หลวงสุรินทร์ภักดี(เชียงปุม)ผู้ก่อตั้งเมืองสุรินทร์
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม
ดังที่จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2469 ดังนี้
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่สร้างอย่างมั่นคงในปางก่อน มีคูถึง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพงเมือง น่าจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นเมืองหน้าด่านทั้งทางตะวันออก และทางใต้ซึ่งมีช่องข้ามเขาบรรทัดต่อจังหวัดสุรินทร์อยู่หลายช่อง คือ ช่องปราสาทตาเมิน, ช่องเสม็ก, ช่องดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งมีทางเดินไปสู่ศรีโสภณ และเมืองจงกัน ยังมีคนและเกวียนเดินอยู่ทุกช่อง แต่เป็นทางลำบาก คงสะดวกแต่ช่องตะโก ต่อมาทางตะวันตก ซึ่งกรมทางได้ไปทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว บริเวณเมืองสุรินทร์เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมตลอดปี แต่ก็ทำไร่นาได้ เป็นทุ่งใหญ่ บ้านเมืองกำลังจะเจริญขึ้น เพราะเป็นปลายทางรถไฟ มีห้องแถวคึกคักไม่หย่อนกว่าอุบล และกำลังสร้างทำอยู่อีกก็มีมาก
พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์เป็นเขมรเป็นชาวพื้นเหมือนเช่น บุรีรัมย์ นางรอง มีลาวเจือปนบ้างเป็นส่วนน้อย กับมีชาติส่วยอีกพวกหนึ่ง ซึ่งว่าพูดภาษาของตนต่างหาก ตามที่ผู้รู้กล่าวว่า พื้นเป็นภาษาเขมรเจือด้วยคำลาว พวกเขมรพลเมืองสุรินทร์ยังคงพูดภาษาเขมร อยู่ทั่วไปและที่กล่าวว่าไม่รู้ภาษาไทยก็มีต้องใช้ล่ามเนืองๆ ผู้ปกครองท้องถิ่น เห็นว่าเป็นการดิ้นรน แสร้งทำเป็นพูดไทยไม่ได้ก็มีอยู่มาก แต่ในการปกครองไม่ปรากฏว่ามีความยากลำบากอะไรกว่าพลเมืองธรรมดา ในเรื่องของภาษาเขมรสอบสวนได้ความว่า วิชชาหนังสือขอมสูญแล้ว ไม่มีใครเรียน และไม่มีที่เรียน เพราะโรงเรียนสอนภาษาไทยอย่างเดียว เวลานี้มีแต่คนแก่ๆ เท่านั้นที่รู้หนังสือขอม ได้เพียงนี้ก็เห็นว่าในทางปกครองที่จะให้เกิดเป็นสำนึกของคนไทย นับว่าได้ทำไปได้มากแล้ว ถ้าจัดการโรงเรียนให้เจริญขึ้นอีก และในต่อไปการคมนาคมกับกรุงเทพสะดวกขึ้น พลเมืองพวกนี้จะรู้สึกตัวเป็นไทยยิ่งขึ้นทุกวัน ทั้งการลูกเสือก็ย่อมเป็นปัจจัยช่วยในทางนี้อยู่มาก ส่วนการไปมาถึงกันกับพวกเขมรต่ำในการปกครองฝรั่งเศสนั้น สอบสวนได้ความว่ายังมีอยู่เสมอแต่มีข้างฝ่ายคนเรื่องเขมรต่ำอพยพเข้ามาอยู่ทางเราเสียมากกว่า ปีหนึ่ง เข้าประมาณ 50 คน โดยมากเป็นเรื่องหนีส่วยอากรที่ทางฝ่ายโน้นเก็บแรงกว่าทางนี้
จังหวัดสุรินทร์ มีลำดับการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งทางด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งบ้านเรือนที่มีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายในอดีต มาเป็นวิถีชีวิตที่สลับซับซ้อนอย่างในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสะท้อนความเคลื่อนไหวของผู้คนที่มีมิติความสัมพันธ์ต่อกันอยู่ตลอดเวลา อันเป็นลักษณะโดดเด่นของผู้คนชาวจังหวัดสุรินทร์
ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระยาประชากรกิจกรจักรเชื่อว่า ชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานล่างคือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีบางส่วน กลุ่มแรกคือ กวย กูย หรือ ข่า ขมุ ลัวะ ละว้า เยอ ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน แต่เรียกตามสำเนียงของภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกชนกลุ่มนี้ว่าส่วย
อีริค ไซเดนฟาเดน (Erick Seidenfaden) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวเดนมาร์ก สันนิษฐานว่าพวกกูยเคลื่อนย้ายจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศพม่า และมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 3,000 ปีเศษมาแล้ว ชาวกูยเหล่านี้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภาคใต้ของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พวกที่อพยพเข้ามาเป็นระลอกที่ 2 และที่ 3 คือ เขมรและลาว
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนป่า อันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า ข่า, ส่วย, กวย ซึ่งยังมีอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก
เขมรเป็นชนพื้นเมืองที่เพิ่งอพยพเข้ามาอยู่ในสมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ภายหลังได้ผสมกลมกลืนกับชาวส่วยซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิมและได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า พวกเขมรป่าดง (ข่า-เขมร) ส่วนพวกลาวนั้นอพยพเข้ามาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ราวพุทธศักราช 2257-2261
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางการเมืองทำให้กัมพูชาตกอยู่ในฐานะประเทศราชและในระหว่างปีพุทธศักราช 2103 อาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พุทธศักราช 2091-2111) กษัตริย์ของลาวได้สร้างนครเวียงจันทร์เป็นเมืองหลวงของล้านช้าง
ในปีพุทธศักราช 2257 ลาวแตกออกเป็น 3 รัฐอิสระ คือหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ชาวลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดพร้อมด้วยนักศึกษาวัด ทั้งที่กำลังศึกษา เป็นพระภิกษุสามเณรอยู่และที่จบการศึกษาแล้วเป็นอ้ายเชียง อ้ายทิด (บันฑิต) อ้ายจารย์ (อาจารย์) กับพวกข้าทางใต้ไปบูรณะพระธาตุพนม และไปจนถึงเขมร แล้วกลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์
เมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองอัตตปือแสนแปง (แสนแปง) ซึ่งต่างเป็นเมืองของพวกลัวะ ข่า (หรือชนเผ่าพันธุ์ที่เราเรียกว่าส่วยในปัจจุบัน) ขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ปกครองโดยนางแพง เจ้าหญิงข่า-ลัวะ ธิดาของนางเพากับเจ้าคำช้าง หรือบ้างคำ ด้วยคุณงามความดีของเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ด นางแพงจึงมอบอำนาจการปกครองเมืองจำปาศักดิ์ให้ เจ้าราชครูหลวงจึงได้อัณเชิญเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจากนครเวียงจันทร์ไปปกครองนครจำปาศักดิ์นับตั้งแต่พุทธศักราช 2261 - 2281 เป็นต้นมา เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้ปกครองจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าราชครูแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดจึงขยายอำนาจ โดยตั้งชาวลาวที่มีความรู้ ความสามารถ ออกไปปกครองเมืองของลัวะ ข่าต่างๆ ภายในเขตเมืองจำปาศักดิ์ เช่น ส่งจารย์หวดเป็นเจ้าเมืองโขงสี่พันดอน ให้ท้าวมั่นไปตั้งบ้านโพนขึ้นเป็นเมืองสาระวันแต่ชาวบ้านชอบเรียกเมืองมั่นตามชื่อท้าวมั่นและเรียกควบกับเมืองคำทองใหญ่ว่าเมืองมั่นคำทอง ให้จารย์แก้ไปตั้งบ้านถ่ง (ท่ง) เป็นเมืองสุวรรณภูมิ ( ในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ให้จารย์เซียงมาตั้งบ้านโนนสามขาเป็นเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษในปัจจุบัน) ตั้งได้ไม่นานเมืองศรีนครเขตก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
การแยกเป็นรัฐอิสระของอาณาจักรลาว ทำให้ทั้ง 3 รัฐ เกิดการแข็งต่อเมืองกันและต่างสะสมแสนยานุภาพไว้ต่อสู้ ป้องกันการรุกราน เมืองจำปาศักดิ์จึงบังคับให้อัตตปือ แสนปางส่งช้างป้อนกองทัพให้แก่จำปาศักดิ์ตามที่ต้องการ ทำให้ส่วยอัตตปือ แสนปางทนต่อสภาพถูกบีบบังคับไม่ได้ จึงหนีข้ามลำน้ำโขงเข้ามาอาศัยกับพวกส่วยดั้งเดิมบริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่างคือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบางส่วนของนครราชสีมา มหาสารคาม
ชาวส่วยหลายกลุ่มพากันอพยพหนีสงครามข้ามมาตั้งหลักแหล่งทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เมื่อพุทธศักราช 2260 แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนและมีหัวหน้าปกครองตามที่ต่างๆ ซึ่งเป็นจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันคือ
กลุ่มที่ 1 มาอยูที่บ้านเมืองที (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม
กลุ่มที่ 2 มาอยูที่บ้านกุดหวายหรือเมืองเตา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี) มีหัวหน้าชื่อ เชียงลี
กลุ่มที่ 3 มาอยูที่บ้านเมืองลีง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง
กลุ่มที่ 4 มาอยูที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (ปัจจุบันคือบ้านดอนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะและเชียงขัน
กลุ่มที่ 5 มาอยูที่บ้านอัจจะปะนึง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสังขะ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ
กลุ่มที่ 6 มาอยูที่บ้านกุดปะไท (ปัจจุบันคือบ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงไชย
ชาวส่วยเหล่านี้มีความชำนาญในการคล้องช้าง ทำการเกษตร หาของป่า ป่าดงแถบนี้มีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น โขลงช้างพัง ช้างพลาย ฝูงเก้ง กวาง ละมั่ง และโคแดง เหมาะกับการทำมาหากินของชาวส่วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ละชุมชนมีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ
สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกเขตกรุงหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตพิมาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ขุนนางสองพี่น้อง (เข้าใจว่า คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) กับไพร่พล 30 คน ออกติดตามช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ได้มาสืบถามร่องรอยช้างจากชาวเมืองพิมายซึ่งเป็นผู้ชำนาญภูมิประเทศในแถบนั้น ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปสืบถามพวกส่วย มอญ แซก โพนช้างอยู่ริมเขาดงใหญ่เชิงเขาพนมดงรัก เมื่อได้รับคำแนะนำจากชาวเมืองพิมายว่าช้างเผือกหนีไปทางไหนแล้ว ขุนนางสองพี่น้องพร้อมด้วยไพร่พลออกติดตามต่อมาตามลำน้ำมูลมาพบเชียงสีหรือตากะอาม หัวหน้าบ้านกุดหวาย เชียงสีได้พาขุนนางสองพี่น้องไปพบหัวหน้าหมู่บ้านอื่นๆ เพื่อจะได้ช่วยกันตามหาช้างเผือกต่อไป โดยไปหาเชียงปุมที่บ้านเมืองที เชียงปุมได้ร่วมสมทบกับขุนนางสองพี่น้องพากันไปหาเชียงไชยที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัต) ไปหาเชียงขันที่บ้านโคกลำดวน ไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง จึงทราบข่าวจากเชียงฆะว่า ได้พบช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งาพาบริวารซึ่งเป็นช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก หรือหนองบัวในเวลาบ่ายทุกวัน
เชียงฆะก็พาขุนนางสองพี่น้องและพวกไปยังหนองโชก พากันขึ้นต้นไม้ที่ริมหนองโชกเพื่อดูช้างโขลงนั้น ครั้นเวลาบ่ายช้างโขลงนั้นก็ออกจากชายป่ามาเล่นน้ำตามเคย ปรากฏว่าช้างเผือกที่หายมานั้นอยู่กลางฝูงพากันลงเล่นน้ำที่หนองโชก ขุนนางทั้งสองจึงเอาก้อนอิฐแปดก้อนที่นำมาจากบ้านเมืองทีขึ้นเสกเวทมนตร์ตามพิธีกรรมคชศาสตร์ อธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างทั้งแปดทิศ ฝ่ายช้างป่าก็แตกตื่นหนีเข้าป่าหมด คงเหลืออยู่แต่ช้างเผือกเชือกเดียวขุนนางสองพี่น้องก็ลงจากต้นไม้พากันขึ้นขี่หลังช้างโดยง่าย เมื่อจับช้างได้แล้ว ขุนนางสองพี่น้องและบริวารพากันเดินทางกลับ หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายที่มาช่วยเหลือในการติดตามช้าง ก็ได้อำนวยความสะดวกในการควบคุมช้างเผือกมาส่งที่กรุงศรีอยุธยาด้วย เมื่อมาถึงพระนครแล้ว ขุนนางสองพี่น้องจึงได้นำหัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายเข้าเฝ้าสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ และกราบบังคมทูลเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทรงทราบ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งบรรดาหัวหน้าชาวส่วยให้มีฐานันดรศักดิ์ คือ
ตากะจะ เป็น หลวงแก้วสุวรรณ
เชียงขัน เป็น หลวงปราบ
เชียงฆะ เป็น หลวงเพชร
เชียงปุม เป็น หลวงสุรินทรภักดี
เชียงลี เป็น หลวงศรีนครเตา
เชียงไชย เป็น ขุนไชยสุริยงค์
กลับไปปกครองคนในหมู่บ้านของตน โดยอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย ( ยุพดี จรัณยานนท์ 2522 : 34 - 35 )
พุทธศักราช 2306 หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาตย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีซึ่งคับแคบและไม่สะดวกในการทำมาหากินไปตั้งที่บ้านคูประทายหรือบ้านคูประทายสมันต์ คือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะป้องกันและต่อต้านศัตรูที่มารุกรานได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหลวงสุรินทร์ภักดีจึงได้อพยพราษฎรบางส่วนไปอยู่ที่บ้านคูประทาย ส่วนญาติพี่น้อง ชื่อเชียงบิด เชียงเกตุ เชียงพัน นางสะตา นางแล และราษฎรส่วนหนึ่งคงอยู่ ณ หมู่บ้านเมืองทีตามเดิม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) กับญาติร่วมกันสร้างเจดีย์ 3 ยอด สูง 18 ศอก และสร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง 4 ศอก ซึ่งปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อย้ายถิ่นฐานจากบ้านเมืองทีไปอยู่ที่บ้านคูประทายแล้ว หัวหน้าหมู่บ้านทั้ง 5 จึงได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา นำสิ่งของไปทูลเกล้าถวาย คือ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี เพราะว่าขณะนั้นบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์จะได้อพยพมาตั้งฐิ่นฐานอยู่ในดินแดนอันเป็นป่าดงทึบส่วนนี้ โดยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่อย่างมั่นคงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของกรุงศรีอยุธยา ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในป่าดงในราชอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งกรุงศรีอยุธยาเริ่มรู้จักก็โดยหัวหน้าหมู่บ้านได้ช่วยเหลือจับช้างเผือกคืนกรุงศรีอยุธยา และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำของไปทูลเกล้าถวายแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้น ดังนี้
หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็น พระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ยกบ้านคูประทาย เป็น เมืองประทายสมันต์ ให้พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็น พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านดงยาง เป็น เมืองสังฆะ ให้พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงศรีนครเตา (เชียงสี หรือตากะอาม) เป็น พระศรีนครเตา ยกบ้านกุดหวาย เป็น เมืองรัตนบุรี ให้พระศรีนครเตา เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาท-สี่เหลี่ยมดงลำดวน เป็น เมืองขุขันธ์ ให้พระภักดีศรีนครลำดวน เป็นเจ้าเมืองปกครอง การปกครองบังคับบัญชาแบ่งเป็นหมวดหมู่ เป็นกอง มีนายกอง นายหมวด นายหมู่ บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหมดก็เดินทางกลับและปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุขตลอดมา
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี
เมื่อพุทธศักราช 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทร์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร ในปีพุทธศักราช 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี
ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชรรวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่างๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทร์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา ทั้ง 3 เมือง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2325 และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
พุทธศักราช 2329 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในการเปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์ เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้า ให้เจ้าเมืองพิมาย แบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้
ทิศเหนือ จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ำมูล ถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก ถึงลำห้วยตะโคง หรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองขั้น และห้วยราช
ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนอยู่ในความปกครองของไทย เช่นบ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับเมืองสังขะ
พุทธศักราช 2337 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน ชื่อนายตี (แต็ย) และนายมี (แม็ย) เป็นหญิง 2 คน ชื่อนางน้อยและนางเงิน เมื่อพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้า ตั้งให้นายตี (แต็ย) บุตรชายคนโต เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองสุรินทร์คนต่อมา
พุทธศักราช 2342 มีตราโปรดเกล้า ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ 100 รวม 300 เข้ากองทัพยกไปตีกองทัพพม่า ซึ่งยกมาตั้งอยู่ในเขตแขวง เมืองนครเชียงใหม่ แต่กองทัพไทยมิทันไปถึงได้ข่าวว่ากองทัพพม่าถอยไปแล้ว ก็โปรดเกล้าให้ยกกองทัพกลับ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนนามพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ตี) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์
พุทธศักราช 2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้า ให้ทั้ง 3 เมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เลยทีเดียว มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน (พงศาวดารเมืองประทายสมันต์เลขที่ 001: 3/10)
พุทธศักราช 2351 พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งหลวงวิเศษราชา (มี หรือแม็ย) ผู้เป็นน้องชาย เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พุทธศักราช 2354 พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งให้นายสุ่น บุตรพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
ต่อมาเมืองขุขันธ์ ขออนุญาตยกบ้านลังเสนเป็นเมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายมาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็นเมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เขตแขวงเมืองจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทร์อยู่ในอำนาจเจ้าอนุเมืองเวียงจันทร์กับเจ้าโย่บุตรที่ครองเมืองจำปาศักดิ์ พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกำลังผู้คนมากขึ้นก็มีใจกำเริบคิดกบฏต่อกรุงเทพ เมื่อปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุแต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทร์ คุมกองทัพยกเข้าตีหัวเมืองรายทางเข้ามาจนถึงจังหวัดนครราชสีมา
ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ก็เกณฑ์กำลังยกเป็นกองทัพมาตีเมืองขุขันธ์แตกจับพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์กับพระภักดีภูธรสงครามปลัด (มานะ) พระแก้วมนตรียกกระบัตร (เทศ) กับกรมการได้และฆ่าเสีย ส่วนเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ ได้มีการป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน และได้เกณฑ์กำลังไพร่พลไปสมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงคราม สาเหตุการกบฏครั้งนี้มีหลักฐานทั้งฝ่ายไทยและเอกสารพื้นเวียง เสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ไว้ 3 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1. การสักเลก (การสักข้อมือคนในบังคับ) ในหัวเมืองอีสาน สำหรับการสักเลกนี้ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มเมื่อใดแต่อย่างน้อยที่สุดประมาณปีพุทธศักราช 2317 ช่วงสมัยธนบุรี จนเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในปีพุทธศักราช 2369 (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จุลศักราช 1205 เลขที่ 86) การส่งข้าหลวงมาสักเลกสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนในหัวเมืองเขมรป่าดงอย่างมาก ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเจ็บตัวจากการสักเลกแล้วยังต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสักเลกอีก คนละ 1 บาท 1 เฟื้อง
ประเด็นที่ 2. ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเมืองขุขันธ์ เอกสารพื้นเวียงกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมา จากการศึกษาของพรรษา สินสวัสดิ์ (2521:83-84) กล่าวไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีความเชื่อมั่นและวางพระทัยในความสามารถของพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมาดำเนินการบางประการที่ทำให้เดือดร้อนแก่หัวเมืองลาว และหัวเมืองเขมรป่าดง (เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขันธ์) จนเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกับหัวเมืองในกลุ่มดังกล่าว เช่น ในครั้งพระยาพรหมภักดีมีคำสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลจากเมืองอุบลราชธานี เมืองจำปาศักดิ์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์จะยกไปตีข่าในเขตแดนจำปาศักดิ์เพื่อกวาดต้อนส่งเข้ามากรุงเทพในครั้งนั้น พระยาไกรภักดีเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เกิดขัดแย้งกับพระยาพรหมภักดีอย่างรุนแรงถึงกับพระยาไกรภักดีมีใบบอกฟ้องเข้ามายังกรุงเทพ ว่าพระยาพรหมภักดีทำการกดขี่ข่มเหง ทางกรุงเทพ จึงได้ส่งขุนนางผู้ใหญ่ขึ้นไปสอบสวนผลการสอบสวนปรากฏว่า พระยาพรหมภักดีไม่ผิด ความขัดแย้งระหว่างพระยาพรหมภักดีกับพระยาขุขันธ์ได้เกิดบานปลายออกไปเมื่อ พระยาพรหมภักดีสนับสนุนให้เจ้าทิงหล้า ซึ่งเป็นน้องชายของพระยาขุขันธ์ ก่อการกบฏต่อพระยาขุขันธ์ และพระยาพรหมภักดีนำ(กองทัพ)จังหวัดนครราชสีมาขึ้นมาสนับสนุนเจ้าทิงหล้า และได้จุดไฟเผาเมืองขุขันธ์จนพระยาขุขันธ์ต้องหนีไปอยู่เมืองนางรอง
ประเด็นที่ 3. ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้านครจำปาศักดิ์ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดารไทย แต่ในเอกสารพื้นเวียงกล่าวว่าเป็นชนวนสำคัญที่สุดที่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏ (ธวัช ปุณโณทก 2526 : 82) กล่าวคือ พระยาพรหมภักดีครองเมืองโคราชได้ 2 ปี มีความขัดข้องใจที่ไม่ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ จึงจัดสร้างด่านใกล้เมืองพระยาไกรภักดี เจ้าเมืองขุขันธ์จนเกิดเรื่องกับพระยาไกรภักดี ดังกล่าวมาแล้ว ภายหลังพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมามีหนังสือสารตรา ไปยังเมืองจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตรโย่) เจ้าเมืองจำปาศักดิ์โกรธจึงไปทูลเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์โกรธแค้นมาก
จาก 3 ประเด็นที่กล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์กับเจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอิน) และนำไปสู่กบฏเจ้าอนุวงศ์ในปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทรน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธจับพระไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) ์เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม (มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี (ทศ) ยกกระบัตรกับกรมการได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไปเมืองจำปาศักดิ์
เมื่อข่าวเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏได้ททราบถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นทัพหน้าพร้อมด้วย พระยาราชนิกุล พระยากำแหง พระยารองเมือง พระยาจันทบุรี คุมไพร่พลไปทางเมืองพระตะบองขึ้นไปเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เกณฑ์เขมรป่าดงไปเป็นทัพขนาบกองทัพกรุงเทพ ได้ตามตีกองทัพลาวเรื่อยไปจนถึงเวียงจันทน์และตีเมืองเวียงจันทน์แตกเมื่อพุทธศักราช 2370
เมื่อพุทธศักราช 2371 ทรงพระโปรดเกล้า ให้เลื่อนพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทาย-สมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์เป็นเจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์
ส่วนทางเมืองสังขะ โปรดให้พระยาสังขะเป็นพระยาภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้บุตรพระยาสังขะ เป็นพระยาสังขะบุรีศรีนครอัจจะปะนึง
ในปีพุทธศักราช 2372 หัวเมืองฝ่ายตะวันออกไม่เรียบร้อยดี เนื่องมาจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์เพราะราษฏรพากันหนีหลบภัยสงครามไปต่างเมือง เช่น หัวเมืองเขมรป่าดง ราษฎรพากันหลบหนีไปยังแถบเขมร ราษฎรเมืองนครราชสีมาก็พากันหลบหนีไปทางเมือง ลพบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี เป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาขณะดำรงตำแหน่งพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่กองออกไปจัดการหัวเมืองอีสาน-ลาว ทั้งหมด (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1856 เลขที่ 86) และได้ไปจัดตั้งราชการสำมะโนครัว แต่งตั้งกองสักเลกอยู่ ณ กุดผไท (อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์)
ในปีพุทธศักราช 2385 (จุลศักราช 1205) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้เกณฑ์คน หัวเมืองเขมรป่าดงหัวเมืองขุขันธ์ 2,000 คน เมืองสุรินทร์ 1,000 คน เมืองสังขะ 300 คน เมืองศีรษะเกษ 2,000 คน เมืองเดชอุดม 400 คน รวม 6,200 คน (หอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 4/1 จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1205) และในปีพุทธศักราช 2381 เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้กำลังจากเมืองลาว หัวเมืองเขมรป่าดง เมืองนครราชสีมา 12,000 คน เกณฑ์กำลังขึ้นไปสมทบทัพกรุงเทพ ที่เมืองอุดมมีชัยไปรบในกัมพูชา (หอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 3 จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1201)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อพุทธศักราช 2394 (จุลศักราช 1213) กรมการเมืองสุรินทร์ได้เข้าไปเฝ้าถึงกรุงเทพจึงโปรดเกล้า ให้พระยาบดินทรเดชา สมุหนายกปรึกษากับกรมการเมืองสุรินทร์ ที่ประชุมเห็นว่า พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) ผู้ช่วยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นผู้มีปัญญารู้หลักราชการและมีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ไพร่บ้านพลเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตรให้พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ตั้งแต่เดือนอ้าย ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 2214 (พุทธศักราช 2395) (ไพฑูรย์ มีกุศล 2515 : 8-9) และในปีเดียวกันได้โปรดเกล้า ให้หลวงนรินทร์ราชวงศา (นาก) บุตรเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระไชยณรงค์ภักดี ปลัด
ให้พระมหาดไทย (จันทร์) บุตรเจ้าวงศา หลานเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระยาพิชัยบวรวุฒิ ยกกระบัตร รักษาราชการเมืองสุรินทร์ต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พุทธศักราช 2411-2453)
พุทธศักราช 2412 พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านกุดไผท หรือจารพัตเป็นเมือง ขอหลวงไชยสุริยง (คำมี) บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์ (หมื่น) กองนอกไปเป็นเจ้าเมือง ส่วนตำแหน่งปลัดและยกกระบัตรเมืองสังฆะว่าง ขอพระสุนทรพิทักษ์บุตรพระปลัดคนเก่าขึ้นเป็นปลัด และขอหลวงศรีสุราชผู้หลานเป็นยกกระบัตรเมืองสังฆะ ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ในปีมะเส็งนั้น (พุทธศักราช 2412) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้มีตราพระราชสีห์ ตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัต เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ตั้งให้หลวงไชยสุริยงกองนอกเป็นพระศีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมือง ขึ้นเมืองสังฆะ
ฝ่ายทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ เห็นว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศีขรภูมิแล้ว ก็เกรงว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ จะเอาบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย จึงได้มีใบบอกขอตั้ง้านลำดวนเป็นเมือง ขอให้พระไชยณรงค์ภักดี (นาก) ปลัดเมืองสุรินทร์ เป็นเจ้าเมืองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองสุรพินทนิคม ให้พระไชยณรงค์ภักดี ปลัด (บุนนาก) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมขึ้นเมืองสุรินทร์มาแต่นั้น
พุทธศักราช 2415 ฝ่ายพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลุมพุกเป็นเมือง ขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะเป็นเจ้าเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลุมพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์ เจ้าเมืองกันทรารมย์ ขึ้นกับเมืองสังฆะ
พุทธศักราช 2416 พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองก็ถึงแก่กรรม พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เห็นว่าหลวงงพิทักษ์สุนทรบุตรพระปลัดกรมการเมืองสังฆะ ซึ่งสมัครมาอยู่เมืองสุรพินทนิคมเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงดี จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมหลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมได้สามปีก็ถึงแก่กรรมแต่นั้นมาเจ้าเมืองสุรพินทนิคมจึงว่างตลอดมา
พุทธศักราช 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระศักดิ์เสนีย์ เป็นข้าหลวงออกไปตั้งสืบสวนจับโจรผู้ร้ายหัวเมืองตะวันออก เนื่องจากพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) และพระยาสังขะได้บอกมายังกรงเทพ ว่าเกิดโจรผู้ร้ายปล้นลักทรัพย์สิ่งของราษฎรในเขตของเมืองทั้งสองแล้วหนีเข้าไปแขวงเมืองบุรีรัมย์ เมืองนางรอง เมืองประโคนชัย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนมาก ข้าหลวงที่ส่งไปเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อปราบโจรผู้ร้ายเสร็จแล้วก็กลับกรุงเทพ ข้าหลวงที่ได้รับการแต่งตั้งลักษณะนี้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดได้ทุกเมือง
พุทธศักราช 2424 ฝ่ายทางเมืองจงกัล ตั้งแต่โปรดเกล้า ให้หลวงสัสดี (ลิน) เป็นพระวิไชย เจ้าเมืองจงกัล พระวิไชยรับราชการได้ 7 ปี ก็ถึงแก่กรรม เจ้าเมืองสังฆะจึงได้ให้พระสุนทรนุรักษ์ผู้หลานนำใบบอกไปกรุงเทพ ขอให้พระสุนทรนุรักษ์เป็น พระทิพชลสินธุ์อินทรนฤมิตร
ทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ว่าง ขอพระมหาดไทยเป็นพระยกกระบัตร เมื่อวันศุกร์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระไชยนครบวรวุฒิ ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์
พุทธศักราช 2425 คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวเป็นอันมาก ข้ามไปตั้งอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงได้มีใบบอก ขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง ขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองชุมพลบุรี ให้พระวิเศษราชา (นัยหนึ่งว่า หลวงราชวรินทร์ ทองอิน) เป็นพระฤทธิรณยุทธ เจ้าเมืองและโปรดเกล้า ให้ตั้งท้าวเพชรเป็นที่ปลัด ให้ท้าวกลิ่นเป็นที่ยกกระบัตร ทั้งสองคนนี้เป็นพี่ชายพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) และท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี พร้อมกันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งนายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคม แทนคนเก่าที่ถึงแก่กรรมและตำแหน่งเจ้าเมืองยังว่าง
พุทธศักราช 2492 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองจำปาศักดิ์ ได้เชิญประชุมเจ้าเมืองภาคอีสานขึ้น ณ เมืองอุบล เพื่อสำรวจชายฉกรรจ์และแก้ไขระเบียบการจัดเก็บภาษีอากร ในระหว่างการประชุมข้าราชการอยู่นั้น ได้รับรายงานว่า ทัพฮ่อเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทร์แตกการประชุมต้องยุติลง พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ต้องรีบระดมกำลังขึ้นไปยังเมืองหนองคายโดยด่วนเพื่อสมทบกับกองทัพเมืองนครราชสีมา ส่วนกองทัพจากกรุงเทพนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปสมทบที่เมืองหนองคาย ซึ่งเป็นจุดชุมนุมพล สำหรับพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์นั้นได้มีคำสั่งให้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบล เพราะเจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพในครั้งนั้นด้วย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบลอยู่ 2 ปี จึงได้กลับเมืองสุรินทร์ เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ย่างเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เต็มที่ จึงได้มอบให้นายเยียบ (บุตรชาย) ช่วยราชการเป็นการภายใน
พุทธศักราช 2432 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีอำนาจเต็มในภาคอีสานทั้งหมด ได้แต่งตั้งใบประทวนให้ ยานเยียบ เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง 2 ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่อ พุทธศักราช 2433 พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงต้องกลับมาเป็นเจ้าเมือง อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้นเอง
พุทธศักราช 2434 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีสะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว
พุทธศักราช 2435 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ซึ่งย้ายมาแทนพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ได้ทรงแต่งตั้งให้พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) น้องชาย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ (เปลี่ยนจากเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง)
ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้ เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลาง มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาด ทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ใช่เชื้อสายบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ด้วยความไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวเมืองได้ดีพอจึงทำให้ดำเนินการบางอย่างผิดพลาด มิชอบโดยหลักการ แต่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) เจ้าเมืองไม่อาจขัดขวางได้เพราะเห็นว่า ถ้าเข้าขัดขวางแล้วก็จะมีแต่ความร้าวฉาน ขาดความสามัคคีในชนชั้นปกครอง
พุทธศักราช 2436 ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองสุรินทร์จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวสุรินทร์จะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ
กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสสงบลงไม่นานนัก ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ ได้ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ยังไม่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นที่ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ตามตำแหน่ง ในช่วงระยะนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้สั่งย้ายหลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) และแต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ระหว่างที่เสด็จกลับกรุงเทพผ่านเมืองสุรินทร์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรได้ทรงแต่งตั้งพระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ยกกระบัตรเมือง เป็นผู้รักษาเมืองสุรินทร์และเมื่อเสด็จถึงกรุงเทพ แล้วได้กราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งให้พระพิชัยนครบวรวุฒิเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์สืบต่อมาและถึงแก่กรรมในปีพุทธศักราช 2438 (รัตนโกสินทรศก 114)
ระหว่างนี้ ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตัวข้าหลวงกำกับราชการโดยลำดับกล่าวคือ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) ดำรงตำแหน่งอยู่ประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปอยู่จังหวัดศรีสะเกษสับเปลี่ยนกับจมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) จมื่นวิชัยยุทธเดชาคณี ดำรงตำแหน่งประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปโดยมีหลวงวิชิตชลชาญมาดำรงตำแหน่งแทน ชั่วระยะเวลาอันสั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ก็ได้ย้ายหลวงสาทรสรรพกิจมาดำรงตำแหน่งในประมาณปีพุทธศักราช 2438
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) ถึงแก่กรรมในปีจุลศักราช 1257 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 114 ตรงกับปี พุทธศักราช 2438 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้ พระพิชัยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา สันนิษฐานว่าพระพิชัยณรงค์ภักดีเป็นบุตรของนายพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 3 พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรมเมื่อรัตนโกสินทรศก 126 หรือ พุทธศักราช 2450 และเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว จึงได้รับสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้หลวงประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) ซึ่งเป็นบุตรพระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์คนที่ 8 เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์แทน แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมในปีพุทธศักราช 2451 และในต้นปีพุทธศักราช 2451 นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังเป็นช่วงเวลาที่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (เข้าสู่แบบเทศาภิบาล) ส่วนกลางได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดบ้าง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง บุคคลแรกที่ได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์ ในปีพุทธศักราช 2451 คือ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์)
จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบบเทศาภิบาลจนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล
ขอบคุณข้อมูล:http://53010911019.blogspot.com/
อนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง https://th.wikipedia.org/wiki/ |
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม
ดังที่จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2469 ดังนี้
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่สร้างอย่างมั่นคงในปางก่อน มีคูถึง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพงเมือง น่าจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นเมืองหน้าด่านทั้งทางตะวันออก และทางใต้ซึ่งมีช่องข้ามเขาบรรทัดต่อจังหวัดสุรินทร์อยู่หลายช่อง คือ ช่องปราสาทตาเมิน, ช่องเสม็ก, ช่องดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งมีทางเดินไปสู่ศรีโสภณ และเมืองจงกัน ยังมีคนและเกวียนเดินอยู่ทุกช่อง แต่เป็นทางลำบาก คงสะดวกแต่ช่องตะโก ต่อมาทางตะวันตก ซึ่งกรมทางได้ไปทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว บริเวณเมืองสุรินทร์เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมตลอดปี แต่ก็ทำไร่นาได้ เป็นทุ่งใหญ่ บ้านเมืองกำลังจะเจริญขึ้น เพราะเป็นปลายทางรถไฟ มีห้องแถวคึกคักไม่หย่อนกว่าอุบล และกำลังสร้างทำอยู่อีกก็มีมาก
พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์เป็นเขมรเป็นชาวพื้นเหมือนเช่น บุรีรัมย์ นางรอง มีลาวเจือปนบ้างเป็นส่วนน้อย กับมีชาติส่วยอีกพวกหนึ่ง ซึ่งว่าพูดภาษาของตนต่างหาก ตามที่ผู้รู้กล่าวว่า พื้นเป็นภาษาเขมรเจือด้วยคำลาว พวกเขมรพลเมืองสุรินทร์ยังคงพูดภาษาเขมร อยู่ทั่วไปและที่กล่าวว่าไม่รู้ภาษาไทยก็มีต้องใช้ล่ามเนืองๆ ผู้ปกครองท้องถิ่น เห็นว่าเป็นการดิ้นรน แสร้งทำเป็นพูดไทยไม่ได้ก็มีอยู่มาก แต่ในการปกครองไม่ปรากฏว่ามีความยากลำบากอะไรกว่าพลเมืองธรรมดา ในเรื่องของภาษาเขมรสอบสวนได้ความว่า วิชชาหนังสือขอมสูญแล้ว ไม่มีใครเรียน และไม่มีที่เรียน เพราะโรงเรียนสอนภาษาไทยอย่างเดียว เวลานี้มีแต่คนแก่ๆ เท่านั้นที่รู้หนังสือขอม ได้เพียงนี้ก็เห็นว่าในทางปกครองที่จะให้เกิดเป็นสำนึกของคนไทย นับว่าได้ทำไปได้มากแล้ว ถ้าจัดการโรงเรียนให้เจริญขึ้นอีก และในต่อไปการคมนาคมกับกรุงเทพสะดวกขึ้น พลเมืองพวกนี้จะรู้สึกตัวเป็นไทยยิ่งขึ้นทุกวัน ทั้งการลูกเสือก็ย่อมเป็นปัจจัยช่วยในทางนี้อยู่มาก ส่วนการไปมาถึงกันกับพวกเขมรต่ำในการปกครองฝรั่งเศสนั้น สอบสวนได้ความว่ายังมีอยู่เสมอแต่มีข้างฝ่ายคนเรื่องเขมรต่ำอพยพเข้ามาอยู่ทางเราเสียมากกว่า ปีหนึ่ง เข้าประมาณ 50 คน โดยมากเป็นเรื่องหนีส่วยอากรที่ทางฝ่ายโน้นเก็บแรงกว่าทางนี้
จังหวัดสุรินทร์ มีลำดับการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งทางด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งบ้านเรือนที่มีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายในอดีต มาเป็นวิถีชีวิตที่สลับซับซ้อนอย่างในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสะท้อนความเคลื่อนไหวของผู้คนที่มีมิติความสัมพันธ์ต่อกันอยู่ตลอดเวลา อันเป็นลักษณะโดดเด่นของผู้คนชาวจังหวัดสุรินทร์
ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระยาประชากรกิจกรจักรเชื่อว่า ชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานล่างคือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีบางส่วน กลุ่มแรกคือ กวย กูย หรือ ข่า ขมุ ลัวะ ละว้า เยอ ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน แต่เรียกตามสำเนียงของภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกชนกลุ่มนี้ว่าส่วย
อีริค ไซเดนฟาเดน (Erick Seidenfaden) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวเดนมาร์ก สันนิษฐานว่าพวกกูยเคลื่อนย้ายจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศพม่า และมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 3,000 ปีเศษมาแล้ว ชาวกูยเหล่านี้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภาคใต้ของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พวกที่อพยพเข้ามาเป็นระลอกที่ 2 และที่ 3 คือ เขมรและลาว
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนป่า อันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า ข่า, ส่วย, กวย ซึ่งยังมีอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก
เขมรเป็นชนพื้นเมืองที่เพิ่งอพยพเข้ามาอยู่ในสมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ภายหลังได้ผสมกลมกลืนกับชาวส่วยซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิมและได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า พวกเขมรป่าดง (ข่า-เขมร) ส่วนพวกลาวนั้นอพยพเข้ามาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ราวพุทธศักราช 2257-2261
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางการเมืองทำให้กัมพูชาตกอยู่ในฐานะประเทศราชและในระหว่างปีพุทธศักราช 2103 อาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พุทธศักราช 2091-2111) กษัตริย์ของลาวได้สร้างนครเวียงจันทร์เป็นเมืองหลวงของล้านช้าง
ในปีพุทธศักราช 2257 ลาวแตกออกเป็น 3 รัฐอิสระ คือหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ชาวลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดพร้อมด้วยนักศึกษาวัด ทั้งที่กำลังศึกษา เป็นพระภิกษุสามเณรอยู่และที่จบการศึกษาแล้วเป็นอ้ายเชียง อ้ายทิด (บันฑิต) อ้ายจารย์ (อาจารย์) กับพวกข้าทางใต้ไปบูรณะพระธาตุพนม และไปจนถึงเขมร แล้วกลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์
เมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองอัตตปือแสนแปง (แสนแปง) ซึ่งต่างเป็นเมืองของพวกลัวะ ข่า (หรือชนเผ่าพันธุ์ที่เราเรียกว่าส่วยในปัจจุบัน) ขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ปกครองโดยนางแพง เจ้าหญิงข่า-ลัวะ ธิดาของนางเพากับเจ้าคำช้าง หรือบ้างคำ ด้วยคุณงามความดีของเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ด นางแพงจึงมอบอำนาจการปกครองเมืองจำปาศักดิ์ให้ เจ้าราชครูหลวงจึงได้อัณเชิญเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจากนครเวียงจันทร์ไปปกครองนครจำปาศักดิ์นับตั้งแต่พุทธศักราช 2261 - 2281 เป็นต้นมา เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้ปกครองจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าราชครูแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดจึงขยายอำนาจ โดยตั้งชาวลาวที่มีความรู้ ความสามารถ ออกไปปกครองเมืองของลัวะ ข่าต่างๆ ภายในเขตเมืองจำปาศักดิ์ เช่น ส่งจารย์หวดเป็นเจ้าเมืองโขงสี่พันดอน ให้ท้าวมั่นไปตั้งบ้านโพนขึ้นเป็นเมืองสาระวันแต่ชาวบ้านชอบเรียกเมืองมั่นตามชื่อท้าวมั่นและเรียกควบกับเมืองคำทองใหญ่ว่าเมืองมั่นคำทอง ให้จารย์แก้ไปตั้งบ้านถ่ง (ท่ง) เป็นเมืองสุวรรณภูมิ ( ในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ให้จารย์เซียงมาตั้งบ้านโนนสามขาเป็นเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษในปัจจุบัน) ตั้งได้ไม่นานเมืองศรีนครเขตก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
การแยกเป็นรัฐอิสระของอาณาจักรลาว ทำให้ทั้ง 3 รัฐ เกิดการแข็งต่อเมืองกันและต่างสะสมแสนยานุภาพไว้ต่อสู้ ป้องกันการรุกราน เมืองจำปาศักดิ์จึงบังคับให้อัตตปือ แสนปางส่งช้างป้อนกองทัพให้แก่จำปาศักดิ์ตามที่ต้องการ ทำให้ส่วยอัตตปือ แสนปางทนต่อสภาพถูกบีบบังคับไม่ได้ จึงหนีข้ามลำน้ำโขงเข้ามาอาศัยกับพวกส่วยดั้งเดิมบริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่างคือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบางส่วนของนครราชสีมา มหาสารคาม
ชาวส่วยหลายกลุ่มพากันอพยพหนีสงครามข้ามมาตั้งหลักแหล่งทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เมื่อพุทธศักราช 2260 แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนและมีหัวหน้าปกครองตามที่ต่างๆ ซึ่งเป็นจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันคือ
กลุ่มที่ 1 มาอยูที่บ้านเมืองที (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม
กลุ่มที่ 2 มาอยูที่บ้านกุดหวายหรือเมืองเตา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี) มีหัวหน้าชื่อ เชียงลี
กลุ่มที่ 3 มาอยูที่บ้านเมืองลีง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง
กลุ่มที่ 4 มาอยูที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (ปัจจุบันคือบ้านดอนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะและเชียงขัน
กลุ่มที่ 5 มาอยูที่บ้านอัจจะปะนึง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสังขะ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ
กลุ่มที่ 6 มาอยูที่บ้านกุดปะไท (ปัจจุบันคือบ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงไชย
ชาวส่วยเหล่านี้มีความชำนาญในการคล้องช้าง ทำการเกษตร หาของป่า ป่าดงแถบนี้มีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น โขลงช้างพัง ช้างพลาย ฝูงเก้ง กวาง ละมั่ง และโคแดง เหมาะกับการทำมาหากินของชาวส่วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ละชุมชนมีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ
สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกเขตกรุงหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตพิมาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ขุนนางสองพี่น้อง (เข้าใจว่า คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) กับไพร่พล 30 คน ออกติดตามช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ได้มาสืบถามร่องรอยช้างจากชาวเมืองพิมายซึ่งเป็นผู้ชำนาญภูมิประเทศในแถบนั้น ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปสืบถามพวกส่วย มอญ แซก โพนช้างอยู่ริมเขาดงใหญ่เชิงเขาพนมดงรัก เมื่อได้รับคำแนะนำจากชาวเมืองพิมายว่าช้างเผือกหนีไปทางไหนแล้ว ขุนนางสองพี่น้องพร้อมด้วยไพร่พลออกติดตามต่อมาตามลำน้ำมูลมาพบเชียงสีหรือตากะอาม หัวหน้าบ้านกุดหวาย เชียงสีได้พาขุนนางสองพี่น้องไปพบหัวหน้าหมู่บ้านอื่นๆ เพื่อจะได้ช่วยกันตามหาช้างเผือกต่อไป โดยไปหาเชียงปุมที่บ้านเมืองที เชียงปุมได้ร่วมสมทบกับขุนนางสองพี่น้องพากันไปหาเชียงไชยที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัต) ไปหาเชียงขันที่บ้านโคกลำดวน ไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง จึงทราบข่าวจากเชียงฆะว่า ได้พบช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งาพาบริวารซึ่งเป็นช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก หรือหนองบัวในเวลาบ่ายทุกวัน
เชียงฆะก็พาขุนนางสองพี่น้องและพวกไปยังหนองโชก พากันขึ้นต้นไม้ที่ริมหนองโชกเพื่อดูช้างโขลงนั้น ครั้นเวลาบ่ายช้างโขลงนั้นก็ออกจากชายป่ามาเล่นน้ำตามเคย ปรากฏว่าช้างเผือกที่หายมานั้นอยู่กลางฝูงพากันลงเล่นน้ำที่หนองโชก ขุนนางทั้งสองจึงเอาก้อนอิฐแปดก้อนที่นำมาจากบ้านเมืองทีขึ้นเสกเวทมนตร์ตามพิธีกรรมคชศาสตร์ อธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างทั้งแปดทิศ ฝ่ายช้างป่าก็แตกตื่นหนีเข้าป่าหมด คงเหลืออยู่แต่ช้างเผือกเชือกเดียวขุนนางสองพี่น้องก็ลงจากต้นไม้พากันขึ้นขี่หลังช้างโดยง่าย เมื่อจับช้างได้แล้ว ขุนนางสองพี่น้องและบริวารพากันเดินทางกลับ หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายที่มาช่วยเหลือในการติดตามช้าง ก็ได้อำนวยความสะดวกในการควบคุมช้างเผือกมาส่งที่กรุงศรีอยุธยาด้วย เมื่อมาถึงพระนครแล้ว ขุนนางสองพี่น้องจึงได้นำหัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายเข้าเฝ้าสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ และกราบบังคมทูลเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทรงทราบ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งบรรดาหัวหน้าชาวส่วยให้มีฐานันดรศักดิ์ คือ
ตากะจะ เป็น หลวงแก้วสุวรรณ
เชียงขัน เป็น หลวงปราบ
เชียงฆะ เป็น หลวงเพชร
เชียงปุม เป็น หลวงสุรินทรภักดี
เชียงลี เป็น หลวงศรีนครเตา
เชียงไชย เป็น ขุนไชยสุริยงค์
หลวงศรีนครเตา |
กลับไปปกครองคนในหมู่บ้านของตน โดยอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย ( ยุพดี จรัณยานนท์ 2522 : 34 - 35 )
พุทธศักราช 2306 หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาตย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีซึ่งคับแคบและไม่สะดวกในการทำมาหากินไปตั้งที่บ้านคูประทายหรือบ้านคูประทายสมันต์ คือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะป้องกันและต่อต้านศัตรูที่มารุกรานได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหลวงสุรินทร์ภักดีจึงได้อพยพราษฎรบางส่วนไปอยู่ที่บ้านคูประทาย ส่วนญาติพี่น้อง ชื่อเชียงบิด เชียงเกตุ เชียงพัน นางสะตา นางแล และราษฎรส่วนหนึ่งคงอยู่ ณ หมู่บ้านเมืองทีตามเดิม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) กับญาติร่วมกันสร้างเจดีย์ 3 ยอด สูง 18 ศอก และสร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง 4 ศอก ซึ่งปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อย้ายถิ่นฐานจากบ้านเมืองทีไปอยู่ที่บ้านคูประทายแล้ว หัวหน้าหมู่บ้านทั้ง 5 จึงได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา นำสิ่งของไปทูลเกล้าถวาย คือ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี เพราะว่าขณะนั้นบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์จะได้อพยพมาตั้งฐิ่นฐานอยู่ในดินแดนอันเป็นป่าดงทึบส่วนนี้ โดยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่อย่างมั่นคงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของกรุงศรีอยุธยา ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในป่าดงในราชอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งกรุงศรีอยุธยาเริ่มรู้จักก็โดยหัวหน้าหมู่บ้านได้ช่วยเหลือจับช้างเผือกคืนกรุงศรีอยุธยา และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำของไปทูลเกล้าถวายแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้น ดังนี้
หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็น พระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ยกบ้านคูประทาย เป็น เมืองประทายสมันต์ ให้พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็น พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านดงยาง เป็น เมืองสังฆะ ให้พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงศรีนครเตา (เชียงสี หรือตากะอาม) เป็น พระศรีนครเตา ยกบ้านกุดหวาย เป็น เมืองรัตนบุรี ให้พระศรีนครเตา เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาท-สี่เหลี่ยมดงลำดวน เป็น เมืองขุขันธ์ ให้พระภักดีศรีนครลำดวน เป็นเจ้าเมืองปกครอง การปกครองบังคับบัญชาแบ่งเป็นหมวดหมู่ เป็นกอง มีนายกอง นายหมวด นายหมู่ บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหมดก็เดินทางกลับและปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุขตลอดมา
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี
เมื่อพุทธศักราช 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทร์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร ในปีพุทธศักราช 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี
ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชรรวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่างๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทร์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา ทั้ง 3 เมือง
อนุเสาวรีย์พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ pr.prd.go.th |
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2325 และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
พุทธศักราช 2329 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในการเปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์ เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้า ให้เจ้าเมืองพิมาย แบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้
ทิศเหนือ จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ำมูล ถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก ถึงลำห้วยตะโคง หรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองขั้น และห้วยราช
ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนอยู่ในความปกครองของไทย เช่นบ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับเมืองสังขะ
พุทธศักราช 2337 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน ชื่อนายตี (แต็ย) และนายมี (แม็ย) เป็นหญิง 2 คน ชื่อนางน้อยและนางเงิน เมื่อพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้า ตั้งให้นายตี (แต็ย) บุตรชายคนโต เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองสุรินทร์คนต่อมา
พุทธศักราช 2342 มีตราโปรดเกล้า ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ 100 รวม 300 เข้ากองทัพยกไปตีกองทัพพม่า ซึ่งยกมาตั้งอยู่ในเขตแขวง เมืองนครเชียงใหม่ แต่กองทัพไทยมิทันไปถึงได้ข่าวว่ากองทัพพม่าถอยไปแล้ว ก็โปรดเกล้าให้ยกกองทัพกลับ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนนามพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ตี) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์
พุทธศักราช 2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้า ให้ทั้ง 3 เมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เลยทีเดียว มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน (พงศาวดารเมืองประทายสมันต์เลขที่ 001: 3/10)
พุทธศักราช 2351 พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งหลวงวิเศษราชา (มี หรือแม็ย) ผู้เป็นน้องชาย เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พุทธศักราช 2354 พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งให้นายสุ่น บุตรพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
ต่อมาเมืองขุขันธ์ ขออนุญาตยกบ้านลังเสนเป็นเมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายมาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็นเมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เขตแขวงเมืองจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทร์อยู่ในอำนาจเจ้าอนุเมืองเวียงจันทร์กับเจ้าโย่บุตรที่ครองเมืองจำปาศักดิ์ พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกำลังผู้คนมากขึ้นก็มีใจกำเริบคิดกบฏต่อกรุงเทพ เมื่อปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุแต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทร์ คุมกองทัพยกเข้าตีหัวเมืองรายทางเข้ามาจนถึงจังหวัดนครราชสีมา
ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ก็เกณฑ์กำลังยกเป็นกองทัพมาตีเมืองขุขันธ์แตกจับพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์กับพระภักดีภูธรสงครามปลัด (มานะ) พระแก้วมนตรียกกระบัตร (เทศ) กับกรมการได้และฆ่าเสีย ส่วนเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ ได้มีการป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน และได้เกณฑ์กำลังไพร่พลไปสมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงคราม สาเหตุการกบฏครั้งนี้มีหลักฐานทั้งฝ่ายไทยและเอกสารพื้นเวียง เสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ไว้ 3 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1. การสักเลก (การสักข้อมือคนในบังคับ) ในหัวเมืองอีสาน สำหรับการสักเลกนี้ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มเมื่อใดแต่อย่างน้อยที่สุดประมาณปีพุทธศักราช 2317 ช่วงสมัยธนบุรี จนเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในปีพุทธศักราช 2369 (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จุลศักราช 1205 เลขที่ 86) การส่งข้าหลวงมาสักเลกสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนในหัวเมืองเขมรป่าดงอย่างมาก ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเจ็บตัวจากการสักเลกแล้วยังต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสักเลกอีก คนละ 1 บาท 1 เฟื้อง
ประเด็นที่ 2. ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเมืองขุขันธ์ เอกสารพื้นเวียงกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมา จากการศึกษาของพรรษา สินสวัสดิ์ (2521:83-84) กล่าวไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีความเชื่อมั่นและวางพระทัยในความสามารถของพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมาดำเนินการบางประการที่ทำให้เดือดร้อนแก่หัวเมืองลาว และหัวเมืองเขมรป่าดง (เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขันธ์) จนเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกับหัวเมืองในกลุ่มดังกล่าว เช่น ในครั้งพระยาพรหมภักดีมีคำสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลจากเมืองอุบลราชธานี เมืองจำปาศักดิ์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์จะยกไปตีข่าในเขตแดนจำปาศักดิ์เพื่อกวาดต้อนส่งเข้ามากรุงเทพในครั้งนั้น พระยาไกรภักดีเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เกิดขัดแย้งกับพระยาพรหมภักดีอย่างรุนแรงถึงกับพระยาไกรภักดีมีใบบอกฟ้องเข้ามายังกรุงเทพ ว่าพระยาพรหมภักดีทำการกดขี่ข่มเหง ทางกรุงเทพ จึงได้ส่งขุนนางผู้ใหญ่ขึ้นไปสอบสวนผลการสอบสวนปรากฏว่า พระยาพรหมภักดีไม่ผิด ความขัดแย้งระหว่างพระยาพรหมภักดีกับพระยาขุขันธ์ได้เกิดบานปลายออกไปเมื่อ พระยาพรหมภักดีสนับสนุนให้เจ้าทิงหล้า ซึ่งเป็นน้องชายของพระยาขุขันธ์ ก่อการกบฏต่อพระยาขุขันธ์ และพระยาพรหมภักดีนำ(กองทัพ)จังหวัดนครราชสีมาขึ้นมาสนับสนุนเจ้าทิงหล้า และได้จุดไฟเผาเมืองขุขันธ์จนพระยาขุขันธ์ต้องหนีไปอยู่เมืองนางรอง
ประเด็นที่ 3. ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้านครจำปาศักดิ์ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดารไทย แต่ในเอกสารพื้นเวียงกล่าวว่าเป็นชนวนสำคัญที่สุดที่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏ (ธวัช ปุณโณทก 2526 : 82) กล่าวคือ พระยาพรหมภักดีครองเมืองโคราชได้ 2 ปี มีความขัดข้องใจที่ไม่ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ จึงจัดสร้างด่านใกล้เมืองพระยาไกรภักดี เจ้าเมืองขุขันธ์จนเกิดเรื่องกับพระยาไกรภักดี ดังกล่าวมาแล้ว ภายหลังพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมามีหนังสือสารตรา ไปยังเมืองจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตรโย่) เจ้าเมืองจำปาศักดิ์โกรธจึงไปทูลเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์โกรธแค้นมาก
จาก 3 ประเด็นที่กล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์กับเจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอิน) และนำไปสู่กบฏเจ้าอนุวงศ์ในปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทรน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธจับพระไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) ์เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม (มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี (ทศ) ยกกระบัตรกับกรมการได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไปเมืองจำปาศักดิ์
เมื่อข่าวเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏได้ททราบถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นทัพหน้าพร้อมด้วย พระยาราชนิกุล พระยากำแหง พระยารองเมือง พระยาจันทบุรี คุมไพร่พลไปทางเมืองพระตะบองขึ้นไปเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เกณฑ์เขมรป่าดงไปเป็นทัพขนาบกองทัพกรุงเทพ ได้ตามตีกองทัพลาวเรื่อยไปจนถึงเวียงจันทน์และตีเมืองเวียงจันทน์แตกเมื่อพุทธศักราช 2370
เมื่อพุทธศักราช 2371 ทรงพระโปรดเกล้า ให้เลื่อนพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทาย-สมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์เป็นเจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์
ส่วนทางเมืองสังขะ โปรดให้พระยาสังขะเป็นพระยาภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้บุตรพระยาสังขะ เป็นพระยาสังขะบุรีศรีนครอัจจะปะนึง
ในปีพุทธศักราช 2372 หัวเมืองฝ่ายตะวันออกไม่เรียบร้อยดี เนื่องมาจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์เพราะราษฏรพากันหนีหลบภัยสงครามไปต่างเมือง เช่น หัวเมืองเขมรป่าดง ราษฎรพากันหลบหนีไปยังแถบเขมร ราษฎรเมืองนครราชสีมาก็พากันหลบหนีไปทางเมือง ลพบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี เป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาขณะดำรงตำแหน่งพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่กองออกไปจัดการหัวเมืองอีสาน-ลาว ทั้งหมด (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1856 เลขที่ 86) และได้ไปจัดตั้งราชการสำมะโนครัว แต่งตั้งกองสักเลกอยู่ ณ กุดผไท (อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์)
ในปีพุทธศักราช 2385 (จุลศักราช 1205) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้เกณฑ์คน หัวเมืองเขมรป่าดงหัวเมืองขุขันธ์ 2,000 คน เมืองสุรินทร์ 1,000 คน เมืองสังขะ 300 คน เมืองศีรษะเกษ 2,000 คน เมืองเดชอุดม 400 คน รวม 6,200 คน (หอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 4/1 จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1205) และในปีพุทธศักราช 2381 เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้กำลังจากเมืองลาว หัวเมืองเขมรป่าดง เมืองนครราชสีมา 12,000 คน เกณฑ์กำลังขึ้นไปสมทบทัพกรุงเทพ ที่เมืองอุดมมีชัยไปรบในกัมพูชา (หอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 3 จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1201)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อพุทธศักราช 2394 (จุลศักราช 1213) กรมการเมืองสุรินทร์ได้เข้าไปเฝ้าถึงกรุงเทพจึงโปรดเกล้า ให้พระยาบดินทรเดชา สมุหนายกปรึกษากับกรมการเมืองสุรินทร์ ที่ประชุมเห็นว่า พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) ผู้ช่วยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นผู้มีปัญญารู้หลักราชการและมีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ไพร่บ้านพลเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตรให้พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ตั้งแต่เดือนอ้าย ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 2214 (พุทธศักราช 2395) (ไพฑูรย์ มีกุศล 2515 : 8-9) และในปีเดียวกันได้โปรดเกล้า ให้หลวงนรินทร์ราชวงศา (นาก) บุตรเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระไชยณรงค์ภักดี ปลัด
ให้พระมหาดไทย (จันทร์) บุตรเจ้าวงศา หลานเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระยาพิชัยบวรวุฒิ ยกกระบัตร รักษาราชการเมืองสุรินทร์ต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พุทธศักราช 2411-2453)
พุทธศักราช 2412 พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านกุดไผท หรือจารพัตเป็นเมือง ขอหลวงไชยสุริยง (คำมี) บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์ (หมื่น) กองนอกไปเป็นเจ้าเมือง ส่วนตำแหน่งปลัดและยกกระบัตรเมืองสังฆะว่าง ขอพระสุนทรพิทักษ์บุตรพระปลัดคนเก่าขึ้นเป็นปลัด และขอหลวงศรีสุราชผู้หลานเป็นยกกระบัตรเมืองสังฆะ ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ในปีมะเส็งนั้น (พุทธศักราช 2412) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้มีตราพระราชสีห์ ตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัต เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ตั้งให้หลวงไชยสุริยงกองนอกเป็นพระศีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมือง ขึ้นเมืองสังฆะ
ฝ่ายทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ เห็นว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศีขรภูมิแล้ว ก็เกรงว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ จะเอาบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย จึงได้มีใบบอกขอตั้ง้านลำดวนเป็นเมือง ขอให้พระไชยณรงค์ภักดี (นาก) ปลัดเมืองสุรินทร์ เป็นเจ้าเมืองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองสุรพินทนิคม ให้พระไชยณรงค์ภักดี ปลัด (บุนนาก) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมขึ้นเมืองสุรินทร์มาแต่นั้น
พุทธศักราช 2415 ฝ่ายพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลุมพุกเป็นเมือง ขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะเป็นเจ้าเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลุมพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์ เจ้าเมืองกันทรารมย์ ขึ้นกับเมืองสังฆะ
พุทธศักราช 2416 พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองก็ถึงแก่กรรม พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เห็นว่าหลวงงพิทักษ์สุนทรบุตรพระปลัดกรมการเมืองสังฆะ ซึ่งสมัครมาอยู่เมืองสุรพินทนิคมเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงดี จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมหลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมได้สามปีก็ถึงแก่กรรมแต่นั้นมาเจ้าเมืองสุรพินทนิคมจึงว่างตลอดมา
พุทธศักราช 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระศักดิ์เสนีย์ เป็นข้าหลวงออกไปตั้งสืบสวนจับโจรผู้ร้ายหัวเมืองตะวันออก เนื่องจากพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) และพระยาสังขะได้บอกมายังกรงเทพ ว่าเกิดโจรผู้ร้ายปล้นลักทรัพย์สิ่งของราษฎรในเขตของเมืองทั้งสองแล้วหนีเข้าไปแขวงเมืองบุรีรัมย์ เมืองนางรอง เมืองประโคนชัย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนมาก ข้าหลวงที่ส่งไปเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อปราบโจรผู้ร้ายเสร็จแล้วก็กลับกรุงเทพ ข้าหลวงที่ได้รับการแต่งตั้งลักษณะนี้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดได้ทุกเมือง
พุทธศักราช 2424 ฝ่ายทางเมืองจงกัล ตั้งแต่โปรดเกล้า ให้หลวงสัสดี (ลิน) เป็นพระวิไชย เจ้าเมืองจงกัล พระวิไชยรับราชการได้ 7 ปี ก็ถึงแก่กรรม เจ้าเมืองสังฆะจึงได้ให้พระสุนทรนุรักษ์ผู้หลานนำใบบอกไปกรุงเทพ ขอให้พระสุนทรนุรักษ์เป็น พระทิพชลสินธุ์อินทรนฤมิตร
ทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ว่าง ขอพระมหาดไทยเป็นพระยกกระบัตร เมื่อวันศุกร์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระไชยนครบวรวุฒิ ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์
พุทธศักราช 2425 คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวเป็นอันมาก ข้ามไปตั้งอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงได้มีใบบอก ขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง ขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองชุมพลบุรี ให้พระวิเศษราชา (นัยหนึ่งว่า หลวงราชวรินทร์ ทองอิน) เป็นพระฤทธิรณยุทธ เจ้าเมืองและโปรดเกล้า ให้ตั้งท้าวเพชรเป็นที่ปลัด ให้ท้าวกลิ่นเป็นที่ยกกระบัตร ทั้งสองคนนี้เป็นพี่ชายพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) และท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี พร้อมกันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งนายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคม แทนคนเก่าที่ถึงแก่กรรมและตำแหน่งเจ้าเมืองยังว่าง
พุทธศักราช 2492 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองจำปาศักดิ์ ได้เชิญประชุมเจ้าเมืองภาคอีสานขึ้น ณ เมืองอุบล เพื่อสำรวจชายฉกรรจ์และแก้ไขระเบียบการจัดเก็บภาษีอากร ในระหว่างการประชุมข้าราชการอยู่นั้น ได้รับรายงานว่า ทัพฮ่อเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทร์แตกการประชุมต้องยุติลง พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ต้องรีบระดมกำลังขึ้นไปยังเมืองหนองคายโดยด่วนเพื่อสมทบกับกองทัพเมืองนครราชสีมา ส่วนกองทัพจากกรุงเทพนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปสมทบที่เมืองหนองคาย ซึ่งเป็นจุดชุมนุมพล สำหรับพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์นั้นได้มีคำสั่งให้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบล เพราะเจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพในครั้งนั้นด้วย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบลอยู่ 2 ปี จึงได้กลับเมืองสุรินทร์ เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ย่างเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เต็มที่ จึงได้มอบให้นายเยียบ (บุตรชาย) ช่วยราชการเป็นการภายใน
พุทธศักราช 2432 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีอำนาจเต็มในภาคอีสานทั้งหมด ได้แต่งตั้งใบประทวนให้ ยานเยียบ เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง 2 ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่อ พุทธศักราช 2433 พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงต้องกลับมาเป็นเจ้าเมือง อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้นเอง
พุทธศักราช 2434 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีสะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว
พุทธศักราช 2435 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ซึ่งย้ายมาแทนพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ได้ทรงแต่งตั้งให้พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) น้องชาย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ (เปลี่ยนจากเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง)
ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้ เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลาง มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาด ทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ใช่เชื้อสายบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ด้วยความไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวเมืองได้ดีพอจึงทำให้ดำเนินการบางอย่างผิดพลาด มิชอบโดยหลักการ แต่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) เจ้าเมืองไม่อาจขัดขวางได้เพราะเห็นว่า ถ้าเข้าขัดขวางแล้วก็จะมีแต่ความร้าวฉาน ขาดความสามัคคีในชนชั้นปกครอง
พุทธศักราช 2436 ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองสุรินทร์จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวสุรินทร์จะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ
กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสสงบลงไม่นานนัก ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ ได้ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ยังไม่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นที่ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ตามตำแหน่ง ในช่วงระยะนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้สั่งย้ายหลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) และแต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ระหว่างที่เสด็จกลับกรุงเทพผ่านเมืองสุรินทร์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรได้ทรงแต่งตั้งพระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ยกกระบัตรเมือง เป็นผู้รักษาเมืองสุรินทร์และเมื่อเสด็จถึงกรุงเทพ แล้วได้กราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งให้พระพิชัยนครบวรวุฒิเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์สืบต่อมาและถึงแก่กรรมในปีพุทธศักราช 2438 (รัตนโกสินทรศก 114)
ระหว่างนี้ ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตัวข้าหลวงกำกับราชการโดยลำดับกล่าวคือ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) ดำรงตำแหน่งอยู่ประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปอยู่จังหวัดศรีสะเกษสับเปลี่ยนกับจมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) จมื่นวิชัยยุทธเดชาคณี ดำรงตำแหน่งประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปโดยมีหลวงวิชิตชลชาญมาดำรงตำแหน่งแทน ชั่วระยะเวลาอันสั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ก็ได้ย้ายหลวงสาทรสรรพกิจมาดำรงตำแหน่งในประมาณปีพุทธศักราช 2438
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) ถึงแก่กรรมในปีจุลศักราช 1257 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 114 ตรงกับปี พุทธศักราช 2438 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้ พระพิชัยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา สันนิษฐานว่าพระพิชัยณรงค์ภักดีเป็นบุตรของนายพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 3 พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรมเมื่อรัตนโกสินทรศก 126 หรือ พุทธศักราช 2450 และเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว จึงได้รับสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้หลวงประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) ซึ่งเป็นบุตรพระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์คนที่ 8 เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์แทน แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมในปีพุทธศักราช 2451 และในต้นปีพุทธศักราช 2451 นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังเป็นช่วงเวลาที่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (เข้าสู่แบบเทศาภิบาล) ส่วนกลางได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดบ้าง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง บุคคลแรกที่ได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์ ในปีพุทธศักราช 2451 คือ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์)
จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบบเทศาภิบาลจนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล
ขอบคุณข้อมูล:http://53010911019.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น