![]() |
เอื้อเฟื้อภาพโดย ดร.สนอง สุขแสวง |
ประเทศไทยของเรานั้น เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมและประเพณีที่มีอยู่อย่างมากมายและหลากหลาย โดยแต่ละประเพณีนั้นก็ต่างมีความงดงามของขนบธรรมเนียมและพิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป และบางประเพณีก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะและไม่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ประเพณีบวชนาคช้าง” ประเพณีพื้นบ้านของชนชาวกวย กูย อันขึ้นชื่อของจังหวัดสุรินทร์
![]() |
บวชนาคช้าง ขอบคุณ:เฟสบุ้คอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย กวยกูย |
บวชนาคช้าง ไม่ได้มีความหมาย ว่าช้างบวช แต่หมายถึง ชายหนุ่มเมื่อถึงวัยบวช จะบวชเพื่อทดแทนคุณของพ่อแม่หรือสืบต่อพระพุทธศาสนา ก็แล้วแต่ แต่จะมีพิเศษกว่าพิธีของที่อื่นคือ เมื่อแห่นาคเข้าโบสถ์ นาคจะขี่หลังช้างตั้งแต่ขบวนแห่ จนกว่าจะถึงโบสถ์
![]() |
ขอบคุณ:เพจอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ไทย กวย กูย |
“ประเพณีบวชนาคช้าง” นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีเอกลักษณ์ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ประเพณีบวชนาคช้างนั้นเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวกูย หรือ ชาวกวย ซึ่งเป็นชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตระหว่างคนกับช้าง ที่ได้สืบทอดวิถีชีวิตจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี และที่บ้านตากลางแห่งนี้ก็เป็นที่รู้จักของผู้คนในชื่อ “หมู่บ้านช้าง” นั่นเอง
ไม่เฉพาะที่บ้านตากลาง ชาว กูย กวย หลายท้องที่ แม้ไม่ได้เลี้ยงช้าง แต่บรรพบุรุษเดิมก็เลี้ยงเช่นกัน ก็ยังคงรักษาประเพณีบวชนาคช้างเหมือนกัน
นับได้ว่าประเพณีบวชนาคช้างนั้น เป็นประเพณีที่มีทั้งความสวยงามและยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ที่ไม่สามารถชมได้ที่ไหน โดยเฉพาะในช่วงเวลาของขบวนแห่ที่ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งหนึ่ง และคู่ควรกับการอนุรักษ์รักษาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นประเพณีพื้นบ้านอันงดงามที่บรรพบุรุษสร้างไว้
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก;
เพจเฟสบุ้ค ศิลปะวัฒนธรรมชาวกวย/กูย https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1430294693656286&id=478429002176198