วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีและวัฒนธรรมกูย

 ประเพณีและวัฒนธรรมกูย
     ชาวกุยเป็นเผ่าพันธุ์ ที่รักอิสระและชอบการผจญภัย ตามที่มีผู้กล่าวว่า.. “กองกำลังสุรินทร์ในอดตีจะประกอบ ไปด้วยกำลังพลที่เป็นกูยสุรินทร์ เขมรสุรินทร์ และลาวสุรินทร์ ทั้งสามสายเลือดอาจมีความแตกต่างกันบ้านโดย พื้น ฐานทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์วิทยา แต่ความแตกต่างดังกล่าว กลับกลายเป็นความหลากหลายของความเป็น สุ รินทร์ มีทั้งความชอบเสี่ยงตายอย่างเขมร ชอบอาสาอย่างลาว และความรักอิสระอย่างกูย ผสมผสานเป็นวัฒนธรรม ทางจิตใจของชาวสุรินทร์ที่มีให้เห็นโดดเด่นอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์เสมอ มา”(จากสุรินทร์ แหล่งอารยธรรมโบราณ) 
แกลมอ

    บรรพบุรุษชาวสุรินทร์สายนี้ คือ ผู้นำวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับช้างเข้าสู่บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนกลาง วัฒน ธรรมการเลี้ยงช้างเน้นคุณธรรมว่าด้วยการมีสัมมคารวะ การยึดมั่นใจข้อตกลงร่วมกัน การหลีกเลี่ยงพฤติกรรม สำส่อนทางเพศ ตลอดจนความเมตตาสงสารสัตว์ แม้จะดูว่าเต็มไปด้วยบทบัญญัติและข้อห้าม แต่ก็ล้วนเป็นข้อที่ ควรคำนึงถึงทั้งสิ้น ยึดเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ เป็นข้อห้ามเพื่อชีวิตและความอยู่รอด จึงไม่มีใครปฏิเสธหรือไม่เห็นคุณค่า วัฒนธรรมการเลี้ยงช้างอบรมให้คนสุรินทร์เป็นคนซื่อสัตย์ เสีย สละ รักเพื่อน รักธรรมชาติ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนเกินตัว สุรินทร์ไม่ได้มีเฉพาะชาวกูยเลี้ยงช้างเท่านั้น ในจำนวนประชากรชาวกูยด้วยกัน ชาวกูยที่เลี้ยงช้างมีสัดส่วน ไม่ถึงร้อยละ 10 นอกนั้นเป็นชาวกูยที่ทำนาทำสวน สตรีชาวกูยแทบจะไม่มีบทบาทในวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างเลย นอกจากการต้องถือ “ขะลำ” อย่างเคร่งครัดเวลาสามีออกป่าไปโพนช้างเท่านั้น ส่วนใหญ่จะมีทักษะอย่างสูงในการ ทอผ้าไหม เชื่อกันว่า สตรีชาวกูยแห่งเมืองสุรินทร์มีความสามารถในการทอผ้าไหมมัดหมี่ อย่างหาตัวจับยากทีเดียว ชายหรือเชิงผ้าซิ่นมัดหมี่อันปรมที่ขึ้นชื่อของชาวเขมรสุรินทร์ เป็นเพียงหนึ่งในหลายลายของผ้ามัดหมี่ของชาวกูย เท่านั้นเอง แต่เพราะวัฒนธรรมการครองชีวิตในสังคมกูยที่คลุกและแปดเปื้อนอยู่กับดิน ทำให้หญิงชาวกูยไม่นิยม แต่งตัวด้วยอาภรณ์และเครื่องประดับมีค่า 

แซนโฏนตา พิธีกรรมเซ่นไหว้ลำรึกบรรพบุรุษของชาวกูย,เขมร


ปัจจุบัน มีชาวกูยอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ไม่น้อยกว่า 400หมู่บ้านโดยกระจายอยู่ในแทบจะทุกอำเภอ กล่าว ได้ว่าจังหวัดสุรินทร์เป็นถิ่นที่มีชาวกูยอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทย และหากถือว่าชาวกูยเป็นชาติพันธุ์เก่าแก่ที่ สุดของโลกเผ่าหนึ่ง สุรินทร์ก็จะเป็นดินแดนที่มีชาติพันธุ์นี้อาศัยอยู่มากที่สุดในโลก


แซนโฏนตา

(เรียบเรียงจาก “สุรินทร์” แหล่งอารยธรรมโบราณ” และ “สุรินทร์ มรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย โดย ศรันย์ บุญประเสริฐ)

ที่ มา : “เสาวลักษณ์” . “ทำขวัญลูกช้าง” ศรัทธาอันศักดิ์สิทธิ์ของ กุย – อะจีง . หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันอาทิตย์ ที่ 23 กรกฎาคม 2543 หน้า 5

ไม่มีความคิดเห็น: