Solarcell


Surge Protection Devices
อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินจากฟ้าผ่า (SPD)
บางคนเข้าใจผิดว่าเมื่อติดตั้งอุปกรณ์กันฟ้าผ่าแล้ว ฟ้าจะไม่ผ่าลงมาตรงจุดที่เราติดตั้ง มันไม่ใช่นะครับ เราแค่ป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากแรงดันไฟฟ้าสูงชั่วขณะเท่านั้น



ความเสียหายอันเนื่องมาจากแรงดันไฟฟ้าสูงชั่วขณะสามารถป้องกันได้ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินชั่วขณะจากฟ้าผ่า (Surge Protection Device, SPD) ซึ่งมีหน้าที่และหลักการคือลัดวงจรตัวเองในขณะที่เกิดแรงดันเกินจากฟ้าผ่าเพื่อทำให้กระแสเซิร์จเปลี่ยนทิศทางวิ่งผ่านตัวเองลงกราวด์ แทนที่จะเข้าไปทำอันตรายกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในระบบ ในขณะเดียวกันแรงดันคร่อม SPD ก็จะถูกจำกัดไว้ที่ค่าระดับหนึ่งเพื่อไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตรายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า จากนั้นเมื่อแรงดันเซิร์จผ่านลงกราวด์ไปแล้ว อุปกรณ์ SPD ก็จะทำการเปิดวงจรตัวเองกลับมาสู่สถานะปกติเช่นเดิม โดยอุปกรณ์ SPD ต้องได้รับมาตรฐาน IEC61643-1/EN61643-11


1. ปรากฎการณ์ฟ้าผ่าแบบผ่าตรง (Direct Strike)
คือปรากฎการณ์ที่เกิดฟ้าผ่าบริเวณสายส่งไฟฟ้าใกล้อาคารหรือเกิดลงที่หัวล่อฟ้า ทำให้ความต่างศักย์ระหว่างกราวด์กับสายส่งสูงมาก ซึ่งอาจมีค่าสูงถึง 20 เท่าของแรงดันปกติ และบางครั้งกระแสไฟฟ้าพลังงานมหาศาลที่พุ่งไปสู่ระบบไฟฟ้านี้ อาจทำให้ตู้ควบคุมไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ในตู้ไฟฟ้าอาจเสียหายถึงขั้นระเบิดได้
2. ปรากฎการณ์ฟ้าผ่าแบบโดยอ้อม (Indirect Strike)
คือปรากฎการณ์ที่เกิดฟ้าผ่าขึ้นตรงสายส่งไฟฟ้าในบริเวณที่ห่างออกไป เป็นผลให้ความต่างศักย์กระชากสูงขึ้นที่ระดับแรงดันไฟฟ้าในสายส่ง และหากเกิดฟ้าผ่าขึ้นที่บริเวณข้างเคียงหรืออาจเกิดขึ้นในบริเวณพื้นดินใกล้เคียงกับอาคารของเรา เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์ของกราวด์บริเวณนั้นสูงขึ้นได้เช่นกัน ในกรณีฟ้าผ่าแบบโดยอ้อมนี้แม้แรงดันกระชากจะไม่สูงเท่ากับในกรณีฟ้าผ่าแบบตรง แต่ก็สามารถสร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์ได้เช่นกัน
3. แรงดันเกิดจากการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า (Operatimg or switching overvoltage)
คือปรากฎการณ์ที่แรงดันเกินชั่วขณะจากการเปิด-ปิดอุปกรณ์ ที่มีองค์ประกอบพวก Inductive (ความเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า) หรือ Capacitive (ค่าความเก็บประจุ) แรงดันประเภทนี้อาจมีค่าสูง ประมาณ 3-5 เท่าของแรงดันใช้งานและถึงแม้จะไม่สูงมากแต่มักทำให้อุปกรณ์ข้างเคียงบางอย่างทำงานผิดปกติ หรือทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ข้างเคียงสั้นลง
รูปภาพของ Lamphun Solarcell

ไม่มีความคิดเห็น: