ำห้วยไหลผ่าน ไม่นิยมอาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ลักษณะของบ้านเป็นเรือนแบบชั่วคราว ใช้วัสดุจากธรรมชาติ ยกพื้นสูงจากพื้นดินราว 1.0  –1.5 เมตร เสาเรือนมีขนาดเล็กทำด้วยไม้จริง มีห้องนอน 3 -4 ห้อง แยกห้องนอนชาย – หญิง สามี – ภรรยา จะนอนแยกกันคนละห้อง แต่จะมีประตูเปิดเชื่อมติดต่อกันได้หลังคาบ้านมุงด้วยใบหวาย ใบก้อหรือไม้เฮียะ (ไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง) มาสับเป็นฟากมุงหลังคา ฝาและพื้นบ้านทำด้วยฟาก ตัวเรือนมีประตูเข้า 1 ประตู ครัวไฟอยู่ในเรือนจะเก็บสิ่งของเครื่องใช้ไว้ในเรือน เบื้องหัวนอนมีหิ้งผีเรือน ซึ่งเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปเตะต้อง ถ้าฝ่าฝืนจะถือว่าผิดจารีตอย่างหนักจะต้องถูกปรับไหมและฆ่าหมูเซ่นเลี้ยงขอ ขมาผีเรือน
ขอบคุณ :http://num-gm51.blogspot.com/
              : http://www.gi.bru.ac.th/gis/dr/files/16/10.pdf
              :

ไม่มีความคิดเห็น: