วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติชาวกูยจังหวัดศรีสะเกษ

   ประวัติชาวกูยจังหวัดศรีสะเกษ
     อีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์มาก
แห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากเป็นแหล่งรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวแล้ว ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น
ที่ไม่ได้เรียกตนเองว่าลาวอีกมากมายกระจายตัวอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เป็นหัวเมือง
อีสานตอนล่างในอดีต นับตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี ซึ่ง
เคยปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ว่า เขมรป่าดง ซึ่งเป็นพื้นที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ
ของภูมิภาคนี้ทั้งในด้านประชากรและวัฒนธรรม กล่าวคือประชากรส่วนใหญ่กลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ใน
บริเวณแถบนี้เป็นกลุ่มที่เรียกตนเองว่า กูย และอีกกลุ่มหนึ่งคือ เขมร โดยมีประชากรที่เป็นชาวลาวอยู่
เพียงบางส่วนเท่านั้น และแต่ละกลุ่มก็มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเอง ดังจะเห็นได้
จากวิถีชีวิต จารีตประเพณี และระบบความเชื่อต่างๆ ที่ถูกรักษาไว้และสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง

อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองขุขันธ์ ต้นเค้าที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ

     จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน เคยเป็นชุมชนที่มี
อารยธรรมรุ่งเรืองมานับพันปีตั้งแต่สมัยขอมเรืองอํานาจ เป็นพื้นที่ที่มีการพบแหล่งโบราญคดีทั้ง
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์จํานวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จังหวัดศรีสะเกษเป็น
ดินแดนที่มีผู้คนอยู่อาศัยมานาน ตั้งแต่อดีต ชุมชนต่างๆ ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นรัฐ
โดยมีแหล่งชุมชนโบราญจํานวนมากกระจายอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ําชีและลุ่มแม่น้ํามูล แบ่งเป็นกลุ่ม
วัฒนธรรมทวารวดีซึ่งนิยมทําคูน้ำคันดินเป็นวงรีหรือวงกลมรอบเมือง นิยมตั้งเมืองใกล้แหล่งน้ำเพื่อ
สะดวกในการชักน้ำเข้ามาเก็บในคูเมือง และกลุ่มวัฒนธรรมขอมที่ส่วนใหญ่มักมีการจัดวางผังเมือง
เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีการขุดบารายไว้เป็นแหล่งน้ำสําหรับเมือง จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึง
อิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีที่แพร่ขยายครอบคลุมดินแดนอีสานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14
หลังจากนั้นอาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาสู้ดินแดนอีสานสูงมากในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-
1817
     อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1761 ) อิทธิพลของขอมในแผ่นดิน
อีสานเริ่มเสื่อมลง และเป็นการเริ่มยุคอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ.
1896-1916) ที่ก่อตัวเข้มแข็งขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขงและได้แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนอีสานครอบคลุม
อาณาเขต 2 ฝ๎่งแม่น้ำโขง ชุมชนโบราญขนาดใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นชุมชนขนาดเล็กและรับอิทธิพลของ
ล้านช้าง หัวเมืองภาคอีสานของไทยนับตั้งแต่หนองหารลงไปจนถึงเมืองร้อยเอ็ด แต่เดิมอยู่ใต้อิทธิพล
ของอาณาจักรขอมทั้งหมด ต่อมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงในปี พ.ศ.
1827 เมื่อถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. 1893 แขวงเมืองร้อยเอ็ดได้ตกอยู่
ใต้ปกครองของอยุธยา เมื่ออาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านช้างขยายอิทธิพลทางการเมืองเข้ามา
ในดินแดนอีสาน ทั้งสองอาณาจักรจึงประนีประนอมและป๎กป๎นเขตแดนในสมัยพระเจ้าอู่ทอง โดย
อาณาจักรล้านช้างทําการปกครองตั้งแต่ “ดงสามเส้า” หรือ “ดงพระยาไฟ” ไปจนถึงภูพระยาพ่อและ
แดนเมืองนครไทย และร่วมก่อตั้งขึ้นเป็นอารยธรรมลุ่มน้ำโขง
ภาคอีสานตามสภาพภูมิศาสตร์นั้น อาจแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่อยู่ในบริเวณ
แอ่งสกลนคร อันได้แก่ จังหวัดสกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลําภู นครพนม และจังหวัดเลย
กับพื้นที่ส่วนที่ในบริเวณแอ่งโคราชหรือบริเวณอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์
ชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเทือกเขาภูพานเป็นสันกั้นระหว่างแอ่งสกลนครและแอ่งโคราชนี้
จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนอีสานได้อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ มีอายุกว่าหนึ่งหมื่นปี ในอดีตในดินแดนแถบนี้เรียกว่า “อาณาจักรเจนละ” มีกษัตริย์
องค์สําคัญคือ กษัตริย์จิตรเสน ยุคต่อมาคืออาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ภายหลังเป็นอาณาจักรล้านช้าง
และตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยามในสมัยกรุงธนบุรี ภาคอีสานจึงมีกลุ่มคนอาศัยอยู่หลาย
กลุ่ม โดยเฉพาะในเขตอีสานใต้มีกลุ่มคนอาศัยอยู่หลายกลุ่มทั้งเขมร ลาว และส่วย (กูย)


      กูยเป็นชนชาติเดิมที่อพยพเข้ามาอยู่ในเอเชียตอนใต้ จัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติกที่ใช้
ภาษามอญเขมร ชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือ พวกกูย โกยหรือกวย ที่เคลื่อนย้ายจากอินเดียสู่พม่าบางส่วน
เข้าไปในลาว เขมรและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือ
ประมาณ 3,000 ปีเศษ ซึ่งเชื่อว่าชนพื้นเมืองเดิมคือ พวกกูยหรือกวย กลุ่มชนพื้นเมืองเดิมเหล่านี้กูย
ชนชาติเจ้าของถิ่นเดิมของอีสาน ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมที่เป็นประชากรอีสานตอนล่าง เป็นกลุ่มที่ได้
ร่วมกันสืบทอดวัฒนธรรม มีบทบาทในการสืบทอดวัฒนธรรมของหัวเมืองอีสานตอนล่างและ
พงศาวดารล้านช้าง ได้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธ์กูย (ข่า) ว่าเป็นเจ้าของถิ่นเดิมที่มีชุมชนที่มั่นคง ไทยกูย
เป็นคนไทยเชื้อสายหนึ่งที่อาศัยอยู่หนาแน่นทางตอนใต้ ของอีสานในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และ
กระจายในบางพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา อุบลราชธานีและมหาสารคาม กลุ่มชาติพันธุ์ได้
5 ดังต่อไปนี้
1. กวยมะไฮ (Kui m’ai) กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีแถบโขงเจียม เรียกตนเอง
ว่า กวยบลู(คนภูเขา)
2. กวยมะลอ (Kui m’ lo) อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ
3. กวยเยอ (Kui yer, yo) อาศัยอยู่ในเขตอุบลราชธานี ศรีสะเกษ
4. กวยมะลัว หรือมะหลั่ว (Kui m’loa) อาศัยอยู่ในเขตสุรินทร์ ศรีสะเกษ
5. กวยอะเจียง กลุ่มที่มีความชํานาญในการคล้องช้าง อยู่ในเขตอําเภอท่าตูม อําเภอจอม
พระ จังหวัดสุรินทร์
กูย กวย และโกย ปรากฏหลักฐานในราชสํานักครั้งแรกในกฎหมายอยุธยา ฉบับ พ.ศ. 1974
ซึ่งตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (พ.ศ.1967 – 1991) มีข้อความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า
พ่อค้าต่างชาติที่ดินเดินทางเข้ามาค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาประกอบด้วย ชาวอินเดีย มลายู ชาน (ไทย
ใหญ่) กูย แกว (ญวน) และชาติอื่นๆ หลักฐานนี้เป็นหลักฐานเก่าที่สุดที่พบในราชสํานักสยาม ที่ใช้คํา
ว่ากวย และในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1978 ซึ่งประกาศห้ามไพร่ฟูาประชาชนยกลูกสาว
ให้คน ต่างชาติ ต่างศาสนาต่างชาติที่ระบุไว้มีอยู่ด้วยกัน 9 ชื่อ คือ ฝรั่ง อังกฤษ กะปีตัน วิลันดา คุลา
มลายู แขก กวย แกว ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณพุทธศักราช 2200 มีชาวกู
ยอพยพเข้ามาอยู่ดามภูเขาสูงไม่ยอมขึ้นกับใคร ชาวกูยได้อพยพมาจากเมืองอัตปือ เมืองแสนปาง (ฝ๎่ง
ซ้ายแม่น้ําโขง) แล้วแยกย้ายกันเดินทางข้ามแม่น้ําโขงมาเป็น 5 สาย ตั้งหมู่บ้านอยู่ในทําเลที่
เหมาะสม มีหัวหน้าเป็นผู้นําทางมาตั้งอยู่บ้าน 6 หมู่บ้านสืบต่อมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ได้ปรากฏชื่อหมู่บ้านและหัวหน้าที่ปกครองดูแลลูกบ้านของตนคือ
1. บ้านเมืองที หัวหน้าชื่อเชียงปุม
2. บ้านกุดหวาย (หรือบ้านเมืองตา) หัวหน้าชื่อ เชียงสี
3. บ้านเมืองเลิง (บ้านเมืองลีง) หัวหน้าชื่อเชียงสง
4. บ้านอัจจปนึง (อัจจปึง) หัวหน้าชื่อฆะ
5. บ้านลําดวน หัวหน้าชื่อตากะจะและเชียงขัน
6. บ้านจารพัตร หัวหน้าชื่อเชียงไช
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2302 ปีเถาะ จุลศักราช 1121 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สุริยาศน์อัมรินทร์
(เจ้าฟ้าเอกทัศ) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกแตกโรงออก จากกรุงไปอยู่ใน
ปุาทางตะวันตกแขวงเมืองจําปาศักดิ์ (ต่อมาเรียกนครจําปาศักดิ์) จึงโปรดให้สองพี่น้องคุมไพร่พลและ
กรมช้างอีกประมาณ 30 คน ออกเที่ยวติดตามพระยาช้างเผือกทราบว่าพระยาช้างเผือกได้บ่ายหน้าไป
ทางเมืองพิมายและเลยไปถึงปุาดิบฟากฝ๎่งลําน้ํามูลทางใต้ จึงได้ออกติดตามและได้ข่าวจากเขมรปุาดง
ว่า พระยาช้างเผือกผ่านมาทางหนองกุดหวาย (เมืองรัตนบุรี) สองพี่น้องจึงไปหาหัวหน้าพ่อบ้านคน
สําคัญเหล่านี้ คือ เชียงสี บ้านหนองกุดหวาย และเชียงสีได้อาสานําทางไปหาเชียงปุุม ที่บ้านเมืองที
และไปหาเชียงไชที่บ้านจารพัด ตากะจะและเชียงขัน หัวหน้าบ้านลําดวน เชียงฆะ หัวหน้าบ้าน
โคกอัจจปึง ทั้งหมดได้อาสานําทางสองพี่น้องไปตามจับพระยาช้างเผือกจนได้ เชียงฆะ หัวหน้าบ้าน
โคกอัจจปึง เชียงปุุมหัวหน้าบ้านโคกเมืองที เชียงสีหัวหน้าบ้านกุดหวาย ตากะจะและเชียงขัน หัวหน้า
บ้านลําดวน สามารถจับพระยาช้างเผือกได้ จากนั้นได้นําพระยาช้างเผือกมาที่เมืองศรีนครเขตช้าง
ปุวยจึงได้รักษาที่บ้านเจียงอี (ป๎จจุบันคือวัดเจียงอี) เมื่อหัวหน้าพวกกวยจับช้างได้ ก็ได้อาสานําพระยา
ช้างเผือกไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา พวกเชียงฆะ เชียงปุุม เชียงสี เชียงขันธ์และตากะจะ เมื่อคราว
นําช้างไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยานั้นมี กําสะนา (หน้าไม้) อาบยาพิษ (ยางหน่อง) เป็นอาวุธที่
สําคัญ และมีของพื้นเมืองเป็นสิ่งที่นําถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาประกอบด้วย ระคึบระคับสอง (เต่า
สองตัว) ละอองละแองสี่ (ตะกวดอย่างละสี่ตัว) ระวีระวอนห้า (ผึ้งหาบั้ง) โค้งสามหวาย (หวายสาม
โค้ง) ลึมสามบอง (ขี้ไต้สามมัด) หัวหน้าพวกกูยที่เข้าไปกรุงศรีอยุธยาได้รับฐานันดรศักดิ์ทุกคน คือ ตา
กะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ เชียงขัน เป็นหลวงปราบ เชียงฆะ เป็นหลวงเพชร เชียงปุม เป็นหลวง
สุรินทรภักดีและเชียงสีเป็นหลวงศรีนครเตา
อนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดี(เชียงปุม)

  สมเด็จพระที่นั่งสุริยาอัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงโปรดให้นายกองทั้งห้าคนเป็นผู้ควบคุม
ชาวเขมรและชาวกูยในละแวกบ้านนั้นๆ โดยขึ้นตรงต่อเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองใหญ่ในขณะนั้น
ภายหลังในปีต่อมา (พ.ศ.2303) พวกนายกกองทั้ง 4 นี้ได้นํา ช้าง ม้า แก่นสน ยางสนปีกนก นอ
ระมาด งาช้างขี้ผึ้งไปส่งกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯให้มีบรรดาศักดิ์สูงขึ้นดังต่อไปนี้
1. หลวงสุวรรณ (ตากะจะ) เป็นพระไกรภักดีศรีนครลําดวน เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านปราสาท
สี่เหลี่ยมดงลําดวนเป็นเมืองขุขันธ์
2. หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็นพระสังฆะศรีนครอัดจะ เป็นเจ้าเมืองยกบ้านโคกอัจจะหรือ
บ้านดงยางเป็นเมืองสังฆะ
3. หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองยกบ้าน
คูปะทายเป็นเมืองปะทายสมันต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสุรินทร์
4. หลวงศรีนครเตา (เชียงสี) เป็นพระศรีนครเตา เจ้าเมือง ยกบ้านกุดหวายหรือบ้านเมือง
เตาเป็นเมืองรัตนบุรี


