ภาษากูย (อังกฤษ: Kuy) หรือ ภาษากวย หรือ ภาษาส่วย เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร กลุ่มกะตู มีผู้พูดทั้งหมด 366,675 คน พบในไทย 300,000 คน (พ.ศ. 2535) ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ส่วนใหญ่พูดภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยหรือภาษาเขมรเหนือได้ด้วย พบในกัมพูชา 15,495 คน (พ.ศ. 2532) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดพระวิหาร เสียมเรียบ กำปงธม สตรึงเตรง ส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรได้ด้วย พบในลาว 51,180 คน (พ.ศ. 2543) ในแขวงสะหวันนะเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้
ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน ในประเทศไทยมี 3 สำเนียงคือ
กูยเยอ พบที่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และ อ.ราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
กูยไม พบที่ อ.อุทุมพรพิสัย และ อ.ราษีไศล จังหวัดศีรษะเกษ
กูยปรือใหม่ พบที่ อ.ขุขันธ์ เป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามากลุ่มหลังสุด
ภาษากวยหรือภาษากูย มีอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ มีภาษาที่ใช้สนทนามี 2 สำเนียงคือ
กวยมหลัว พบที อ.จอมพระ อ.รัตนบุรี อ.ท่าตูม อ.สนม เช่น อาจีง แปลว่า ช้าง จีเหนีย แปลว่า ไปไหน เจียโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
กวยมลอ พบที่ อ.สังขะ อ.บัวเชด อ.ศรีณรงค์ อ.ศีขรภูมิ เช่น เจียง แปลว่า ช้าง จีนา แปลว่า ไปไหน จาโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
|
ภาษากูยในคำภีร์ใบลาน โบราณ |
กลุ่มภาษาหลัก ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
ภาษากลุ่มมุนดา ภาษามุนดารี ภาษาสันตาลี ภาษาโสรา ภาษาโฮ
ภาษากลุ่มมอญ-เขมร
- กลุ่มตะวันออก:กลุ่มกะตู: ภาษากันตู ภาษากูย ภาษาเกรียง ภาษาจะต็อง ภาษาเยอ ภาษาด๊ากกัง ภาษาบรู;กลุ่มบะห์นาริก: ภาษากะเซง ภาษาซรี ภาษาเซดัง ภาษาเตรียง ภาษามนอง ภาษายรุ ภาษาแย็ฮ ภาษาเรเงา ภาษาละวี ภาษาหยูก ภาษาอาลัก ภาษาฮะรัก ภาษาฮาลัง ภาษาตำปวน ภาษาโกรล ภาษากระเว็ต ภาษาละมาม ภาษาบูโล สเตียง ภาษากะโจ
:
กลุ่มเขมร: เขมร- เขมรสุรินทร์
:
กลุ่มเวียตติก: ภาษาเวียดนาม ภาษาเหมื่อง ภาษาข่าตองเหลือง ภาษาบอ
- กลุ่มเหนือ:กลุ่มขมุ: ภาษาขมุ ภาษาบิต ภาษามลาบรี ภาษาลัวะ ภาษาไพ
:
กลุ่มปะหล่อง: ภาษากอน ภาษาปลัง ภาษาละเม็ต ภาษาละว้า;กลุ่มเปียริก: ภาษาชอง ภาษาสำเร ภาษาซูโอย ภาษาซาโอช ภาษาเปียร์ ภาษาสมราย; ภาษากาสี
- กลุ่มใต้:กลุ่มมอญ: มอญ - ญัฮกุ้ร; กลุ่มอัสเลียน: ภาษาซาไก ภาษากินตัก; ภาษากลุ่มเกาะนิโคบาร์