วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กูย สมัยกรุงธนบุรี- รัตนโกสินทร์

กูย สมัยกรุงธนบุรี

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี

เมื่อพุทธศักราช 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง

ภาพจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทร์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร ในปีพุทธศักราช 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี

ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชรรวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่างๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทร์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา ทั้ง 3 เมือง

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี

เมื่อพุทธศักราช 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง

ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทร์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร ในปีพุทธศักราช 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี

ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชรรวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่างๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทร์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา ทั้ง 3 เมือง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ภาพจาก www.dekguide.com

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2325 และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี

พุทธศักราช 2329 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในการเปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์ เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้า ให้เจ้าเมืองพิมาย แบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้

ทิศเหนือ จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ำมูล ถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก ถึงลำห้วยตะโคง หรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองขั้น และห้วยราช
ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนอยู่ในความปกครองของไทย เช่นบ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับเมืองสังขะ

พุทธศักราช 2337 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม

พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน ชื่อนายตี (แต็ย) และนายมี (แม็ย) เป็นหญิง 2 คน ชื่อนางน้อยและนางเงิน เมื่อพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม
ขอบคุณข้อมูล:http://goo.gl/74Hj2w

ไม่มีความคิดเห็น: