ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน ในประเทศไทยมี 3 สำเนียงคือ
กูยเยอ พบที่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และ อ.ราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
กูยไม พบที่ อ.อุทุมพรพิสัย และ อ.ราษีไศล จังหวัดศีรษะเกษ
กูยปรือใหม่ พบที่ อ.ขุขันธ์ เป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามากลุ่มหลังสุด
ภาษากวยหรือภาษากูย มีอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ มีภาษาที่ใช้สนทนามี 2 สำเนียงคือ
กวยมหลัว พบที อ.จอมพระ อ.รัตนบุรี อ.ท่าตูม อ.สนม เช่น อาจีง แปลว่า ช้าง จีเหนีย แปลว่า ไปไหน เจียโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
กวยมลอ พบที่ อ.สังขะ อ.บัวเชด อ.ศรีณรงค์ อ.ศีขรภูมิ เช่น เจียง แปลว่า ช้าง จีนา แปลว่า ไปไหน จาโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
ภาษากูยในคำภีร์ใบลาน โบราณ |
กลุ่มภาษาหลัก ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
ภาษากลุ่มมุนดา ภาษามุนดารี ภาษาสันตาลี ภาษาโสรา ภาษาโฮ
ภาษากลุ่มมอญ-เขมร
- กลุ่มตะวันออก:กลุ่มกะตู: ภาษากันตู ภาษากูย ภาษาเกรียง ภาษาจะต็อง ภาษาเยอ ภาษาด๊ากกัง ภาษาบรู;กลุ่มบะห์นาริก: ภาษากะเซง ภาษาซรี ภาษาเซดัง ภาษาเตรียง ภาษามนอง ภาษายรุ ภาษาแย็ฮ ภาษาเรเงา ภาษาละวี ภาษาหยูก ภาษาอาลัก ภาษาฮะรัก ภาษาฮาลัง ภาษาตำปวน ภาษาโกรล ภาษากระเว็ต ภาษาละมาม ภาษาบูโล สเตียง ภาษากะโจ
:กลุ่มเวียตติก: ภาษาเวียดนาม ภาษาเหมื่อง ภาษาข่าตองเหลือง ภาษาบอ
- กลุ่มเหนือ:กลุ่มขมุ: ภาษาขมุ ภาษาบิต ภาษามลาบรี ภาษาลัวะ ภาษาไพ
- กลุ่มใต้:กลุ่มมอญ: มอญ - ญัฮกุ้ร; กลุ่มอัสเลียน: ภาษาซาไก ภาษากินตัก; ภาษากลุ่มเกาะนิโคบาร์
3 ความคิดเห็น:
ภาษากูยในคัมภีร์โบราณจารว่าอย่างไรครับ ค้นพบที่ไหนครับ
คำภีร์ใบลาน ฉบับนี้อายุหลายร้อยปี ตกทอดมาเป็นลำดับ ได้มาจาก หลวงนรินทร์ มหาดไทย เจ้าเมืองสังขะคนสุดท้าย และท่านได้มอบและตกทอดสู่ลูกหลาน ท่านปลัดสุโข เสริมศรี จากนั้นท่านก็ได้มอบตกทอดให้คุณแม่โสกัน เสริมศรีซึ่งเป็นลูกสาวคนสุดท้องของท่านปลัดสุโข เสริมศรี ปัจจุบัน ได้มอบให้ท่านสหพล เสริมศรีเป็นผู้เก็บรักษาไว้ วันประชุมสัญจรวันนี้ท่านได้นำมาให้ชาวกูยได้เห็นเป็นที่น่าภาคภูมิใจมากๆ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1029522400398396&set=pcb.933365716683068&type=1&permPage=1
แสดงความคิดเห็น