วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านม่วงหวาน–โคกเจริญ



ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านม่วงหวาน–โคกเจริญ


"ชีวิตของชาวบ้านที่นี่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง...โดยจะเน้นในเรื่องการใช้ชีวิต ทุกบ้านจะมีแปลงผักของตัวเอง จะเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา มีสระน้ำไว้ใช้ เรื่องอบายมุขก็มีน้อย"


ชุมชนบ้านม่วงหวาน


แนวทางการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแนวทางหนึ่งก็คือการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เน้นการเติบโตพ้อมกันในทุกๆ ด้านอย่างสอดคล้องและสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

แนวทางดังกล่าวเป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนไปพร้อมๆกับการสร้างความมั่นคงในเรื่องปาท้องของคนในชุมชนดังตัวอย่างที่เกิดขึ้น ณ บ้านม่วงหวาน – โคกเจริญ ซึ่งมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมของชาวไทย "กูย” เป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญ

บ้านม่วงหวาน – โคกเจริญ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 14 และ หมู่ 15 ต.จันดุม อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ เป็นชุมชนชาวไทยกูยดั้งเดิมซึ่งอพยพมาจากบ้านเฉนียงและบ้านโงนกรอย ต.บึง อ.เมือง จ.สุรินทร์ มาตั้งแต่ปี 2494 โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีชาวบ้านจาก ๑๐ ครอบครัว ประมาณ ๗๐ คน ได้ออกเดินทางมาด้วยกันเพื่อหาที่ตั้งหมู่บ้านใหม่จนกระทั่งมาเจอพื้นที่ว่างข้างหนองน้ำบ้านแพงพวย ที่ชาวบ้านเรียกว่า "โคกมะม่วงหวาน” ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ชาวบ้านกลุ่มนั้นจึงตัดสินใจตั้งรกรากอยู่ร่วมกันสืบมาจนถึงทุกวันนี้

ในยุคแรกของการเดินทางเข้ามาตั้งรกราก ชุมชนแห่งนี้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของบ้านแพงพวย จนกระทั่งปี 2510 จึงได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นบ้านม่วงหวานและต่อมาปี 2533 จึงแยกออกมาเป็นบ้านโคกเจริญอีกหนึ่งหมู่บ้าน แต่ด้วยความผูกพันของทั้งสองหมู่บ้านที่มีมานานจึงทำให้ทั้งสองหมู่บ้านยังคงร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านด้วยกันภายใต้ชื่อ บ้านม่วงหวาน – โคกเจริญ มาโดยตลอด

วิธีการพัฒนาคนพัฒนางานเส้นทางสู่ความสำเร็จบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ
1. ใช้กิจกรรมทางสังคมเครื่องมือในการพัฒนาคน วิธีการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งโดยการนำกิจกรรมมาเป็นการดึงคนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการ อาทิ กิจกรรมกลุ่มออมทรรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน โดยนำเงินเข้ามามีส่วนร่วมมาร้อยรัดให้ได้มีการดำเนินการมากขึ้น ดังนั้นกิจกรรมทางสังคมจึงเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาคน ดังกำนันสง่า ทองคำ ได้ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพกระบวนการ
" เมื่อก่อนเราไปซื้อขนมจีนมาทำในงาน บางทีครั้งละหลายร้อยกิโลเลยในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง แต่ตอนนี้เรามีกลุ่มทำขนมจีนขึ้นคนมาลงทุนร่วมกัน คนมาช่วยกันมากขึ้น ทำให้เราได้ลงมือทำ และช่วยกันคิด”

2. ปรับแนวคิดใหม่ สร้างสำนึกร่วมเพื่อพัฒนาคน การปลูกฝังประวัติศาสตร์สร้างวัฒนธรรมความเป็นกุยเพื่อสร้างจิตสำนักคนในชุมชน ในเรื่องการให้และเกิดรูปแบบจิตอาสา เมื่อให้คุณค่าในวัฒนธรรมตนเองจะส่งผลสู่เรื่องสำนึกร่วมการเสียสละและการให้ของสมาชิกในชุมชน ส่งผลสู่การพัฒนาเป็นแกนนำหรือการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น

3. พัฒนาคนพัฒนาศักยภาพทีมงานให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างคนให้รู้เท่าทันทั้งการเปลี่ยนแปลงกระแสโลกหรือกระแสต่างๆที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมของชุมชน โดยกระบวนการหนุนเสริมจากทีมภายนอกในการเข้ามาให้ความรู้ หรือ "การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่เพื่อนอื่น” จัดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน เกิดการเรียนรู้ และสามารถปรับประยุกต์ใช้ของแกนนำได้ ทั้งในการบริหารจัดการ หรือการถ่ายทอดความรู้ต่อ

4. จากผู้ร่วมให้เป็นผู้ทำ จากผู้นำเป็นผู้หนุน รูปแบบหนึ่งที่กลุ่มได้ดำเนินการแล้วคือ การให้แกนนำเข้ามาตัดสินใจร่วม และพัฒนาให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น รูปแบบดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาคนคือ ให้สามารถคิดวิเคราะห์ได้ ทำเป็น รวมถึงคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน เป็นขึ้นหนึ่งในการพัฒนาคนที่ได้ผลเป็นอย่างมา อาทิ คุณอ้อย แจ่มใส เป็นเหรัญญิกของกลุ่ม ได้กล่าวว่า "ที่นี่เรามีวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่างที่สำคัญคือ เราให้ทุกคนมีส่วนร่วม ผู้ใหญ่จะให้เราเข้ามาและพัฒนาเราเรื่อยให้เราเข้ามา เราก็ภูมิใจนะที่เราได้ทำได้ช่วย ไม่ต้องมีใครบอกเรารู้ว่าเรามีคุณค่าเราก็ทำ”

5. สร้างระบบความคิดสร้างความเชื่อร่วมกัน เพื่อเป็นนักออกแบบและวิเคราะห์ ภายใต้กลไกรูปแบบหากทำอะไรต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ มีการประชุมหารือเพื่อโปรดโอกาสให้ทุกคนเสนอความคิดเห็น ระบบการคิดและวิเคราะห์ กระบวนการดังกล่าวจะพบนักออกแบบและวิเคราะห์ เพราะใช้กระบวนการมีส่วนร่วม แต่ภายใต้ความคิดความเชื่อร่วมกัน คือการทำงานเพื่อชุมชนของตนเอง จึงเป็นเครื่องนำพาไปสู่เป้าหมายเป็นต้น

6. จากแกนนำ สู่ครอบครัว "ธรรมนูญครอบครัว” จากแกนนำขยายผลสู่สมาชิกสร้างความดีร่วมกัน การสร้างคนประการหนึ่งคือการนำหลักการมาสู่การประพฤติปฏิบัติโดยอาศัยแบบต้นแบบคือ ตัวแกนนำ กรรมการ หรือสมาชิก และเกิดการขยายผลไปสู่การทำจริงในระดับครอบครัว ครัวเรือน รวมถึงสมาชิกอื่นๆในสังคม เป็นการสร้างคนแบบมีส่วนร่วม เมื่อเริ่มจากแกนนำ ครอบครัว และจะขยายผลไปยังสมาชิดต่อไป จะสามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้
ขอบคุณ:http://goo.gl/J05pQO
http://goo.gl/PC7GPC

ไม่มีความคิดเห็น: