วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติชาวกูยจังหวัดศรีสะเกษ

   ประวัติชาวกูยจังหวัดศรีสะเกษ
     อีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์มาก
แห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากเป็นแหล่งรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวแล้ว ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น
ที่ไม่ได้เรียกตนเองว่าลาวอีกมากมายกระจายตัวอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เป็นหัวเมือง
อีสานตอนล่างในอดีต นับตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี ซึ่ง
เคยปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ว่า เขมรป่าดง ซึ่งเป็นพื้นที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ
ของภูมิภาคนี้ทั้งในด้านประชากรและวัฒนธรรม กล่าวคือประชากรส่วนใหญ่กลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ใน
บริเวณแถบนี้เป็นกลุ่มที่เรียกตนเองว่า กูย และอีกกลุ่มหนึ่งคือ เขมร โดยมีประชากรที่เป็นชาวลาวอยู่
เพียงบางส่วนเท่านั้น และแต่ละกลุ่มก็มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเอง ดังจะเห็นได้
จากวิถีชีวิต จารีตประเพณี และระบบความเชื่อต่างๆ ที่ถูกรักษาไว้และสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง

อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองขุขันธ์ ต้นเค้าที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ

     จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน เคยเป็นชุมชนที่มี
อารยธรรมรุ่งเรืองมานับพันปีตั้งแต่สมัยขอมเรืองอํานาจ เป็นพื้นที่ที่มีการพบแหล่งโบราญคดีทั้ง
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์จํานวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จังหวัดศรีสะเกษเป็น
ดินแดนที่มีผู้คนอยู่อาศัยมานาน ตั้งแต่อดีต ชุมชนต่างๆ ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นรัฐ
โดยมีแหล่งชุมชนโบราญจํานวนมากกระจายอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ําชีและลุ่มแม่น้ํามูล แบ่งเป็นกลุ่ม
วัฒนธรรมทวารวดีซึ่งนิยมทําคูน้ำคันดินเป็นวงรีหรือวงกลมรอบเมือง นิยมตั้งเมืองใกล้แหล่งน้ำเพื่อ
สะดวกในการชักน้ำเข้ามาเก็บในคูเมือง และกลุ่มวัฒนธรรมขอมที่ส่วนใหญ่มักมีการจัดวางผังเมือง
เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีการขุดบารายไว้เป็นแหล่งน้ำสําหรับเมือง จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึง
อิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีที่แพร่ขยายครอบคลุมดินแดนอีสานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14
หลังจากนั้นอาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาสู้ดินแดนอีสานสูงมากในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-
1817
     อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1761 ) อิทธิพลของขอมในแผ่นดิน
อีสานเริ่มเสื่อมลง และเป็นการเริ่มยุคอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ.
1896-1916) ที่ก่อตัวเข้มแข็งขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขงและได้แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนอีสานครอบคลุม
อาณาเขต 2 ฝ๎่งแม่น้ำโขง ชุมชนโบราญขนาดใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นชุมชนขนาดเล็กและรับอิทธิพลของ
ล้านช้าง หัวเมืองภาคอีสานของไทยนับตั้งแต่หนองหารลงไปจนถึงเมืองร้อยเอ็ด แต่เดิมอยู่ใต้อิทธิพล
ของอาณาจักรขอมทั้งหมด ต่อมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงในปี พ.ศ.
1827 เมื่อถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. 1893 แขวงเมืองร้อยเอ็ดได้ตกอยู่
ใต้ปกครองของอยุธยา เมื่ออาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านช้างขยายอิทธิพลทางการเมืองเข้ามา
ในดินแดนอีสาน ทั้งสองอาณาจักรจึงประนีประนอมและป๎กป๎นเขตแดนในสมัยพระเจ้าอู่ทอง โดย
อาณาจักรล้านช้างทําการปกครองตั้งแต่ “ดงสามเส้า” หรือ “ดงพระยาไฟ” ไปจนถึงภูพระยาพ่อและ
แดนเมืองนครไทย และร่วมก่อตั้งขึ้นเป็นอารยธรรมลุ่มน้ำโขง
ภาคอีสานตามสภาพภูมิศาสตร์นั้น อาจแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่อยู่ในบริเวณ
แอ่งสกลนคร อันได้แก่ จังหวัดสกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลําภู นครพนม และจังหวัดเลย
กับพื้นที่ส่วนที่ในบริเวณแอ่งโคราชหรือบริเวณอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์
ชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเทือกเขาภูพานเป็นสันกั้นระหว่างแอ่งสกลนครและแอ่งโคราชนี้
จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนอีสานได้อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ มีอายุกว่าหนึ่งหมื่นปี ในอดีตในดินแดนแถบนี้เรียกว่า “อาณาจักรเจนละ” มีกษัตริย์
องค์สําคัญคือ กษัตริย์จิตรเสน ยุคต่อมาคืออาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ภายหลังเป็นอาณาจักรล้านช้าง
และตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยามในสมัยกรุงธนบุรี ภาคอีสานจึงมีกลุ่มคนอาศัยอยู่หลาย
กลุ่ม โดยเฉพาะในเขตอีสานใต้มีกลุ่มคนอาศัยอยู่หลายกลุ่มทั้งเขมร ลาว และส่วย (กูย)


      กูยเป็นชนชาติเดิมที่อพยพเข้ามาอยู่ในเอเชียตอนใต้ จัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติกที่ใช้
ภาษามอญเขมร ชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือ พวกกูย โกยหรือกวย ที่เคลื่อนย้ายจากอินเดียสู่พม่าบางส่วน
เข้าไปในลาว เขมรและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือ
ประมาณ 3,000 ปีเศษ ซึ่งเชื่อว่าชนพื้นเมืองเดิมคือ พวกกูยหรือกวย กลุ่มชนพื้นเมืองเดิมเหล่านี้กูย
ชนชาติเจ้าของถิ่นเดิมของอีสาน ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมที่เป็นประชากรอีสานตอนล่าง เป็นกลุ่มที่ได้
ร่วมกันสืบทอดวัฒนธรรม มีบทบาทในการสืบทอดวัฒนธรรมของหัวเมืองอีสานตอนล่างและ
พงศาวดารล้านช้าง ได้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธ์กูย (ข่า) ว่าเป็นเจ้าของถิ่นเดิมที่มีชุมชนที่มั่นคง ไทยกูย
เป็นคนไทยเชื้อสายหนึ่งที่อาศัยอยู่หนาแน่นทางตอนใต้ ของอีสานในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และ
กระจายในบางพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา อุบลราชธานีและมหาสารคาม กลุ่มชาติพันธุ์ได้
5 ดังต่อไปนี้
1. กวยมะไฮ (Kui m’ai) กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีแถบโขงเจียม เรียกตนเอง
ว่า กวยบลู(คนภูเขา)
2. กวยมะลอ (Kui m’ lo) อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ
3. กวยเยอ (Kui yer, yo) อาศัยอยู่ในเขตอุบลราชธานี ศรีสะเกษ
4. กวยมะลัว หรือมะหลั่ว (Kui m’loa) อาศัยอยู่ในเขตสุรินทร์ ศรีสะเกษ
5. กวยอะเจียง กลุ่มที่มีความชํานาญในการคล้องช้าง อยู่ในเขตอําเภอท่าตูม อําเภอจอม
พระ จังหวัดสุรินทร์
กูย กวย และโกย ปรากฏหลักฐานในราชสํานักครั้งแรกในกฎหมายอยุธยา ฉบับ พ.ศ. 1974
ซึ่งตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (พ.ศ.1967 – 1991) มีข้อความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า
พ่อค้าต่างชาติที่ดินเดินทางเข้ามาค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาประกอบด้วย ชาวอินเดีย มลายู ชาน (ไทย
ใหญ่) กูย แกว (ญวน) และชาติอื่นๆ หลักฐานนี้เป็นหลักฐานเก่าที่สุดที่พบในราชสํานักสยาม ที่ใช้คํา
ว่ากวย และในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1978 ซึ่งประกาศห้ามไพร่ฟูาประชาชนยกลูกสาว
ให้คน ต่างชาติ ต่างศาสนาต่างชาติที่ระบุไว้มีอยู่ด้วยกัน 9 ชื่อ คือ ฝรั่ง อังกฤษ กะปีตัน วิลันดา คุลา
มลายู แขก กวย แกว ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณพุทธศักราช 2200 มีชาวกู
ยอพยพเข้ามาอยู่ดามภูเขาสูงไม่ยอมขึ้นกับใคร ชาวกูยได้อพยพมาจากเมืองอัตปือ เมืองแสนปาง (ฝ๎่ง
ซ้ายแม่น้ําโขง) แล้วแยกย้ายกันเดินทางข้ามแม่น้ําโขงมาเป็น 5 สาย ตั้งหมู่บ้านอยู่ในทําเลที่
เหมาะสม มีหัวหน้าเป็นผู้นําทางมาตั้งอยู่บ้าน 6 หมู่บ้านสืบต่อมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ได้ปรากฏชื่อหมู่บ้านและหัวหน้าที่ปกครองดูแลลูกบ้านของตนคือ
1. บ้านเมืองที หัวหน้าชื่อเชียงปุม
2. บ้านกุดหวาย (หรือบ้านเมืองตา) หัวหน้าชื่อ เชียงสี
3. บ้านเมืองเลิง (บ้านเมืองลีง) หัวหน้าชื่อเชียงสง
4. บ้านอัจจปนึง (อัจจปึง) หัวหน้าชื่อฆะ
5. บ้านลําดวน หัวหน้าชื่อตากะจะและเชียงขัน
6. บ้านจารพัตร หัวหน้าชื่อเชียงไช
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2302 ปีเถาะ จุลศักราช 1121 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สุริยาศน์อัมรินทร์
(เจ้าฟ้าเอกทัศ) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกแตกโรงออก จากกรุงไปอยู่ใน
ปุาทางตะวันตกแขวงเมืองจําปาศักดิ์ (ต่อมาเรียกนครจําปาศักดิ์) จึงโปรดให้สองพี่น้องคุมไพร่พลและ
กรมช้างอีกประมาณ 30 คน ออกเที่ยวติดตามพระยาช้างเผือกทราบว่าพระยาช้างเผือกได้บ่ายหน้าไป
ทางเมืองพิมายและเลยไปถึงปุาดิบฟากฝ๎่งลําน้ํามูลทางใต้ จึงได้ออกติดตามและได้ข่าวจากเขมรปุาดง
ว่า พระยาช้างเผือกผ่านมาทางหนองกุดหวาย (เมืองรัตนบุรี) สองพี่น้องจึงไปหาหัวหน้าพ่อบ้านคน
สําคัญเหล่านี้ คือ เชียงสี บ้านหนองกุดหวาย และเชียงสีได้อาสานําทางไปหาเชียงปุุม ที่บ้านเมืองที
และไปหาเชียงไชที่บ้านจารพัด ตากะจะและเชียงขัน หัวหน้าบ้านลําดวน เชียงฆะ หัวหน้าบ้าน
โคกอัจจปึง ทั้งหมดได้อาสานําทางสองพี่น้องไปตามจับพระยาช้างเผือกจนได้ เชียงฆะ หัวหน้าบ้าน
โคกอัจจปึง เชียงปุุมหัวหน้าบ้านโคกเมืองที เชียงสีหัวหน้าบ้านกุดหวาย ตากะจะและเชียงขัน หัวหน้า
บ้านลําดวน สามารถจับพระยาช้างเผือกได้ จากนั้นได้นําพระยาช้างเผือกมาที่เมืองศรีนครเขตช้าง
ปุวยจึงได้รักษาที่บ้านเจียงอี (ป๎จจุบันคือวัดเจียงอี) เมื่อหัวหน้าพวกกวยจับช้างได้ ก็ได้อาสานําพระยา
ช้างเผือกไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา พวกเชียงฆะ เชียงปุุม เชียงสี เชียงขันธ์และตากะจะ เมื่อคราว
นําช้างไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยานั้นมี กําสะนา (หน้าไม้) อาบยาพิษ (ยางหน่อง) เป็นอาวุธที่
สําคัญ และมีของพื้นเมืองเป็นสิ่งที่นําถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาประกอบด้วย ระคึบระคับสอง (เต่า
สองตัว) ละอองละแองสี่ (ตะกวดอย่างละสี่ตัว) ระวีระวอนห้า (ผึ้งหาบั้ง) โค้งสามหวาย (หวายสาม
โค้ง) ลึมสามบอง (ขี้ไต้สามมัด) หัวหน้าพวกกูยที่เข้าไปกรุงศรีอยุธยาได้รับฐานันดรศักดิ์ทุกคน คือ ตา
กะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ เชียงขัน เป็นหลวงปราบ เชียงฆะ เป็นหลวงเพชร เชียงปุม เป็นหลวง
สุรินทรภักดีและเชียงสีเป็นหลวงศรีนครเตา
อนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดี(เชียงปุม)

  สมเด็จพระที่นั่งสุริยาอัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงโปรดให้นายกองทั้งห้าคนเป็นผู้ควบคุม
ชาวเขมรและชาวกูยในละแวกบ้านนั้นๆ โดยขึ้นตรงต่อเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองใหญ่ในขณะนั้น
ภายหลังในปีต่อมา (พ.ศ.2303) พวกนายกกองทั้ง 4 นี้ได้นํา ช้าง ม้า แก่นสน ยางสนปีกนก นอ
ระมาด งาช้างขี้ผึ้งไปส่งกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯให้มีบรรดาศักดิ์สูงขึ้นดังต่อไปนี้
1. หลวงสุวรรณ (ตากะจะ) เป็นพระไกรภักดีศรีนครลําดวน เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านปราสาท
สี่เหลี่ยมดงลําดวนเป็นเมืองขุขันธ์
2. หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็นพระสังฆะศรีนครอัดจะ เป็นเจ้าเมืองยกบ้านโคกอัจจะหรือ
บ้านดงยางเป็นเมืองสังฆะ
3. หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองยกบ้าน
คูปะทายเป็นเมืองปะทายสมันต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสุรินทร์
4. หลวงศรีนครเตา (เชียงสี) เป็นพระศรีนครเตา เจ้าเมือง ยกบ้านกุดหวายหรือบ้านเมือง
เตาเป็นเมืองรัตนบุรี


พระศรีนครเตาท้าวเธอเจ้าเมืองปกครองเมืองรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์


   เมืองทั้งสี่ดังกล่าวนี้ได้ขึ้นต่อเมืองพิมาย ต่อมาในกรุงธนบุรีได้ขึ้นกับเมือง
นครราชสีมาและในรัชกาลที่ 2 ได้ขึ้นกับต่อกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ.2349
ปี พ.ศ. 2319 เวียงจันเกิดทะเลาะวิวาทกับพระวอที่ตั้งบ้านอยู่ที่ดอนมดแดง (จังหวัด
อุบลราชธานีในป๎จจุบัน) ทางเวียงจันจึงให้พระยาสุโพยกทัพมาตี พระวอสู้ไม่ได้และถูกทัพของพระยา
สุโพจับพระวอฆ่าเสีย มีการกวาดตอนผู้คนที่ขึ้นกับเมืองจําปาศักดิ์กลับไปโดยพระยานางรองให้ความ
ร่วมมือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้พระยาจักรีไปตั้งทัพที่เมืองนครราชสีมาจับพระยานางรอง
มาพิจารณาโทษและประหารชีวิต พ.ศ. 2321 ปีจอ จุลศักราช 1140 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้
โปรดให้พระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกกําลังไปสมทบกับเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ
เพื่อตามไปตีกองทัพของพระยาสุโพ ครั้งนั้นกองทัพสยามสามารถตีเมืองต่างๆ แถบลุ่มน้ําโขงทั้งหมด
อาณาจักรเวียงจัน อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรจําปาศักดิ์ได้อ่อนน้อมดกเป็นเมืองขึ้นของ
สยามตั้งแต่นั้น ในการศึกครั้งนั้นทัพไทยได้กวดต้อนผู้คนลงมาเป็นจํานวนมากพร้อมทั้งอัญเชิญพระ
แก้วมรกตลงมาด้วย หลวงปราบได้นํานางคําเวียงหญิงม่ายชาวลาวมาด้วย เจ้าเมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ
และเมืองสุรินทร์มีความชอบในการออกศึกได้เลื่อนบรรดาศักเป็นชั้นพระยา ในราชทินนามเดิมทั้ง 3
เมือง ในศกเดียวกันพระยาไกรภักดีศรีนครลําดวน(ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์ถึงแก่กรรม จึงได้โปรดให้
หลวงปราบ (เชียงขัน) เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลําดวนเจ้าเมืองขุขันธ์แทน
ปีพ.ศ. 2324 กัมพูชาเกิดจลาจล สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ยก
ทัพไปปราบ แต่เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีจึงยกทัพกลับ ฝุายเจ้าเมืองขุขันธ์ที่ยกทัพไปด้วย คราวนั้นได้
กวาดต้อนชาวเขมรจํานวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์เกิดแข็งเมือง เจ้าอุปราช
(โย) ยกทัพเข้ายึดเมืองขุขันธ์ และได้จับเจ้าเมืองและราชการเมืองขุขันธ์นําไปประหารชีวิตที่ค่ายบ้าน
ส้มปุอย (อําเภอราศีไศลป๎จจุบัน) พ.ศ. 2371 หลังจากเจ้าอนุวงศ์และเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เสียชีวิต
รัชกาลที่ 3 ได้ตั้งพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (เกา) เป็นพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลําดวน

ขอบคุณ:http://news.sanook.com/1118602/,http://goo.gl/wHB9Wi,http://goo.gl/1PtglN

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ชาวเยอหรือกูยเยอ

ชาวเยอหรือกูยเยอ

การแต่งกายของชาวกูยเยอ
เยอ เป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่ง ในแง่ของภาษา ภาษาเยอจัดอยู่ในภาษากลุ่มมอญ- เขมร จุดเด่นของชาวเยอก็คือ มีความเหนียวแน่นในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภาษาของกลุ่มชนไว้เป็นอย่างดี  ในหมู่บ้านของชาวเยอแทบทุกหมู่บ้าน จะพูดภาษาเยอ  ชาวลาวหรือคนหมู่บ้านอื่นที่มาตั้งหลักแหล่งในหมู่บ้าน จะเปลี่ยนจากภาษาพูดเดิมของตน มาพูดภาษาเยอ เเละปฏิบัติตามธรรมเนียมเยอด้วย (จากการสัมภาษณ์ ประเสริฐ คำหล้า ผู้นำชาวเยอ เมื่อปี 2542)  การตั้งหมู่บ้านของชาวเยอส่วนใหญ่ จะอยู่ในเขตลำน้ำหรือลำห้วย เช่น บ้านเมืองคง บ้านท่าโพธิ์ บ้านใหญ่ บ้านกลาง บ้านโนน บ้านฮ่องโสก บ้านหลุบโมก บ้านดอนเรือ บ้านหนองบาก บ้านหว้าน  อำเภอราษีไศล ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล  บ้านโนนแกด บ้านขมิ้น อำเภอเมืองศรีสะเกษ   บ้านโพธิ์ศรี ตำบลโนนเพ็ก อำเภอพยุห์  ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มห้วยแอด บ้านปราสาทเยอ บ้านโพนปลัด บ้านเขวา ตำบลปราสาทเยอ  ตั้งที่ราบลุ่มห้วยทา บ้านกุง บ้านวังไฮ บ้านขาม บ้านกลาง บ้านจิก ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มลำน้ำเสียว เป็นต้น  ที่น่าสนใจคือชาวเยอในแต่ละหมู่บ้านมีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ  ปกติชาวเยอมีอาชีพทำนา แต่บางส่วนมีความชำนาญในด้านช่าง 
ประวัติความเป็นมา
ตำนานของชาวเยอในศรีสะเกษจะเริ่มต้นที่ พญากตะศิลา เป็นหัวหน้านำคนเผ่าเยอ อพยพมาโดยทางเรือ  มาตั้งเมืองคงโคกหรือเมืองคง ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลในปัจจุบันนี้  เมืองคงอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ  และเป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อค้าขาย  มูลเหตุของการตั้งชื่อเมืองอาจมาจาก การที่พื้นที่เหล่านี้อาจมีป่ามะม่วงมาก่อนแล้ว  หรือมีการปลูกไม้ผล เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว มะพร้าวฯลฯ  ผลไม้ที่ปลูกง่ายและให้ผลเร็ว คือมะม่วง มะม่วงภาษาเยอเรียกว่า      เยาะค็อง หรือ เยาะก็อง ต้นมะม่วงมีอยู่จำนวนมาก จึงเรียกเมืองตัวเองว่าเมืองเยาะค็อง หรือเพี้ยนไปเป็นเมืองคอง – คง ในที่สุด  ปัจจุบันมีรูปปั้นพญากตะศิลาที่เมืองคงโคก บ้านหลุบโมก ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เป็นที่เคารพของชาวเยอ และมีกาบวงสรวงในวันเพ็ญเดือนสามของทุกปี การอพยพของพญากตะศิลา เป็นคำบอกเล่าที่น่าสนใจ เพราะใช้เรือส่วง (เรือยาวที่ใช้แข่ง ) 2 ลำ เรือลำที่ 1 ชื่อ คำผาย เรือลำที่ 2 ชื่อ คำม่วน แต่ลำบรรจุคนได้ 40-50 คน พายจากลำน้ำโขงเข้าปากแม่น้ำมูล  รอนแรมทวนกระแสน้ำขึ้นมาเรื่อยๆ   ผ่านเมืองไหนก็บอกกล่าวเจ้าเมืองนั้นว่าจะไปตั้งเมืองใหม่อยู่ เจ้าเมืองนั้นก็ให้ไปเลือกอยู่ตามที่เห็นเหมาะสม  ถึงบ้านท่า ต.ส้มป่อย  ก็พาไพร่พลแวะพักแรม  รุ่งขึ้นวันใหม่ก็นำพวกออกสำรวจหาพื้นที่ตั้งเมือง  มาเห็นเมืองร้างเป็นเนินดินสูงมีคูน้ำล้อมรอบ  ที่บึงคงโคกทุกวันนี้  เห็นว่ามีสภาพภูมิประเทศเหมาะสม จึงนำไพร่พลตั้งบ้านเรือน  ปัจจุบันที่เมืองคงโคกมีศาล และรูปปั้นของพญากตะศิลา เป็นที่เคารพสักการะบนบานของชาวบ้านเป็นประจำ ต่อมาเมื่อจำนวนพลเมืองเพิ่ม มากขึ้น จึงขยายกันมาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่บ้านกลาง  บ้านใหญ่ และบ้านท่าโพธิ์  รวมเรียกว่าเมืองคง   เวลาผ่านไปมีคนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  จึงอพยพไปตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่ต่างๆเช่นทิศเหนือที่บ้านหว้าน  ทิศใต้ข้ามลำน้ำมูลที่บ้านค้อเยอ  บ้านขมิ้น  บ้านโนนแกด  อ.เมืองศรีสะเกษ  บางส่วนเลยไปที่บ้านโพนปลัด อ.พยุห์ บ้านปราสาทเยอ บ้านประอาง อ.ไพรบึง ทางทิศตะวันตกไปที่บ้านกุง บ้านเชือก บ้านจิก บ้านขาม  และบางส่วนเลยทุ่งกุลาร้องไห้ไปที่บ้านอีเม้ง บ้านหัวหมู อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 35-36)

การนับถือ ศาสนา ของชาวกูยเยอ
เยอ นับถือศาสนาพุทธ มีความเชื่อในเรื่อภูต ผี ประเพณีคล้ายชาวกูย, ลงแขก รำผีฟ้า ผีแถน การละเล่นพื้นเมือง โหวด, ว่าวสะบู แข่งเรือ ศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาช่างทำบ้าน ผ้าไหมมัดหมี่

ภาษาเยอ
เป็นภาษาอยูในตระกูลมอญ-เขมร นัก ภาษาศาสตร์จัดภาษาเยอกับภาษากูยเป็นภาษาเดียวกัน มีการใช้คำศัพท์พื้นฐานร่วมกันมาก แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องเสียงพยัญชนะและเสียงสระ  มีผู้พูดในประเทศไทย 200 คน ในจังหวัดศรีสะเกษ  ภาษาเยอเป็นภาษาที่อ่อนไหวจากอิทธิพลภาษารอบข้าง  คือภาษาลาวและภาษาเขมรมาก  แต่ละหมู่บ้านเยอ ผู้พูดภาษาเยอจะพูดภาษาเขมร และ ภาษาลาว มีโอกาสทำให้ภาษาเยอสูญสลายได้ ภาษาเยอที่จังหวัดศรีสะเกษ มีพูดกันที่อำเภอต่างๆ ดังนี้ กิ่งอ.ศิลาลาด (บ้านกุง, บ้านขาม); อ.ราษีไศล ( บ้านกลาง (เชือก), บ้านจิก, บ้านหลุบโมก, บ้านดอนเรือ, บ้านบากเรือ, บ้านร่องโศก,บ้านใหญ่, บ้านกลาง, บ้านโนน, บ้านหว้าน); อ.เมืองศรีสะเกษ ( บ้านขมิ้น, บ้านโพนค้อ) และ อ.ไพรบึง(บ้านปราสาทเยอ, บ้านโพนปลัด) มีผู้พูดภาษาเยอคิดเป็นร้อยละ 1 ของประชากรทั้งจังหวัด  

ภาษาเป็นภาษาเดียวกับภาษาส่วย แต่สำเนียงแตกต่าง และเพี้ยนกันไปตามสภาพแวดล้อม บางท่านสรุปว่าภาษาเยอคือ ภาษาส่วยที่ใกล้ชิดกับภาษาลาว ภาษากูยคือภาษาเยอที่ใกล้ชิดกับภาษาเขมร


อาหารชาวกูยเยอ คล้ายกับกูย ในอดีตไม่นิยมกินเนื้อวัว เนื้อควาย





สะไนเครื่องดนตรีของชาวกูยเยอ

สะไน เป็นภาษาเขมรแปลว่า "เขาสัตว์" ถ้าเป็นเขาควายก็จะเรียก "สะไนกะไบ" สะไนที่เป็นเครื่องเป่าของชาวกูยเยอก็ทำจากเขาสัตว์โดยทำจากเขาควายเหมือนกัน เรียกเป็นภาษาเยอว่า "ซั้ง" หรือ "ซั้งไน" การที่ชาวเยอนิยมนำเขาควายมาทำสะไน เนื่องจากเขาควายมีรูลึกตั้งแต่โคนเขาจนถึงปลายเขา ทำให้เจาะรูจากปลายเขาได้ง่าย ส่วนเขาวัวนั้นรูจากโคนเขาถึงปลายเขาไม่ลึกพอจึงไม่นิยม ตามหลักความเชื่อของชาวกูยเยอที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอราษีไศล สะไน เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม หรือกิจกรรมที่สำคัญเท่านั้น เช่น พิธีกรรมบวงสรวงศาลพญากะตะศิลา การแข่งขันเรือ และเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ (หอยสังข์) ยังไม่นิยมนำมาเป่าเล่นเพื่อผ่อนคลาย หรือความบันเทิงใดๆ ตามที่ครูเฒ่าเผ่ากูยเยอได้เล่าติดต่อกันมาว่า สะไนเป็นของศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญมาก

สะไน


สะไนเป็นเครื่องเป่าที่สืบชื้อสายมาจากสังข์ (ในภาษาเยอเรียก ซั้ง "ปรงซั้ง" แปลว่า "เป่าสังข์") ลิ้นของสะไนทำจากไม้ไผ่ ใช้ยางไม้ติดเข้ากับตัวเขา ระหว่างปากลำโพงกับปลายเขา การเคารพบูชาสะไนจะเหมือนกับการเคารพบูชาสังข์ เพราะในอดีตชาวเยอเชื่อกันว่า การเป่าสะไนเป็นการเป่าบูชาสังข์ และเมื่อเป่าสะไนแล้ว เงือก นาค ภูตผีปีศาจ จะไม่มาทำร้ายคน พร้อมกันนี้จะทำให้ผีเจ้าป่าเจ้าเขาช่วยดูแลคุ้มครองรักษาชาวบ้านให้อยู่ดีกินดี มีความปลอดภัย

ในสมัยก่อนเมื่อชาวกูยเยอมีการเดินทางไกลต้องผ่านป่าเขา ถ้าหากเดินทางไปไม่ถึงที่หมายจำเป็นต้องนอนค้างแรมกลางป่าเขา จะต้องเอาสะไนไปด้วย ถ้ายามค่ำคืนก็จะเอาสะไนออกมาเป่า เพื่อเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางผีป่าผีเขาให้ช่วยดูแลรักษา ถ้าเป่าสะไนแล้วสัตว์ป่าก็จะไม่กล้ามาทำร้าย ในสังคมวัฒนธรรมที่มีความใกล้เคียงกันเช่น ส่วยและเขมร จะใช้สะไน เป็นเครื่องเป่าให้สัญญาณเวลาออกไปคล้องช้าง โดยเสียงสะไนที่เป่าแต่ละครั้งหรือแต่ละเสียง จะมีความหมายเป็นที่รู้จักกันในหมู่คณะ
ลักษณะดังกล่าวจึงเหมือนกับเครื่องดนตรีอย่างหนึ่งของชนเผ่า "กะตู" ในเขตพื้นที่แขวงสาละวัน ประเทศลาว เรียก "ตะโล" เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ แต่ตัดตรงกลางกระบอกไม้ไผ่ เพื่อทำลิ้นเวลาเป่าจะดูดเข้าหรือเป่าออกก็ได้ ใช้เวลาออกจับช้างเพื่อบอกสัญญาณให้เพื่อนรู้ว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นโดยการเป่าแต่ละครั้ง หรือแต่ละแบบก็จะมีความหมายแตกต่างกันไปเช่น เป่าหนึ่งครั้งหมายถึง กำลังเดินหน้า เป่าสองครั้งหมายถึงเรียกมากินข้าว เป่าติดต่อกันหลายๆ ครั้งโดยไม่หยุดหมายถึงกำลังได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

การใช้สะไนของชาวส่วย เขมร และการใช้ตะโล ของชาวกะตู อาจกล่าวได้ว่าเป็นรหัสลับ คนที่จะรู้ความหมายของรหัสนี้ได้ก็ต้องเป็นคนในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น แต่ในสังคมวัฒนธรรมเยอไม่มีความเกี่ยวข้องกับช้างโดยตรงเหมือนชาวส่วยกับชาวเขมร การใช้สะไนของชาวเยอจึงเป็นเครื่องเป่าที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในเรื่องของการกำเนิด "สังข์" การเป่าสะไนจึงเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ เนื่องจากสะไนเป็นเครื่องเป่าที่มีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากับสังข์ และใช้ลิ้นแบบเดียวกับสังข์ ชาวเยอยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องเป่าว่า ในโลกนี้มีเครื่องเป่าอยู่สามแบบตามความเชื่อของชาวเยอคือ หอยสังข์ มีพระนารายณ์เป็นผู้สร้างถือว่าเป็นเครื่องเป่าที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รองลงมาคือสังข์นัย (สะไน) เป็นเครื่องเป่าของกลุ่มคนเยอมีความศักดิ์สิทธิ์รองลงมาจากหอยสังข์ เนื่องเป็นเครื่องเป่าที่ทำจากเขาควายแต่ใช้ลิ้นสังข์ สุดท้ายคือแตรสังข์ (แตรเขาสัตว์) เป็นเครื่องเป่าที่ทำจากเขาควายเหมือนกันแต่ไม่ได้ใช้ลิ้นสังข์ คือเป่าจากปลายเขามักจะใช้เป็นสัญญาณในการสื่อสาร ในการเดินเรือสินค้า ที่มีน้ำไหลเชี่ยวและสายน้ำมีความคดโค้ง จะมีการเป่าแตรสังข์เพื่อไม่ให้เรือชนกัน ชาวเยอมีนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับการกำเนิดสังข์ และการกำเนิดสะไนคือเรื่อง นิทานเรื่องพระเจ้าสร้างโลกกับความเป็นมาของสังข์และสะไน

ความเชื่อเกี่ยวกับสะไน

สะไน เป็นเครื่องดนตรีที่ศักดิ์สิทธิ์ตามหลักความเชื่อของชาวเยอที่อาศัยอยู่เขตพื้นที่อำเภอราษีไศล เนื่องจากมีความเชื่อว่าสะไนมีความเกี่ยวข้องและเกี่ยวโยงกับ สังข์ ที่เป็นเครื่องเป่าอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู แม้กระทั่งในสังคมไทยก็นับถือว่า สังข์ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในพระราชพิธีที่สำคัญจะมีการเป่าสังข์ก่อน เพื่อเป็นการบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเหล่าทวยเทวดาทั้งหลาย ถ้าเป็นงานมงคลระดับชาวบ้านประชาชนทั่วไป ก็มีการนำสังข์มาประกอบพิธีเช่น การตั้งศาลพระภูมิ การรดน้ำสังข์คู่แต่งงาน เป็นต้น เมื่อชาวเยอมีความเชื่อว่าสะไนกับสังข์มีความเกี่ยวข้องกัน จึงมีการเป่าสะไนเพื่อเป็นการบูชาสังข์ นอกจากนี้แล้วยังมีการนำสะไนมาเป่าเพื่อบูชาพระแม่ธรณีและพระแม่คงคาในประเพณีการแข่งเรือ (ส่วงเรือ) หรือเมื่อมีการเดินทางไกล ก็จะมีการเป่าสะไนก่อนออกเดินทางเพื่อให้เกิดโชคเดินทางปลอดภัย และได้รับความสำเร็จในการประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะถ้าเดินทางกลางป่าก็จะนำสะไนติดตัวไปด้วย เพราะชาวเยอเชื่อว่าสัตว์ป่าทั้งหลายถ้าได้ยินเสียงสะไนแล้วจะไม่เข้ามาทำร้าย และถ้าเป่าสะไนจะเป็นการบอกกล่าวให้ทวยเทวดาอารักข์ทั้งหลาย มาปกป้องดูแลไม่ให้เกิดอันตรายใด ในสมัยโบราณมีเรื่องจากผู้เฒ่าเผ่าเยอว่า บรรบุรุพของคนเยอถ้าจำเป็นต้องออกรบทำศึกสงครามกับเมืองไหน จะต้องมีการเป่าสะไนก่อนเพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย โดยเชื่อว่าเสียงของสะไนจะทำให้ได้รับชัยชนะกลับมา หรือถ้าหากแพ้ก็จะสามารถหนีเอาตัวรอดกลับมาได้

การเป่าสะไน
ชาวเยอโบราณมีคำสอนเกี่ยวกับการเป่าสะไน และมีฤดูกาลสำหรับการเป่าสะไนไว้ว่า ถ้าจะเป่าสะไนต้องเป่าตั้งแต่เดือน 8 ค้อย (เดือนกรกฎาคมจะเข้าสิงหาคม) จนถึงเดือนอ้ายค้อย (เดือนธันวาคมจะเข้าเดือนมกราคม) ถ้านอกจากระยะเวลาดังกล่าวห้ามเป่าสะไน เพราะมันจะทำให้ "ฝนตก ฟ้าผ่ากลางวัน" หรือเกิดสิ่งไม่ดีต่างๆ ขึ้นในหมู่บ้าน แต่ถ้าเป่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนจะเป็นการเป่าเพื่อบูชาหอย และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ฟ้าผ่าด้ย ความเชื่อดังกล่าวมักจะพบเห็นในสังคมวัฒนธรรมอีสานทั่วๆ ไป เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หากนำมาทำเล่นเพื่อความสนุกสนาน โดยไม่รู้จักกาลเทศะย่อมเป็นสิ่งไม่ดี จึงมีกฎข้อห้ามต่างๆ ไว้

ฉะนั้นการเป่าสะไนจึงต้องเป่าเฉพาะโอกาสที่สำคัญ หรือในยามที่จำเป็นเท่านั้น จึงแสดงให้เห็นว่าสะไนคือเครื่องเป่าที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่ของเล่นที่จะนำมาเป่าเพื่อความบันเทิง หรือเพื่อความสนุกสนาน การเป่าในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนแปดถึงเดือนอ้ายนั้น มีการให้เหตุผลตามความเชื่อว่า เป็นการเป่าเพื่อบูชาหอย (สังข์) เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาที่หอยกำลังผสมพันธุ์ ถ้าเป่าในช่วงนี้จะทำให้หอยมีการเจริญพันธุ์และขยายพันธุ์ดี และอีกอย่างการเป่าสะไนจะทำให้ฝนตก หากเป่าในช่วงนี้ก็จะเป็นผลดีต่อพืชพันธุ์น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าเป่านอกฤดูกาลจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนอ้ายถึงเดือนสาม และช่วงนี้เป็นช่วงที่หอยจำศีลด้วยจึงห้ามเป่าสะไน เสียงของสะไนยังเป็นเสียงที่ศักดิ์สิทธิ์ปราบผีได้ หากที่ใดมีคำล่ำลือเกี่ยวกับความดุร้ายหรือความเฮี้ยนของผีสางนางไม้ ถ้าได้เป่าสะไนบริเวณนั้นจะทำให้ผียอมสยบไม่กล้าอาละวาดหลอกใครอีก



การเป่าสะไนถือได้ว่า เป็นการสร้างเสียงเพื่อสนองต่อความต้องการของมนุษย์ โดยเสียงที่สร้างขึ้นไม่ได้มีความหมายตามหลักการของทฤษฎีทางดนตรีแต่อย่างใด (ไม่มีระบบโน้ตที่แน่นอน) แต่เป็นเสียงที่สร้างขึ้นตามลักษณะการพูด เป็นทำนองเพลงสนุกๆ เช่น เอาคักคักเอาคนคักคัก เป็นต้น เสียงการเป่าสะไนเป็นเสียงที่มีความดังเกินตัว (เสียงดังขนาดเล็ก) มนุษย์เมื่อได้พบเจอสิ่งใดที่ดูแล้วหน้าเกรงขาม ย่อมยกย่องให้สิ่งนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกว่าดี ปลอดภัย อุดมสมบูรณ์ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปรากฏการณ์ที่สำคัญยืนยันว่า มันจะนำมาซึ่งความสงบ ความยินดีของตนจริง เรียกว่า ภูมิปัญญา เสียงสะไนจึงเป็นเสียงที่ศักดิ์สิทธิ์ ฟังแล้วดูหน้าเกรงขาม เป็นเครื่องดนตรีชิ้นเล็กๆ แต่เสียงนั้นใหญ่เกินตัวมาก

ปัจจุบันการเป่าสะไนยังคงมีอยู่ที่ศาลพญากตะศิลา เมืองคงโคก บ้านหลุบโมก ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
 (ข้อมูลจากโครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ และ นายกิตติ วรรณวงษ์ บ้านร่องอโศก หมู่ 15 ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ)
ขอบคุณ:http://www.isangate.com/isan/paothai_kui.html

พิธีแต่งงานแบบชาวกูย(พิธีซัตเต)

 พิธีแต่งงานแบบชาวกูย(พิธีซัตเต) 
            ชาวกวย,กูยเป็นกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมายาวนาน รักสงบ รักอิสระ มีความสามัคคี เป็นคนมีระเบียบวินัย มีเอกภาพในสังคม มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน อย่างเช่นพิธีแต่งงานของชาวกูยในแต่ละท้องที่จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยแต่ก็มีความเหมือนในด้านความเชื่อและวิธีปฏิบัติวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่น่าอนุรักษ์ไว้อีกอย่างคือ พิธีแต่งงานแบบชาวกูยอาจีง(พิธีซัตเต )ของกูยอาจีง บ้านกะโพ-ตากลาง สุรินทร์

 ขั้นตอนพิธีแต่งงานแบบชาวกูย(พิธีซัตเต)

ขั้นที่ 1 จีเจาะกะมอล คือการไปทาบทาม หรือไปพูดจาบอกเล่าว่าลูกชายมารักชอบลูกสาว

ขั้นที่ 2 จีเมาะกะมอล คือ การที่ฝ่ายเจ้าบ่าวไปตกลงค่าสินสอดทองหมั้นก้บฝ่ายเจ้าสาว

ขั้นที่ 3 จีโต๊ะ คือ การไปหมั้นหมาย มีอุปกรณ์ประกอบการหมั้นหมาย คือ หมาก พลู เหล้า บุหรี่ ทองหมั้น (สร้อย แหวน) หรืออาจเป็นเงินก็ได้ ถ้าตกลงค่าสินสอดทองหมั้นเท่าไหร่ แล้วนำมาวางในวันหมั้นส่วนที่ขาดเหลือให้นำ มาในวันซัตเต ....หรือในวันแต่งงาน

ขั้นตอนที่ 4 ซัตเต คือพิธีแต่งงาน อุปกรณ์ประกอบพิธีประกอบด้วย

1 ในคู่แต่งงานหมู่ในงานพิธีซัดเต


- อะหลิเครื่องมาด คือหมูที่ฆ่าแล้วแต่ยังไม่ชำแหละ เมื่อเจ้าบ่าวนำมาส่งจะต้องแบ่งปันกัน
- อะหลิกะมูย คือ หมูเครื่องเซ่น ทางฝ่ายเจ้าบ่าวนำมาเซ่นผีบรรพบุรุษ โดยไม่ต้องแบ่งฝ่ายเจ้าสาว
- น้ำตาลอ้อย ที่ทำจากน้ำอ้อยบรรจุในใบตาล เพื่อใช้สำหรับไหว้ญาติผู้ใหญ่
- กระบุง 1 คู่ ในกระบุงบรรจุข้าวเปลือก มีหินลับมีดวางอยู่ข้างข้าวเปลือก
- เต่าน้ำจืด 1 ตัว
- ปลาแห้ง (พอสมควร)
- พานบายศรี (มีด้ายมงคลไว้ผูกข้อมือ)
บายศรีและเครื่องไหว้
- ไก่ต้มทั้งตัว (เพื่อใช้เซ่นผีบรรพบุรุษ)
- ผ้าไหมใหม่ (สำหรับไหว้พ่อแม่เจ้าบ่าว คนละชุด และผลัดเปลี่ยนในพิธีอาบน้ำ 1 ชุด พิธีการ
- ฝ่ายเจ้าบ่าวแห่ขันหมาก แต่งกายแบบชาวกูย กางร่ม บนร่มผูกด้วยผ้าสามสี มีการกั้นประตูเงินประตูทอง
- น้องหรือญาติเจ้าสาวล้างเท้าเจ้าบ่าว
- พรามหมณ์ผู้ประกอบพิธี จูงมือเจ้าบ่าวเจ้าสาวลงมายังกระท่อมพิธี เจ้าบ่าวสวมด้ายมงคล เจ้าสาวสวมกะลอม จะมะ (แหวน ต่างหู สร้อย หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ที่เจ้าบ่าวเตรียมมา)
- พรามหมณ์ตรวจนับสินสอด เครื่องประกอบต่าง ๆ ประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ ถอดกระดูกคางไก่เสี่ยงทายคู่ ชีวิตของเจ้าบ่าว เจ้าสาว พราหมณ์ผูกข้อมือ (ขเยียระเวียร์-เรียกขวัญคู่บ่าว-สาว)
-ญาติผู้ใหญ่, เพื่อน,ซัตเตอวยพรคู่บ่าวสาว
- ไหว้บิดามารดา ญาติ ๆ ฝ่ายเจ้าบ่าว ด้วยไก่ น้ำ และเจ้าบ่าวรับไหว้ด้วยเงินเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ ต่อไป)
- เจ้าสาวอาบน้ำให้พ่อแม่เจ้าบ่าวและให้สวมใส่ผ้าไหมที่เตรียมไว้....เสร็จพิธี.

จา พนม ยีรัมย์ ในพิธีแต่งงานแบบชาวกูย(ซัดเต)

ขอบคุณ; http://www.isangate.com/isan/paothai_kui.html
http://goo.gl/mDl3FB
http://goo.gl/pgZ9Na

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อดีและข้อเสียของ FaceBook


ในปัจจุบัน FaceBook หรือ Twitterเป็นสิ่งที่นิยมกันมากในหมู่วัยรุ่นและบุคคลที่ต้องการสื่อสารสัมพันธ์กัน แม้ว่า FaceBook จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถติดต่อสัมพันธ์กันในทางบวก แต่จากการศึกษาพบว่าในทางกลับกันFaceBookก็สามารถเป็นสื่อที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ในเวลาเดียวกัน
     
FaceBook คืออะไร
     
       FaceBook เป็นซอฟท์แวร์ในการสร้างเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลต่างๆที่ต้องการ หรือใส่ความสนใจที่ชอบ จากนั้นระบบจะค้นหาผู้ที่มีความสนใจในลักษณะเดียวกัน และผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบในการเชื่อมต่อไปหาผู้ใช้อื่นๆได้
     
       ประวัติของ FaceBook
     
       ผู้เริ่มต้นคิดค้น FaceBook คือ Mr. Mark Zuckerburg อายุ 23 ปี เมื่อปี ค.ศ. 2003 ในขณะนั้นเป็นนักศึกษาแผนกจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา โดยเปิดให้เป็นบริการหนึ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดในการศึกษาหาข้อมูลเท่านั้น แต่เนื่องจากมีสมาชิกมาใช้บริการกันอย่างมากมาย จึงทำให้มีการขยายเครือข่ายมากขึ้นและพัฒนามาถึงหลายล้านคนในโลกปัจจุบัน
     
       ข้อดีของ FaceBook
         
       1.FaceBook จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
     
       2.ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
     
       3.ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
     
       4.สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
     
       5.FaceBook เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
     
       6.สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้
     
       ข้อเสียของ FaceBook
     
       1.FaceBook เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
     
       2.เพื่อนทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ FaceBook ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
     
       3.Facebook อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
     
       4.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
     
       5.เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น Facebook มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน
     
       6.ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น FaceBook ตั้งแต่ยังเด็ก
     
       7.FaceBook อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
     
       8.นโยบายของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากFaceBook ทำให้ FaceBook ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่


     
       จึงกล่าวได้ว่าผู้ปกครองควรเอาใจใส่ลูกหลานของท่านที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งนิยมท่องโลกอินเตอร์เน็ต ให้มีความระมัดระวังและมีวิจารณญาณในการเล่นFacebookมากยิ่งขึ้น เพราะ FaceBookนั้นเป็นทั้งสื่อที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน
ขอบคุณ: ผู้จัดการออนไลน์
ข้อดีและข้อเสียของfacebookกับลูกในช่วงวัยรุ่น/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อ ของชาวกูย

ศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อ ของชาวกูย

  ความเชื่อทางศาสนาของชาวกูยมีลักษณะผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธและการนับถือผี (animism)  ภายในชุมชนชาวกูยจะมีทั้งวัดและศาลผีประจำหมู่บ้าน ชาวกูยบูชาผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า “ยะจัวะฮ” บนบ้านจะมีหิ้งบูชาผีบรรพบุรุษ มีธูปเทียนและกรวยที่เย็บจากใบตอง บางบ้านก็จะสร้างเป็นศาลผีบรรพบุรุษไว้ใกล้กับศาลเจ้าที่ บ้านที่ไม่มีหิ้งหรือศาลก็อาจจะไปไหว้ผีบรรพบุรุษที่หิ้งหรือศาลของญาติพี่น้อง บ้านส่วนใหญ่จะมีหิ้งบูชาพระพุทธรูปไว้ในบ้านและจะสร้างศาลผีบรรพบุรุษไว้ใกล้บ้าน การเซ่นบรรพบุรุษจะกระทำอย่างน้อยปีละครั้ง ชาวบ้านจะเริ่มพิธีโดยเอาข้าวที่สุกแล้ว กรวยใบตอง ผ้า สตางค์ หมากพลู เอามาวางไว้ใต้หิ้งบูชา ทำพิธีเซ่นโดยเอาน้ำตาลโรยบนข้าวสุก จุดเทียนปักลงที่ข้าว แล้วกล่าวขอให้ผีบรรพบุรุษคุ้มครองให้ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง ในขณะที่กล่าวก็เอาเหล้าค่อย ๆ รินลงขันอีกใบ เหมือนการกรวดน้ำเสร็จแล้วก็หยิบของที่ใช้เซ่นอย่างละนิดไปวางบนหิ้ง ที่เหลือก็เอาไว้รับประทานและใช้เอง

การเซ่นผีบรรพบุรุษนี้อาจจัดขึ้นในวาระอื่นๆ เช่น เมื่อมีเด็กคลอดได้ ๒-๓ วัน ก็จะทำพิธีดับไฟ โดยเชิญหมอตำแยและญาติผู้ใหญ่มาร่วมพิธี จัดขนม กล้วย ข้าวต้มมัด มาเซ่นผีบรรพบุรุษบอกว่ามีลูกมีหลานมาเกิดใหม่ เด็กเมื่อคลอดแล้ว จะมี “ครูกำเนิด” ซึ่งเป็นครูประจำตัว จะต้องจัดเครื่องสักการะบูชาครูไว้บนหัวนอนของตนเองเสมอ ครูจะช่วยคุ้มครองให้มีความสุข ความเจริญ หากมีการผิดครูจะเป็นอันตราย นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเซ่นผีบรรพบุรุษเมื่อมีแขกมาเยือนและพักอยู่ที่บ้าน  เจ้าของบ้านจะต้องจัดเหล้า ขนม มาเซ่นไหว้และบอกกล่าวขออนุญาตผีบรรพบุรุษให้แขกเข้าพัก มีการบอกกล่าวว่าแขกเป็นใคร มาจากไหน มาทำอะไร เมื่อแขกมาถึง ก็มีการผูกข้อมือด้วยด้ายที่ย้อมสีเหลืองด้วยขมิ้นพร้อมให้ศีลให้พร
ขอบคุณภาพจากMuangchangtour Surin

 นอกจากวิญญาณของบรรพบุรุษแล้ว ชาวกูยยังเคารพนับถือวิญญาณทั่วไป ได้แก่ ภูติผีปีศาจ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เป็นต้น เมื่อจะประกอบการงานใดที่สำคัญเกี่ยวกับความสุขความเจริญจะต้องทำพิธีขจัดปัดเป่า ด้วยความกลัวว่าผีสางเทวดาจะให้โทษหรือมาขัดขวางการกระทำ  เป็นที่น่าสังเกตว่าในพิธีกรรรมต่างๆเกือบทั้งหมดจะมีข้าวเป็นองค์ประกอบในการเซ่นสังเวยอยู่เสมอ เพราะข้าวเป็นอาหารหลักที่มีบุญคุณและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ในการเพาะปลูกข้าวเกือบทุกขั้นตอนจะมีการจัดพิธีกรรม สวดสรรเสริญหรือแสดงความเคารพข้าว (นิคม วงเวียน ๒๕๓๓) ชาวกูยยังมีความเชื่อในเรื่องผีปอบ จะเห็นได้ในกรณีที่เด็กคลอดแล้ว ต้องเอารกไปฝังไว้ใต้ถุนบ้าน เอาหนามไปวางทับไม่เช่นนั้นผีปอบจะเอาไปกิน แม่เด็กและทารกก็จะตาย นอกจากนี้ชาวกูยยังเชื่อเรื่องขวัญ หรือภาษากูยเรียกว่า “ระเวี๋ยย” ซึ่งเป็นคำรวมเรียกทั้งขวัญและวิญญาณ เช่น เด็กทารก จะมีข้อห้ามไม่ให้อุ้มออกไปเดินผ่านเนินดินเผาผี (บลุฮ กระโมจ) ซึ่งเป็นเนินทุ่งนาใช้เผาศพคนทั่วไปแห่งหนึ่ง บางหมู่บ้านจะมี บลุฮ กระโมจ ๒ แห่ง สำหรับเผาศพคนทั่วไปแห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งใช้เฉพาะเผาศพคนที่มีความสำคัญที่เป็นที่นับถือกันในหมู่บ้าน ถ้าอุ้มเด็ก ผ่านเนินดินนี้ต้องเรียกขวัญให้กลับมา เรียกว่า “มาเยอขวัญเอย” แล้วบอกชื่อเด็ก เดินไปพูดไป ถ้าไม่เรียกขวัญ ขวัญจะอยู่แถวนั้นไม่ตามเด็กไป เด็กก็จะไม่สบาย การทำพิธีสู่ขวัญมักจะพบในวาระที่สำคัญต่าง ๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งามศพ เมื่อทารกแรกเกิด การรักษาคนเจ็บเป็นต้น

ในหมู่บ้านจะมีแม่เฒ่าที่ทำหน้าที่ดูว่าความเจ็บไข้ หรือปัญหาที่มีเกิดจากอะไร โดยให้นำข้าวสาร ๑ ถ้วย และสตางค์ ๑ บาท วางบนข้าวแล้วนำไปวางไว้หน้ามาเฒ่า แม่เฒ่าจะเอาข้าวสารนั้นโปรยไปรอบข้างตัวพร้อมพูดคาถาพึมพำ แล้วเอาข้าวสารเล็กน้อยใส่ในฝ่ามือซ้าย แล้วจับฝากระปุกปูนแกว่งค่อยๆ เหนือข้าวสารนั้น แล้วทำนายสาเหตุของปัญหา ถ้าใช่สาเหตุที่ทำนาย ฝากระปุกปูนจะแกว่งแรงขึ้น ชาวกูย เรียกการทำนายนี้ว่า “โปล” นอกจากนี้ก็มีผู้เก่งทางไสยศาสตร์เรียกว่า “ถัม” บางห่งก็เรียกว่า “อาจาร” ซึ่งเป็นผู้ชายที่มีคาถาอาคมสามารถดูให้ได้ว่าชาวบ้านไปถูกของอะไรมา และจะแก้ไขได้อย่างไร

การเจ็บไข้อาจทำให้บรรเทาได้โดยการจัดพิธีกรรมรักษาคนป่วย เพราะเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของภูติผี จึงมีการทำพิธีอ้อนวอนให้ภูตผีพอใจ โดยจัดให้มีการรำผีมอ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆรำผีฟ้าของกลุ่มที่พูดภาษาลาว การรำผีมอมีการสืบทอดรับช่วงกันมา ผู้ที่จะเป็นผีมอจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูครอบครูเพราะจะทำให้ไม่มีใครกล้าประพฤติหรือเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมที่เคยปฏิบัติกันสืบต่อกันมาเพราะกลัว “ผิดครู” (เครือจิต ศรีบุญนาค ๒๕๓๓)
ขอบคุณ :http://goo.gl/NA6nUx

บรรพชนของศรีสะเกษ

บรรพชนของศรีสะเกษ
ชนชาติกวย กูย หรือส่วยสายพันธ์แห่งเผ่าพันธ์  (เรียบเรียงโดย ภราดร  ศรปัญญา)

                ศรีสะเกษ    เป็นจังหวัดที่เก่าแก่   และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่ๆ เป็นจังหวัดศรีสะเกษแห่งนี้ เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งของภาคอีสานและเป็นพื้นที่เข้าใจกันว่าชนชาติกวยหรือส่วยคงจะเป็นบรรพชนเจ้าของพื้นที่มาตั้งแต่ดั้งเดิมและเป็นผู้สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มืว่าในพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษจะยังไม่มีการขุดค้นหรือศึกษาโครงสร้างด้านมนุษยวิทยาและการตั้งหลักแหล่งอย่างจริงจังก็ตาม แต่ก็พออนุมานได้ว่า ชาวส่วยหรือชาวกวยน่าจะเป็นบรรพชนของคนศรีสะเกษ  ทั้งนี้เพราะจังหวัดศรีสะเกษมีหมู่บ้านหรือชุมชนที่ชาวกวยหรือที่เรียกกันว่า “ชาวส่วย” มากกว่าจังหวัดใดใดในภาคอีสาน

                ชาวกวยหรือชาวส่วยเป็นใคร? มาจากไหน? จึงเป็นเรื่องน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นักประวัติศาสตร์และนักมนุษยวิทยาสันนิษฐานว่าชาติกูยนั้นเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลมอญ เขมร มีเลือดผสมระหว่างเวดดิด (veddid) กับเมลาเนียมซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามลักษณะพื้นที่ เช่น ชาวลาว ในประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเรียกว่า “ข่า” ชาวไทยสยามเรียกว่า “ส่วย” หรือกลุ่มแถบล้านนาเรียกว่า “ลัวะหรือละว้า” เป็นต้น ส่วนลักษณะโครงสร้างทางภาษามีส่วนคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากกับภาษามุนด้า (Munda) ซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยมีอาชีพอยู่ตามลุ่มน้ำพรหมบุตรตอนเหนือแถบแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย


                บาสตินและเบนด้า (Bastin and Benda) (1968:2) กล่าวว่า ชนชาติกวยมีภูมิลำเนาเดิมอยู่บริเวณลุ่มน้ำพรหมบุตรตอนเหนือ ประมาณ 2400 ปีก่อนพุทธกาล ชาวกูยได้อพยพหนีภัยสงครามเนื่องจากถูกพวกอารยันรุกรานโดยอพยพมาทางตะวันออกจนถึงลุ่มแม่น้ำคง (สาละวิน) และแม่น้ำโขงตอนบน พวกที่อพยพไปทางลุ่มน้ำคงได้กลายเป็นชนเผ่ามอญ ส่วนพวกที่อพยพลงมาตามลุ่มน้ำโขง บางพวกไปอาศัยอยู่ตามที่ราบสูงพนมดงแร็ก (ตองแหระ บางพูดว่าตองแผระ ในภาษาส่วยซึ่งแปลว่าไม้คานหรือคานสำหรับแบกหาม) บางพวกเลยลงไปถึงที่ราบต่ำบริเวณทะเลสาบและชายทะเล  ต่อมาต่อมาได้กลายเป็นบรรพบุรุษของเขมรหรือแขมร์ ส่วนพวกตั้งหลักแหล่งอยู่ตามป่าเขามักจะเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ลั้ว ข่า ขมู กวยหรือส่วย  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานระบุไว้ชัดเจนว่า กลุ่มชนเหล่านี้มีถิ่นที่อยู่กระจัดกระจายทั่วไป ตลอดแนวสองฟากฝั่งลุ่มน้ำโขง แม่น้ำมูล และมีการรวมกลุ่มกันเป็นบ้านเมืองมมานานนับศตวรรษก่อนที่ชนเผ่าไทยจะเข้ามามีอำนาจในบริเวรแถบนี้

                หลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ พงศาวดารล้านช้าง กล่าวว่า “ในปี 2103 สมเด็จพระไชยเชษฐิราชต้องทำการปราบปรามพวกข่า และชนเผ่าต่างๆ ที่สร้างบ้านสร้างเมืองอยู่แถวฝั่งแม่น้ำโขงทางใต้นครเวียงจันทร์และในที่สุดพระองค์ได้หายสาบสูไปในคราวยกกองทัพไปปราบปรามพวกข่า ในแขวงอัตบือ (ศรีศักดิ์  วัลลิโภดม 2533:35-36) พงศาวดารเมืองละแวกครั้งหนึ่งกล่าวว่า กษัตริย์ขอม ซึ่งครองอยู่พระนครหลวงได้ส่งฑูตไปขอกองทัพจากกษัตริย์กวยแห่งตะบองขะมุม เพื่อไปปราบกบฏ ซึ่งกษัตริย์กวยก็ได้ยกทัพไปช่วยรบจนได้ชัยชนะ

                สำหรับหลักฐานฝ่ายไทย สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ตรากฏหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1974 (ปีกุน) ประกาศให้คนสยามห้ามยกลูกสาวให้ชาวฝรั่ง อังกฤษ วิลันดา กับปิตัน กุลา มลายู แขก กวย และแกว ซึ่งเป็นคนต่างชาติต่างศาสนาที่ย่อมแสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของชนชาติกวยที่มีความเป็นปึกแผ่น และมีการจัดการระบบปกครองเป็นประเทศหรือนครรัฐแล้ว ซึ่งอาจเคยรุ่งเรืองมาก่อนอาณาจักรฟูนัน จาม หรือแม้กระทั่งอาณาจักเจนละเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากระยะเวลาอันยาวนาน โครงกระดูกและหลักฐานต่างๆ จึงสับสนไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นชนเผ่าใดจวบกับการสูญเสียอิสระภาพและการตกอยู่ใต้อำนาจของชนชาติอื่นอารยะธรรมและวัฒนธรรมได้ถูกทำลายไปหรือไม่ก็ถูกบดกลืนโดยวัฒนธรรมของผู้ชนะ นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ข้อมูลหรือประวัติความเป็นมาของชนชาติกวยจึงเหลือน้อยเต็มที่ ที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบันก็เป็นเพียง “ภาษา” ที่พูดจากันเพียงอย่างเดียว
ที่มา:http://goo.gl/NA6nUx

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พิธีแซนยะจู๊ฮ(ไหว้เทพาอารักษ์)


พิธีแซนยะจู๊ฮ(ไหว้เทพาอารักษ์)

       ยะจู๊ฮ หมายถึง ผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ผีปูุตา (ยะจู๊ฮผี๊ด หรือ ยะจู๊ฮเพรียม) และ ผีบรรพบุรุษในสายตระกูล (ยะจู๊ฮดุง) ผีปูุ่ตาหมายถึงเทพาอารักษ์ประจำหมู่บ้าน ซึ่งจะคอยคุ้มครองดูแลคนในหมู่บ้าน ชาวกูยจะปลูกศาลปูุ่ตาไว้ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน3 และขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีจะมีพิธีเซ่นสรวงเรียกว่า แซนยะจู๊ฮ เป็นการทำเพื่อขอบคุณที่ยะจู๊ฮได้บันดาลให้เกิดฝน ทำให้มีผลผลิตไว้เก็บในยุ้งฉาง นอกจากนี้ยังเป็นการขอให้ฤดูปักดำต่อไปเกิดความอุดมสมบูรณ์
พิธีแซนยะจู๊ฮ สะท้อนให้เห็นลักษณะทางวัฒนธรรมของชาวกูย ที่มีความผูกพันกับการทำนาซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิม และสะท้อนให้เห็นความร่วมมือในหมู่คณะ เห็นได้จากการท านายเรื่องคางไก่ ทำให้คนในชุมชนระมัดระวังในการเตรียมตัว เพื่อวางแผนในการประกอบอาชีพ พิธีแซนยะจู๊ฮจึงมีบทบาทในการสร้างความมั่นใจให้แก่สมาชิกในครอบครัว และในชุมชน ในการดำเนินชีวิตประกอบภารกิจต่างๆ
ขอบคุณ:https://www.facebook.com/ChmrmChawKwykuyHruxSwyMiLumChatiphanthu,
              :http://gi.bru.ac.th/gis/dr/files/16/10.pdf

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านม่วงหวาน–โคกเจริญ



ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านม่วงหวาน–โคกเจริญ


"ชีวิตของชาวบ้านที่นี่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง...โดยจะเน้นในเรื่องการใช้ชีวิต ทุกบ้านจะมีแปลงผักของตัวเอง จะเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา มีสระน้ำไว้ใช้ เรื่องอบายมุขก็มีน้อย"


ชุมชนบ้านม่วงหวาน


แนวทางการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแนวทางหนึ่งก็คือการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เน้นการเติบโตพ้อมกันในทุกๆ ด้านอย่างสอดคล้องและสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

แนวทางดังกล่าวเป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนไปพร้อมๆกับการสร้างความมั่นคงในเรื่องปาท้องของคนในชุมชนดังตัวอย่างที่เกิดขึ้น ณ บ้านม่วงหวาน – โคกเจริญ ซึ่งมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมของชาวไทย "กูย” เป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญ

บ้านม่วงหวาน – โคกเจริญ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 14 และ หมู่ 15 ต.จันดุม อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ เป็นชุมชนชาวไทยกูยดั้งเดิมซึ่งอพยพมาจากบ้านเฉนียงและบ้านโงนกรอย ต.บึง อ.เมือง จ.สุรินทร์ มาตั้งแต่ปี 2494 โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีชาวบ้านจาก ๑๐ ครอบครัว ประมาณ ๗๐ คน ได้ออกเดินทางมาด้วยกันเพื่อหาที่ตั้งหมู่บ้านใหม่จนกระทั่งมาเจอพื้นที่ว่างข้างหนองน้ำบ้านแพงพวย ที่ชาวบ้านเรียกว่า "โคกมะม่วงหวาน” ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ชาวบ้านกลุ่มนั้นจึงตัดสินใจตั้งรกรากอยู่ร่วมกันสืบมาจนถึงทุกวันนี้

ในยุคแรกของการเดินทางเข้ามาตั้งรกราก ชุมชนแห่งนี้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของบ้านแพงพวย จนกระทั่งปี 2510 จึงได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นบ้านม่วงหวานและต่อมาปี 2533 จึงแยกออกมาเป็นบ้านโคกเจริญอีกหนึ่งหมู่บ้าน แต่ด้วยความผูกพันของทั้งสองหมู่บ้านที่มีมานานจึงทำให้ทั้งสองหมู่บ้านยังคงร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านด้วยกันภายใต้ชื่อ บ้านม่วงหวาน – โคกเจริญ มาโดยตลอด

วิธีการพัฒนาคนพัฒนางานเส้นทางสู่ความสำเร็จบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ
1. ใช้กิจกรรมทางสังคมเครื่องมือในการพัฒนาคน วิธีการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งโดยการนำกิจกรรมมาเป็นการดึงคนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการ อาทิ กิจกรรมกลุ่มออมทรรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน โดยนำเงินเข้ามามีส่วนร่วมมาร้อยรัดให้ได้มีการดำเนินการมากขึ้น ดังนั้นกิจกรรมทางสังคมจึงเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาคน ดังกำนันสง่า ทองคำ ได้ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพกระบวนการ
" เมื่อก่อนเราไปซื้อขนมจีนมาทำในงาน บางทีครั้งละหลายร้อยกิโลเลยในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง แต่ตอนนี้เรามีกลุ่มทำขนมจีนขึ้นคนมาลงทุนร่วมกัน คนมาช่วยกันมากขึ้น ทำให้เราได้ลงมือทำ และช่วยกันคิด”

2. ปรับแนวคิดใหม่ สร้างสำนึกร่วมเพื่อพัฒนาคน การปลูกฝังประวัติศาสตร์สร้างวัฒนธรรมความเป็นกุยเพื่อสร้างจิตสำนักคนในชุมชน ในเรื่องการให้และเกิดรูปแบบจิตอาสา เมื่อให้คุณค่าในวัฒนธรรมตนเองจะส่งผลสู่เรื่องสำนึกร่วมการเสียสละและการให้ของสมาชิกในชุมชน ส่งผลสู่การพัฒนาเป็นแกนนำหรือการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น

3. พัฒนาคนพัฒนาศักยภาพทีมงานให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างคนให้รู้เท่าทันทั้งการเปลี่ยนแปลงกระแสโลกหรือกระแสต่างๆที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมของชุมชน โดยกระบวนการหนุนเสริมจากทีมภายนอกในการเข้ามาให้ความรู้ หรือ "การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่เพื่อนอื่น” จัดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน เกิดการเรียนรู้ และสามารถปรับประยุกต์ใช้ของแกนนำได้ ทั้งในการบริหารจัดการ หรือการถ่ายทอดความรู้ต่อ

4. จากผู้ร่วมให้เป็นผู้ทำ จากผู้นำเป็นผู้หนุน รูปแบบหนึ่งที่กลุ่มได้ดำเนินการแล้วคือ การให้แกนนำเข้ามาตัดสินใจร่วม และพัฒนาให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น รูปแบบดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาคนคือ ให้สามารถคิดวิเคราะห์ได้ ทำเป็น รวมถึงคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน เป็นขึ้นหนึ่งในการพัฒนาคนที่ได้ผลเป็นอย่างมา อาทิ คุณอ้อย แจ่มใส เป็นเหรัญญิกของกลุ่ม ได้กล่าวว่า "ที่นี่เรามีวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่างที่สำคัญคือ เราให้ทุกคนมีส่วนร่วม ผู้ใหญ่จะให้เราเข้ามาและพัฒนาเราเรื่อยให้เราเข้ามา เราก็ภูมิใจนะที่เราได้ทำได้ช่วย ไม่ต้องมีใครบอกเรารู้ว่าเรามีคุณค่าเราก็ทำ”

5. สร้างระบบความคิดสร้างความเชื่อร่วมกัน เพื่อเป็นนักออกแบบและวิเคราะห์ ภายใต้กลไกรูปแบบหากทำอะไรต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ มีการประชุมหารือเพื่อโปรดโอกาสให้ทุกคนเสนอความคิดเห็น ระบบการคิดและวิเคราะห์ กระบวนการดังกล่าวจะพบนักออกแบบและวิเคราะห์ เพราะใช้กระบวนการมีส่วนร่วม แต่ภายใต้ความคิดความเชื่อร่วมกัน คือการทำงานเพื่อชุมชนของตนเอง จึงเป็นเครื่องนำพาไปสู่เป้าหมายเป็นต้น

6. จากแกนนำ สู่ครอบครัว "ธรรมนูญครอบครัว” จากแกนนำขยายผลสู่สมาชิกสร้างความดีร่วมกัน การสร้างคนประการหนึ่งคือการนำหลักการมาสู่การประพฤติปฏิบัติโดยอาศัยแบบต้นแบบคือ ตัวแกนนำ กรรมการ หรือสมาชิก และเกิดการขยายผลไปสู่การทำจริงในระดับครอบครัว ครัวเรือน รวมถึงสมาชิกอื่นๆในสังคม เป็นการสร้างคนแบบมีส่วนร่วม เมื่อเริ่มจากแกนนำ ครอบครัว และจะขยายผลไปยังสมาชิดต่อไป จะสามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้
ขอบคุณ:http://goo.gl/J05pQO
http://goo.gl/PC7GPC

การฟ้อนสะเอิง,แกลสะเอง,แกลจะเอง ของชาวไทยกูย


             การฟ้อนสะเอิงของชาวไทยกูย

       ชาวไทยกูยบ้านกระแซงใหญ่ มีจักรวาลความเชื่อแบบ พราหมณ์ - พุทธ - ผี ความเชื่อเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ เป็นรากฐานความเชื่อที่นำไปสู่กระบวนการประกอบพิธี กรรม ความหมายทางวัฒนธรรม ของพิธีกรรมการฟ้อนสะเอิงจึงเป็นกระบวนที่สืบเนื่อง สัมพันธ์กันใน บริบททางสังคมชาวไทยกูย พิธีกรรมการฟ้อนสะเอิง เป็นพิธีกรรมที่ชาวไทยกูย ทำการเข้าทรงผีฟ้า หรือผีสะเอิง เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติ ด้วยวิทยาการแพทย์ แผนปัจจุบัน และเมื่อหายจากอาการเจ็บป่วยต้องทำการเข้าทรง เพื่อสักการะขอบคุณผีสะเอิง บทบาทของพิธีกรรมนั้น พบว่ามีบทบาทที่สำคัญ 3 ประการ ต่อสังคมชาวไทยกูยคือ บทบาทในการ ควบคุมทางสังคม บทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ ของกลุ่มคนในสังคม และสร้างกำลังใจในการ ดำรงชีวิต ซึ่งเป็นชีวิตวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่ง

พิธีกรรมแกลสะเอง
        การแกลสะเองนั้นเป็นการรำถวายแถนหรือผีฟ้า(สะเอง) มีจุดมุ่งหมาย การรำคือ ตัวผู้ป่วยได้บนบานแถนเอาไว้ และบรรพบุรุษนับถือแถนแล้วจัดการแกลจะเองขึ้นเพื่อถวาย แถนให้ปกปักรักษาคุ้มครอง บางแห่งเรียกว่า แกลจะเอง รำสะเอิง ชะเอง รำนางออ แกลสะเองเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวศรีสะเกษทีมีเชื้อสายกูย มาจากความเชื่อในการ พึ่งพาสิ่งลี้ลับของธรรมชาติในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะวิญญาณของบรรพบุรุษ เทวดาที่อยู่บนฟ้า เพื่อขอพร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษมาปกปักรักษา ผ่านร่างทรงของแม่สะเองหรือการแก้บนที่ทำไว้เมื่อยาม เจ็บไข้ได้ป่วย หรือเมื่อมีเหตุสำคัญ ที่ต้องอาศัยกำลังใจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวกูยจะมีเชื้อสะเอง(กรูสะเอง)แฝงอยู่ในร่างกาย และยกให้เป็นมรดกตกทอด ซึ่งมีตกแก่ลูกสาวคนโตของครอบครัวไปเป็นทอดๆ แกลจะเองมักกระทำในเดือนสามเพราะพืชผลในไร่นาเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพที่จัดงานเตรียมพร้อม โดยการบอกเหล่าญาติพี่น้องทั้งใกล้และไกลมารวมกัน ตามวันที่กำหนด จัดทำปะรำพิธี ชั้นวางเครื่องเซ่นไหว้ เก็บดอก จำปา (ลั่นทม) มาร้อยมาลัย ถ้าไม่มีก็ใช้ดอกจานแทน เตรียมด้าย ใบตองกล้วย ทำขันบักเบ็ง และกรวยดอกไม้ เทียนเหลือง เทียนขาว ข้าวตอกแตก บางแห่งมีเครื่องยกครูที่จัดไว้ในปะรำพิธี เรียกว่า เสาโฮง (เสาบายมือ) ที่ประกอบไปด้วย ข้าวต้มมัด ฝ้าย กล้วยน้ำว้า ผ้าไหม ข้าวสาร เงิน 12 บาท สุราขาว 1 ขวด ธูป เทียน กรวย 32 กรวย พานหมาก พลู บุหรี่ น้ำหอม ครกใส่ใบเกดข้าวตอกดอกไม้พิธีเล่นจะเองเริ่มจากเจ้าภาพนำดอกจำปาหรือดอกจานคู่หนึ่งใส่พาน หรือขัน ไปเชิญกรูสะเองที่เป็นแม่ทรงแม่สะเอง แม่สะเองบริวารของแม่ทรง 5 - 9 คน และมือฆ้องอีก 1 คน มือกลอง 1-3 คน บางแห่งอาจมีแคน ฉิ่ง ฉาบด้วย การรำจะเริ่ม โดยแม่ครูบนบาน บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางไม่ให้มีอุปสรรคขัดขวาง ในการพิธีการรำจะเริ่มโดยแม่ครูบนบานบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง ไม่ให้มีอุปสรรคขัดขวางในการทำพิธี การทำพิธีนั้นจะอัญเชิญแถนให้เข้ามาสู่ร่างกาย และมาสู่แม่ฟ้อน (นางรำ) คนอื่นๆโดยแม่สะเองถือขันภายในมีข้าวสาร เงิน เทียนเหลืองห่อหนึ่งและจุดเทียนขาวคู่หนึ่ง เมื่อผีเข้าทรง ร่างแม่ทรงก็สั่นทั้งตัว มือที่ถือขันสั่นกระตุก จนเทียนดับ ขันหลุดมือ ข้าวสารหกกระจาย ขณะที่กลอง ฆ้อง ก็เริ่มบรรเลง เมื่อเข้าทรงเสร็จแล้วก็รำพร้อมกันไปตามจังหวะและมีแม่ครูเป็นคนร้องนำ แล้วคนอื่นๆ ก็จะร้องตามรำเอนอ้อม ปะรำพิธี รำไปจนกว่าแถนจะออกจึงเลิกรำกันไปเอง มีการพักเพื่อรับประทานอาหารว่างระหว่างการแกลจะเองด้วย


      เมื่อฟ้อนรำไปได้ระยะหนึ่งบรรดาแม่สะเองก็ใช้ด้ายที่แขวนบนชั้น มาทัดหูและนำมาลัยดอกจำปาหรือมาลัยดอกจานมาสวม มือกลอง มือฆ้องก็สวมมาลัยดอกไม้เช่นเดียวกัน ในบางแห่งผีบรรพบุรุษ จะมาเข้าทรงในร่างของแม่สะเองทีละคน เริ่มจาก ผู้หลักผู้ใหญ่ในวงศ์ตระกูลอาจเป็นปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และญาติที่ล่วงลับไปแล้วจนครบทุกคน เมื่อเข้ามาอยู่ในร่างทรงแล้ว จะทักถามลูกหลาน ลูกหลานก็ถามข่าวคราวของผีแถนและผีบรรพบุรุษ อดีตชาติของผีบรรพบุรุษเคยแสดงอย่างไร ก็ปรากฏอย่างนั้น เช่น เสียงห้าว เสียงแหลม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เคี้ยวหมากพลู ผีแถน และผีบรรพบุรุษจะทักท้วงสาเหตุที่ลูกหลานเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะกระทำผิดหรือล่วงเกินอันใด ลูกหลานจะต้องขอขมา อาหารหารมาเลี้ยงเป็นราย ๆ ไป บางครั้งแถนที่เข้าทรงแม่สะเองที่อ่อนแอขี้โรค สามารถดื่มเหล้าได้มาก โดยไม่มีอาการเมามาย หรือสามารถสูบบุหรี่ ที่มีพริกแห่งสอดไส้ได้โดยไม่จามในการรำนั้น เพื่อความเป็นระเบียบสวยงามนิยมให้สวมใส่เสื้อผ้าสีเดียวกัน มีผ้าพาดบ่าเรียกว่า ผ้าแพรแฮ มีพวงมาลัย ที่ร้อยด้วยดอกจำปา (ลั่นทม) มาคล้องคอ หรือสวมศีรษะด้วย มีแม่ครูเป็นผู้ร้อง และรำไปด้วย การร้องบูชาแถนนั้นเป็นคำอ้อนวอนที่ขอให้ผู้ป่วยหายป่วย เร็ว ๆ เรียกขวัญให้กลับมาสู่ร่างกาย ความเจ็บอย่าให้ได้ความไข้อย่าให้มี พิธีกรรมนี้สะท้อนให้เห็น ถึงความสมัครสมานสามัคคีของชาวบ้าน ปลูกฝังคุณธรรม ให้ลูกหลานรู้จักเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ปฏิบัติตามประเพณีที่ดีงาม
ขอบคุณ:http://www.oknation.net/blog/kanthararoom/2013/03/18/entry-1
        การฟ้อนสะเอิงของชาวไทยกูย:กนกวรรณ ระลึก