พระศรีนครเตาท้าวเธอเจ้าเมืองปกครองเมืองรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์


   เมืองทั้งสี่ดังกล่าวนี้ได้ขึ้นต่อเมืองพิมาย ต่อมาในกรุงธนบุรีได้ขึ้นกับเมือง
นครราชสีมาและในรัชกาลที่ 2 ได้ขึ้นกับต่อกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ.2349
ปี พ.ศ. 2319 เวียงจันเกิดทะเลาะวิวาทกับพระวอที่ตั้งบ้านอยู่ที่ดอนมดแดง (จังหวัด
อุบลราชธานีในป๎จจุบัน) ทางเวียงจันจึงให้พระยาสุโพยกทัพมาตี พระวอสู้ไม่ได้และถูกทัพของพระยา
สุโพจับพระวอฆ่าเสีย มีการกวาดตอนผู้คนที่ขึ้นกับเมืองจําปาศักดิ์กลับไปโดยพระยานางรองให้ความ
ร่วมมือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้พระยาจักรีไปตั้งทัพที่เมืองนครราชสีมาจับพระยานางรอง
มาพิจารณาโทษและประหารชีวิต พ.ศ. 2321 ปีจอ จุลศักราช 1140 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้
โปรดให้พระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกกําลังไปสมทบกับเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ
เพื่อตามไปตีกองทัพของพระยาสุโพ ครั้งนั้นกองทัพสยามสามารถตีเมืองต่างๆ แถบลุ่มน้ําโขงทั้งหมด
อาณาจักรเวียงจัน อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรจําปาศักดิ์ได้อ่อนน้อมดกเป็นเมืองขึ้นของ
สยามตั้งแต่นั้น ในการศึกครั้งนั้นทัพไทยได้กวดต้อนผู้คนลงมาเป็นจํานวนมากพร้อมทั้งอัญเชิญพระ
แก้วมรกตลงมาด้วย หลวงปราบได้นํานางคําเวียงหญิงม่ายชาวลาวมาด้วย เจ้าเมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ
และเมืองสุรินทร์มีความชอบในการออกศึกได้เลื่อนบรรดาศักเป็นชั้นพระยา ในราชทินนามเดิมทั้ง 3
เมือง ในศกเดียวกันพระยาไกรภักดีศรีนครลําดวน(ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์ถึงแก่กรรม จึงได้โปรดให้
หลวงปราบ (เชียงขัน) เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลําดวนเจ้าเมืองขุขันธ์แทน
ปีพ.ศ. 2324 กัมพูชาเกิดจลาจล สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ยก
ทัพไปปราบ แต่เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีจึงยกทัพกลับ ฝุายเจ้าเมืองขุขันธ์ที่ยกทัพไปด้วย คราวนั้นได้
กวาดต้อนชาวเขมรจํานวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์เกิดแข็งเมือง เจ้าอุปราช
(โย) ยกทัพเข้ายึดเมืองขุขันธ์ และได้จับเจ้าเมืองและราชการเมืองขุขันธ์นําไปประหารชีวิตที่ค่ายบ้าน
ส้มปุอย (อําเภอราศีไศลป๎จจุบัน) พ.ศ. 2371 หลังจากเจ้าอนุวงศ์และเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เสียชีวิต
รัชกาลที่ 3 ได้ตั้งพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (เกา) เป็นพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลําดวน

ขอบคุณ:http://news.sanook.com/1118602/,http://goo.gl/wHB9Wi,http://goo.gl/1PtglN

ไม่มีความคิดเห็น: